เมนู

มนสิการปฏิจจสมุปบาทอันเป็นปฏิโลมด้วยดี ตลอดมัชฌิมยามแห่งราตรี
ดังนี้ว่า เมื่อสิ่งนี้ไม่มี สิ่งนี้ก็ไม่มี เพราะสิ่งนี้ดับ สิ่งนี้ก็ดับ คือ เพราะ
อวิชชาดับ สังขารจึงดับ เพราะสังขารดับ วิญญาณจึงดับ เพราะวิญญาณดับ
นามรูปจึงดับ เพราะนามรูปดับ สฬายตนะจึงดับ เพราะสฬายตนะดับ
ผัสสะจึงดับ เพราะผัสสะดับ เวทนาจึงดับ เพราะเวทนาดับ ตัณหาจึงดับ
เพราะตัณหาดับ อุปาทานจึงดับ เพราะอุปาทานดับภพจึงดับ เพราะภพดับ
ชาติจึงดับ เพราะชาติดับ ชรา มรณะ โสกะ ปริเทวะ ทุกข์ โทมนัส
และอุปายาสจึงดับ ความดับแห่งกองทุกข์ทั้งสิ้นนี้ ย่อมมีด้วยประการ
อย่างนี้.
ลำดับนั้นแล พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงทราบเนื้อความนี้แล้ว จึง
ทรงเปล่งอุทานในเวลานั้นว่า
ในกาลใดแล ธรรมทั้งหลายมาปรากฏแก่พราหมณ์
ผู้มีเพียรเพ่งอยู่ ในกาลนั้น ความสงสัยทั้งปวงของ
พราหมณ์นั้น ย่อมสิ้นไปเพราะได้รู้แจ้งความสิ้นไป
แห่งปัจจัยทั้งหลาย.

จบทุติยโพธิสูตรที่ 2

อรรถกถาทุติยโพธิสูตร



ทุติยโพธิสูตรที่ 2 มีวินิจฉัยดังต่อไปนี้:-
บทว่า ปฏิโลมํ ความว่า ปัจจยาการมีอวิชชาเป็นต้นที่กล่าวไว้โดย
นัยมีอาทิว่า เพราะอวิชชาดับ สังขารจึงดับ ดังนี้ เมื่อดับด้วยการดับ
โดยไม่เกิดขึ้น ท่านเรียกว่า ปฏิโลม เพราะไม่ทำกิจที่ตนควรกระทำ.

อีกอย่างหนึ่ง ชื่อว่า ปฏิโลม เพราะย้อนความเป็นไป ก็เพราะไม่ได้กล่าวถึง
ตั้งแต่ที่สุดหรือท่ามกลางจนถึงเบื้องต้น ในที่นี้ ความที่ปัจจยาการเป็น
ปฏิโลม โดยความอื่นจากนี้จึงไม่ถูก. อนึ่ง บทว่า ปฏิโลม เป็นการ
แสดงภาวนปุงสกลิงค์ เหมือนในประโยคว่า วิสมํ จนฺทิมสุริยา ปริวตฺตนฺติ
พระจันทร์และพระอาทิตย์เวียนไปไม่สม่ำเสมอ. บทว่า อิมสฺมึ อสติ อิทํ
น โหติ
ความว่า เมื่อปัจจัยมีอวิชชาเป็นต้นนี้ไม่มี คือถูกมรรคละเสีย
แล้ว ผลมีสังขารเป็นต้นนี้ก็ไม่มี คือเป็นไปไม่ได้. บทว่า อิมสฺส นิโรธา
อิทํ นิรุชฺเฌติ
ความว่า เพราะปัจจัยมีอวิชชาเป็นต้นนี้ดับ คือ เพราะ
มรรคให้ถึงความเป็นธรรมชาติไม่เกิดขึ้นเป็นธรรม ผลมีสังขารเป็นต้นนี้
จึงดับ คือไม่เป็นไป. แม้ในข้อนี้พึงทราบว่า ท่านแสดงลักษณะที่กำหนด
ลงในภายในมีอาทิว่า เมื่อปัจจัยมีอวิชชาเป็นต้นนี้ไม่มี คือมีไม่ได้ เพราะ
ปัจจัยมีอวิชชาเป็นต้นนี้ ดับ คือไม่เกิด เหมือนอย่างที่ท่านแสดงลักษณะ
ที่กำหนดลงในภายในมีอาทิว่า เมื่อปัจจัยมีอวิชชาเป็นต้นนี้มี คือไม่มีก็
หามิได้ เพราะปัจจัยมีอวิชชาเป็นต้นนี้ ยังเกิดขึ้น คือยังไม่ดับ เช่นใน
คำนี้ว่า เมื่อปัจจัยมีอวิชชาเป็นต้นนี้มี ผลมีสังขารเป็นต้นนี้ก็มี เพราะ
ปัจจัยมีอวิชชาเป็นต้นนี้เกิด ผลมีสังขารเป็นต้นนี้ก็เกิด. ในที่นี้ คำที่เหลือ
ที่จะพึงกล่าว พึงทราบตามนัยที่กล่าวในอรรถกถาปฐมโพธิสูตร.
พระผู้มีพระภาคเจ้า ครั้นทรงแสดงประการที่พระองค์ทรงกระทำ
ปฏิจจสมุปบาทโดยปฏิโลมไว้ในพระทัยดังพรรณนามาฉะนี้โดยสังเขปแล้ว
บัดนี้ เพื่อจะแสดงโดยพิสดาร จึงตรัสคำมีอาทิว่า อวิชฺชานิโรธา
สงฺขารนิโรโธ
เพราะอวิชชาดับ สังขารจึงดับ.
บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า อวิชฺชานิโรธา ความว่า เพราะอวิชชา

