เมนู

วัฏต่อไป โดยส่วนเดียวแท้ ๆ เป็นที่สุด เป็นเขตกำหนด เป็นภาวะ
ที่หมุนเวียน ของสังสารทุกข์ แม้ทั้งสิ้น.
จบอรรถกถาทุติยภัททิยสูตรที่ 2

3. ปฐมกามสูตร



ว่าด้วยสัตว์ผู้ต้องข้องอยู่ในกาม



[ 149 ] ข้าพเจ้าได้สดับมาแล้วอย่างนี้ :-
สมัยหนึ่ง พระผู้มีพระภาคเจ้าประทับอยู่ ณ พระวิหารเชตวัน อาราม
ของท่านอนาถบิณฑิกเศรษฐี ใกล้พระนครสาวัตถี ก็สมัยนั้นแล มนุษย์
ทั้งหลายในพระนครสาวัตถี โดยมากเป็นผู้ข้องแล้วในกามเกินเวลา เป็น
ผู้กำหนัดแล้ว ยินดีแล้ว รักใคร่แล้ว หมกมุ่นแล้ว พัวพันแล้ว มืดมน
มัวเมาอยู่ในกามทั้งหลาย ครั้งนั้นแล เป็นเวลาเช้า ภิกษุเป็นอันมาก
นุ่งแล้ว ถือบาตรและจีวรเข้าไปบิณฑบาตยังพระนครสาวัตถี ครั้นเที่ยว
บิณฑบาตไปในพระนครสาวัตถี กลับจากบิณฑบาตในภายหลังภัตแล้ว
เข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาคเจ้าถึงที่ประทับ ถวายบังคมแล้วนั่ง ณ ที่ควร
ส่วนข้างหนึ่ง ครั้นแล้วได้กราบทูลพระผู้มีพระภาคเจ้าว่า ข้าแต่พระองค์
ผู้เจริญ ขอประทานพระวโรกาส มนุษย์ทั้งหลายในพระนครสาวัตถี
โดยมากเป็นผู้ข้องแล้วในกามเกินเวลา เป็นผู้กำหนัดแล้ว ยินดีแล้ว
หมกมุ่นแล้ว พัวพันแล้ว มืดมนมัวเมาอยู่ในกามทั้งหลาย.
ลำดับนั้นแล พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงทราบเนื้อความนี้แล้ว จึงทรง
เปล่งอุทานนี้ในเวลานั้นว่า

สัตว์ทั้งหลายข้องแล้วในกาม ของแล้วในกาม
ด้วยธรรมเป็นเครื่องข้อง ไม่เห็นโทษในสังโยชน์
ข้องแล้วในธรรม เป็นเครื่องข้องคือสังโยชน์ พึง
ข้ามโอฆะอันกว้างใหญ่ไม่ได้เลย.
จบปฐมกามสูตรที่ 3

อรรถกถาปฐมกามสูตร



ปฐมกามสูตรที่ 3

มีวินิจฉัยดังต่อไปนี้ :-
บทว่า กาเมสุ ได้แก่ ในวัตถุกาม. บทว่า อติเวลํ ได้แก่ เกินเวลา.
บทว่า สตฺตา ได้แก่ สัตว์ อธิบายว่าผู้ติด คือ ข้อง โดยไม่เห็นโทษแม้ที่
มีอยู่ ระลึกถึงแต่ความยินดี ติดข้อง เพราะมากไปด้วยอโยนิโสมนสิการ.
บทว่า รตฺตา ชื่อว่า กำหนัดแล้ว กำหนัดนักแล้วด้วยฉันทราคะ อัน
เป็นเครื่องทำจิตให้เปลี่ยนแปลง เหมือนผ้าเปลี่ยนไปด้วยการย้อมสีฉะนั้น.
บทว่า คิทฺธา ความว่า ติด คือ ถึงความกำหนัด โดยการเพ่ง ซึ่งมีความ
หวังเป็นสภาวะ. บทว่า คธิตา ความว่า เกี่ยวเนื่องในกามนั้น เพราะเป็น
ภาวะที่เปลื้องได้ยาก ดุจร้อยรัดไว้. บทว่า มุจฺฉิตา ความว่า ไม่มีกิจ
อย่างอื่น คือ ถึงความหมกมุ่นงมงาย ด้วยอำนาจกิเลส ดุจคนสลบฉะนั้น.
บทว่า อชฺโฌปนฺนา ความว่า กลืนให้สำเร็จตั้งอยู่ ทำให้เหมือนสิ่งที่
ไม่ทั่วไปแก่ผู้อื่น. บทว่า สมฺมตฺตกชาตา ความว่า ถึงความเป็นผู้ดื่มด่ำ
ในกามทั้งหลาย คือเป็นผู้มัวเมา เมามาย ในสุขเวทนามีประมาณน้อย.
บาลีว่า สมฺโมทกชาตา ดังนี้ก็มี อธิบายว่า เกิดความบันเทิงใจ คือ