เมนู

วิกขัมภนปหาน. ผู้นั้นทำฌานนั้นนั่นแหละให้เป็นบาท เริ่มตั้งความสิ้น
ไปและเสื่อมไปในสังขารทั้งหลาย บำเพ็ญวิปัสสนา ทำวิปัสสนาให้เกิด
ย่อมละอกุศลอันชั่วช้าลามกได้อย่างเด็ดขาด ด้วยอริยมรรค.
บทว่า ราคโทสโมหกฺขยา ปรินิพฺพุโต ความว่า ผู้นั้นละอกุศล
อันลามกอย่างนี้แล้ว ปรินิพพานด้วยการดับกิเลสไม่มีส่วนเหลือ เพราะ
สิ้นราคะเป็นต้น ต่อแต่นั้น ย่อมปรินิพพานด้วยการดับขันธ์.
พระผู้มีพระภาคเจ้า ทรงอาศัยทักขิณาสมบัติของนายจุนทะ และ
ทรงอาศัยทักขิไณยสมบัติของพระองค์ จึงทรงเปล่งอุทานอันซ่านออกด้วย
กำลังแห่งปีติ ด้วยประการฉะนี้.
จบอรรถกถาจุนทสูตรที่ 5

6. ปาฏลิคามิยสูตร



ว่าด้วยโทษของศีลวิบัติและอานิสงส์ของศีลสมบัติ



[169] ข้าพเจ้าได้สดับมาแล้วอย่างนี้ :-
สมัยหนึ่ง พระผู้มีพระภาคเจ้าเสด็จจาริกไปในแคว้นมคธ พร้อม
ด้วยภิกษุสงฆ์หมู่ใหญ่ ได้เสด็จถึงปาฏลิคาม อุบาสก (และอุบาสิกา) ชาว
ปาฏลิคามได้สดับข่าวว่า พระผู้มีพระภาคเจ้าเสด็จจาริกไปในแคว้นมคธ
พร้อมด้วยภิกษุสงฆ์หมู่ใหญ่ เสด็จไปถึงปาฏลิคามแล้ว ลำดับนั้นแล
อุบาสกชาวปาฏลิคามพากันเข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาคเจ้าถึงที่ประทับ ถวาย
บังคมแล้วนั่ง ณ ที่ควรส่วนข้างหนึ่ง ครั้นแล้วได้กราบทูลพระผู้มีพระ-
ภาคเจ้าว่า ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ขอพระผู้มีพระภาคเจ้าทรงรับเรือน

สำหรับพักของข้าพระองค์ทั้งหลายเถิด พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงรับโดย
ดุษณีภาพ ลำดับนั้นแล อุบาสกชาวปาฏลิคามทราบว่า พระผู้มีพระ-
ภาคเจ้าทรงรับแล้วลุกจากอาสนะ ถวายบังคมพระผู้มีพระภาคเจ้า กระทำ
ประทักษิณแล้วเข้าไปยังเรือนสำหรับพัก ครั้นแล้วลาดเครื่องลาดทั้งปวง
ปูลาดอาสนะ ตั้งหม้อน้ำ ตามประทีปน้ำมันแล้ว เข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระ-
ภาคเจ้า ถวายบังคมแล้วได้ยืนอยู่ ณ ที่ควรส่วนข้างหนึ่ง ครั้นแล้วได้
กราบทูลพระผู้มีพระภาคเจ้าว่า ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ เรือนสำหรับพัก
ข้าพระองค์ทั้งหลายปูลาดแล้ว ปูลาดอาสนะ ตั้งหม้อน้ำ ตามประทีปน้ำมัน
แล้ว บัดนี้ ขอพระผู้มีพระภาคเจ้าทรงสำคัญกาลอันควรเถิด ครั้งนั้นแล
เป็นเวลาเช้า พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงนุ่งแล้วถือบาตรและจีวร เสด็จถึง
เรือนสำหรับพัก พร้อมด้วยภิกษุสงฆ์ ครั้นแล้วทรงล้างพระบาท เสด็จ
เข้าไปยังเรือนสำหรับพัก ประทับนั่งพิงเสากลางผินพระพักตร์ไปทาง
ทิศบูรพา แม้ภิกษุสงฆ์ล้างเท้าแล้ว เข้าไปยังเรือนสำหรับพัก นั่งพิง
ฝาด้านหลังผินหน้าไปทางทิศบูรพา แวดล้อมพระผู้มีพระภาคเจ้าอยู่ แม้
อุบาสกชาวปาฏลิคามก็ล้างเท้าแล้วเข้าไปยังเรือนสำหรับพัก นั่งพิงฝาด้าน
หน้าผินหน้าไปทางทิศประจิม แวดล้อมพระผู้มีพระภาคเจ้าอยู่.
[170] ลำดับนั้นแล พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสกะอุบาสกชาวปาฏ-
ลิคามว่า ดูก่อนคฤหบดีทั้งหลาย โทษแห่งศีลวิบัติของบุคคลผู้ทุศีล 5
ประการนี้ 5 ประการเป็นไฉน คือบุคคลผู้ทุศีลมีศีลวิบัติในโลกนี้ ย่อม
เข้าถึงความเสื่อมแห่งโภคะใหญ่ เพราะความประมาทเป็นเหตุ นี้เป็นโทษ
แห่งศีลวิบัติของบุคคลผู้ทุศีลประการที่ 1.

