เมนู

ลำดับนั้นแล พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงทราบเนื้อความแล้ว จึง
ทรงเปล่งอุทานนี้ในเวลานั้นว่า
ฐานะที่บุคคลเห็นได้ยาก ชื่อว่านิพพาน ไม่มี
ตัณหา นิพพานนั้นเป็นธรรมจริงแท้ ไม่เห็นได้โดย
ง่ายเลย ตัณหาอันบุคคลแทงตลอดแล้ว กิเลสเครื่อง
กังวลย่อมไม่มีแก่บุคคลผู้รู้ ผู้เห็นอยู่.

จบทุติยนิพพานสูตรที่ 2

อรรถกถาทุติยนิพพานสูตร



ทุติยนิพพานสูตรที่ 2

มีวินิจฉัยดังต่อไปนี้ :-
บทว่า อิมํ อุทานํ ความว่า พระผู้มีพระภาคเจ้า ทรงเปล่งอุทานนี้
อันแสดงถึงภาวะที่พระนิพพานเห็นได้ยาก เพราะตามปกติเป็นคุณชาต
ลึกซึ้ง.
บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า ทุทฺทสํ ความว่า พระนิพพาน ชื่อว่า
เห็นได้ยาก เพราะใคร ๆ ไม่สามารถจะเห็นได้ ด้วยเครื่องปรุงคือญาณที่
ไม่เคยได้สั่งสมอบรมมาเพราะมีสภาวะลึกซึ้ง และเพราะมีสภาวะสุขุม
ละเอียดอย่างยิ่ง. สมจริงดังพระดำรัสที่ตรัสไว้ว่า ดูก่อนมาคัณฑิยะ ก็ท่าน
ไม่มีปัญญาจักษุอันเป็นอริยะ ที่เป็นเหตุให้ท่านรู้ความไม่มีโรค ทั้งเป็น
เครื่องเห็นพระนิพพาน. พระองค์ตรัสไว้อีกว่า ฐานะแม้เช่นนี้ คือความ
สงบแห่งสรรพสังขารนี้เห็นได้ยาก ดังนี้เป็นต้น. บทว่า อนฺตํ ความว่า
ตัณหา ชื่อว่า นตะ เพราะน้อมไปในอารมณ์มีรูปเป็นต้น และในภพมี

กามภพเป็นต้น เพราะเป็นไปโดยภาวะที่น้อมไปในอารมณ์และกามนั้น
และเพราะสัตว์ทั้งหลายน้อมไปในอารมณ์และกามภพเป็นต้นนั้น. พระนิพ-
พานจึงชื่อว่า อนตะ เพราะไม่เป็นที่ที่สัตว์น้อมไป. อาจารย์บางพวกกล่าว
ว่า อนนฺตํ ดังนี้ก็มี. อธิบายว่า พระนิพพาน ชื่อว่าเว้นจากที่สุด คือไม่มี
จุติเป็นธรรม เป็นความดับสนิท ได้แก่ เป็นอมตะ เพราะมีสภาวะแท้.
แต่อาจารย์บางพวกกล่าวความแห่งบทว่า อนนฺตํ ว่าเป็น อปฺปมาณํ.
ก็ในคำเหล่านั้น ด้วยคำว่า ทุทฺทสํ นี้ พระองค์ทรงแสดงถึงความที่พระ-
นิพพาน อันสัตว์พึงถึงได้โดยยากว่า การที่สัตว์ทั้งหลายทำพระนิพพาน
อันหาปัจจัยมิได้ ให้เกิด มิใช่ทำได้ง่าย เพราะสัตว์เหล่านั้นถูกกิเลสมี
ราคะเป็นต้น ซึ่งกระทำปัญญาให้ทุรพล ให้มีมาเป็นเวลานาน. ด้วยบทว่า
น หิ สจฺจํ สุทสฺสนํ แม้นี้ พระองค์ทรงกระทำความนั้นนั่นแหละให้
ปรากฏ. บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า สจฺจํ ได้แก่ พระนิพพาน. จริงอยู่
พระนิพพานนั้น ชื่อว่าสัจจะ เพราะอรรถว่าไม่ผิดแผก เหตุเป็นคุณชาต
สงบโดยแท้จริงทีเดียว เพราะไม่มีสภาวะอันไม่สงบ โดยปริยายไหน ๆ.
อนึ่ง พระนิพพานนั้น ชื่อว่าไม่ใช่เห็นได้ง่าย คืออันใคร ๆ ไม่พึงเห็น
ได้โดยง่าย เพราะถึงจะรวบรวมบุญสมภาร และญาณสมภาร มาตลอด
กาลนาน ก็ยังบรรลุได้โดยยากทีเดียว. สมจริงดังพระดำรัสที่พระผู้มีพระ-
ภาคเจ้าตรัสไว้ว่า พระนิพพานเราบรรลุได้ยาก. บทว่า ปฏิวิทฺธา ตณฺหา
ชานโต ปสฺสโต นตฺถิ กิญฺจนํ
ความว่า หากนิโรธสัจนั้นอันผู้จะตรัสรู้
โดยสัจฉิกิริยาภิสมัย เมื่อว่าโดยวิสัย โดยกิจ และโดยอารมณ์ ก็ตรัสรู้ได้
โดยการรู้ตลอดอารมณ์ และการรู้ตลอดโดยไม่งมงาย เหมือนทุกขสัจที่
ตรัสรู้ได้โดยปริญญาภิสมัย และมรรคสัจ ที่ตรัสรู้ได้โดยภาวนาภิสมัย คือ

