เมนู

อรรถกถาทวิธาปถสูตร



ทวิธาปถสูตรที่ 7

มีวินิจฉัยดังต่อไปนี้ :-
บทว่า อทฺธานมคฺคปฏิปนฺโน ได้แก่ เป็นผู้เดินทางระยะยาว คือ
ทางไกล. บทว่า นาคสมาเลน ได้แก่ พระเถระผู้มีชื่ออย่างนั้น. บทว่า
ปจฺฉาสมเณน ได้แก่ ในกาลนั้น พระเถระนี้ได้เป็นอุปัฏฐากพระผู้มี-
พระภาคเจ้า ด้วยเหตุนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้าจึงเสด็จดำเนินทาง โดย
มีพระนาคสมาละเป็นปัจฉาสมณะ. จริงอยู่ ในประถมโพธิกาล พระผู้มี-
พระภาคเจ้า มิได้มีอุปัฏฐากประจำนานถึง 20 ปี. หลังจากนั้น จนถึง
ปรินิพพาน ท่านพระอานนท์ได้อุปัฏฐาก ดุจเงาถึง 25 ปี. แต่กาลนี้
ไม่ใช่มีอุปัฏฐากเป็นประจำ. ด้วยเหตุนั้น ท่านจึงกล่าวว่า อายสฺมตา
นาคสมาเลน ปจฺฉาสนเณน
ดังนี้เป็นต้น.
บทว่า เทฺวธาปถํ ได้แก่ หนทาง 2 แพร่ง. อาจารย์บางพวก
กล่าวว่า ทฺวิธาปถํ ดังนี้ก็มี.
ท่านนาคสมาละ เพราะเหตุที่ตนคุ้นกับทางนั้นมาก่อน และเพราะ
หมายถึงทางนั้นเป็นทางตรง จึงกราบทูลว่า ข้าแต่พระผู้มีพระภาคเจ้า
ผู้เจริญ นี้ทาง. ก็ในกาลนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงทราบว่า ทางนั้นมี
อันตราย จึงมีพระประสงค์จะเสด็จไปทางอื่นจากทางนั้น จึงตรัสว่า
นาคสมาละ นี้ทาง. และเมื่อพระองค์ตรัสว่า ทางนี้มีอันตราย จึงไม่เชื่อ
แล้วพึงทูลว่า ข้าแต่พระผู้มีพระภาคเจ้า ทางนั้นไม่มีอันตราย การที่ท่าน
พระนาคสมาละไม่เชื่อแล้วทูลอย่างนั้น จะพึงเป็นไปเพื่อมิใช่ประโยชน์
เพื่อทุกข์ตลอดกาลนาน เพราะเหตุนั้น พระองค์จึงไม่ตรัสว่า มีอันตราย.
ท่านนาคสมาละกราบทูลถึง 3 ครั้งว่า นี้ทาง เสด็จไปทางนี้เถิด ในครั้ง