ดับเด็ดขาดโดยอริยมรรค อธิบายว่า เพราะอวิชชาถูกอรหัตมรรคถอนขึ้น
ได้เด็ดขาด ด้วยการประหารอนุสัย. แม้ถ้าอวิชชาเมื่อถูกมรรคเบื้องต่ำละ
ได้ ย่อมละได้เฉพาะด้วยอำนาจถอนขึ้นได้โดยส่วนเดียว ก็จริง ถึงกระนั้น
ก็ละไม่ได้อย่างสิ้นเชิง. ก็อวิชชาที่นำสัตว์ไปสู่อบายถูกปฐมมรรคละได้
อนึ่ง อวิชชาอันเป็นปัจจัยให้เกิดในโลกนี้และในภูมิอันมิใช่ของพระอริยะ
ทั้งหมด อันมรรคที่ 2 และมรรคที่ 3 ย่อมละได้ตามลำดับ ไม่ใช่ละ
กิเลสนอกนี้ได้. จริงอยู่ อวิชชานั้น อรหัตมรรคเท่านั้นละได้เด็ดขาดแล.
บทว่า สงฺขารนิโรโธ ความว่า ย่อมดับโดยสังขารไม่เกิดขึ้น. เพื่อแสดง
ว่า ก็เพราะสังขารดับไปอย่างนี้วิญญาณจึงดับ และเพราะวิญญาณเป็นต้น
ดับ นามรูปเป็นต้นก็ดับเหมือนกัน ท่านจงกล่าวคำมีอาทิว่า เพราะ
สังขารดับ วิญญาณจึงดับ แล้วกล่าวว่า กองทุกข์ทั้งมวลนี้ ย่อมดับไป
ด้วยประการฉะนี้. ในคำเหล่านั้น คำที่ควรกล่าวมีนัยดังกล่าวแล้วใน
หนหลังนั่นแหละ.
อีกอย่างหนึ่ง ในที่นี้ เพราะอวิชชาดับ สังขารจึงดับ เพราะสังขาร
ดับ วิญญาณจึงดับ เพราะฉะนั้น จึงเป็นอันกล่าวกองทุกข์ทั้งมวลดับไป
โดยสิ้นเชิงแม้ด้วยเหตุเพียงเท่านี้ แม้ก็จริง ถึงกระนั้น เพื่อแสดงเนื้อ
ความนี้ในอนุโลมว่า ปัจจยุปปันนธรรมใด ๆ ยังไม่ดับไป คือยังเป็นไป
อยู่ เพราะปัจจัยธรรมใด ๆ มี ท่านจึงกล่าวว่า อวิชฺชาปจฺจยา สงฺขารา
ฯ เป ฯ สมุทโย โหติ
ดังนี้ ฉันใด เพื่อแสดงว่า ปัจจยุปปันนธรรม
นั้น ๆ ย่อมดับ คือไม่เป็นไป เพราะปัจจัยธรรมนั้น ๆ ไม่มี โดยเป็น
ปฏิปักษ์ต่อปัจจยุปปันนธรรมนั้น ท่านจึงกล่าวไว้ในที่นี้ว่า อวิชฺชานิโรธา

