เมนู

คือราคะ และด้วยเครื่องข้องคือ ทิฏฐิ มานะ โทสะ และอวิชชา ในวัตถุ-
กาม ด้วยความติดในกามนั้นนั่นแล. บทว่า สํโยชเน วชฺชมปสฺสมานา
ความว่า ไม่เห็นโทษ คือโทสะ ได้แก่ อาทีนพ อันชื่อว่ามีวัฏทุกข์เป็นมูล
เป็นต้น เพราะมีปกติเห็นตามความยินดี ในธรรมอันเป็นเครื่องประกอบ
สัตว์ไว้ในกิเลส มีกามราคะเป็นต้น อันได้นามว่า สังโยชน์ เพราะประกอบ
คือล่ามกัมมวัฏ ด้วยวิปากวัฏ หรือภพเป็นต้น ด้วยภพอื่นเป็นต้น หรือ
สัตว์ทั้งหลายด้วยทุกข์. บทว่า น หิ ชาตุ สํโยชนสงฺคสตฺตา โอฆํ
ตเรยฺยุํ วิปุลํ มหนฺตํ
ความว่า สัตว์ทั้งหลายผู้ข้องอยู่ในธรรมเป็นเครื่อง
ข้อง อันมีสังโยชน์เป็นสภาวะ เพราะไม่มีการเห็นโทษอย่างนี้ หรือข้อง
อยู่ในธรรมอันเป็นไปในภูมิ 3 อันเป็นอารมณ์แห่งธรรมเป็นเครื่องข้อง
เหล่านั้น ด้วยธรรมเป็นเครื่องข้องกล่าวคือสังโยชน์ ในกาลไหน ๆ ก็ข้าม
ไม่ได้ ซึ่งโอฆะมีกามเป็นต้น อันชื่อว่า กว้างขวาง แน่นหนา และใหญ่
หรือโอฆะคือสงสารนั่นเอง เพราะมีอารมณ์กว้างขวาง และหากาลเบื้องต้น
มิได้ อธิบายว่า ไม่พึงถึงฝั่งแห่งโอฆะนั้น โดยส่วนเดียวนั่นเอง.
จบอรรถกถาปฐมกามสูตรที่ 3

4. ทุติยกามสูตร



ว่าด้วยผู้มืดมนเพราะกาม



[150] ข้าพเจ้าได้สดับมาแล้วอย่างนี้ :-
สมัยหนึ่ง พระผู้มีพระภาคเจ้าประทับอยู่ ณ พระวิหารเชตวัน อาราม
ของท่านอนาถบิณฑิกเศรษฐี ใกล้พระนครสาวัตถี ก็สมัยนั้นแล มนุษย์