อีกประการหนึ่ง กิตติศัพท์อันลามกของบุคคลผู้ทุศีลมีศีลวิบัติ ขจร
ไปแล้ว นี้เป็นโทษแห่งศีลวิบัติของบุคคลผู้ทุศีลประการที่ 2.
อีกประการหนึ่ง บุคคลผู้ทุศีลมีศีลวิบัติเข้าไปหาบริษัทใด คือขัตติย-
บริษัทก็ดี พราหมณบริษัทก็ดี คหบดีบริษัทก็ดี สมณบริษัทก็ดี ย่อมไม่
แกล้วกล้า เก้อเขินเข้าไปหา นี้เป็นโทษแห่งศีลวิบัติของบุคคลผู้ทุศีล
ประการที่ 3.
อีกประการหนึ่ง บุคคลผู้ทุศีลมีศีลวิบัติ ย่อมเป็นผู้หลงใหลกระทำ
กาละ นี้เป็นโทษแห่งศีลวิบัติของบุคคลผู้ทุศีลประการที่ 4.
อีกประการหนึ่ง บุคคลผู้ทุศีลมีศีลวิบัติ เมื่อตายไป ย่อมเข้าถึง
อบาย ทุคติ วินิบาต นรก นี้เป็นโทษแห่งศีลวิบัติของบุคคลผู้ทุศีลประการ
ที่ 5.
ดูก่อนคฤหบดีทั้งหลาย โทษแห่งศีลวิบัติของบุคคลผู้ทุศีล 5 ประ-
การนี้แล.
ดูก่อนคฤหบดีทั้งหลาย อานิสงส์แห่งศีลสมบัติของบุคคลผู้มีศีล 5
ประการนี้ 5 ประการเป็นไฉน คือบุคคลผู้มีศีลผู้ถึงพร้อมด้วยศีลในโลก
นี้ ย่อมได้กองแห่งโภคะใหญ่เพราะความไม่ประมาทเป็นเหตุ นี้เป็น
อานิสงส์แห่งศีลสมบัติของบุคคลผู้มีศีลประการที่ 1.
อีกประการหนึ่ง กิตติศัพท์อันงามของบุคคลผู้มีศีล ผู้ถึงพร้อม
ด้วยศีล ย่อมขจรไป นี้เป็นอานิสงส์แห่งศีลสมบัติของบุคคลผู้มีศีลประการ
ที่ 2.
อีกประการหนึ่ง บุคคลผู้ถึงพร้อมด้วยศีล เข้าไปหาบริษัทใด คือ
ขัตติยบริษัทก็ดี พราหมณบริษัทก็ดี คหบดีบริษัทก็ดี สมณบริษัทก็ดี

