เมนู

ทูลรับพระผู้มีพระภาคเจ้าแล้ว พระผู้มีพระภาคเจ้าได้ตรัสว่า ดูก่อนภิกษุ
ทั้งหลาย เมื่อพระทัพพมัลลบุตรเหาะขึ้นไปสู่เวหาส นั่งขัดสมาธิเข้า
สมาบัติมีเตโชธาตุเป็นอารมณ์อยู่ในอากาศกลางหาว ออกจากสมาบัติแล้ว
ปรินิพพาน เมื่อสรีระถูกไฟเผาไหม้อยู่ เถ้าไม่ปรากฏ เขม่าก็ไม่ปรากฏ
เหมือนเนยใสหรือน้ำมันถูกไฟเผาไหม้อยู่ เถ้าไม่ปรากฏเลย เขม่าก็ไม่มี
ปรากฏฉะนั้น.
ลำดับนั้นแล พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงทราบเนื้อความนี้แล้ว จึง
ทรงเปล่งอุทานนี้ในเวลานั้นว่า
คติของพระขีณาสพทั้งหลาย ผู้หลุดพ้นแล้ว
โดยชอบ ข้ามเครื่องผูกคือกามโอฆะได้แล้ว ถึงแล้ว
ซึ่งความสุขอันหาความหวั่นไหวมิได้ ไม่มีเพื่อจะ
บัญญัติ เหมือนคติแห่งไฟลุกโพลงอยู่ที่ภาชนะ
สำริดเป็นต้น อันนายช่างเหล็กตีด้วยค้อนเหล็ก ดับ
สนิท ย่อมรู้ไม่ได้ฉะนั้น.

จบทุติยทัพพสูตรที่ 10

จบปาฏลิคามิยวรรคที่ 8

อรรถกถาทุติยทัพพสูตร



ทุติยทัพพสูตรที่ 10 มีวินิจฉัยดังต่อไปนี้ :-
บทว่า ตตฺร โข ภควา ภิกฺขู อามนฺเตสิ ความว่า พระผู้มี-
พระภาคเจ้า ครั้นประทับอยู่ตามพอพระทัยในกรุงราชคฤห์ เมื่อจะเสด็จ

ไปในชนบท เสด็จถึงกรุงสาวัตถี โดยลำดับนั้นแล ประทับอยู่ในพระ-
เชตวัน เพื่อจะแสดงการที่พระทัพพมัลลบุตรปรินิพพาน อันยังไม่ประจักษ์
ให้ประจักษ์แก่พวกภิกษุ. และเพื่อให้ปุถุชนผู้เหินห่างจากความเคารพใน
พระเถระ โดยการกล่าวตู่เรื่องไม่เป็นจริง ที่พวกภิกษุเมตติยะและภุมม-
ชกะกระทำไว้ ให้เกิดเป็นความนับถือมากในพระเถระ จึงได้ตรัสเรียก.
บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า ตตฺร นี้ เป็นเพียงนิบาต ใช้ในอรรถ
ว่า ให้ยินยอมตามถ้อยคำ. ศัพท์ว่า โข ใช้ในอรรถว่า อวธารณะ
แปลว่าห้ามข้อความอื่น. บรรดาบทเหล่านั้น ด้วยบทว่า ตตฺร นี้ ส่อง
อรรถที่กล่าวถึงเหล่านี้ว่า ภควา ภิกฺขู อามนฺเตสิ พระผู้มีพระ-
ภาคเจ้า ตรัสเรียกเฉพาะพระภิกษุ. พระองค์ทรงแสดงความนี้ว่า ก็ด้วย
บทว่า โข นี้ ทรงตรัสเรียกเหมือนกัน ในการตรัสเรียก ภิกษุไม่มี
อันตรายอะไร ๆ เลย. อีกอย่างหนึ่ง. บทว่า ตตฺร ได้แก่ ในอาราม
นั้น. ศัพท์ว่า โข เป็นนิบาตใช้ในอรรถว่า วจนาลังการ ประดับถ้อย
คำให้ไพเราะ. บทว่า อามนฺเตสิ แปลว่า ได้ตรัสเรียกแล้ว.
ถามว่า ก็เพราะเหตุไร พระผู้มีพระภาคเจ้า จึงตรัสเรียกเฉพาะ
ภิกษุทั้งหลาย ? ตอบว่า เพราะเป็นผู้เจริญ เป็นผู้ประเสริฐ เป็นผู้ใกล้
ชิด เป็นผู้มีจิตตั้งมั่นด้วยดีตลอดกาล และเพราะเป็นผู้รองรับพระธรรม-
เทศนา โดยพิเศษ.
บทว่า ภิกฺขโว เป็นแสดงอาการ คือการเรียกภิกษุเหล่านั้น.
บทว่า ภทนฺเต เป็นบทที่พวกภิกษุผู้ถูกตรัสเรียก ถวายคำตอบแด่พระ
ศาสดาโดยเคารพ. พระผู้มีพระภาคเจ้าเมื่อตรัสเรียก จึงตรัสเรียกภิกษุ
เหล่านั้น ในบรรดาคำเหล่านั้น ด้วยคำว่า ภิกฺขโว. ภิกษุเหล่านั้นเมื่อ

