เมนู

ลำดับนั้นแล พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงทราบเนื้อความนี้แล้ว จึง
ทรงเปล่งอุทานนี้ในเวลานั้นว่า
ผู้ใดพึงตั้งกายคตาคติไว้มั่นแล้วเนือง ๆ ในกาลทุก
เมื่อว่า อะไรๆ อันพ้นจากขันธปัญจกไม่พึงมี อะไร ๆ
ที่ชื่อว่าเป็นของเราก็ไม่พึงมี อะไร ๆ ที่ชื่อว่าตนอัน
พ้นจากขันธ์จักไม่มี และอะไร ๆ ที่เนื่องในตนจักไม่
มีแก่เรา ผู้นั้นมีปกติอยู่ด้วยอนุปุพพวิหาร ตามเห็น
อยู่ในสังขารนั้น พึงข้ามตัณหาได้โดยกาลเกิดขึ้น
แห่งอริยมรรคแล.
จบมหากัจจนสูตรที่ 8

อรรถกถามหากัจจานสูตร



มหากัจจานสูตรที่ 8 มีวินิจฉัยดังต่อไปนี้ :-
อชฺฌตฺต ศัพท์นี้ ในบทว่า อชฺฌตฺตํ นี้ มาในอรรถว่า เกิดภายใน
ในประโยคมีอาทิว่า อายตนะภายใน 6 ดังนี้. มาในอรรถว่า เกิดในตน
ในประโยคมีอาทิว่า ธรรมทั้งหลาย เกิดในตน หรือตามเห็นกายในกาย
ภายในตน. มาในอรรถว่า เป็นภายในแห่งอารมณ์ ในประโยคมีอาทิว่า
เพราะไม่มนสิการถึงนิมิตทั้งปวง ภิกษุเข้าถึงสุญญตะอันเป็นภายในอยู่
อธิบายว่า ในตำแหน่งที่เป็นใหญ่. จริงอยู่ ผลสมาบัติ ชื่อว่าเป็นฐาน
อันใหญ่ของพระพุทธเจ้าทั้งหลาย. มาในอรรถว่า เป็นภายในแห่งโคจร
ในประโยคมีอาทิว่า อานนท์ ภิกษุนั้น พึงตั้งจิตไว้ด้วยดี เฉพาะภายใน

ในสมาธินิมิต อันเป็นเบื้องต้นนั้นเท่านั้น. แม้ในที่นี้ ท่านพึงเห็นว่ามา
ในอรรถว่ามีโคจรเป็นภายในนั่นเอง. เพราะฉะนั้นท่านจึงกล่าวว่า บทว่า
อชฺฌตฺตํ ได้แก่ ในอารมณ์กัมมัฏฐาน อันเป็นอารมณ์ภายใน. บทว่า
ปริมุขํ แปลว่า ตรงหน้า. บทว่า สุปฏฺฐิตาย ได้แก่ มีสติไปในกายอัน
ตั้งมั่นด้วยดี. ก็ในที่นี้ ท่านกล่าวถึงฌาน โดยยกสติขึ้นเป็นประธาน.
ท่านกล่าวคำอธิบายไว้ดังนี้ว่า ภิกษุเข้าฌานอันเป็นภายใน คืออันยิ่งที่ตน
ได้ โดยกายานุปัสสนาสติปัฏฐาน.
ก็พระเถระนี้ เมื่อพระผู้มีพระภาคเจ้าประทับอยู่ ณ กรุงสาวัตถี
วันหนึ่ง เที่ยวบิณฑบาต ณ กรุงสาวัตถี กลับจากบิณฑบาตภายหลังฉัน
อาหารเสร็จแล้วเข้าไปสู่วิหาร แสดงวัตรแด่พระผู้มีพระภาคเจ้า นั่งพัก
ผ่อนในที่พักกลางวัน ยับยั้งอยู่ด้วยสมาบัติต่าง ๆ ตลอดวัน ในเวลาเย็น
หยั่งลงสู่ท่ามกลางวิหาร เมื่อพระผู้มีพระภาคเจ้าประทับนั่งที่พระคันธกุฏี
จึงคิดว่า นี้ไม่ใช่เวลาที่จะเฝ้าพระผู้มีพระภาคเจ้าก่อน กำหนดเวลาแล้ว
นั่งเข้าสมาบัติดังกล่าวแล้ว ที่โคนต้นไม้แห่งหนึ่งไม่ไกลแต่พระคันธกุฎี.
พระศาสดา ประทับนั่งในพระคันธกุฎีนั่นเอง ทอดพระเนตรเห็นเธอนั่ง
อยู่อย่างนั้น. ด้วยเหตุนั้น ท่านจึงกล่าวว่า เตน โข ปน สมเยน อายสฺมา
มหากจฺจายโน ฯ เป ฯ สุปฏฺฐิตาย
ดังนี้เป็นต้น.
บทว่า เอตมตฺถํ วิทิตฺวา ความว่า พระองค์ทรงทราบโดยอาการทั้ง
ปวง ถึงการที่ท่านพระมหากัจจานเถระ เข้าฌานที่ตนบรรลุด้วยสติปัฏ-
ฐานภาวนา ให้เป็นบาท แล้วจึงทรงเปล่งอุทานนี้ อันแสดงถึงความนั้น.
บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า ยสฺส สิยา สพฺพทา สติ สตตํ กายคตา
อุปฏฺฐิตา
ความว่า สติอันไปแล้วในกายทั้งสองอย่าง โดยความต่างแห่ง

