เมนู

3. ตติยโพธิสูตร



ว่าด้วยปฏิจจสมุปบาททั้งอนุโลมและปฏิโลม



[40] ข้าพเจ้าได้สดับมาแล้วอย่างนี้ :-
สมัยหนึ่ง พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสรู้ใหม่ ๆ ประทับอยู่ที่โคนไม้
โพธิ์ ใกล้ฝั่งแม่น้ำเนรัญชรา ที่ตำบลอุรุเวลา ก็สมัยนั้นแล พระผู้มี-
พระภาคเจ้าประทับนั่งเสวยวิมุตติสุขด้วยบัลลังก์อันเดียวตลอด 7 วัน ครั้ง
นั้นแล พอล่วงสัปดาห์นั้นไป พระผู้มีพระภาคเจ้าเสด็จออกจากสมาธินั้น
แล้ว ทรงมนสิการปฏิจจสมุปบาททั้งอนุโลมและปฏิโลมด้วยดี ตลอด
ปัจฉิมยามแห่งราตรี ดังนี้ว่า เมื่อสิ่งนี้มี สิ่งนี้ก็มี เพราะสิ่งนี้เกิด สิ่งนี้
จึงเกิด เมื่อสิ่งนี้ไม่มี สิ่งนี้ก็ไม่มี เพราะสิ่งนี้ดับ สิ่งนี้จึงดับ คือ เพราะ
อวิชชาเป็นปัจจัยจึงมีสังขาร เพราะสังขารเป็นปัจจัยจึงมีวิญญาณ เพราะ
วิญญาณเป็นปัจจัยจึงมีนามรูป เพราะนามรูปเป็นปัจจัยจึงมีสฬายตนะ
เพราะสฬายตนะเป็นปัจจัยจึงมีผัสสะ เพราะผัสสะเป็นปัจจัยจึงมีเวทนา
เพราะเวทนาเป็นปัจจัยจึงมีตัณหา เพราะตัณหาเป็นปัจจัยจึงมีอุปาทาน
เพราะอุปาทานเป็นปัจจัยจึงมีภพ เพราะภพเป็นปัจจัยจึงมีชาติ เพราะชาติ
เป็นปัจจัยจึงมีชรา มรณะ โสกะ ปริเทวะ ทุกข์ โทมนัส และอุปายาส
ความเกิดขึ้นแห่งกองทุกข์ทั้งสิ้นนี้ ย่อมมีได้ด้วยประการอย่างนี้ เพราะ
อวิชชานั้นแลดับโดยสำรอกไม่เหลือ สังขารจึงดับ เพราะสังขารดับ
วิญญาณจึงดับ เพราะวิญญาณดับ นามรูปจึงดับ เพราะนามรูปดับ สฬายตนะ
จึงดับ เพราะสฬายตนะดับ ผัสสะจึงดับ เพราะผัสสะดับ เวทนาจึงดับ
เพราะเวทนาดับ ตัณหาจึงดับ เพราะตัณหาดับ เวทนาจึงดับ
อุปาทานดับ ภพจึงดับ เพราะภพดับ ชาติจึงดับ เพราะชาติดับ ชรา มรณะ

โสกะ ปริเทวะ ทุกข์ โทมนัส และอุปายาสจึงดับ ความดับแห่งกองทุกข์
ทั้งสิ้นนี้ ย่อมมีด้วยประการอย่างนี้.
ลำดับนั้นแล พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงทราบเนื้อความนี้แล้ว จึงทรง
เปล่งอุทานนี้ในเวลานั้นว่า
ในกาลใดแล ธรรมทั้งหลาย มาปรากฏแก่
พราหมณ์ผู้มีเพียรเพ่งอยู่ ในกาลนั้น พราหมณ์นั้น
ย่อมกำจัดมารและเสนามารเสียได้ ดุจพระอาทิตย์
กำจัดมืดส่องแสงสว่างอยู่ในอากาศฉะนั้น.

จบตติยโพธิสูตรที่ 3

อรรถกถาตติยโพธิสูตร



ตติยโพธิสูตรที่ 3 มีวินิจฉัยดังต่อไปนี้ :-
บทว่า อนุโลมปฏิโลมํ ได้แก่ อนุโลมและปฏิโลม อธิบายว่า
ด้วยสามารถอนุโลมตามที่กล่าวแล้ว และด้วยสามารถปฏิโลม. มีคำถามว่า
ก็ท่านกล่าวความเป็นไปของมนสิการในปฏิจจสมุปบาท ไว้ในสูตรทั้งสอง
โดยอนุโลมและปฏิโลมแม้ในก่อนมิใช่หรือ เพราะเหตุไร ในที่นี้ท่านจึง
กล่าวความเป็นไปของมนสิการด้วยอำนาจสูตรนั้นอีก ? ตอบว่า เพราะ
ประกาศมนสิการไว้ในปฏิจจสมุปบาท ถึงวาระที่ 3 ด้วยอำนาจสูตรทั้งสอง
นั้น. ถามว่า ก็ท่านประกาศมนสิการไว้โดยสูตรทั้งสองอย่างไร เพราะ
ใครๆ ไม่อาจประกาศมนสิการปฏิจจสมุปบาททั้งอนุโลมและปฏิโลม ไม่
ก่อนไม่หลัง ? ตอบว่า ข้อนั้นไม่พึงเห็นอย่างนั้นว่า ทรงมนสิการถึง