เมนู

ดำรัสนี้ พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสว่า ภิกษุทั้งหลาย พวกเธอจงเป็นธรรม-
ทายาทของเรา อย่าเป็นอามิสทายาท. แม้ในที่นี้ พึงเห็นว่า วุตฺต ศัพท์
ใช้ในการกล่าวเท่านั้น. อธิบายว่า ตรัสอุทานแม้นี้ ด้วยพระดำรัสนั้น.
ศัพท์ อิติ เท่ากับ เอวํ. ความของบททั้งสองว่า เม สุตํ ได้กล่าวไว้ใน
อรรถกถานิทานโดยอาการทั้งปวงนั่นแหละ. จริงอยู่ ในกาลก่อน ความ
ของทั้งสองบทว่า เอวมฺเม สุตํ ได้กล่าวไว้ด้วยอำนาจคำเริ่มต้น ในที่นี้
กล่าวอีกว่า อิติ เม สุตํ ด้วยอำนาจคำลงท้าย. ก็กล่าวซ้ำถึงอรรถที่กล่าว
แล้วนั่นแล ชื่อว่า นิคม คำลงท้ายแล. การยกเนื้อความแห่ง อิติ ศัพท์
เหมือนในคำว่า เอวมฺเม สุตํ นี้ เพราะ อิติ ศัพท์มีอรรถเสมอด้วย เอวํ
ศัพท์ และการประกอบความของ อิติ ศัพท์ ข้าพเจ้าประกาศไว้แล้วใน
อิติวุตตกวรรณนานั้นแล เพราะเหตุนั้น พึงทราบโดยนัยตามที่กล่าวแล้ว
ในอรรถกถานั้น ฉะนี้แล.
จบอรรถกถาปฐมโพธิสูตร แห่งอุทานสังวรรณนา
อรรถกถาขุททกนิกาย ชื่อว่า ปรมัตถทีปนี

2. ทุติยโพธิสูตร



ว่าด้วยปฏิจจสมุปบาทเป็นปฏิโลม



[39] ข้าพเจ้าได้สดับมาแล้วอย่างนี้:-
สมัยหนึ่ง พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสรู้ใหม่ ๆ ประทับอยู่ที่โคนไม้โพธิ
ใกล้ฝั่งแม่น้ำเนรัญชรา ที่ตำบลอุรุเวลา ก็สมัยนั้นแล พระผู้มีพระภาค-
เจ้าประทับนั่งเสวยวิมุตติสุขด้วยบัลลังก์อันเดียว ตลอด 7 วัน พอล่วง
สัปดาห์นั้นไป พระผู้มีพระภาคเจ้าเสด็จออกจากสมาธินั้นแล้ว ทรง

มนสิการปฏิจจสมุปบาทอันเป็นปฏิโลมด้วยดี ตลอดมัชฌิมยามแห่งราตรี
ดังนี้ว่า เมื่อสิ่งนี้ไม่มี สิ่งนี้ก็ไม่มี เพราะสิ่งนี้ดับ สิ่งนี้ก็ดับ คือ เพราะ
อวิชชาดับ สังขารจึงดับ เพราะสังขารดับ วิญญาณจึงดับ เพราะวิญญาณดับ
นามรูปจึงดับ เพราะนามรูปดับ สฬายตนะจึงดับ เพราะสฬายตนะดับ
ผัสสะจึงดับ เพราะผัสสะดับ เวทนาจึงดับ เพราะเวทนาดับ ตัณหาจึงดับ
เพราะตัณหาดับ อุปาทานจึงดับ เพราะอุปาทานดับภพจึงดับ เพราะภพดับ
ชาติจึงดับ เพราะชาติดับ ชรา มรณะ โสกะ ปริเทวะ ทุกข์ โทมนัส
และอุปายาสจึงดับ ความดับแห่งกองทุกข์ทั้งสิ้นนี้ ย่อมมีด้วยประการ
อย่างนี้.
ลำดับนั้นแล พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงทราบเนื้อความนี้แล้ว จึง
ทรงเปล่งอุทานในเวลานั้นว่า
ในกาลใดแล ธรรมทั้งหลายมาปรากฏแก่พราหมณ์
ผู้มีเพียรเพ่งอยู่ ในกาลนั้น ความสงสัยทั้งปวงของ
พราหมณ์นั้น ย่อมสิ้นไปเพราะได้รู้แจ้งความสิ้นไป
แห่งปัจจัยทั้งหลาย.

จบทุติยโพธิสูตรที่ 2

อรรถกถาทุติยโพธิสูตร



ทุติยโพธิสูตรที่ 2 มีวินิจฉัยดังต่อไปนี้:-
บทว่า ปฏิโลมํ ความว่า ปัจจยาการมีอวิชชาเป็นต้นที่กล่าวไว้โดย
นัยมีอาทิว่า เพราะอวิชชาดับ สังขารจึงดับ ดังนี้ เมื่อดับด้วยการดับ
โดยไม่เกิดขึ้น ท่านเรียกว่า ปฏิโลม เพราะไม่ทำกิจที่ตนควรกระทำ.