เมนู

อรรถกถาอุปปัชชันติสูตร



อุปปัชชันติสูตรที่ 10

มีวินิจฉัยดังต่อไปนี้ :-
บทว่า ยาวกีวํ แปลว่า ตลอดกาลเพียงใด. บทว่า ยโต ความว่า
ในกาลใด คือตั้งแต่เวลาใด หรือว่าในกาลใด. ด้วยบทว่า เอวเมตํ
อานฺนท
พระองค์ทรงแสดงว่า อานนท์ ข้อที่เธอกล่าวว่า เมื่อตถาคต
อุบัติขึ้น ลาภและสักการะย่อมเจริญยิ่งแก่ตถาคตและแก่สาวกของตถาคต
เท่านั้น ส่วนพวกเดียรถีย์ เป็นผู้ไร้เดช หมดรัศมี เสื่อมลาภและสักการะ
นั่นย่อมเป็นอย่างนั้น ข้อนั้นหากลายเป็นอย่างอื่นไม่ จริงอยู่ เมื่อจักร
รัตนะของพระเจ้าจักพรรดิปรากฏ สัตวโลกละจักรรัตนะ ไม่ทำการบูชา
สักการะและสัมมานะ ให้เป็นไปในที่อื่น แต่สัตวโลกทั้งมวลล้วนสักการะ
เคารพ นับถือ บูชา จักรรัตนะเท่านั้น โดยภาวะทั้งปวง ดังนั้น แม้
วิบากเป็นเครื่องไหลออกเพียงเป็นบุญที่ซ่านไปตามวัฏฏะ ก็ยังมีอานุภาพ
มากถึงเพียงนั้น จะต้องกล่าวไปไยเล่า ถึงพุทธรัตนะ ธัมมรัตนะ สังฆ-
รัตนะ อันทรงไว้ซึ่งจำนวนคุณหาที่สุดหาประมาณมิได้ ซึ่งเป็นเครื่อง
สนับสนุนพลังแห่งบุญอันส่งผลให้ไปถึงพระนิพพาน.
จริงอยู่ พระผู้มีพระภาคเจ้า ครั้นทรงบรรลุพระสัมมาสัมโพธิญาณ
แล้ว ทรงประกาศพระธรรมจักรอันประเสริฐ เมื่อพระอรหันต์ 61 องค์
บังเกิดขึ้นในโลกตามลำดับ จึงทรงส่งพระอรหันต์ 60 องค์ เพื่อจาริก
ไปตามชนบท พระองค์เสด็จไปยังอุรุเวลาประเทศ ให้ชฎิล 1,000 คน
มีอุรุเวลกัสสปะเป็นหัวหน้า ดำรงอยู่ในพระอรหัต แวดล้อมไปด้วยพระ-
อรหันต์เหล่านั้น ประทับนั่งที่สวนตาลหนุ่ม ทำชนชาวอังคะและมคธ

