เมนู

ผู้มีพระภาคเจ้าประทับนั่งในที่แจ้งในความมืดตื้อในราตรี เมื่อประทีป
น้ำมันลุกโพลงอยู่ ก็สมัยนั้นแล ตัวแมลงเป็นอันมากตกลงรอบๆ ที่ประทีป
นำมันเหล่านั้น ย่อมถึงความทุกข์ ความพินาศ ความย่อยยับ ลำดับนั้นแล
พระผู้มีพระภาคเจ้าไค้ทรงเห็นตัวแมลงเป็นอันมากเหล่านั้น ตกลงรอบ ๆ
ที่ประทีปน้ำมันเหล่านั้น ถึงความทุกข์ ความพินาศ ความย่อยยับ.
ลำดับนั้นแล พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงทราบเนื้อความนี้แล้ว จึงทรง
เปล่งอุทานนี้ในเวลานั้นว่า
สมณพราหมณ์พวกหนึ่งย่อมแล่นเลยไป ไม่ถึง
ธรรมอันเป็นสาระ ย่อมพอกพูนเครื่องผูกใหม่ ๆ ตั้ง
มั่นอยู่ในสิ่งที่ตนเห็นแล้ว ฟังแล้วอย่างนี้ เหมือนฝูง
แมลงตกลงสู่ประทีปน้ำมันฉะนั้น.

จบอุปาติสูตรที่ 9

อรรถกถาอุปาติสูตร



อุปาติสูตรที่ 9

มีวินิจฉัยดังต่อไปนี้ :-
บทว่า รตฺตนฺธการติมิสายํ ได้แก่ ความมืดมิดโดยการมืดสนิทใน
ราตรี. จริงอยู่ แม้ราตรีในคืนวันเพ็ญสว่างไสวด้วยแสงจันทร์ข้างขึ้น
เป็นอันชื่อว่าเว้นจากความมืดมิด. แม้ความมืด ก็ไม่ควรจะกล่าวว่ามืดมิด
ในเมื่อกลางวันปราศจากความหมองด้วยหมอกเป็นต้น. จริงอยู่ ความ
มืดมิด ท่านเรียกว่า ติมิสา. ก็ความมืดนี้คือ วันดับ กลางคืน ฝนตก และ
ปกคลุมด้วยกลีบเมฆ. ด้วยเหตุนั้น ท่านจึงกล่าวว่า บทว่า รตฺตนฺธการ-
ติมิสายํ
ได้แก่ ความมืดมิด ด้วยความมืดสนิท ในราตรี ดังนี้.

บทว่า อพฺโภกาเส ได้แก่ ในโอกาสที่ไม่ปกปิด ได้แก่ลานวิหาร.
บทว่า เตลปฺปทีเปสุ ฌายมาเนสุได้แก่ เมื่อประทีปโชติช่วงด้วยน้ำมัน.
ถามว่า ก็รัศมีด้านละวาของพระผู้มีพระภาคเจ้าตามปกติ แผ่ซ่าน
ไปตลอดที่ประมาณวาหนึ่งข่มแสงจันทร์และแสงอาทิตย์ ฉายแสงสว่างของ
พระพุทธเจ้าที่หนาทึบตั้งกำจัดความมืดมิด แม้รัศมีแห่งพระวรกายก็ฉาย
พุทธรังสีที่หนาทึบ มีพรรณ 6 ประการ มีสีเขียวและเหลืองเป็นต้น ตาม
ปกติทีเดียว ทั้งทำที่มีประมาณ 80 ศอก โดยรอบให้สว่างไสว เมื่อเป็น
เช่นนั้น ในโอกาสที่พระผู้มีพระภาคเจ้าประทับนั่ง อันมีแสงสว่างเป็น
อันเดียวกัน กับแสงสว่างของพระพุทธเจ้านั่นแล ไม่จำต้องมีกิจคือการ
ตามประทีปมิใช่หรือ ? ตอบว่า ไม่มีก็จริง แม้ถึงอย่างนั้น อุบาสกผู้ต้องการ
บุญ ก็ต้องการตามประทีปน้ำมันทุกวัน ๆ เพื่อทำการบูชาพระผู้มีพระภาค-
เจ้า และภิกษุสงฆ์. สมจริงดังคำที่ท่านกล่าวไว้ในสามัญญผลสูตรว่า ประทีป
เหล่านั้นย่อมโพลงอยู่ในโรงกลม ดังนี้. แม้คำว่า รตฺตนฺธการติมิสายํ นี้
ท่านกล่าวไว้ เพื่อระบุถึงความเป็นจริงของราตรีนั้น แต่หาได้กล่าวโดย
โอกาสที่พระผู้มีพระภาคเจ้าประทับนั่งเป็นภาวะที่มืดมิดไม่. จริงอยู่ เพื่อ
จะทำการบูชาเท่านั้น แม้กาลนั้น พวกอุบาสกก็ตามประทีปไว้.
ก็ในวันนั้น อุบาสกชาวเมืองสาวัตถีจำนวนมากชำระร่างกายแต่เช้า
ตรู่ ไปยังวิหารสมาทานองค์อุโบสถ นิมนต์ภิกษุสงฆ์มีพระพุทธเจ้าเป็น
ประมุข เข้าไปสู่พระนครให้มหาทานเป็นไปแล้ว ส่งเสด็จพระผู้มีพระ-
ภาคเจ้า และส่งภิกษุสงฆ์กลับแล้ว ไปยังเรือนของตน ๆ บริโภคด้วยตน
เอง นุ่งห่มผ้าเรียบร้อย มีอุตราสงค์เฉวียงบ่า ต่างถือของหอมและ
ดอกไม้เป็นต้น พากันไปยังวิหารบูชาพระผู้มีพระภาคเจ้า บางพวกเข้าไป

