เมนู

ในที่นี้ประสงค์เอาสาวกพุทธะ. บทว่า เต เว โลกสมึ พฺราหฺมณา ความว่า
พุทธะเหล่านั้นเกิดโดยอริยชาติในธรรมกล่าวคือพราหมณ์ เพราะอรรถว่า
เป็นผู้ประเสริฐ หรือเป็นบุตรคือโอรสของพระผู้มีพระภาคเจ้า ผู้เป็น
พราหมณ์ เพราะฉะนั้น เมื่อว่าโดยปรมัตถ์ ก็ชื่อว่าพราหมณ์ในสัตว์โลก
นี้. อธิบายว่า ไม่ใช่เป็นพราหมณ์โดยเหตุเพียงชาติและโคตร หรือไม่ใช่
เป็นพราหมณ์ด้วยเหตุเพียงทรงชฎาเป็นต้น . ในสูตรทั้งสองนี้ ธรรมอัน
ทำความเป็นพราหมณ์ พระองค์ตรัสให้ถึงพระอรหัต ด้วยประการฉะนี้
แต่พึงทราบความต่างกันแห่งเทศนา โดยการตรัสต่าง ๆ กัน ด้วยเทศนา-
วิลาส เพราะเหล่าสัตว์มีอัธยาศัยต่างกัน.
จบอรรถกถาเถรสูตรที่ 5

6. มหากัสสปสูตร



ว่าด้วยพระมหากัสสปะไม่รับบิณฑบาตเทวดารับของคนขัดสน



[43] ข้าพเจ้าได้สดับมาแล้วอย่างนี้:-
สมัยหนึ่ง พระผู้มีพระภาคเจ้าประทับอยู่ ณ พระวิหารเวฬุวัน กลัน-
ทกนิวาปสถาน ใกล้กรุงราชคฤห์ ก็สมัยนั้นแล ท่านพระมหากัสสปะอยู่
ที่ถ้ำปิปผลิคูหา อาพาธ ได้รับทุกข์ เป็นไข้หนัก สมัยต่อมา ท่านพระ-
มหากัสสปะหายจากอาพาธนั้นแล้วได้คิดว่า ไฉนเราพึงเข้าไปสู่พระนคร-
ราชคฤห์เพื่อบิณฑบาต ก็สมัยนั้น เทวดาประมาณ 500 ถึงความขวนขวาย
เพื่อจะให้ท่านพระมหากัสสปะได้บิณฑบาต ท่านพระมหากัสสปะห้าม
เทวดาประมาณ 500 เหล่านั้นแล้ว เวลาเช้า นุ่งแล้ว ถือเอาบาตรและ
จีวรเข้าไปสู่พระนครราชคฤห์เพื่อบิณฑบาตตามทางที่อยู่แห่งมนุษย์ขัดสน

ที่อยู่แห่งมนุษย์กำพร้า ที่อยู่แห่งช่างหูก พระผู้มีพระภาคเจ้าได้ทอด-
พระเนตรเห็นท่านพระมหากัสสปะกำลังเที่ยวบิณฑบาตในพระนครราชคฤห์
ตามทางที่อยู่แห่งมนุษย์ขัดสน ที่อยู่แห่งมนุษย์กำพร้า ที่อยู่แห่งช่างหูก.
ลำดับนั้นแล พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงทราบเนื้อความนี้แล้ว จึง
ทรงเปล่งอุทานนี้ในเวลานั้นว่า
เรากล่าวบุคคลมิใช่ผู้เลี้ยงคนอื่น ผู้รู้ยิ่ง ผู้ฝึกตน
แล้ว ดำรงอยู่แล้วในสารธรรม ผู้มีอาสวะสิ้นแล้ว
ผู้มีโทษอันคายแล้วว่า เป็นพราหมณ์.

จบมหากัสสปสูตรที่ 6

อรรถกถามหากัสสปสูตร



มหากัสสปสูตรที่ 6 มีวินิจฉัยดังต่อไปนี้ :-
บทว่า ราชคเห ได้แก่ ใกล้นครอันมีชื่ออย่างนี้. จริงอยู่ นคร
นั้นเรียกว่าราชคฤห์ เพราะเจ้ามหามันธาตุ และพระเจ้ามหาโควินท์
เป็นต้นปกครอง บางอาจารย์พรรณนาในข้อนี้โดยประการอื่นมีอาทิว่า
ชื่อว่าราชคฤห์ เพราะเป็นเรือนของพระราชาผู้เป็นข้าศึก ที่ใครๆ ครอบงำ
ได้ยาก. ท่านอาจารย์เหล่านั้น จะมีประโยชน์อะไร. คำว่า ราชคฤห์นั้น
เป็นชื่อของนครนั้น. ก็นครราชคฤห์นี้นั้น เป็นเมืองอยู่ในสมัยพุทธกาล
และสมัยพระเจ้าจักรพรรดิ ในกาลอื่น เป็นเมืองร้าง พวกยักษ์ยึดครอง
กลายเป็นที่อยู่ของพวกยักษ์เหล่านั้น. คำว่า เวฬุวนํ ในคำว่า เวฬุวเน
กลนฺทกนิวาเป
เป็นชื่อของวิหารนั้น. ได้ยินว่า พระเวฬุวัน นั้นล้อม