เมนู

ปาฏลิคามิยวรรควรรณนาที่ 8



อรรถกถาปฐมนิพพานสูตร



ปาฏลิคามิยวรรค ปฐมนิพพานสูตรที่ 1

มีวินิจฉัยดังต่อไปนี้ :-
บทว่า นิพฺพานปฏิสํยุตฺตาย ความว่า อสังขตธาตุที่อาศัยอมตธาตุ
เป็นไปด้วยอำนาจการประกาศให้รู้. บทว่า ธมฺมิยา กถาย แปลว่า ด้วย
ธรรมเทศนา. บทว่า สนฺทสฺเสติ ได้แก่ แสดงถึงพระนิพพาน โดย
ลักษณะแห่งสภาวะพร้อมด้วยกิจ. บทว่า สมาทเปติ ได้แก่ ให้ภิกษุ
เหล่านั้น ยึดถือเอาอรรถนั้นนั่นแล. บทว่า สมุตฺเตเชติ ได้แก่ เมื่อให้
อุตสาหะเกิดในกาลยึดถือประโยชน์นั้น ชื่อว่าย่อมให้อบอุ่น คือให้โชติช่วง.
บทว่า สมฺปหํเสติ ได้แก่ ย่อมให้ยินดี ด้วยคุณคือพระนิพพาน โดยชอบ
ทีเดียว คือโดยประการทั้งปวง. อีกอย่างหนึ่ง. บทว่า สนฺทสฺเสติ
ความว่า ทรงแสดงโดยชอบ อันเหมาะสมแก่อัธยาศัยของภิกษุเหล่านั้น ๆ
โดยประการทั้งปวง คือโดยปริยายนั้น ๆ โดยนัยมีอาทิว่า ธรรมเป็นที่
สิ้นตัณหา เป็นที่คลายราคะ เป็นที่ดับ อันเป็นเครื่องสงบสังขารทั้งปวง
อันเป็นที่สละคืนอุปธิทั้งปวงนั้น. บทว่า สมาทเปติ ความว่า ทรงกระทำ
ให้ภิกษุทั้งหลาย น้อมไป โอนไป เงื้อมไปในธรรมนั้น พร้อมด้วยปฏิปทา
เครื่องบรรลุ ชื่อว่าทรงชักชวน คือให้ภิกษุถือเอาโดยชอบว่า เธอพึง
บรรลุพระนิพพานนั้น ด้วยอริยมรรคนี้. บทว่า สมุตฺเตเชติ ความว่า
ทรงทำภิกษุเหล่านั้นให้อาจหาญ ในการบรรลุพระนิพพาน หรือให้ทำจิต
ให้ผ่องแผ้วในพระนิพพานนั้น ด้วยพระดำรัสว่า พวกเธออย่าถึงความ
ประมาท คือถึงความหยุดเสียในระหว่าง ในสัมมาปฏิบัติว่า พระนิพพาน
นี้ทำได้ยาก มีความยินดีได้ยาก เพราะพระนิพพานนี้ อันผู้สมบูรณ์ด้วย