การรู้ตลอดโดยไม่งมงาย ด้วยอาการอย่างนี้ เป็นอันรู้แจ้งตลอดตัณหา
ด้วยปหานาภิสมัย และด้วยความไม่งมงาย. ก็เมื่อบุคคลรู้เห็นสัจจะ 4
ด้วยปัญญาอันสัมปยุตด้วยอริยมรรคตามที่เป็นจริงอย่างนี้ ชื่อว่าย่อมไม่มี
ตัณหา อันเป็นเหตุนำสัตว์ไปในภพเป็นต้น เมื่อตัณหานั้นไม่มี กิเลสวัฏ
แม้ทั้งหมดก็ไม่มี ต่อแต่นั้นกัมมวัฏและวิปากวัฏ ก็ไม่มีเหมือนกันแล.
พระผู้มีพระภาคเจ้า ทรงประกาศอานุภาพแห่งอมตมหานิพพาน
อันเป็นเหตุสงบระงับวัฏทุกข์ได้เด็ดขาด แก่ภิกษุทั้งหลายเหล่านั้น ด้วย
ประการฉะนี้. คำที่เหลือมีนัยดังกล่าวแล้วนั่นแล.
จบอรรถกถาทุติยนิพพานสูตรที่ 2

3. ตติยนิพพานสูตร



ว่าด้วยพระนิพพานธรรมชาติปรุงแต่งไม่ได้



[160] ข้าพเจ้าได้สดับมาแล้วอย่างนี้ :-
สมัยหนึ่ง พระผู้มีพระภาคเจ้าประทับอยู่ ณ พระวิหารเชตวัน อาราม
ของท่านอนาถบิณฑิกเศรษฐี ใกล้พระนครสาวัตถี ก็สมัยนั้นแล พระ-
ผู้มีพระภาคเจ้าทรงชี้แจงให้ภิกษุทั้งหลายเห็นแจ้ง. . .เงี่ยโสตลงสดับธรรม
ลำดับนั้นแล พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงทราบเนื้อความนี้แล้ว จึงทรงเปล่ง
อุทานนี้ในเวลานั้นว่า
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ธรรมชาติไม่เกิดแล้ว ไม่
เป็นแล้ว อันปัจจัยกระทำไม่ได้แล้ว ปรุงแต่งไม่ได้
แล้ว มีอยู่ ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ถ้าปัจจัยกระทำไม่ได้แล้ว
เกิดแล้ว ไม่เป็นแล้ว อันปัจจัยกระทำไม่ได้แล้ว
ปรุงแต่งไม่ได้แล้ว จักไม่ได้มีแล้วไซร้ การสลัด