เมนู

การรู้ตลอดโดยไม่งมงาย ด้วยอาการอย่างนี้ เป็นอันรู้แจ้งตลอดตัณหา
ด้วยปหานาภิสมัย และด้วยความไม่งมงาย. ก็เมื่อบุคคลรู้เห็นสัจจะ 4
ด้วยปัญญาอันสัมปยุตด้วยอริยมรรคตามที่เป็นจริงอย่างนี้ ชื่อว่าย่อมไม่มี
ตัณหา อันเป็นเหตุนำสัตว์ไปในภพเป็นต้น เมื่อตัณหานั้นไม่มี กิเลสวัฏ
แม้ทั้งหมดก็ไม่มี ต่อแต่นั้นกัมมวัฏและวิปากวัฏ ก็ไม่มีเหมือนกันแล.
พระผู้มีพระภาคเจ้า ทรงประกาศอานุภาพแห่งอมตมหานิพพาน
อันเป็นเหตุสงบระงับวัฏทุกข์ได้เด็ดขาด แก่ภิกษุทั้งหลายเหล่านั้น ด้วย
ประการฉะนี้. คำที่เหลือมีนัยดังกล่าวแล้วนั่นแล.
จบอรรถกถาทุติยนิพพานสูตรที่ 2

3. ตติยนิพพานสูตร



ว่าด้วยพระนิพพานธรรมชาติปรุงแต่งไม่ได้



[160] ข้าพเจ้าได้สดับมาแล้วอย่างนี้ :-
สมัยหนึ่ง พระผู้มีพระภาคเจ้าประทับอยู่ ณ พระวิหารเชตวัน อาราม
ของท่านอนาถบิณฑิกเศรษฐี ใกล้พระนครสาวัตถี ก็สมัยนั้นแล พระ-
ผู้มีพระภาคเจ้าทรงชี้แจงให้ภิกษุทั้งหลายเห็นแจ้ง. . .เงี่ยโสตลงสดับธรรม
ลำดับนั้นแล พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงทราบเนื้อความนี้แล้ว จึงทรงเปล่ง
อุทานนี้ในเวลานั้นว่า
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ธรรมชาติไม่เกิดแล้ว ไม่
เป็นแล้ว อันปัจจัยกระทำไม่ได้แล้ว ปรุงแต่งไม่ได้
แล้ว มีอยู่ ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ถ้าปัจจัยกระทำไม่ได้แล้ว
เกิดแล้ว ไม่เป็นแล้ว อันปัจจัยกระทำไม่ได้แล้ว
ปรุงแต่งไม่ได้แล้ว จักไม่ได้มีแล้วไซร้ การสลัด

ออกซึ่งธรรมชาติที่เกิดแล้ว เป็นแล้ว อันปัจจัย
กระทำแล้ว ปรุงแต่งแล้ว จะไม่พึงปรากฏในโลกนี้
เลย ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ก็เพราะธรรมชาติอันไม่
เกิดแล้ว ไม่เป็นแล้ว อันปัจจัยกระทำไม่ได้แล้ว
ปรุงแต่งไม่ได้แล้ว มีอยู่ ฉะนั้น การสลัดออกซึ่ง
ธรรมชาติที่เกิดแล้ว เป็นแล้ว อันปัจจัยกระทำแล้ว
ปรุงแต่แล้วจึงปรากฏ.

จบตติยนิพพานสูตรที่ 3

อรรถกถาตติยนิพพานสูตร



ตติยนิพพานสูตรที่ 3

มีวินิจฉัยดังต่อไปนี้ :-
บทว่า อถ โข ภควา เอตมตฺถํ วิทิตฺวา ความว่า ได้ยินว่า ในกาล
นั้น เมื่อพระผู้มีพระภาคเจ้า ทรงประกาศโทษในสงสารโดยเอนกปริยาย
แล้ว ทรงแสดงพระธรรมเทศนา อันเกี่ยวด้วยพระนิพพาน โดยการ
แสดงเทียบเคียงเป็นต้นแล้ว ภิกษุเหล่านั้นได้มีความคิดดังนี้ว่า พระผู้มี-
พระภาคเจ้า ทรงประกาศสงสารนี้ พร้อมด้วยเหตุ มีอวิชชาเป็นต้น
อันชื่อว่า สเหตุกะ แต่ไม่ตรัสถึงเหตุอะไร ๆ แห่งพระนิพพานซึ่งเป็น
เหตุสงบสงสารนั้น พระนิพพานนี้นั้นจัดเป็นอเหตุกะ อเหตุกะนั้นจะ
เกิดได้ เพราะอรรถว่า มีการกระทำให้แจ้ง และมีอรรถเป็นอย่างไร.
ลำดับนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงทราบอรรถนี้ ตามที่กล่าวแล้ว ของภิกษุ
เหล่านั้น. บทว่า อิมํ อุทานํ ความว่า พระองค์ทรงเปล่งอุทานนี้ อัน
เป็นเหตุ ประกาศอมตมหานิพพาน อันมีอยู่โดยปรมัตถ์ เพื่อกำจัดความ
สงสัยของภิกษุเหล่านั้น และเพื่อหักรานมิจฉาวาทะ ของสมณพราหมณ์
ในโลกนี้ ผู้ปฏิบัติผิด ผู้มีทิฏฐิคติหนาแน่น ในภายนอกทีเดียว เหมือน
บุคคลผู้ยึดโลกเป็นใหญ่ว่า คำว่า นิพพาน นิพพาน เป็นเพียงแต่เรื่อง