เมนู

เท่านั้น แต่พระองค์และภิกษุสงฆ์ ข้ามห้วงน้ำคือสงสาร ทั้งลึกทั้งกว้าง
ยิ่งนักได้แล้ว จึงทรงเปล่งอุทานนี้ อันแสดงถึงความนั้น.
บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า อณฺณวํ นี้ เป็นชื่อของน้ำ ที่ลึกและ
กว้างประมาณ 1 โยชน์ โดยกำหนดอย่างต่ำ. บทว่า สรํ ท่านประสงค์
ถึงน้ำในที่นี้ เพราะไหลไป. ท่านกล่าวคำอธิบายไว้ว่า เหล่าชนผู้ข้าม
ห้วงน้ำคือสงสาร และแม่น้ำคือตัณหาทั้งลึกทั้งกว้าง สร้างสะพานคือ
อริยมรรค ไม่แตะต้อง คือไม่จับต้อง เปือกตม คือที่ลุ่มอันเต็มเปี่ยม
ด้วยน้ำ ฝ่ายชนนี้ประสงค์จะข้ามน้ำ มีประมาณน้อยนี้ จึงผูกแพ คือถึง
ความยากยิ่งเพื่อจะผูกแพ. บทว่า ติณฺณา เมธาวิโน ชนา ความว่า
พระพุทธเจ้า และพุทธสาวก ชื่อว่าผู้มีเมธา เพราะประกอบด้วยเมธา
กล่าวคืออริยมรรคญาณ ถึงจะเว้นแพเสีย ก็ข้ามได้คือดำรงอยู่ที่ฝั่งโน้นแล.
จบอรรถกถาปาฏลิคามิยสูตรที่ 6

7. ทวิธาปถสูตร



ว่าด้วยการชี้ไปคนละทาง



[175] ข้าพเจ้าได้สดับมาแล้วอย่างนี้ :-
สมัยหนึ่ง พระผู้มีพระภาคเจ้าเสด็จดำเนินทางไกลไปในโกศลชนบท
มีท่านพระนาคสมาละเป็นปัจฉาสมณะ ท่านพระนาคสมาละได้เห็นทาง 2
แพร่งในระหว่างทาง ครั้นแล้วได้กราบทูลพระผู้มีพระภาคเจ้าว่า ข้าแต่
พระผู้มีพระภาคเจ้าผู้เจริญ นี้ทาง ไปตามทางนี้เถิดพระเจ้าข้า เมื่อท่าน
พระนาคสมาละกราบทูลอย่างนี้แล้ว พระผู้มีพระภาคเจ้าได้ตรัสกะท่าน
พระนาคสมาละว่า ดูก่อนนาคสมาละ นี้ทาง ไปตามทางนี้เถิด แม้ครั้งที่

2. . . แม้ครั้งที่ 3 ท่านพระนาคสมาละก็ได้กราบทูลพระผู้มีพระภาคเจ้าว่า
ข้าแต่พระผู้มีพระภาคเจ้าผู้เจริญ นี้ทาง ไปตามทางนี้เถิดพระเจ้าข้า แม้
ครั้งที่ 3 พระผู้มีพระภาคเจ้าก็ได้ตรัสกะท่านพระนาคสมาละว่า ดูก่อน
นาคสมาละ นี้ทาง ไปตามทางนี้เถิด ลำดับนั้น ท่านพระนาคสมาละ
วางบาตรและจีวรของพระผู้มีพระภาคเจ้าไว้ที่แผ่นดิน ณ หนทางนั้นเอง
กราบทูลว่า ข้าแต่พระผู้มีพระภาคเจ้าผู้เจริญ นี้บาตรและจีวร ดังนี้ แล้ว
หลีกไป ครั้นเมื่อท่านพระนาคสมาละเดินไปโดยทางนั้น พวกโจรใน
ระหว่างทางออกมาแล้ว ทุบด้วยมือบ้าง เตะด้วยเท้าบ้าง ได้ทุกบาตร
และฉีกผ้าสังฆาฏิเสีย ครั้งนั้น ท่านพระนาคสมาละมีบาตรแตก มีผ้าสังฆาฏิ
ขาด เข้าไปฝ้าพระผู้มีพระภาคเจ้าถึงที่ประทับถวายบังคมแล้วนั่ง ณ ที่ควร
ส่วนข้างหนึ่ง ครั้นแล้วได้กราบทูลว่า ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ขอประทาน
พระวโรกาส เมื่อข้าพระองค์เดินไปโดยทางนั้น พวกโจรในระหว่างทาง
ออกมาแล้ว ทุบด้วยมือและเตะด้วยเท้า ได้ทุบบาตรและฉีกผ้าสังฆาฏิเสีย
แล้ว พระเจ้าข้า.
ลำดับนั้นแล พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงทราบเนื้อความนี้แล้ว จึง
ทรงเปล่งอุทานนี้ในเวลานั้นว่า
บุคคลผู้ถึงเวท ผู้รู้ เที่ยวไปด้วยกัน อยู่ด้วยกัน
ปะปนกันชนผู้ไม่รู้ ย่อมละเว้นบุคคลผู้ลามกเสียได้
เหมือนนกกระเรียน เมื่อบุคคลเอาน้ำนมปนน้ำเข้าไป
ให้ ดื่มแต่น้ำนมเท่านั้น ละเว้นน้ำ ฉะนั้น.

