เมนู

พระสารีบุตร สำคัญท่านพระลกุณฐกภัททิยะว่า เป็นพระเสขะ จึง
ชี้แจงให้เห็นแจ้ง ให้สมาทาน ให้อาจหาญ ให้ร่าเริง ด้วยธรรมีกถา
โดยอเนกปริยายยิ่งกว่าประมาณ พระผู้มีพระภาคเจ้าได้ทรงเห็นท่านพระ-
สารีบุตรสำคัญท่านพระลกุณฐกภัททิยะว่า เป็นพระเสขะ ชี้แจงให้เห็นแจ้ง
ให้สมาทาน ให้อาจหาญ ให้ร่าเริง ด้วยธรรมีกถา โดยอเนกปริยายยิ่ง
กว่าประมาณ.
ลำดับนั้นแล พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงทราบเนื้อความนี้แล้ว จึงทรง
เปล่งอุทานนี้ในเวลานั้นว่า
บุคคลตัดวัฏฏะได้แล้ว บรรลุถึงนิพพานอันเป็น
สถานที่ไม่มีตัณหา ตัณหาที่บุคคลให้เหือดแห้งแล้ว
ย่อมไม่ไหลไป. วัฏฏะที่บุคคลตัดได้แล้ว ย่อมไม่เป็น
ไป นี้แลเป็นที่สุดแห่งทุกข์.

จบทุติยภัททิยสูตรที่ 2

อรรถกถาทุติยภัททิยสูตร



ทุติยภัททิยสูตรที่ 2

มีวินิจฉัยดังต่อไปนี้ :-
บทว่า เสโขติ มญฺญมาโน ได้แก่ สำคัญว่า ท่านพระภัททิยะนี้เป็น
พระเสขะ. ในคำนั้น มีวจนัตถะดังต่อไปนี้ ชื่อว่าเสขะ เพราะยังต้องศึกษา.
ศึกษาอะไร ? ศึกษาอธิศีล อธิจิต และอธิปัญญา. อีกอย่างหนึ่ง การ
ศึกษา ชื่อว่าสิกขา การศึกษานั้นเป็นปกติของผู้นั้น เหตุนั้น ผู้นั้น ชื่อว่า
ผู้มีการศึกษา. จริงอยู่ ผู้นั้น ชื่อว่า มีการศึกษาเป็นปกติโดยส่วนเดียว
เพราะมีการศึกษายังไม่จบ และเพราะน้อมใจไปในการศึกษานั้น แต่มิใช่
ผู้จบการศึกษาเหมือนอย่างพระอเสขะ ผู้ระงับการขวนขวายในการศึกษา

นั้น ทั้งมิใช่ผู้ละทิ้งการศึกษา เหมือนชนมากมาย ผู้ไม่น้อมใจไปในการ
ศึกษานั้น. อีกอย่างหนึ่ง ชื่อว่าเสขะ เพราะเกิดสิกขา 3 หรือมีใน
สิกขา 3 นั้น โดยอริยชาติ.
บทว่า ภิยฺโยโส มตฺตาย แปลว่า ยิ่งโดยประมาณ อธิบายว่า ยิ่ง
เกินประมาณ.
จริงอยู่ ท่านลกุณฏกภัททิยะ นั่งอยู่ตามเดิมนั่นแหละบรรลุธรรม
เครื่องสิ้นไปแห่งอาสวะ ด้วยโอวาทแรกตามวิธีดังกล่าวในสูตรแรก. ฝ่าย
พระธรรมเสนาบดีไม่ทราบการบรรลุพระอรหัตนั้นของท่าน โดยมิได้
คำนึงถึง สำคัญว่ายังเป็นพระเสขะอยู่ตามเดิม เหมือนบุรุษผู้มีใจกว้าง
ขวาง เขาขอน้อยก็ให้มากฉะนั้น ย่อมแสดงธรรมเพื่อสิ้นอาสวะ โดย
อเนกปริยายยิ่ง ๆ ขึ้นไปทีเดียว. ฝ่ายท่านลกุณฏกภัททิยะมิได้คิดว่า บัดนี้
เราทำกิจเสร็จแล้ว จะมีประโยชน์อะไรด้วยโอวาทนี้ จึงพึงโดยเคารพ
เหมือนในกาลก่อนทีเดียว เพราะความเคารพในพระสัทธรรม. พระผู้มี-
พระภาคเจ้า ทรงเห็นดังนั้น ประทับนั่งอยู่ในพระคันธกุฎีนั่นแหละ ทรง-
กระทำโดยที่พระธรรมเสนาบดี รู้ธรรมเป็นที่สิ้นกิเลสของท่าน ด้วย
พุทธานุภาพ จึงทรงเปล่งอุทานนี้. ด้วยเหตุนั้น ท่านจึงกล่าวว่า เตน
โข ปน สมเยน
เป็นต้น.
คำที่จะพึงกล่าวในข้อนั้น ข้าพเจ้าได้กล่าวไว้แล้วในอนันตรสูตร
นั้นแล.
ก็ในคาถามีวินิจฉัยดังต่อไปนี้ บทว่า อจฺเฉจฺฉิ วฏฺฏํ ความว่า
ตัดกิเลสวัฏได้เด็ดขาด ก็เมื่อตัดกิเลสวัฏได้แล้ว ก็เป็นอันชื่อว่าตัด
กัมมวัฏได้ด้วย. ตัณหาท่านเรียกว่า อาสา ความหวัง ในคำว่า พฺยาคา