อุปนิสัย มีความเพียร มิใช่ทำได้ยาก เพราะฉะนั้น พวกเธอพึงลุกขึ้น
พยายามเพื่อปฏิปทาอันหมดจดมีสีลวิสุทธิเป็นต้น. บทว่า สมฺปหํเสติ
ความว่า เมื่อทรงทำจิตของภิกษุเหล่านั้น ให้ยินดี ให้ร่าเริง ด้วยการ
ประกาศอานิสงส์แห่งพระนิพพาน โดยนัยมีอาทิว่า นี้ธรรมเป็นที่สร้างเมา
เป็นที่กำจัดความกระหาย เป็นที่ถอนความอาลัย และโดยนัยมีอาทิว่า
ธรรมนี้เป็นที่สิ้นราคะ โทสะ โมหะ และว่า นี้เป็นอสังขตธรรม และว่า
อมตธรรม สันติธรรม ดังนี้ ชื่อว่ายังภิกษุ ให้ร่าเริง ให้เบาใจ. บทว่า
เต จ ภิกฺขู อฏฺฐิกตฺวา ความว่า ภิกษุทั้งหลาย กำหนดอย่างนี้ว่า สิ่ง
อะไร ๆ มีอยู่ ประโยชน์นี้พวกเราควรบรรลุแล้ว เป็นผู้มีความต้องการ
ด้วยเทศนานั้น. บทว่า มนสิกตฺวา ความว่า วางไว้ในจิต ไม่ส่งจิตไป
ในที่อื่น คือกระทำเทศนานั้น ให้อยู่ในจิตของตนเท่านั้น. บทว่า สพฺพํ
เจตโส สมนฺนาหริตฺวา
ความว่า นึกถึงเทศนาด้วยใจ อันเป็นตัวนำ
ทั้งปวง ตั้งแต่ต้นจนถึงที่สุด คือทำความคำนึงให้อยู่ในเทศนานั้นนั่นเอง.
อีกอย่างหนึ่ง. บทว่า สพฺพํ เจตโส สมนฺนาหริตฺวา ความว่า นำมา
เนือง ๆ โดยชอบซึ่งเทศนา จากจิตทั้งหมด. ท่านกล่าวคำอธิบายไว้ดังนี้
ว่า เมื่อผู้แสดงทำเทศนาด้วยจิตใด ไม่ให้เทศนาที่เป็นไปจากจิตทั้งปวง
ออกไปภายนอกแล้วนำมาโดยเนือง ๆ โดยชอบ คือไม่ผิดแผก แล้วนำ
จิตสันดานของตนมาทรงไว้ด้วยดี ซึ่งเทศนาตามที่แสดงแล้ว ๆ. บทว่า
โอหิตโสตา ได้แก่ เงี่ยโสตลงสดับ คือตั้งโสตไว้ด้วยดี. อีกอย่างหนึ่ง.
บทว่า โอหิตโสตา ได้แก่ มีโสตประสาทอันอะไร ๆ ไม่รบกวน. จริงอยู่
บุคคลแม้เมื่อได้โสตประสาทที่ไม่มีอะไรรบกวนนั้นนั่นแล จึงไม่ฟุ้งซ่านไป
ในการฟังเหมือนสติสังวร ควรจะกล่าวได้ว่า ในจักขุนทรีย์เป็นต้นบ้าง ใน