สงฺขารนิโรโธ สงฺขารนิโรธา วิญฺญาณนิโรโธ วิญฺญาณนิโรธา
นามรูปนิโรโธ ฯ เป ฯ ทุกฺขกฺขนฺธสฺส นิโรโธ โหติ
ดังนี้ ฉันนั้น.
แต่ไม่ได้กล่าวเพื่อแสดงความดับกองทุกข์นับเนื่องในกาล 3 เหมือนใน
อนุโลม. พึงทราบความแปลกกันแม้นี้ว่า จริงอยู่ เมื่อไม่มีอริยมรรค-
ภาวนา แห่งกองทุกข์ที่เป็นอนาคต ท่านประสงค์เอาความดับกองทุกข์ที่
ควรจะเกิดด้วยอริยมรรคภาวนา.
บทว่า เอตมตฺถํ วิทิตฺวา ความว่า รู้อรรถนี้ที่ท่านกล่าวว่า กอง
ทุกข์มีสังขารเป็นต้น ย่อมดับด้วยอำนาจอวิชชาดับเป็นต้น โดยอาการทั้ง-
ปวง. บทว่า อิมํ อุทานํ อุทาเนสิ ความว่า ทรงเปล่งอุทานนี้อันแสดง
อานุภาพแห่งการหยั่งรู้การสิ้นปัจจัยมีอวิชชาเป็นต้นที่ประกาศไว้อย่างนี้ว่า
เพราะอวิชชาดับ สังขารจึงดับ ในเมื่อรู้แจ้งอรรถนั้น.
ในข้อนั้น มีความสังเขปดังต่อไปนี้ เพราะเหตุที่พระองค์ทรงรู้
รู้ทั่วถึง แทงตลอดความสิ้นไป กล่าวคือความดับไม่เกิดขึ้นแห่งปัจจัย-
ธรรมมีอวิชชาเป็นต้น ฉะนั้น โพธิปักขิยธรรมหรือจตุสัจธรรมมีประการ
ดังกล่าวแล้ว ปรากฏเกิดขึ้น หรือแจ่มชัดแก่พราหมณ์นั้นผู้มีเพียรเพ่งอยู่
โดยนัยดังกล่าวแล้ว ทีนั้น ความสงสัยมีประเภทดังกล่าวแล้วในกาลก่อน
พึงเกิดขึ้น เพราะไม่รู้แจ้งความดับปัจจัยโดยชอบ ทั้งหมดนั้น ย่อม
หายไป คือดับไปแล. คำที่เหลือ มีนัยดังกล่าวแล้วในหนหลังนั่นแหละ
จบทุติยโพธิสูตรที่ 2

3. ตติยโพธิสูตร



ว่าด้วยปฏิจจสมุปบาททั้งอนุโลมและปฏิโลม



[40] ข้าพเจ้าได้สดับมาแล้วอย่างนี้ :-
สมัยหนึ่ง พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสรู้ใหม่ ๆ ประทับอยู่ที่โคนไม้
โพธิ์ ใกล้ฝั่งแม่น้ำเนรัญชรา ที่ตำบลอุรุเวลา ก็สมัยนั้นแล พระผู้มี-
พระภาคเจ้าประทับนั่งเสวยวิมุตติสุขด้วยบัลลังก์อันเดียวตลอด 7 วัน ครั้ง
นั้นแล พอล่วงสัปดาห์นั้นไป พระผู้มีพระภาคเจ้าเสด็จออกจากสมาธินั้น
แล้ว ทรงมนสิการปฏิจจสมุปบาททั้งอนุโลมและปฏิโลมด้วยดี ตลอด
ปัจฉิมยามแห่งราตรี ดังนี้ว่า เมื่อสิ่งนี้มี สิ่งนี้ก็มี เพราะสิ่งนี้เกิด สิ่งนี้
จึงเกิด เมื่อสิ่งนี้ไม่มี สิ่งนี้ก็ไม่มี เพราะสิ่งนี้ดับ สิ่งนี้จึงดับ คือ เพราะ
อวิชชาเป็นปัจจัยจึงมีสังขาร เพราะสังขารเป็นปัจจัยจึงมีวิญญาณ เพราะ
วิญญาณเป็นปัจจัยจึงมีนามรูป เพราะนามรูปเป็นปัจจัยจึงมีสฬายตนะ
เพราะสฬายตนะเป็นปัจจัยจึงมีผัสสะ เพราะผัสสะเป็นปัจจัยจึงมีเวทนา
เพราะเวทนาเป็นปัจจัยจึงมีตัณหา เพราะตัณหาเป็นปัจจัยจึงมีอุปาทาน
เพราะอุปาทานเป็นปัจจัยจึงมีภพ เพราะภพเป็นปัจจัยจึงมีชาติ เพราะชาติ
เป็นปัจจัยจึงมีชรา มรณะ โสกะ ปริเทวะ ทุกข์ โทมนัส และอุปายาส
ความเกิดขึ้นแห่งกองทุกข์ทั้งสิ้นนี้ ย่อมมีได้ด้วยประการอย่างนี้ เพราะ
อวิชชานั้นแลดับโดยสำรอกไม่เหลือ สังขารจึงดับ เพราะสังขารดับ
วิญญาณจึงดับ เพราะวิญญาณดับ นามรูปจึงดับ เพราะนามรูปดับ สฬายตนะ
จึงดับ เพราะสฬายตนะดับ ผัสสะจึงดับ เพราะผัสสะดับ เวทนาจึงดับ
เพราะเวทนาดับ ตัณหาจึงดับ เพราะตัณหาดับ เวทนาจึงดับ
อุปาทานดับ ภพจึงดับ เพราะภพดับ ชาติจึงดับ เพราะชาติดับ ชรา มรณะ