นิราสํ นี้ พระนิพพาน ชื่อว่า นิราสะ เพราะไม่มีความหวัง ชื่อว่า
พฺยาคา เพราะถึง คือบรรลุพระนิพพาน อันปราศจากความหวังนั้น
โดยพิเศษ. อธิบายว่า เพราะบรรลุอรหัตมรรคแล้ว จึงชื่อว่า บรรลุ
โดยเว้นจากเหตุแห่งความบรรลุอีก.
เพราะเหตุที่ตัณหาเป็นเหตุเกิดแห่งทุกข์ กิเลสชื่อว่า อันท่านยังละ
ไม่ได้ด้วยการละนั้น ย่อมไม่มี ฉะนั้นเมื่อจะแสดงการละตัณหาให้พิเศษ
แก่ท่าน จึงตรัสคำว่า ตัณหาที่บุคคลให้เหือดแห้งแล้ว ย่อมไม่ไหลไป
ดังนี้เป็นต้น.
คำนั้นมีอธิบายดังต่อไปนี้ แม่น้ำคือตัณหา อันบุคคลให้เหือดแห้ง
โดยไม่มีส่วนเหลือ ด้วยทำมรรคญาณที่ 4 ให้เกิดขึ้น เหมือนแม่น้ำใหญ่
เหือดแห้งไป เพราะปรากฏพระอาทิตย์ดวงที่ 4 ในบัดนี้ ย่อมไม่ไหลไป
คือ ตั้งแต่นี้ไป ย่อมไม่เป็นไป. ก็ตัณหาท่านเรียกว่า สริตา. อย่างที่ท่าน
กล่าวไว้ว่า
โสมนัสทั้งหลาย อันซ่านไป และมีใยยางย่อม
มีแก่สัตว์.

และว่า ตัณหา อันชื่อว่าสริตาซ่านไปในอารมณ์ต่าง ๆ ดุจเครือเถา. บทว่า
ฉินฺนํ วฏฺฏํ น วตฺตติ ความว่า วัฏฏะอันขาดแล้ว ด้วยการตัดขาด
กิเลสวัฏอย่างนี้ กัมมวัฏที่ตัดขาด ด้วยการให้ถึงความไม่เกิดขึ้นเป็น
ธรรม และความไม่มีวิบากเป็นธรรม ย่อมไม่เป็นไป คือย่อมไม่เกิด.
บทว่า เอเสวนฺโต ทุกฺขสฺส ความว่า ความไม่เป็นไป แห่งกัมมวัฏ
เพราะกิเลสวัฏไม่มีโดยประการทั้งปวงนั้น คือความไม่เกิดขึ้นแห่งวิปาก-

วัฏต่อไป โดยส่วนเดียวแท้ ๆ เป็นที่สุด เป็นเขตกำหนด เป็นภาวะ
ที่หมุนเวียน ของสังสารทุกข์ แม้ทั้งสิ้น.
จบอรรถกถาทุติยภัททิยสูตรที่ 2

3. ปฐมกามสูตร



ว่าด้วยสัตว์ผู้ต้องข้องอยู่ในกาม



[ 149 ] ข้าพเจ้าได้สดับมาแล้วอย่างนี้ :-
สมัยหนึ่ง พระผู้มีพระภาคเจ้าประทับอยู่ ณ พระวิหารเชตวัน อาราม
ของท่านอนาถบิณฑิกเศรษฐี ใกล้พระนครสาวัตถี ก็สมัยนั้นแล มนุษย์
ทั้งหลายในพระนครสาวัตถี โดยมากเป็นผู้ข้องแล้วในกามเกินเวลา เป็น
ผู้กำหนัดแล้ว ยินดีแล้ว รักใคร่แล้ว หมกมุ่นแล้ว พัวพันแล้ว มืดมน
มัวเมาอยู่ในกามทั้งหลาย ครั้งนั้นแล เป็นเวลาเช้า ภิกษุเป็นอันมาก
นุ่งแล้ว ถือบาตรและจีวรเข้าไปบิณฑบาตยังพระนครสาวัตถี ครั้นเที่ยว
บิณฑบาตไปในพระนครสาวัตถี กลับจากบิณฑบาตในภายหลังภัตแล้ว
เข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาคเจ้าถึงที่ประทับ ถวายบังคมแล้วนั่ง ณ ที่ควร
ส่วนข้างหนึ่ง ครั้นแล้วได้กราบทูลพระผู้มีพระภาคเจ้าว่า ข้าแต่พระองค์
ผู้เจริญ ขอประทานพระวโรกาส มนุษย์ทั้งหลายในพระนครสาวัตถี
โดยมากเป็นผู้ข้องแล้วในกามเกินเวลา เป็นผู้กำหนัดแล้ว ยินดีแล้ว
หมกมุ่นแล้ว พัวพันแล้ว มืดมนมัวเมาอยู่ในกามทั้งหลาย.
ลำดับนั้นแล พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงทราบเนื้อความนี้แล้ว จึงทรง
เปล่งอุทานนี้ในเวลานั้นว่า