โสตินทรีย์บ้าง. ก็ในที่นี้ ด้วยบททั้ง 4 มีบทว่า อฏฺฐิกตฺวา เป็นต้น
ทรงแสดงถึงการที่ภิกษุเหล่านั้น ฟังโดยเคารพ โดยแสดงการเอื้อเฟื้อใน
การฟัง โดยไม่เป็นอื่นไปจากนั้น.
บทว่า เอตมตฺถํ วิทิตฺวา ความว่า พระองค์ทรงทราบโดยอาการ
ทั้งปวง ซึ่งภาวะที่ภิกษุเหล่านั้น มีการกระทำเอื้อเฟื้อในการฟังธรรมกถา
อันเกี่ยวด้วยพระนิพพานนั้น. บทว่า อิมํ อุทานํ ความว่า ทรงเปล่งอุทาน
นี้ อันประกาศภาวะที่พระนิพพานมีอยู่โดยปรมัตถ์ โดยมุขคือพระธรรม
เทศนาที่ผิดตรงกันข้ามจากธรรมนั้น.
บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า อตฺถิ แปลว่า มีอยู่ อธิบายว่า เกิด
โดยปรมัตถ์. บทว่า ภิกฺขเว เป็นคำเรียกภิกษุเหล่านั้น. ถามว่า ก็การ
เปล่งอันยังปีติและโสมนัสให้ตั้งขึ้นก็ดี อันยังธรรมสังเวชให้ตั้งขึ้นก็ดี ไม่
มุ่งถึงคนรับธรรม ชื่อว่าอุทาน และอุทานนั้นมาในสูตร มีประมาณ
เท่านี้ เช่นนั้นเหมือนกันมิใช่หรือ แต่เพราะเหตุไร ในที่นี้ พระผู้มีพระ-
ภาคเจ้าเมื่อทรงเปล่งอุทาน จึงตรัสเรียกภิกษุเหล่านั้น ? ตอบว่า เพราะ
พระผู้มีพระภาคเจ้า ทรงแสดงธรรมแก่ภิกษุเหล่านั้น อันเกี่ยวด้วยพระ-
นิพพาน เพื่อให้ภิกษุเหล่านั้นเข้าใจ ก็ทรงเกิดปีติโสมนัสขึ้น ด้วยหวน
ระลึกถึงคุณของพระนิพพาน จึงทรงเปล่งอุทาน. พระผู้มีพระภาคเจ้า
ทรงทราบความปริวิตกแห่งจิตของภิกษุเหล่านั้นว่า สภาวธรรมทั้งหมด
ในพระศาสนานี้ เว้นพระนิพพาน ที่เป็นไปเนื่องกับปัจจัยเท่านั้นเกิดขึ้น
ได้ ที่ปราศจากปัจจัย หาเกิดขึ้นไม่ แต่นิพพานธรรมนี้เกิดในปัจจัยไหน
และมีพระประสงค์จะให้พระภิกษุเหล่านั้นเข้าใจ จึงตรัสคำมีอาทิว่า ภิกฺขเว
ตทายตนํ
ดังนี้. พึงทราบว่า ไม่ใช่กระทำให้ภิกษุเหล่านั้นเป็นผู้รับโดย

ส่วนเดียวเท่านั้น. บทว่า ตทายตนํ ได้แก่ เหตุนั้น. อักษร ทำการ
เชื่อมบท. จริงอยู่ พระนิพพานท่านเรียกว่า อายตนะ เพราะอรรถว่า
เป็นเหตุ โดยเป็นอารัมมณปัจจัยแก่มรรคญาณและผลญาณเป็นต้น เหมือน
รูปารมณ์เป็นต้น เป็นอารัมมณปัจจัยแก่จักขุวิญญาณเป็นต้น. ก็ด้วยอันดับ
คำเพียงเท่านี้ พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงประกาศถึงสังขตธาตุว่า มีอยู่โดย
ปรมัตถ์แก่ภิกษุเหล่านั้น.
ในข้อนั้น มีนัยแห่งธรรมดังต่อไปนี้ เพราะสังขตธรรมมีอยู่ แม้
อสังขตธาตุก็มี เพราะมีความเป็นคู่ปรับต่อสภาวธรรม เหมือนอย่างว่า
เมื่อทุกข์มีอยู่ แม้สุขที่เป็นคู่ปรับกับทุกข์นั้น ก็มีอยู่เหมือนกัน ฉันใด
เมื่อความร้อนมีอยู่ แม้ความหนาวก็มีอยู่ เมื่อบาปธรรมมีอยู่ แม้กัลยาณ-
ธรรม ก็มีอยู่เหมือนกัน. สมจริงดังคำที่ท่านกล่าวไว้ว่า
เมื่อทุกข์มี ชื่อว่าสุขก็มีฉันใด เมื่อภพมี มีภพ
สภาวะที่ปราศจากภพก็จำต้องปรารถนาฉันนั้น เมื่อ
ความร้อนมี ความเย็นก็มีแม้ฉันใด เมื่อไฟ 3 กองมี
พระนิพพานก็จำต้องปรารถนาฉันนั้น เมื่อบาปธรรม
มี กัลยาณธรรมก็มีฉันใด เมื่อความเกิดมี ความ
ไม่เกิด ก็จำต้องปรารถนาฉันนั้น.