ย่อมเป็นผู้แกล้วกล้า ไม่เก้อเขินเข้าไปหาบริษัทนั้น นี้เป็นอานิสงส์แห่ง
ศีลสมบัติของบุคคลผู้มีศีลประการที่ 3.
อีกประการหนึ่ง บุคคลผู้มีศีล ผู้ถึงพร้อมด้วยศีล ย่อมเป็นผู้ไม่
หลงใหลกระทำกาละ นี้เป็นอานิสงส์แห่งศีลสมบัติของบุคคลผู้มีศีลประการ
ที่ 4.
อีกประการหนึ่ง บุคคลผู้มีศีล ผู้ถึงพร้อมด้วยศีล ย่อมเข้าถึงสุคติ
โลกสวรรค์ นี้เป็นอานิสงส์แห่งศีลสมบัติของบุคคลผู้มีศีลประการที่ 5.
ดูก่อนคฤหบดีทั้งหลาย อานิสงส์แห่งศีลสมบัติของบุคคลผู้มีศีล 5
ประการนี้แล.
[171] ลำดับนั้นแล พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงชี้แจงให้อุบาสกชาว
ปาฏลิคาม ให้เห็นแจ้ง ให้สมาทาน ให้อาจหาญ ร่าเริงด้วยธรรมีกถา
สิ้นราตรีเป็นอันมาก แล้วทรงส่งไปด้วยพระดำรัสว่า ดูก่อนคฤหบดี
ทั้งหลาย ราตรีล่วงไปแล้ว ท่านทั้งหลาย จงสำคัญเวลาอันสมควร ณ
บัดนี้เถิด ลำดับนั้น อุบาสกชาวปาฏลิคามทั้งหลายชื่นชมยินดีภาษิตของ
พระผู้มีพระภาคเจ้า ลุกจากอาสนะ ถวายบังคมพระผู้มีพระภาคเจ้า กระทำ
ประทักษิณแล้วหลีกไป ลำดับนั้น เมื่ออุบาสกชาวปาฏลิคามหลีกไปแล้ว
ไม่นาน พระผู้มีพระภาคเจ้าได้เสด็จเข้าไปยังสุญญาคาร.
[172] ก็สมัยนั้นแล มหาอำมาตย์ชื่อสุนีธะและวัสสการะใน
แคว้นมคธ จะสร้างเมืองในปาฏลิคามเพื่อป้องกันเจ้าวัชชีทั้งหลาย ก็สมัย
นั้นแล เทวดาเป็นอันมากแบ่งพวกละพัน ย่อมรักษาพื้นที่ในปาฏลิคาม
เทวดาผู้มีศักดิ์ใหญ่รักษาพื้นที่อยู่ในประเทศใด จิตของราชมหาอำมาตย์
ของพระราชาผู้มีศักดิ์ใหญ่ ย่อมน้อมไปเพื่อจะสร้างนิเวศน์ในประเทศนั้น

เทวดาผู้มีศักดิ์ปานกลางรักษาพื้นที่อยู่ในประเทศใด จิตของราชมหา-
อำมาตย์ของพระราชาผู้มีศักดิ์ปานกลาง ย่อมน้อมไปเพื่อจะสร้างนิเวศน์
ในประเทศนั้น เทวดาผู้มีศักดิ์ต่ำรักษาพื้นที่อยู่ในประเทศใด จิตของ
ราชมหาอำมาตย์ของพระราชาผู้มีศักดิ์ต่ำ ย่อมน้อมไปเพื่อจะสร้างนิเวศน์
ในประเทศนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้าได้ทรงเห็นเทวดาเหล่านั้นเป็นจำนวน
พันๆ รักษาพื้นที่อยู่ในปาฏลิคาม ด้วยทิพยจักษุอันบริสุทธิ์ล่วงจักษุของ
มนุษย์ คือเทวดาผู้มีศักดิ์ใหญ่. . . เทวดาผู้มีศักดิ์ต่ำรักษาพื้นที่อยู่ใน
ประเทศใด จิตของราชมหาอำมาตย์ของพระราชาผู้มีศักดิ์ต่ำ ย่อมน้อมไป
เพื่อจะสร้างนิเวศน์ในประเทศนั้น ครั้งนั้น เมื่อปัจจุสสมัยแห่งราตรีนั้น
ตั้งขึ้น พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสถามท่านพระอานนท์ว่า ดูก่อนอานนท์
ใครหนอจะสร้างเมืองในปาฏลิคาม ท่านพระอานนท์กราบทูลว่า ข้าแต่
พระองค์ผู้เจริญ มหาอำมาตย์ชื่อสุนีธะและวัสสการะในแว่นแคว้นมคธ
จะสร้างเมืองในปาฏลิคาม เพื่อป้องกันเจ้าวัชชีทั้งหลาย พระเจ้าข้า.
พ. ดูก่อนอานนท์ มหาอำมาตย์ชื่อสุนีธะและวัสสการะในแว่นแคว้น
มคธ จะสร้างเมืองในปาฏลิคาม เพื่อป้องกันเจ้าวัชชีทั้งหลาย ประหนึ่ง
ว่าปรึกษากับเทวดาชั้นดาวดึงส์แล้วสร้างเมืองฉะนั้น ดูก่อนอานนท์ เรา
ได้เห็นเทวดาเป็นจำนวนมากแบ่งเป็นพวกละพัน รักษาพื้นที่อยู่ในปาฏลิ-
คาม ด้วยทิพยจักษุอันบริสุทธิ์ล่วงจักษุของมนุษย์ ณ ตำบลนี้ คือเทวดา
ผู้มีศักดิ์ใหญ่. . . เทวดาผู้มีศักดิ์ต่ำรักษาพื้นที่อยู่ในประเทศใด จิตของ
ราชมหาอำมาตย์ของพระราชาผู้มีศักดิ์ต่ำ ย่อมน้อมไปเพื่อจะสร้างนิเวศน์
ในประเทศนั้น ดูก่อนอานนท์ เมืองนี้จักเป็นเมืองเลิศแห่งประชุมของ
เหล่ามนุษย์เป็นอริยะ และเป็นทางค้าขาย เป็นที่แก้ห่อสินค้า อันตราย

