เมนู

7. ปปัญจชยสูตร



ว่าด้วยผู้ไม่มีกิเลสเครื่องเนิ่นช้า



[153] ข้าพเจ้าได้สดับมาแล้วอย่างนี้ :-
สมัยหนึ่ง พระผู้มีพระภาคเจ้าประทับอยู่ ณ พระวิหารเชตวัน อาราม
ของท่านอนาถบิณฑิกเศรษฐี ใกล้พระนครสาวัตถี ก็สมัยนั้นแล พระ-
ผู้มีพระภาคเจ้าประทับนั่งพิจารณาการละส่วนสัญญา อันสหรคตด้วยธรรม
เครื่องเนิ่นช้าของพระองค์อยู่.
ลำดับนั้นแล พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงทราบการละส่วนสัญญาอัน
สหรคตด้วยธรรมเครื่องเนิ่นช้าชองพระองค์แล้ว จึงทรงเปล่งอุทานนี้ใน
เวลานั้นว่า
ผู้ใดมีกิเลสเครื่องให้เนิ่นช้าและความตั้งอยู่ (ใน
สงสาร) ก้าวล่วงซึ่งที่ต่อคือตัณหาทิฏฐิ และลิ่มคือ
อวิชชาได้ แม้โลกคือหมู่สัตว์พร้อมทั้งเทวโลก ย่อม
ไม่ดีหมิ่นผู้นั้น ผู้ไม่มีตัณหา เป็นมุนี เที่ยวไปอยู่.

จบปปัญจขยสูตรที่ 7

อรรถกถาปปัญจขยสูตร



ปปัญจขยสูตรที่ 7

มีวินิจฉัยดังต่อไปนี้ :-
บทว่า ปปญฺจสญฺญาสงฺขาปหานํ ความว่า กิเลสชื่อว่าธรรมเป็น
เครื่องเนิ่นช้า เพราะเป็นที่เกิดขึ้นเอง ทำให้เนิ่นช้า คือขยายความสืบต่อ
นั้นให้กว้างขวาง ได้แก่ ให้ตั้งอยู่นาน โดยพิเศษ ได้แก่ ราคะ โทสะ