อีกอย่างหนึ่ง การไขความถึงพระนิพพานว่ามีอยู่โดยปรมัตถ์ จักมี
แจ้งข้างหน้า.
พระผู้มีพระภาคเจ้า ครั้นทรงแสดงถึงอสังขตธาตุ ว่ามีอยู่โดย
ปรมัตถ์ โดยพร้อมมูลด้วยประการฉะนี้แล้ว บัดนี้ เพื่อจะทรงแสดง
สภาวะที่พระนิพพานนั้น มีอยู่โดยมุขคือความผ่องแผ้วแห่งธรรมที่ผิดตรง

กันข้ามจากอสังขตธาตุนั้น จึงตรัสคำว่า ยตฺถ เนว ปฐวี น อาโป ดังนี้
เป็นต้น.
ในข้อนั้น เพราะเหตุที่พระนิพพาน มีสภาวะผิดตรงกันข้ามจาก
สังขารทั้งปวง ไม่มีในบรรดาสังขตธรรมไหน ๆ ฉันใด แม้ในพระ-
นิพพานนั้น ก็ไม่มีสังขตธรรมทั้งหมด ฉันนั้น เพราะสังขตธรรมและ
อสังขตธรรม รวมกันไม่ได้. ในข้อนั้น มีการทำอธิบายอรรถดังต่อไปนี้
ปฐวีธาตุมีความแข้นแข็งเป็นลักษณะ อาโปธาตุมีการไหลไปเป็นลักษณะ
เตโชธาตุมีความอบอุ่นเป็นลักษณะ วาโยธาตุมีการเคลื่อนไหวเป็นลักษณะ
ไม่มีในพระนิพพานใด คืออสังขตธาตุใด ดังนั้น ในธาตุเหล่านั้น เมื่อ
ว่าโดยความไม่มีแห่งมหาภูตรูป 8 ก็เป็นอันกล่าวถึงความไม่มีแห่งอุปาทาย
รูปแม้ทั้งหมด เพราะอาศัยมหาภูตรูปนั้นฉันใด กามภพและรูปภพก็ฉัน
นั้น เป็นอันกล่าวว่าไม่มีในพระนิพพานนั้นโดยสิ้นเชิง เพราะมีความเป็น
ไปไม่เนื่องกับพระนิพพานนั้น เพราะปัญจโวการภพ หรือเอกโวการภพ
เว้นจากการอาศัยมหาภูตรูปแล้วก็มีไม่ได้แล.
บัดนี้ เพื่อจะทรงแสดงธรรมที่นับเนื่องในอรูปภพ ไม่มีในพระ-
นิพพานนั้น แม้ในเมื่อพระนิพพานมีสภาวะเป็นอรูป (เป็นนาม) จึงตรัส
คำมีอาทิว่า น อากาสานญฺจายตนํ ฯ เป ฯ น แนวสญฺญานาสญฺญายตนํ
ดังนี้.
บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า น อากาสานญฺจายตนํ ความว่า จิต-
ตุปบาท กล่าวคือ อากาสานัญจายตนะ ทั้ง 3 อย่าง ต่างโดยกุศลจิต
วิปากจิต และกิริยาจิต พร้อมทั้งอารมณ์ย่อมไม่มี. แม้ในบทที่เหลือ ก็
นัยนี้เหมือนกัน.