นามและรูป คือมีกายเป็นอารมณ์ พึงเป็นคุณชาต อันภิกษุใด ผู้เริ่ม
บำเพ็ญวิปัสสนา ดำรงไว้ด้วยอำนาจความพยายามอันเป็นไปติดต่อเนือง ๆ
ไม่ขาดสาย โดยพิจารณาลักษณะ มีอนิจจลักษณะเป็นต้น แห่งอุปาทาน
ขันธ์ 5 ในกาลทั้งหมด โดยแบ่งวันหนึ่งออกเป็น 6 ส่วน.
เล่ากันมาว่า ท่านพระมหากัจจานะนี้ ยังฌานให้บังเกิด โดย
กายคตาสติกัมมัฏฐานก่อน แล้วกระทำฌานนั้นให้เป็นบาท เริ่มตั้ง
วิปัสสนา โดยมุข คือกายานุปัสสนาสติปัฏฐานแล้ว บรรลุพระอรหัต.
ถึงในกาลต่อมา โดยมาก ท่านเข้าฌานนั้นนั่นแหละออกแล้ว พิจารณาเห็น
โดยประการนั้นนั่นแล แล้วเข้าผลสมาบัติ. พระศาสดา เมื่อทรงแสดง
วิธีที่เป็นเหตุให้ท่านบรรลุพระอรหัต จึงตรัสว่า ผู้ที่มีสติในกาลทุกเมื่อ
พึงตั้งกายคตาสติไว้ติดต่อกัน เพื่อจะให้อาการที่กายคตาสตินั้นปรากฏแจ่ม
ชัด จึงตรัสว่า กิเลสกรรมอันพ้นจากขันธปัญจก ไม่พึงมี กิเลสธรรม
ที่ชื่อว่าเป็นของเรา ไม่พึงมี กิเลสกรรม ที่ชื่อว่าตนอันพ้นจากขันธ์
จักไม่มี และกิเลสกรรมที่เนื่องในตน จักไม่มีแก่เรา ดังนี้.

ความข้อนั้น เมื่อว่าโดยพิจารณา พึงทราบโดยเป็น 2 ส่วน คือ
ด้วยส่วนเบื้องต้น 1 ด้วยขณะพิจารณา 1.
ใน 2 อย่างนั้น พึงทราบโดยส่วนเบื้องต้นก่อน. บทว่า โน จสฺส
โน จ เม สิยา
ความว่า หากว่า ในอดีตกาล กิเลสกรรมของเราไม่พึง
มีไซร้ ในกาลอันเป็นปัจจุบันนี้ อัตภาพนี้ จะไม่พึงมีแก่เรา คือไม่พึง
เกิดแก่เรา. ก็เพราะเหตุที่กรรมและกิเลสได้มีแก่เราในอดีตกาล ฉะนั้น
อัตภาพของเราในบัดนี้ ซึ่งมีกรรมกิเลสนั้นเป็นเครื่องหมาย ย่อมเป็นไป.
บทว่า น ภวิสฺสติ น จ เม ภวิสฺสติ ความว่า ในอัตภาพนี้ เพราะปราศ-