หาภิกษุผู้ที่ตนชอบใจและนับถือ บางพวกใส่ใจโดยแยบคายยับยั้งอยู่ตลอด
วัน. ครั้นเวลาเย็น อุบาสกเหล่านั้นก็ฟังธรรมในสำนักของพระผู้มีพระ-
ภาคเจ้า เมื่อพระศาสดา ประทับนั่งบนบวรพุทธอาสน์ที่บรรจงจัดไว้ใน
กลางแจ้งใกล้พระคันกุฎี ตั้งแต่มณฑปแห่งธรรมสภา และเมื่อภิกษุสงฆ์
เข้าไปเฝ้านั่งใกล้พระผู้มีพระภาคเจ้าแล้ว เพื่อจะชำระอุโบสถให้สะอาด
และเพื่อจะพอกพูนโยนิโสมนสิการ จึงไม่กลับไปยังพระนคร ประสงค์
จะอยู่ในพระวิหารเท่านั้น จึงเหลืออยู่. ครั้งนั้น อุบาสกเหล่านั้น ตาม
ประทีปน้ำมันเป็นอันมาก เพื่อบูชาพระผู้มีพระภาคเจ้าและภิกษุสงฆ์ แล้ว
เข้าไปเฝ้าพระศาสดา ถวายบังคมแล้วประคองอัญชลีแต่ภิกษุสงฆ์ นั่ง ณ
ส่วนสุดภิกษุสงฆ์ สังสนทนากันว่า ข้าแต่ท่านผู้เจริญ พวกเดียรถีย์
เหล่านี้กล่าวยึดถือทิฏฐิต่าง ๆ และเมื่อกล่าวอย่างนั้น บางคราวกล่าวว่า
เที่ยง บางคราวกล่าวว่าไม่เที่ยง ไม่ตั้งอยู่ในทิฏฐิอย่างใดอย่างหนึ่ง มีอุจ-
เฉททิฏฐิเป็นต้น เป็นเสมือนคนบ้า ยกย่องทิฏฐิใหม่ ๆ ว่า สิ่งนี้เท่านั้น
จริง สิ่งอื่นเปล่า เดียรถีย์เหล่านั้น ผู้ยึดถืออย่างนั้น มีคติเป็นอย่างไร
อภิสัมปรายภพของพวกเขาเป็นอย่างไร. ก็สมัยนั้น แมลงเม่าเป็นอันมาก
เมื่อตกลง ก็ตกลงที่ประทีปน้ำมันเหล่านั้น. ด้วยเหตุนั้น ท่านจึงกล่าวว่า
ก็สมัยนั้นแล แมลงเม่าเป็นอันมากตกลง.
บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า อธิปาตกา แปลว่า แมลงเม่าซึ่งท่าน
กล่าวว่า สลภา ดังนี้ก็มี. จริงอยู่ แมลงเม่าเหล่านั้น ท่านประสงค์เอาว่า
อธิปาตกา เพราะตกลงสู่เปลวประทีป. บทว่า อาปาตปริปาตํ แยกเป็น
อาปาตํ ปริปาตํ อธิบายว่า ตกลงทั่ว ๆ ตกลงรอบ ๆ คือหมุนตกลง
ตรงหน้าแล แล้วตกลง. อาจารย์บางพวกกล่าวว่า ตกลงรอบ ๆ ในทาง