ก็กามโลกไม่มีในพระนิพพานด้วยอารมณ์ใด แม้อิธโลก และปรโลก
ก็ไม่มีในพระนิพพานนั้น ด้วยอารมณ์นั้น เพราะเหตุนั้น ท่านจึงกล่าวว่า
โลกนี้ไม่มี โลกหน้าไม่มี ดังนี้เป็นต้น.
คำนั้น มีอธิบายดังต่อไปนี้ ขันธโลกนี้ใด อันได้โวหารว่า ความ
เป็นอย่างนี้ ปัจจุบันธรรม และว่าโลกนี้ และขันธโลกอันได้โวหาร
ว่า โลกอื่นจากโลกนั้น ปรโลก และอภิสัมปรายภพใด ทั้งสองนั้น ไม่มี
ในที่ใด. บทว่า น อุโภ จนฺทิมสุริยา ความว่า เพราะเหตุที่เมื่อรูปมี
ชื่อว่าความมืดก็พึงมี และเพื่อกำจัดความมืด พระจันทร์และพระอาทิตย์
ก็หมุนเวียนไป แต่รูปโดยประการทั้งปวง ไม่มีในที่ใด ความมืดในที่นั้น
จักมีในที่ไหน. อีกอย่างหนึ่ง การกำจัดความมืดก็คือพระจันทร์และพระ-
อาทิตย์ ฉะนั้น พระจันทร์และพระอาทิตย์ทั้งสอง ย่อมไม่มีในพระ-
นิพพานใด. ด้วยคำนี้ ทรงแสดงถึงพระนิพพานมีความสว่างไสว เป็น
สภาวะนั่นแล.
ก็ด้วยอันดับคำเพียงเท่านี้ พระธรรมราชาเมื่อจะทรงประกาศอมต-
นิพพาน อันไม่เคยมีไนสงสารซึ่งหาเบื้องต้นรู้ไม่ได้ แม้ที่สุดด้วยความฝัน
อันลึกโดยปรมัตถ์ เห็นได้ยากอย่างยิ่ง ละเอียดสุขุม นึกเอาเองไม่ได้ สงบ
ที่สุด เป็นที่อำนวยผลเฉพาะตน ประณีตยิ่งนัก แก่ภิกษุทั้งหลายผู้ยังไม่
ได้บรรลุ จึงให้ภิกษุเหล่านั้น ขจัดความโง่เป็นต้นออกเสีย เพราะพระ-
นิพพานนั้นมีอยู่ก่อนทีเดียว ดังบาลีว่า อตฺถิ ภิกฺขเว ตทายตนํ ดังนี้เป็นต้น
จึงทรงประกาศพระนิพพานนั้น โดยมุขคือความไม่งมงายในธรรมอื่น
จากพระนิพพานนั้นว่า ยตฺถ เนว ปฐวี ฯ เป ฯ น อุโภ จนฺทิมสุริยา ดังนี้
เป็นต้น. ด้วยคำนั้น เป็นอันแสดงว่า อสังขตธาตุ อันมีสภาวะผิดตรง

กันข้ามจากสังขตธรรมทั้งปวงมีปฐวีเป็นต้นว่า พระนิพพาน. ด้วยเหตุนั้น
นั่นแล พระองค์จึงตรัสว่า ตตฺรปาหํ ภิกฺขเว เนว อาคตึ วทามิ ดังนี้
เป็นต้น.
บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า ตตฺร แปลว่า ในนิพพานนั้น. อปิ ศัพท์
ใช้ในอรรถสมุจจัย. ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เราไม่กล่าวการมาของอะไร ๆ
จากที่ไหนๆ ที่เป็นไปตามสังขาร เพราะเหตุสักว่าธรรมเกิดในพระนิพพาน
นั้นตามปัจจัย อนึ่ง เราไม่กล่าวอาคติ คือการมาแต่ที่ไหนๆ ในอายตนะ
คือพระนิพพานนั้นอย่างนี้ เพราะพระนิพพานไม่มีฐานะที่จะพึงมา. บทว่า
น คตึ ความว่า เราไม่กล่าวการไปในที่ไหนๆ เพราะฐานะที่พระนิพพาน
จะพึงถึงไม่มี. เพราะการมาและการไปของสัตว์ทั้งหลาย เว้นการกระทำ
ให้เป็นอารมณ์ด้วยญาณ ไม่มีในพระนิพพานนั้น. อนึ่ง เราไม่กล่าวถึง
ฐิติ จุติ และอุปบัติ. บาลีว่า ตทปหํ ดังนี้ก็มี. ความของพระบาลีนั้น
มีดังนี้ อายตนะแม้นั้น ชื่อว่าไม่มีการมา เพราะเป็นฐานะที่ไม่ควรมา
เหมือนจากละแวกบ้านมาสู่ละแวกบ้าน. ชื่อว่าไม่มีการไป เพราะไม่เป็น
ฐานะที่จะควรไป ชื่อว่าไม่มีฐิติ เพราะไม่มีฐานะที่จะตั้งอยู่ เหมือน
แผ่นดินและภูเขาเป็นต้น. อนึ่ง ชื่อว่าไม่มีการเกิด เพราะไม่มีปัจจัย
ชื่อว่าไม่มีจุติ เพราะไม่มีการตายเป็นสภาวะนั้น. เราไม่กล่าวฐิติ จุติ
และอุปบัติ เพราะไม่มีการเกิดและการดับ และเพราะไม่มีการตั้งอยู่ที่
กำหนดด้วยการเกิดและการดับทั้ง 2 นั้น. อนึ่ง พระนิพพานนั้นล้วน
ชื่อว่าไม่ตั้งอยู่ในที่ไหน ๆ เพราะมีสภาวะเป็นอรูป และเพราะไม่มีปัจจัย
เพราะเหตุนั้น จึงชื่อว่า ไม่มีที่ตั้ง ชื่อว่า ไม่เป็นไป เพราะไม่มีความ
เป็นไปพร้อม และเพราะเป็นปฏิปักษ์ต่อความเป็นไปในพระนิพพานนั้น