จะทูลก็ทูลตอบว่า ภทนฺเต. อีกอย่างหนึ่ง ด้วยคำว่า ภิกฺขโว นี้ ซึ่ง
เป็นพระดำรัสอันอิงอาศัยพระหทัยอันเยือกเย็น บันดาลให้เกิดพระกรุณา
เป็นประธาน พระองค์ทรงให้ภิกษุเหล่านั้นกลับจากการมนสิการกรรมฐาน
และพิจารณาธรรมเป็นต้นแล้ว ให้ผินหน้ามาหาพระองค์. ด้วยคำว่า
ภทนฺเต นี้ ซึ่งเป็นคำแสดงถึงความเอื้อเฟื้อ ความนับถือมาก และความ
เคารพในพระศาสดา ภิกษุเหล่านั้นจึงประกาศถึงความที่ตนเป็นผู้ฟังด้วย
ดี และความที่ตนมีความเคารพในการรับพระโอวาท. บทว่า ภควโต
ปจฺจสฺโสสุํ
ความว่า ภิกษุเหล่านั้นฟังตอบ คือให้เกิดความต้องการ
เพื่อจะฟังพระดำรัสของพระผู้มีพระภาคเจ้า. บทว่า เอตทโวจ ความว่า
พระผู้มีพระภาคเจ้าได้ตรัสพระสูตรทั้งสิ้นนี้ คือที่กำลังกล่าวอยู่ในบัดนี้.
คำมีอาทิว่า ทพฺพสฺส ภิกฺขเว มลฺลปุตฺตสฺส ดังนี้ มีเนื้อความดังกล่าว
ในสูตรติดกันนั่นแล. แม้ในบทว่า เอตมตฺถํ เป็นต้น ไม่มีคำที่ไม่เคย
กล่าว พึงทราบโดยนัยที่กล่าวไว้แล้วในสูตรติดกันเหมือนกัน.
ในคาถาทั้งหลาย มีวิเคราะห์ดังต่อไปนี้ บทว่า อโยฆนหตสฺส
ความว่า วัตถุชื่อว่า อโยฆนะ เพราะเป็นเครื่องตีเหล็ก ได้แก่ ค้อน
เหล็กและทั่งเหล็กของพวกช่าง. แห่งไฟที่ถูกค้อนเหล็กนั้นตี คือทุบ.
แต่อาจารย์บางพวกกล่าวอธิบายว่า บทว่า อโยฆนหตสฺส ได้แก่ ตีก้อน
แท่งเหล็ก. ก็ เอว ศัพท์ในคำว่า อโยฆนหตสฺส นั้น ได้แก่ ไฟที่ไหม้
อยู่. บทว่า ชลโต ชาตเวทโส นี้ เป็นฉัฏฐีวิภัตติ ใช้ในอรรถว่า
อนาทร. บทว่า อนุปุพฺพูปสนฺตสฺส ความว่า เมื่อไฟสบคือมอดลง
ได้แก่ ดับสนิทโดยลำดับ. บทว่า ยถา น ญายเต คติ ความว่า
เหมือนคติของไฟนั้น รู้ไม่ได้. ท่านกล่าวอธิบายคำนี้ไว้ว่า เมื่อไฟถูก

ค้อนเหล็กใหญ่ มีทั่งเหล็กและค้อนเหล็กเป็นต้นกระทบอยู่ คือขจัดอยู่
หรือลุกโพลงติดภาชนะสำริดเป็นต้น อีกอย่างหนึ่ง เมื่อเสียงที่เกิดขึ้นก็
อย่างนั้น สงบ คือเข้าไปสงบด้วยดีโดยลำดับ คติของไฟหรือเสียง ย่อม
ไม่ปรากฏในที่ไหน ๆ ในทิศทั้ง 10 เพราะดับสนิทโดยหาปฏิสนธิมิได้
โดยการดับปัจจัย. บทว่า เอวํ สมฺมา วิมุตฺตานํ ความว่า คติของพระ-
ขีณาสพทั้งหลาย ชื่อว่าผู้หลุดพ้นโดยชอบ เพราะหลุดพ้นจากอุปาทาน 4
และอาสวะ 4 โดยชอบ คือโดยเหตุ โดยญายธรรม ได้แก่ ด้วยอริย-
มรรค อันมีตทังควิมุตติและวิกขัมภนวิมุตติเป็นประธาน ลำดับนั้นนั่นแล
ชื่อว่า ผู้ข้ามโอฆะอันเป็นเครื่องผูกคือกาม เพราะข้ามกาโมฆะ กล่าว
คือ เครื่องผูกคือกาม และโอฆะที่เหลือ ต่างด้วยภโวฆะเป็นต้น ชื่อว่า
ผู้ถึง คือบรรลุ ความสุข อันเข้าไปสงบสังขารทั้งปวง กล่าวคืออนุปา-
ทิเสสนิพพาน อันชื่อว่า ไม่หวั่นไหว เพราะสงบระงับกิเลส อันเป็น
เหตุดิ้นรนด้วยดีเสียได้ และเพราะไม่สะเทือนด้วยลมคืออภิสังขาร ได้แก่
กิเลส ย่อมไม่มี คือย่อมไม่ได้เพื่อจะบัญญัติโดยไม่มีข้อที่จะพึงบัญญัติ
ว่า นี้ชื่อว่า คติ ในบรรดาคติต่างโดยเทวดาและมนุษย์เป็นต้น อธิบาย
ว่า ก็ท่านพระทัพพมัลลบุตรนั้น ไปสู่ภาวะที่หาบัญญัติมิได้นั่นเทียว
เหมือนไฟตามที่กล่าวแล้วฉะนั้น.
จบอรรถกถาทุติยทัพพสูตรที่ 10

