เมนู

7. ปปัญจชยสูตร



ว่าด้วยผู้ไม่มีกิเลสเครื่องเนิ่นช้า



[153] ข้าพเจ้าได้สดับมาแล้วอย่างนี้ :-
สมัยหนึ่ง พระผู้มีพระภาคเจ้าประทับอยู่ ณ พระวิหารเชตวัน อาราม
ของท่านอนาถบิณฑิกเศรษฐี ใกล้พระนครสาวัตถี ก็สมัยนั้นแล พระ-
ผู้มีพระภาคเจ้าประทับนั่งพิจารณาการละส่วนสัญญา อันสหรคตด้วยธรรม
เครื่องเนิ่นช้าของพระองค์อยู่.
ลำดับนั้นแล พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงทราบการละส่วนสัญญาอัน
สหรคตด้วยธรรมเครื่องเนิ่นช้าชองพระองค์แล้ว จึงทรงเปล่งอุทานนี้ใน
เวลานั้นว่า
ผู้ใดมีกิเลสเครื่องให้เนิ่นช้าและความตั้งอยู่ (ใน
สงสาร) ก้าวล่วงซึ่งที่ต่อคือตัณหาทิฏฐิ และลิ่มคือ
อวิชชาได้ แม้โลกคือหมู่สัตว์พร้อมทั้งเทวโลก ย่อม
ไม่ดีหมิ่นผู้นั้น ผู้ไม่มีตัณหา เป็นมุนี เที่ยวไปอยู่.

จบปปัญจขยสูตรที่ 7

อรรถกถาปปัญจขยสูตร



ปปัญจขยสูตรที่ 7

มีวินิจฉัยดังต่อไปนี้ :-
บทว่า ปปญฺจสญฺญาสงฺขาปหานํ ความว่า กิเลสชื่อว่าธรรมเป็น
เครื่องเนิ่นช้า เพราะเป็นที่เกิดขึ้นเอง ทำให้เนิ่นช้า คือขยายความสืบต่อ
นั้นให้กว้างขวาง ได้แก่ ให้ตั้งอยู่นาน โดยพิเศษ ได้แก่ ราคะ โทสะ

โมหะ ทิฏฐิ และมานะ. สมจริงดังคำที่ท่านกล่าวไว้ว่า ธรรมเป็นเครื่อง
เนิ่นช้า คือ ราคะ โทสะ โมหะ ตัณหา ทิฏฐิ และมานะ. อีกอย่างหนึ่ง
ธรรมมีอรรถว่าเศร้าหมอง ชื่อว่าอรรถแห่งธรรมเครื่องเนิ่นช้า ธรรมมี
อรรถดุจหยากเหยื่อ ชื่อว่าอรรถแห่งธรรมเครื่องเนิ่นช้า. ในธรรมเครื่อง
เนิ่นช้าเหล่านั้น สุภสัญญาเป็นเครื่องหมายของธรรมเครื่องเนิ่นช้าคือราคะ
อาฆาตวัตถุเป็นเครื่องหมาย ของธรรมเครื่องเนิ่นช้าคือโทสะ อาสวะเป็น
เครื่องหมายของธรรมเครื่องเนิ่นช้าคือโมหะ เวทนาเป็นเครื่องหมาย
ของธรรมเครื่องเนิ่นช้าคือตัณหา สัญญาเป็นเครื่องหมายของธรรมเครื่อง
เนิ่นช้าคือทิฏฐิ และวิตกเป็นเครื่องหมายของธรรมเครื่องเนิ่นช้าคือมานะ.
สัญญา ที่เกิดพร้อมกับธรรมเครื่องเนิ่นช้าเหล่านั้น ชื่อว่า ปปัญจสัญญา.
ส่วน ภาคะ โกฏฐาสะ แห่งสัญญาเป็นเครื่องเนิ่นช้า ชื่อว่าส่วนแห่ง
สัญญาเป็นเครื่องเนิ่นช้า ว่าโดยอรรถ ได้แก่ กองกิเลส อันเป็นฝ่ายแห่ง
ธรรมเครื่องเนิ่นช้านั้น ๆ พร้อมทั้งนิมิต. ก็ในที่นี้ศัพท์ว่า สัญญา ย่อม
มีโดยปปัญจธรรมนั้น เป็นเหตุที่ทั่วไปแก่ส่วนนั้น ๆ. สมจริงดังคำที่
ท่านกล่าวไว้ว่า ความจริง ส่วนแห่งปปัญจธรรม มีสัญญาเป็นเหตุ. การละ
ซึ่งส่วนแห่งปปัญจธรรมเหล่านั้น. อธิบายว่า ตัดกิเลสมีราคะเป็นต้น
ด้วยมรรคนั้น ๆ ได้เด็ดขาด.
ได้ยินว่า ในกาลนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงพิจารณากิเลส อัน
เป็นเหตุแห่งความพินาศในอดีตชาติของพระองค์ อันนับได้หลายแสนโกฏิ
ที่ทรงละได้พร้อมทั้งวาสนา ณ ประเทศเป็นที่ผ่องใสแห่งโพธิญาณ ด้วย
อริยมรรคในภพสุดท้ายนี้ และทรงเห็นสันดานของสัตว์ที่เพียบไปด้วยกิเลส
เศร้าหมองไปด้วยกิเลสมีราคะเป็นต้น ที่เปลื้องได้แสนยาก เหมือนกะ-

โหลกน้ำเต้าที่เต็มไปด้วยน้ำข้าว เหมือนภาชนะที่เต็มไปด้วยเปรียง และ
เหมือนท่อนผ้าเก่าที่ชุ่มด้วยน้ำมันเหลว จึงทรงเกิดปีติปราโมทย์ขึ้นว่า
กิเลสวัฏนี้ ชื่อว่าเป็นรกชัฏอย่างนี้ ที่เกิดขึ้นตลอดกาลหาเบื้องต้นมิได้
เราละได้แล้วโดยเด็ดขาด เราละแล้วด้วยดีอย่างน่าอัศจรรย์ จึงทรงเปล่ง
อุทาน. ด้วยเหตุนั้น ท่านจึงกล่าวว่า ครั้งนั้นแล พระผู้มีพระภาคเจ้า
ทรงทราบการละส่วนแห่งสัญญาอันเป็นธรรมเครื่องเนิ่นช้า แล้วจึง
ทรงเปล่งอุทานนี้ในเวลานั้น.

บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า ยสฺส ปปญฺจา ธิติ จ นตฺถิ ความว่า
เพราะเหตุที่พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงแสดงออกเฉพาะพระองค์ ให้เหมือน
ผู้อื่น ฉะนั้น อัครบุคคลใด ไม่มีธรรมเครื่องเนิ่นช้า ซึ่งมีลักษณะดัง
กล่าวแล้ว และไม่มีความตั้งใจอยู่ในสงสารที่ปปัญจธรรมเหล่านั้นสร้างขึ้น.
แต่ในเนตติท่านกล่าวไว้ว่า อนุสัย ชื่อว่าธิติ. จริงอยู่ อนุสัย ก็เป็นมูล
รากของการเกิดในภพ. บาลีว่า สตฺเต สํสาเร ฐเปติ และว่า ปปญฺจฏฺฐิติ
ดังนี้ก็มี. บาลีนั้น มีอธิบายดังนี้ ความตั้งอยู่ คือความที่ปปัญจธรรมยัง
ปรากฏอยู่ ได้แก่ ยังตัดไม่ขาดด้วยมรรค ชื่อว่าปปัญจัฏฐิติ. อีกอย่างหนึ่ง
ความตั้งอยู่แห่งวัฏฏะ โดยเป็นเหตุแห่งความเกิดขึ้นแห่งกุศล อกุศล และ
วิบากที่ยังเหลือ คือปปัญจธรรม ชื่อว่าปปัญจัฏฐิติ. ปปัญจัฏฐิตินั้นไม่มี
แก่อัครบุคคลใด. บทว่า สนฺธานํ ปลิฆญฺจ วีติวตฺโต ความว่า บุคคลใด
ก้าวล่วงตัณหาและทิฏฐิ อันได้นามว่า สันธานะ เพราะเป็นเสมือนที่ต่อ
เพราะอรรถว่าเป็นเครื่องผูกพัน และก้าวล่วงอวิชชา กล่าวคือลิ้ม เพราะ
เป็นเหมือนลิ่ม เพราะกีดกันการเข้าไปสู่นครคือพระนิพพาน คือก้าวล่วง
โดยพิเศษ ด้วยการละกิเลส พร้อมทั้งวาสนา. แต่อาจารย์อีกพวกหนึ่ง

กล่าวความโกรธว่า สันธานะ. คำนั้นไม่ควรถือเอา. ก็ ธิติ นั้น ท่าน
เรียกว่า ทำเหตุให้บุคคลอื่นข้องอยู่แล. บทว่า ตํ นิตฺตณฺหํ มุนึ จรนฺตํ
ความว่า ซึ่งพระอริยบุคคลนั้น ชื่อว่าผู้ปราศจากตัณหา เพราะไม่มีตัณหา
แม้โดยประการทั้งปวง ชื่อว่ามุนี เพราะรู้โลกทั้งสอง และรู้ประโยชน์ตน
และประโยชน์ผู้อื่น ชื่อว่าผู้เที่ยวไปด้วยอิริยาบถ ด้วยการยังสมาบัติ
ต่าง ๆ ให้เที่ยวไป และด้วยการยังญาณอันไม่ทั่วไปแก่ญาณอื่นให้เที่ยว
ไป เพื่อประโยชน์เกื้อกูลแก่สัตว์ทั้งปวง โดยส่วนเดียวนั่นเอง. บทว่า
นาวชานาติ สเทวโกปิ โลโก ความว่า สัตวโลก ที่เกิดมาด้วยปัญญาของ
ตน พร้อมทั้งเทวโลก พร้อมทั้งพรหม แม้ในกาลไหน ๆ ก็ไม่รู้ ไม่ได้
เสวย โดยที่แท้กระทำให้หนักแน่น ยินดีในการบูชาสักการะโดยเคารพว่า
ผู้นี้เท่านั้น เป็นผู้เลิศ ประเสริฐสูงสุด ประเสริฐยังในโลก ดังนี้แล.
จบอรรถกถาปปัญจขยสูตรที่ 7

8. มหากัจจานสูตร



ว่าด้วยพระมหาหัจจานะนั่งคู้บัลลังก์ ตั้งกายตรง



[154] ข้าพเจ้าได้สดับมาแล้วอย่างนี้ :-
สมัยหนึ่ง พระผู้มีพระภาคเจ้าประทับอยู่ พระวิหารเชตวัน อาราม
ของท่านอนาถบิณฑิกเศรษฐี ใกล้พระนครสาวัตถี ก็สมัยนั้นแล ท่าน
พระมหากัจจานะนั่งคู้บัลลังก์ ตั้งกายตรง มีกายคตาสติตั้งมั่นดีแล้วเฉพาะ
หน้าในภายใน ในที่ไม่ไกลพระผู้มีพระภาคเจ้า พระผู้มีพระภาคเจ้าได้
ทรงเห็นท่านพระมหากัจจานะนั่งคู้บัลลังก์ ตั้งกายตรง มีกายคตาสติตั้งมั่น
ดีแล้วเฉพาะหน้าในภายใน ในที่ไม่ไกล.