ชื่อว่า ไม่มีอารมณ์ เพราะไม่มีอารมณ์อะไร ๆ เป็นที่ยึดเหนี่ยว และ
เพราะไม่มุ่งถึงอารมณ์ที่อุปถัมภ์ เหมือนสัมปยุตธรรมมีเวทนาเป็นต้น
แม้ที่มีสภาวะเป็นอรูป (เป็นนาม) ฉะนั้น พระนิพพานนั้น ท่านจึงกล่าวว่า
อายตนะ. ก็ เอว ศัพท์นี้ พึงประกอบด้วยบททั้งสองคือ อปฺปติฏฺฐเมว
อปฺปวตฺตเมว. บทว่า เอเสวนฺโต ทุกฺขสฺส ความว่า พระนิพพานซึ่งมี
ลักษณะตามที่กล่าวแล้ว ที่พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสสรรเสริญชมเชย ด้วย
คำมีอาทิว่า อปฺปติฏฺฐํ ดังนี้นั่นแหละ ชื่อว่าเป็นที่สุด คือเป็นที่สิ้นสุดแห่ง
วัฏทุกข์ทั้งสิ้น เพราะเมื่อมีการบรรลุพระนิพพาน ทุกข์ทั้งหมดก็ไม่มี
เพราะเหตุฉะนั้น จึงทรงแสดงว่า พระนิพพานนั้น มีสภาวะเป็นดังนี้ว่า
เป็นที่สุดแห่งทุกข์นั่นแล.
จบอรรถกถาปฐมนิพพานสูตรที่ 1

2. ทุติยนิพพานสูตร



ว่าด้วยฐานะที่เห็นได้ยากคือนิพพาน



[159] ข้าพเจ้าได้สดับมาแล้วอย่างนี้ :-
สมัยหนึ่ง พระผู้มีพระภาคเจ้าประทับอยู่ ณ พระวิหารเชตวัน อาราม
ของท่านอนาถบิณฑิกเศรษฐี ใกล้พระนครสาวัตถี ก็สมัยนั้นแล พระ-
ผู้มีพระภาคเจ้า ทรงชี้แจงให้ภิกษุทั้งหลายเห็นแจ้ง ให้สมาทาน ให้อาจหาญ
ให้ร่าเริง ด้วยธรรมีกถาอันปฏิสังยุตด้วยนิพพาน ก็ภิกษุเหล่านั้นกระทำ
ให้มั่น มนสิการแล้วน้อมนึกธรรมีกถาด้วยจิตทั้งปวงแล้ว เงี่ยโสตลงฟัง
ธรรม.