ซึ่งมีพระเจ้าพิมพิสารเป็นประมุข ประมาณได้ 120,000 คน ให้หยั่ง
ลงในพระศาสนาในคราวที่พระองค์ประทับอยู่ ณ กรุงราชคฤห์. จำเดิมแต่
นั้น ลาภและสักการะของเดียรถีย์ทุกจำพวก ย่อมกลับเสื่อมลงทีเดียว
โดยประการที่ลาภและสักการะเจริญยิ่ง ๆ ขึ้นไป แก่พระผู้มีพระภาคเจ้า
และภิกษุสงฆ์. ภายหลังวันหนึ่ง ท่านพระอานนท์นั่งพักในที่พักกลางวัน
พิจารณาถึงสัมมาปฏิบัติ ของพระผู้มีพระภาคเจ้าและพระอริยสงฆ์ เกิดปีติ
และโสมนัส จึงรำพึงถึงข้อปฏิบัติของเดียรถีย์เหล่านั้นว่า การปฏิบัติของ
พวกเดียรถีย์เป็นอย่างไรหนอ. ลำดับนั้น การปฏิบัติชั่วแม้โดยประการ
ทั้งปวง ของพวกเดียรถีย์เหล่านั้น ปรากฏแล้วแก่ท่านพระอานนท์. ท่าน
พระอานนท์คิดว่า เมื่อพระผู้มีพระภาคเจ้า ชื่อว่ามีอานุภาพมากถึงอย่างนี้
ผู้บรรลุพระบารมีอย่างสูงสุด แห่งอุปนิสัยของบุญ และสัมมาปฏิบัติ และ
เมื่อพระอริยสงฆ์ยังทรงอยู่ พวกอัญเดียรถีย์เหล่านี้ จึงปฏิบัติชั่วถึง
อย่างนี้ ไม่เคยทำบุญ เป็นดังคนกำพร้า จึงจักมีลาภ เป็นผู้อันเขา
สักการะอย่างไร จึงเกิดความกรุณาในการเสื่อมลาภและสักการะของพวก
เดียรถีย์ขึ้น ต่อนั้น จึงได้กราบทูลความปริวิตกของตน แด่พระผู้มีพระ-
ภาคเจ้า โดยนัยมีอาทิว่า ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ พระตถาคตอรหันต-
สัมมาสัมพุทธเจ้า ยังไม่เสด็จอุบัติขึ้นในโลกเพียงใด. ก็พระผู้มีพระภาค-
เจ้าไม่ได้ตรัสกะเธอว่า อานนท์ เธอมีความปริวิตกผิดไปแล้ว ดังนี้แล้ว
จึงตั้งพระศอขึ้นตรง เช่นกับกลองทอง ทรงกระทำพระพักตร์ให้อิ่มเอิบ
อันงดงามปานดอกบัวที่บานสะพรั่ง ให้น่าเลื่อมใสยิ่งนัก ทรงร่าเริงว่า
ข้อนั้นเป็นอย่างนั้น อานนท์ แล้วทรงอำนวยตามคำของพระอานนท์ โดย

นัยมีอาทิว่า ยาวกีวญฺจ ดังนี้. ด้วยเหตุนั้น ท่านจึงกล่าวว่า ครั้งนั้นแล
ท่านพระอานนท์ ฯ ล ฯ และพระภิกษุสงฆ์ ดังนี้เป็นต้น.
ครั้นเมื่อเกิดเหตุแห่งเรื่องนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้า จึงตรัสปาเวรุ-
ชาดกว่า แม้ในอดีตกาล เรายังไม่อุบัติขึ้น ชนชั้นต่ำบางพวกได้ความ
นับถือเป็นอันมาก ตั้งแต่เราอุบัติแล้ว อัญญเดียรถีย์เหล่านั้นก็ได้เป็นผู้
เสื่อมลาภและสักการะ.
บทว่า เอตมตฺถ วิทิตฺวา ความว่า พระองค์ทรงทราบโดยอาการ
ทั้งปวง ซึ่งอรรถนี้ว่า ทิฏฐิคติกบุคคลมีสักการะและสัมมานะ ตลอดเวลา
ที่พระสัมมาสัมพุทธเจ้ายังไม่เสด็จอุบัติขึ้นในโลก นับตั้งแต่เวลาที่พระ-
สัมมาสัมพุทธเจ้าเหล่านั้นอุบัติแล้ว พวกเขาเหล่านั้นก็เสื่อมลาภสักการะ
หมดรัศมี ไร้เดช และพวกเขาไม่พ้นจากทุกข์ไปได้ เพราะการปฏิบัติชั่ว
จึงทรงเปล่งอุทานนี้ อันแสดงความนั้น.
บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า โอภาสติ ตาว โส กิมิ ความว่า หิงห้อย
นั้นยังสว่างรุ่งโรจน์แผดแสงอยู่เพียงนั้นนั่นแล. บทว่า ยาว น อุณฺณมติ
ปภงฺกโร
ความว่า พระอาทิตย์อันได้นามว่า ปภังกร เพราะกระทำให้
มีแสงสว่างในขณะเดียวกัน ในมหาทวีปทั้ง 4 ยังไม่ทอแสง คือยังไม่ขึ้น
ไปตราบใด. จริงอยู่ เมื่อพระอาทิตย์ยังไม่ขึ้น พวกหิ่งห้อยก็ได้โอกาส
เปลี่ยนแสง เช่นกับผลไม้มีหนาม ย่อมส่งแสงในที่มืด. บทว่า เวโรจนมฺหิ
อุคฺคเต หตปฺปโภ โหติ น จาปิ ภาสติ
ความว่า เมื่อพระอาทิตย์ อันได้
นามว่า วิโรจนะ เพราะมีสภาวะส่องแสง โดยรัศมีแผ่ออกพันดวงกำจัด
ความมืดโดยรอบขึ้นไปแล้ว หิงห้อยหมดรัศมี ไร้เดช เป็นสีดำ ไม่มี

