เมนู

โดยสำคัญด้วยอำนาจทิฏฐิและมานะว่า เราเป็นธรรมชื่อนี้ อธิบายว่า ผู้นั้น
ไม่มีเหตุในทัสนะเช่นนั้น. อีกอย่างหนึ่ง. บทว่า อยมหมสฺมีติ อนานุ-
ปสฺสิ
นี้ เป็นบทแสดงอุบายเครื่องบรรลุวิมุตติตามที่กล่าวแล้ว. วิปัสสนาอัน
เป็นวุฏฐานคามิมีอันเป็นส่วนเบื้องต้น อันกระทำความไม่ตั้งมั่น ด้วยความ
สำคัญ อันมีสภาวะที่เป็นไปในสังขารอันเป็นไปในภูมิ 3 ซึ่งสงเคราะห์
ด้วยกาล 3 ว่า นั่นของเรา เราเป็นนั่น นั่นเป็นตัวของเราแล้ว เกิดขึ้น
อย่างนี้ว่า นั่นไม่ใช่ของเรา เราไม่เป็นนั่น นั่นไม่ใช่ตัวของเรา ดังนี้
วิปัสสนานั้น เป็นปทัฏฐานของวิมุตติ. บทว่า เอวํวิมุตฺโต อุทตาริ โอฆํ
อติณฺณปุพฺพํ อปุนพฺภวาย
ความว่า พระอรหันต์ผู้หลุดพ้นแล้ว โดย
ประการทั้งปวง จากสังโยชน์ 10 และจากอกุศลทั้งปวงด้วยประการฉะนี้
ชื่อว่า เป็นผู้ข้ามโอฆะ 4 อย่างนี้ คือ โอฆะคือกาม 1 โอฆะคือภพ 1
โอฆะคือทิฏฐิ 1 โอฆะคืออวิชชา 1 ที่ตนยังไม่เคยข้าม แม้ในที่สุด
แห่งความฝัน ในกาลก่อนแต่การบรรลุอริยมรรค หรือข้ามขึ้น คือข้ามพ้น
โอฆะใหญ่ คือสงสารนั่นเอง โดยไม่มีภพใหม่ คือโดยอนุปาทิเสสนิพพาน-
ธาตุ อธิบายว่า ข้ามพ้น ดำรงอยู่ในฝั่ง.
จบอรรถกถาปฐมภัททิยสูตรที่ 1

2. ทุติยภัททิยสูตร



ว่าด้วยบุคคลตัดวัฏฏะได้แล้วย่อมสิ้นทุกข์



[148] ข้าพเจ้าได้สดับมาแล้วอย่างนี้ :-
สมัยหนึ่ง พระผู้มีพระภาคเจ้าประทับอยู่ ณ พระวิหารเชตวัน อาราม
ของท่านอนาถบิณฑิกเศรษฐี ใกล้พระนครสาวัตถี ก็สมัยนั้นแล ท่าน

พระสารีบุตร สำคัญท่านพระลกุณฐกภัททิยะว่า เป็นพระเสขะ จึง
ชี้แจงให้เห็นแจ้ง ให้สมาทาน ให้อาจหาญ ให้ร่าเริง ด้วยธรรมีกถา
โดยอเนกปริยายยิ่งกว่าประมาณ พระผู้มีพระภาคเจ้าได้ทรงเห็นท่านพระ-
สารีบุตรสำคัญท่านพระลกุณฐกภัททิยะว่า เป็นพระเสขะ ชี้แจงให้เห็นแจ้ง
ให้สมาทาน ให้อาจหาญ ให้ร่าเริง ด้วยธรรมีกถา โดยอเนกปริยายยิ่ง
กว่าประมาณ.
ลำดับนั้นแล พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงทราบเนื้อความนี้แล้ว จึงทรง
เปล่งอุทานนี้ในเวลานั้นว่า
บุคคลตัดวัฏฏะได้แล้ว บรรลุถึงนิพพานอันเป็น
สถานที่ไม่มีตัณหา ตัณหาที่บุคคลให้เหือดแห้งแล้ว
ย่อมไม่ไหลไป. วัฏฏะที่บุคคลตัดได้แล้ว ย่อมไม่เป็น
ไป นี้แลเป็นที่สุดแห่งทุกข์.

จบทุติยภัททิยสูตรที่ 2

อรรถกถาทุติยภัททิยสูตร



ทุติยภัททิยสูตรที่ 2

มีวินิจฉัยดังต่อไปนี้ :-
บทว่า เสโขติ มญฺญมาโน ได้แก่ สำคัญว่า ท่านพระภัททิยะนี้เป็น
พระเสขะ. ในคำนั้น มีวจนัตถะดังต่อไปนี้ ชื่อว่าเสขะ เพราะยังต้องศึกษา.
ศึกษาอะไร ? ศึกษาอธิศีล อธิจิต และอธิปัญญา. อีกอย่างหนึ่ง การ
ศึกษา ชื่อว่าสิกขา การศึกษานั้นเป็นปกติของผู้นั้น เหตุนั้น ผู้นั้น ชื่อว่า
ผู้มีการศึกษา. จริงอยู่ ผู้นั้น ชื่อว่า มีการศึกษาเป็นปกติโดยส่วนเดียว
เพราะมีการศึกษายังไม่จบ และเพราะน้อมใจไปในการศึกษานั้น แต่มิใช่
ผู้จบการศึกษาเหมือนอย่างพระอเสขะ ผู้ระงับการขวนขวายในการศึกษา