จบปาฏลิคามิยวรรควรรณนาที่ 8

ก็ด้วยถ้อยคำเพียงเท่านี้
พระองค์ผู้หลุดพ้นด้วยดี จากความยึดมั่นในภพ
ผู้อันเทพและทานพนับถือแล้ว ผู้ตัดความสืบต่อแห่ง
ตัณหาได้ขาดแล้ว ผู้แสดงปีติและสังเวช ผู้ยินดีใน
การประทานพระสัทธรรม ผู้เป็นผู้นำของชาวโลก
โดยพิเศษ ทรงเปล่งอุทานใดในที่นั้น ๆ เพราะเป็น
เหตุสิ้นอุปาทาน ที่พระธรรมสังคาหกาจารย์รวบรวม
ทั้งหมดเข้าด้วยกันแล้ว ยกขึ้นสู่สังคายนา ร้อยกรอง
โดยชื่อว่าอุทานใด เพื่อประกาศอรรถของอุทานนั้น
ซึ่งอาศัยอรรถเก่า ๆ ที่ข้าพเจ้าเริ่มพรรณนาอรรถ
ไว้ด้วยดี อรรถวรรณนานั้น ว่าโดยชื่อ ชื่อว่าปรมัตถ-
ทีปนี อันเป็นเครื่องประกาศอรรถอันยิ่งในพระสูตร
นั้นตามสมควร มีวินิจฉัยไม่ฝั่นเฝือ จบบริบูรณ์โดย
บาลีภาณวาร ประมาณ 34 ภาณวาร ดังนั้น ด้วย
อานุภาพแห่งบุญที่ข้าพเจ้าได้รจนาปรมัตถทีปนีนั้น
ได้รับแล้ว ขอพระศาสนาของพระโลกนาถเจ้า จง
สว่างไสวด้วยข้อปฏิบัติมีศีลเป็นต้น อันบริสุทธิ์ ขอ
ปวงสัตว์จงเป็นผู้มีส่วนแห่งวิมุตติรส ขอพระศาสนา
ของพระสัมมาสัมพุทธเจ้า จงสถิตอยู่ในโลกตลอด
กาลนาน ขอปวงสัตว์จงมีความเคารพในพระพุทธ-
ศาสนาเป็นนิตย์ ขอฝนจงตกในพื้นปฐพี โดยชอบ

ตามฤดูกาล ขอผู้ยินดีในพระสัทธรรม จงปกครอง
ชาวโลกโดยธรรม เทอญ.
อรรถกถาอุทาน
ที่ท่านพระธรรมปาลาจารย์ ผู้อยู่ในพทรติฏฐวิหาร รจนาไว้

จบบริบูรณ์.

รวมพระสูตรที่มีในวรรคนี้ คือ


1. ปฐมนิพพานสูตร 2. ทุติยนิพพานสูจร 3. ตติยนิพพานสูตร
4. จตุตถนิพพานสูตร 5. จุนทสูตร 6. ปาฏลิคามิยสูตร 7. ทวิธา-
ปถสูตร 8. วิสาขาสูตร 9. ปฐมทัพพสูตร 10. ทุติยทัพพสูตรและ
อรรถกถา.

รวมวรรคที่มีในอุทานนี้ คือ


โพธิวรรคที่ 1 มุจลินทวรรคที่ 2 นันทวรรคที่ 3 เมฆิยวรรค
ที่ 4 โสณวรรคที่ 5 ชัจจันธวรรคที่ 6 จูฬวรรคที่ 7 ปาฏลิคามิย-
วรรคที่ 8 มีสูตร 80 สูตร วรรคทั้ง 8 นี้ พระพุทธเจ้าผู้มีพระจักษุ
ปราศจากมลทิน ทรงจำแนกไว้ดีแล้ว บัณฑิตทั้งหลายผู้มีศรัทธาแล ได้
กล่าววรรคนั้นว่า อุทาน ฉะนั้นแล.
จบอุทาน.