แสงสว่าง ไม่แผดแสง เหมือนความมืดในราตรี. บทว่า เอวํ โอภาสิตเมว
ติตฺถิยานํ ความว่า หญิงห้อยนั้น ก่อนแต่พระอาทิตย์ขึ้น ย่อมส่องแสงฉันใด
พวกเดียรถีย์อันได้นามว่า ตักกิกา เพราะยึดถือทิฏฐิ ด้วยเหตุเพียงตริตรึก
กำหนด สว่างคือตั้งส่องแสงด้วยเดชแห่งลัทธิของตน ตราบเท่าที่พระ-
สัมมาสัมพุทธเจ้า
ยังไม่เสด็จอุบัติขึ้นในโลก. บทว่า น ตกฺกิกา สุชฺฌนฺติ
น จาปิ สาวกา
ความว่า ก็ในคราวที่พระสัมมาสัมพุทธเจ้า เสด็จอุบัติขึ้น
ในโลก ทิฏฐิคติกบุคคล ย่อมไม่บริสุทธิ์ ย่อมไม่งาม ทั้งสาวกของทิฏฐิ-
คติกบุคคลเหล่านั้น ก็ไม่งาม ถึงกระนั้นก็ถูกกำจัดรัศมี ไม่ปรากฏเหมือน
ลูกศรที่ยิงไปในราตรี. อีกอย่างหนึ่ง พระสัมมาสัมพุทธเจ้า ยังไม่เสด็จ
อุบัติขึ้นในโลกเพียงใด พวกเดียรถีย์ก็ยังแผดแสงโชติช่วง ตามลัทธิของ
ตน หลังจากนั้นก็ไม่มีแสง. เพราะเหตุไร ? เพราะเหตุที่พวกเดียรถีย์ไม่
บริสุทธิ์ ทั้งสาวกของเขาก็ไม่บริสุทธิ์. เพราะพวกเดียรถีย์เหล่านั้น กล่าว
ธรรมวินัยไว้ไม่ดี ไร้การปฏิบัติชอบ ย่อมไม่บริสุทธิ์จากสงสารไปได้
เพราะคำสอนไม่เป็นเครื่องนำออกจากทุกข์. ด้วยเหตุนั้น จึงตรัสว่า ผู้มี
ทิฏฐิชั่ว ย่อมไม่พ้นไปจากทุกข์
ดังนี้เป็นต้น. จริงอยู่ พวกเดียรถีย์
ทั้งหลาย ชื่อว่าผู้มีทิฏฐิชั่ว คือมีทิฏฐิอันยึดถือไว้ผิด ได้แก่มีความเห็น
ผิด เพราะไม่มีลัทธิตามความเป็นจริง ไม่สละทิฏฐินั้นแล้ว แม้ในกาล
ไหน ๆ ก็ไม่พ้นไปจากทุกข์ในสงสารได้เลย.
จบอรรถกถาอุปปัชชันติสูตรที่ 2
จบชัจจันธวรรควรรณนาที่ 6

รวมพระสูตรที่มีในวรรคนี้ คือ


1. อายุสมโอสัชชนสูตร 2. ปฏิสัลลานสูตร 3. อาหุสูตร 4. ปฐม-
กิรสูตร 5. ทุติยกิรสูตร 6. ติตถสูตร 7. สุภูติสูตร 8. คณิกาสูตร-
9. อุปาติสูตร 10. อุปปัชชันติสูตร และอรรถกถา.