3 อย่างจักมีแก่เมืองปาฏลิคาม คือจากไฟ 1 จากน้ำ 1 จากความแตก
แห่งกันและกัน 1.
[173] ครั้งนั้นแล มหาอำมาตย์ชื่อสุนีธะและวัสสการะในแว่น-
แคว้นมคธ เข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาคเจ้าถึงที่ประทับ ได้ปราศรัยกับ
พระผู้มีพระภาคเจ้า ครั้นผ่านการปราศรัยพอให้ระลึกถึงกันไปแล้ว ได้
ยืนอยู่ ณ ที่ควรส่วนข้างหนึ่ง ครั้นแล้วได้กราบทูลพระผู้มีพระภาคเจ้าว่า
ขอพระโคดมผู้เจริญพร้อมด้วยภิกษุสงฆ์ โปรดทรงรับภัตของข้าพระองค์
ทั้งหลาย เพื่อเสวยในวันนี้ พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงรับนิมนต์โดยดุษณีภาพ
ลำดับนั้น มหาอำมาตย์ชื่อสุนีธะและวัสสการะในแว่นแคว้นมคธ ทราบว่า
พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงรับนิมนต์แล้ว เข้าไปยังที่พักของตน ครั้นแล้วสั่ง
ให้ตกแต่งขาทนียโภชนียาหารอันประณีตในที่พักของตน แล้วกราบทูล
ภัตกาลแด่พระผู้มีพระภาคเจ้าว่า ข้าแต่พระโคดมผู้เจริญ ถึงเวลาแล้ว
ภัตเสร็จแล้ว ครั้งนั้นเป็นเวลาเช้า พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงนุ่งแล้ว ทรง
ถือบาตรและจีวรเสด็จเข้าไปยังที่พัก ของมหาอำมาตย์ชื่อสุนีธะและวัสส-
การะ ในแว่นแคว้นมคธ พร้อมด้วยภิกษุสงฆ์ ครั้นแล้วประทับนั่งเหนือ
อาสนะที่เขาปูลาดถวาย ลำดับนั้น มหาอำมาตย์ชื่อสุนีธะและวัสสการะใน
แว่นแคว้นมคธ อังคาสภิกษุสงฆ์มีพระพุทธเจ้าเป็นประมุข ด้วยขาทนีย-
โภชนียาหารอันประณีต ให้อิ่มหนำสำราญด้วยมือของตน ครั้งนั้นแล
เมื่อพระผู้มีพระภาคเจ้าเสวยเสร็จแล้ว ชักพระหัตถ์ออกจากบาตรแล้ว
มหาอำมาตย์ชื่อสุนีธะและวัสสการะในแว่นแคว้นมคธ ถือเอาอาสนะต่ำ
แห่งหนึ่งนั่งอยู่ ณ ที่ควรส่วนข้างหนึ่ง พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงอนุโมทนา

กะมหาอำมาตย์ชื่อสุนีธะและวัสสการะในแว่นแคว้นมคธ ผู้นั่งอยู่ ณ ที่ควร
ส่วนข้างหนึ่ง ด้วยพระคาถาเหล่านี้ว่า
บุรุษชาติบัณฑิต ย่อมสำเร็จการอยู่ในประเทศ
ใด พึงเชิญท่านผู้มีศีล สำรวมแล้ว ประพฤติ
พรหมจรรย์ ให้บริโภคในประเทศ นั้น ควรอุทิศ
ทักษิณาทานเพื่อเทวดาผู้สถิตอยู่ในที่นั้น ๆ เทวดา
เหล่านั้นอันบุรุษชาติบัณฑิตนับถือบูชาแล้ว ย่อม
นับถือบูชาบุรุษชาติบัณฑิตนั้น แต่นั้นย่อมอนุเคราะห์
บุรุษชาติบัณฑิตนั้น ประหนึ่งมารดาอนุเคราะห์บุตร
บุคคลผู้อันเทวดาอนุเคราะห์แล้ว ย่อมเห็นความเจริญ
ทุกเมื่อ.

[174] ลำดับนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้าครั้นทรงอนุโมทนาแก่มหา-
อำมาตย์ชื่อสุนีธะและวัสสการะในแว่นแคว้นมคธด้วยพระคาถาเหล่านี้แล้ว
เสด็จลุกจากอาสนะหลีกไป ก็สมัยนั้นแล มหาอำมาตย์ชื่อสุนีธะและวัสส-
การะในแว่นแคว้นมคธ ติดตามพระผู้มีพระภาคเจ้าไปข้างหลัง ๆ ด้วยตั้ง
ใจว่า วันนี้ พระสมณโคดมจักเสด็จออกโดยประตูใด ประตูนั้นจักชื่อว่า
โคดมประตู จักเสด็จข้ามแม่น้ำคงคาโดยเท่าใด ท่านั้นจักชื่อว่าโคตมติฏฐะ
ครั้งนั้นแล พระผู้มีพระภาคเจ้าเสด็จออกประตูใด ประตูนั้นชื่อว่าโคดม-
ประตู พระผู้มีพระภาคเจ้าเสด็จไปยังแม่น้ำคงคา ก็สมัยนั้นแล แม่น้ำคงคา
เป็นแม่น้ำเต็มเปี่ยมพอกาดื่มกินได้ มนุษย์บางจำพวกแสวงหาเรือ บาง
พวกแสวงหาพ่วง บางพวกผูกแพ ต้องการจะข้ามไปฝั่งโน้น ครั้งนั้น
พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงหายจากฝั่งนี้แห่งแม่น้ำคงคา ไปปรากฏอยู่ที่ฝั่ง

โน้น พร้อมด้วยภิกษุสงฆ์ เหมือนบุรุษผู้มีกำลังพึงเหยียดแขนที่คู้หรือพึง
คู้แขนที่เหยียด ฉะนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้าได้ทรงเห็นมนุษย์เหล่านั้น
บางพวกแสวงหาเรือ บางพวกแสวงหาพ่วง บางพวกผูกแพ ต้องการจะ
ข้ามไปฝั่งโน้น.
ลำดับนั้นแล พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงทราบเนื้อความนี้แล้ว จึงทรง
เปล่งอุทานนี้ในเวลานั้นว่า
ชนเหล่าใดจะข้ามห้วงน้ำคือสงสาร และสระคือ
ตัณหา ชนเหล่านั้นกระทำสะพานคืออริยมรรค ไม่
แตะต้องเปือกตมคือกามทั้งหลาย จึงข้ามสถานที่ลุ่ม
อันเต็มด้วยน้ำได้ ก็ชนแม้ต้องการจะข้ามน้ำมีประ-
มาณน้อย ก็ต้องผูกแพ ส่วนพระพุทธเจ้า และ
พุทธสาวกทั้งหลายเป็นผู้มีปัญญา เว้นจากแพก็ข้าม
ได้.

จบปาฏลิคามิยสูตรที่ 6

อรรถกถาปาฏลิคามิยสูตร



ปาฏลิคามิยสูตรที่ 6

มีวินิจฉัยดังต่อไปนี้ :-
บทว่า มคเธสุ แปลว่า ในแคว้นมคธ. บทว่า มหตา ความว่า แม้
ในที่นี้ ได้แก่ ภิกษุสงฆ์หมู่ใหญ่ เพราะใหญ่โดยคุณบ้าง ใหญ่โดยจำนวน
โดยการกำหนดนับไม่ได้บ้าง. บทว่า ปาฏลิคาโม ได้แก่ บ้านตำบลหนึ่ง
ในแคว้นมคธ อันมีชื่ออย่างนี้. ข่าวว่า ในวันสร้างบ้านนั้น หน่อแคฝอย