เมนู

ราคะโดยประการทั้งปวง คือสัตว์และสังขารอันเป็นที่รัก ได้แก่ความรัก
ไม่มีในสังขารโลกว่า นี้เป็นของเรา เราได้อยู่ เราก็ได้ซึ่งความสุขชื่อนี้
ด้วยสิ่งนี้. บทว่า ตสฺมา อโสกํ วิรชํ ปฏฺฐยาโน ปิยํ น กยิราถ
กุหิญฺจิ โลเก
ความว่า ก็เพราะเหตุที่สัตว์ผู้ปราศจากความเศร้าโศก
ชื่อว่ามีความสุข เพราะปราศจากความเศร้าโศกนั่นแล จึงชื่อว่า ไม่มี
ความรักในอารมณ์ไหนๆ เพราะฉะนั้น บุคคลเมื่อปรารถนาความไม่เศร้า
โศก คือภาวะไม่มีความเศร้าโศก เพราะไม่มีความเศร้าโศกดังกล่าวแล้ว
แก่ตน ชื่อว่าผู้ปราศจากธุลี คือภาวะที่ไม่มีธุลี เพราะปราศจากธุลีคือ
ราคะ ได้แก่ความเป็นพระอรหัต คือพระนิพพาน อันได้นามว่าอโสกะ
และว่าวิรชะ เพราะไม่มีความเศร้าโศก และเพราะเหตุแห่งความไม่มีธุลี
คือราคะเป็นต้น จึงเกิดฉันทะด้วยอำนาจความพอใจในกุศลคือความ
ปรารถนาเพื่อจะทำ ไม่พึงทำ คือไม่พึงให้สัตว์และสังขารอันเป็นที่รัก
คือความรัก ให้เกิดในธรรมมีรูปเป็นต้น โดยที่สุดแม้ในธรรมคือสมถะ
และวิปัสสนาในโลกไหน ๆ. สมจริงดังพระดำรัสที่ตรัสไว้ว่า ภิกษุทั้งหลาย
แม้ธรรม พวกเธอก็ควรละเสีย จะป่วยกล่าวไปถึงอธรรมเล่า.
จบอรรถกถาวิสาขาสูตรที่ 8

9. ปฐมทัพพสูตร



ว่าด้วยพระทัพพมัลลบุตรทูลลาปรินิพพาน



[177] ข้าพเจ้าได้สดับมาแล้วอย่างนี้ :-
สมัยหนึ่ง พระผู้มีพระภาคเจ้าประทับอยู่ ณ พระวิหารเวฬุวันกลัน-
ทกนิวาปสถาน ใกล้พระนครราชคฤห์ ครั้งนั้นแล ท่านพระทัพพมัลล-