จบทวิธาปถสูตรที่ 7

อรรถกถาทวิธาปถสูตร



ทวิธาปถสูตรที่ 7

มีวินิจฉัยดังต่อไปนี้ :-
บทว่า อทฺธานมคฺคปฏิปนฺโน ได้แก่ เป็นผู้เดินทางระยะยาว คือ
ทางไกล. บทว่า นาคสมาเลน ได้แก่ พระเถระผู้มีชื่ออย่างนั้น. บทว่า
ปจฺฉาสมเณน ได้แก่ ในกาลนั้น พระเถระนี้ได้เป็นอุปัฏฐากพระผู้มี-
พระภาคเจ้า ด้วยเหตุนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้าจึงเสด็จดำเนินทาง โดย
มีพระนาคสมาละเป็นปัจฉาสมณะ. จริงอยู่ ในประถมโพธิกาล พระผู้มี-
พระภาคเจ้า มิได้มีอุปัฏฐากประจำนานถึง 20 ปี. หลังจากนั้น จนถึง
ปรินิพพาน ท่านพระอานนท์ได้อุปัฏฐาก ดุจเงาถึง 25 ปี. แต่กาลนี้
ไม่ใช่มีอุปัฏฐากเป็นประจำ. ด้วยเหตุนั้น ท่านจึงกล่าวว่า อายสฺมตา
นาคสมาเลน ปจฺฉาสนเณน
ดังนี้เป็นต้น.
บทว่า เทฺวธาปถํ ได้แก่ หนทาง 2 แพร่ง. อาจารย์บางพวก
กล่าวว่า ทฺวิธาปถํ ดังนี้ก็มี.
ท่านนาคสมาละ เพราะเหตุที่ตนคุ้นกับทางนั้นมาก่อน และเพราะ
หมายถึงทางนั้นเป็นทางตรง จึงกราบทูลว่า ข้าแต่พระผู้มีพระภาคเจ้า
ผู้เจริญ นี้ทาง. ก็ในกาลนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงทราบว่า ทางนั้นมี
อันตราย จึงมีพระประสงค์จะเสด็จไปทางอื่นจากทางนั้น จึงตรัสว่า
นาคสมาละ นี้ทาง. และเมื่อพระองค์ตรัสว่า ทางนี้มีอันตราย จึงไม่เชื่อ
แล้วพึงทูลว่า ข้าแต่พระผู้มีพระภาคเจ้า ทางนั้นไม่มีอันตราย การที่ท่าน
พระนาคสมาละไม่เชื่อแล้วทูลอย่างนั้น จะพึงเป็นไปเพื่อมิใช่ประโยชน์
เพื่อทุกข์ตลอดกาลนาน เพราะเหตุนั้น พระองค์จึงไม่ตรัสว่า มีอันตราย.
ท่านนาคสมาละกราบทูลถึง 3 ครั้งว่า นี้ทาง เสด็จไปทางนี้เถิด ในครั้ง