จากธรรมอันเป็นปฏิปักษ์นั่น และกิเลสกรรม จักไม่มี คือจักไม่เกิดแก่เรา
และวิปากวัฏในอนาคต จักไม่มี คือจักไม่เกิดแก่เรา. ในกาลทั้ง 3 ดัง
กล่าวมาแล้วนี้ ขันธปัญจกคืออัตภาพของเรานี้ อันมีกรรมกิเลสเป็นเหตุ
ไม่ใช่มีผู้ยิ่งใหญ่เป็นต้นเป็นเหตุ เป็นอันท่านประกาศ ถึงการเห็นนาม
แลรูปพร้อมทั้งปัจจัยว่า ของเรา ฉันใด ของสัตว์ทั้งปวง ก็ฉันนั้น.
แต่เมื่อว่าโดยเวลาพิจารณา พึงทราบความดังต่อไปนี้. บทว่า โน
จสฺส โน จ เม สิยา
ความว่า เพราะเหตุที่เบญจขันธ์นี้ ชื่อว่าไม่เที่ยง
เพราะมีแล้วกลับไม่มี ชื่อว่าเป็นทุกข์ เพราะอรรถว่าถูกความเกิดและ
ความดับบีบคั้นเนืองๆ ชื่อว่าอนัตตา เพราะอรรถว่า ไม่เป็นไปในอำนาจ
ถ้าเมื่อเป็นอย่างนั้น สภาวะบางอย่างที่ชื่อว่าอัตตานี้ ที่พ้นไปจากเบญจขันธ์
ก็ไม่มี คือไม่พึงมี ไม่พึงเกิด เมื่อเป็นเช่นนั้น เบญจขันธ์บางอย่าง ที่
ชื่อว่าเป็นของเราไม่พึงมีแก่เรา ไม่พึงเกิดแก่เรา. จริงอยู่ เมื่ออัตตามี
สิ่งที่เกิดในตน ก็พึงมี เหมือนอย่างว่า นามรูปนี้ ที่เกิดในตน จักสูญ
ไปในปัจจุบัน และในอดีต ฉันใด สภาวะอะไร ๆ ที่ชื่อว่าเป็นอัตตาที่พ้น
ไปจากขันธ์ ก็ฉันนั้น จักไม่มี จักไม่เกิดแก่เรา คือจักไม่มี จักไม่เกิด
แก่เราในอนาคต ต่อจากนั้นแล เบญจขันธ์นี้อะไร ๆ อันเป็นที่ตั้งแห่ง
ความกังวล จักไม่มีแก่เรา คือธรรมชาติอะไร ๆ ที่เกิดในตน จักไม่มี
แก่เราแม้ในอนาคต. ด้วยคำนี้ พระองค์แสดงถึงความไม่มีสิ่งที่จะพึง
ถือว่า เรา และจะพึงถือว่า ของเรา เพราะไม่มีใน 3 กาล. ด้วยคำนั้น
เป็นอันทรงประกาศสุญญตามี 4 เงื่อน.
บทว่า อนุปพฺพวิหารี ตตฺถ โส ความว่า เมื่อพระโยคาวจรตาม
เห็น ความเป็นของว่าง อันมีในตน ในสังขารนั้น ในกาลทั้ง 3 ดัง

พรรณนามาฉะนี้ เมื่อวิปัสสนาญาณ มีอุทยัพพยญาณเป็นต้น เกิดขึ้นโดย
ลำดับ ชื่อว่าผู้มีธรรมเป็นเครื่องอยู่โดยลำดับ โดยอนุปุพพวิปัสสนา-
วิหารธรรม. บทว่า กาเลเนว ตเร วิสตฺติกํ ความว่า พระโยคาวจรนั้น
คือผู้ยังวิปัสสนาให้ถึงที่สุด ดำรงอยู่อย่างนี้ ชื่อว่าพึงข้ามตัณหา กล่าวคือ
ตัณหาที่ซ่านไปในอารมณ์ต่าง ๆ เพราะสืบต่อวัฏฏะ 3 ทั้งสิ้น โดยเวลาที่
ถึงความแก่กล้า โดยเวลาที่วุฏฐานคามินีวิปัสสนาสืบต่อด้วยมรรค และ
โดยเวลาที่อริยมรรคเกิดขึ้น อธิบายว่า พึงข้ามไปตั้งอยู่ ณ ฝั่งโน้นแห่ง
ตัณหานั้น.
พระผู้มีพระภาคเจ้า ทรงเปล่งอุทานอันแสดงถึงการที่ท่านพระ-
มหากัจจานะบรรลุพระอรหัต โดยอ้างถึงพระอรหัตผล ด้วยประการฉะนี้.
จบอรรถกถามหากัจจานสูตรที่ 8

9. อุทปานสูตร



ว่าด้วยพระพุทธเจ้าใช้พระอานนท์ไปตักน้ำ



[155] ข้าพเจ้าได้สดับมาแล้วอย่างนี้ :-
สมัยหนึ่ง พระผู้มีพระภาคเจ้าเสด็จจาริกไปในมัลลชนบท พร้อม
ด้วยภิกษุสงฆ์หมู่ใหญ่ ได้เสด็จถึงพราหมณคามชื่อถูนะของมัลลกษัตริย์
ทั้งหลาย พราหมณ์และคฤหบดีชาวถูนคามได้สดับข่าวว่า แนะท่านผู้เจริญ
ทั้งหลาย พระสมณโคดมศากยบุตรเสด็จออกบวชจากศากยตระกูล เสด็จ
จาริกไปมัลลชนบทพร้อมด้วยภิกษุสงฆ์หมู่ใหญ่ เสด็จถึงถูนพราหมณคาม
โดยลำดับ พราหมณ์และคฤหบดีทั้งหลายเอาหญ้าและแกลบถมบ่อน้ำจน
เต็มถึงปากบ่อ ด้วยตั้งใจว่า สมณะโล้นทั้งหลายอย่าได้ดื่มน้ำ