ไปมา. อธิบายว่า ในทางที่มา เมื่อมีประทีปอยู่ในทางมาของตน ก็
ตกลง ๆ. บทว่า อนยํ แปลว่า ความไม่เจริญ คือความทุกข์. บทว่า
พฺยสนํ แปลว่า ความพินาศ. จริงอยู่ ด้วยบทต้น ท่านแสดงถึงทุกข์
ปางตาย ด้วยบทหลัง ท่านแสดงถึงความตายของแมลงเม่าเหล่านั้น. ใน
แมลงเม่าเหล่านั้น สัตว์บางพวกตายพร้อมกับการตกลง บางพวกก็ถึง
ทุกข์ปางตาย.
บทว่า เอตมตฺถํ วิทิตฺวา ความว่า ทรงทราบถึงการที่แมลงเม่าทั้ง-
หลาย ไม่รู้ประโยชน์คนถึงความวอดวายไร้ประโยชน์ ด้วยความพยายาม
ของตนนี้ จึงทรงเปล่งอุทานนี้ อันแสดงถึงความวอดวายของทิฏฐิคติก-
บุคคล โดยการถือผิดเหมือนแมลงเม่าเหล่านั้น.
บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า อุปาติธาวนฺติ น สารเมนฺติ ความว่า
ไม่ถึงธรรมอันเป็นสาระ ต่างโดย ศีล สมาธิ ปัญญา และวิมุตติ เป็นต้น
คือไม่ถึงโดยการตรัสรู้สัจจะ 4. แต่เมื่อธรรมอันเป็นสาระพร้อมทั้งอุบาย
นั้น ยังดำรงอยู่นั่นแหละ. พวกเขาเป็นเสมือนเข้าถึงธรรมอันเป็นสาระนั้น
เพราะหวังธรรมเป็นเครื่องหลุดพ้น ย่อมแล่นไป คือเลยไป ด้วยทิฏฐิ-
วิปัลลาส อธิบายว่า ยึดมั่นถือมั่นในอุปาทานขันธ์ 5 ว่า เที่ยง งาม สุข
มีตัวตน. บทว่า นวํ นวํ พนฺธนํ พฺรูหยนฺติ ความว่า ก็เมื่อยึดถืออย่างนั้น
ชื่อว่าย่อมพอกพูน คือขยายธรรมเป็นเครื่องผูกใหม่ ๆ กล่าวคือตัณหา
และทิฏฐิ. บทว่า ปตนฺติ ปชฺโชตมิวาธิปาตา ทิฏฺเฐ สุเต อิติเหเก
นิวิฏฺฐา
ความว่า สมณพราหมณ์พวกหนึ่ง เพราะถูกเครื่องผูกคือตัณหา
และทิฏฐิผูกพันไว้อย่างนี้ จึงยึดถือในรูปารมณ์ที่ตนเห็น คือในรูปารมณ์
ที่ตนเห็นด้วยจักขุวิญญาณของตน หรือด้วยทิฏฐิทัสสนะของตนนั่นแล และ

ในสัททารมณ์ที่ตนได้ยินมา ด้วยเหตุเพียงได้ยินได้ฟังมาเท่านั้นว่า เพราะ
เหตุนั้นแล สิ่งนี้ย่อมเป็นอย่างนี้โดยแน่นอน ยึดถือโดยนัยมีอาทิว่า สิ่ง
ทั้งปวงเที่ยงด้วยการยึดถือผิด ๆ หรือเมื่อไม่รู้ธรรมเป็นเหตุสลัดออกที่เป็น
ประโยชน์โดยส่วนเดียว ย่อมตกไปในหลุมถ่านเพลิงถ่ายเดียว กล่าวคือ
ภพ 3 ที่ไฟ 11 กองมีราคะเป็นต้นลุกโชนแล้ว เหมือนแมลงเม่าเหล่านี้
ตกไปสู่เปลวเพลิงนี้ฉะนั้น อธิบายว่า เขาไม่อาจจะเงยศีรษะขึ้นได้ จาก
หลุมถ่านเพลิงนั้น.
จบอรรถกถาอุปาติสูตรที่ 9

10. อุปปัชชันติสูตร



ว่าด้วยแสงหิ่งห้อยกับแสงอาทิตย์



[146] ข้าพเจ้าได้สดับมาแล้วอย่างนี้ :-
สมัยหนึ่ง พระผู้มีพระภาคเจ้าประทับอยู่ ณ พระวิหารเชตวัน อาราม
ของท่านอนาถบิณฑิกเศรษฐี ใกล้พระนครสาวัตถี ครั้งนั้นแล ท่าน
พระอานนท์เข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาคเจ้าถึงที่ประทับ ถวายบังคมแล้วนั่ง
ณ ที่ควรส่วนข้างหนึ่ง ครั้นแล้วได้กราบทูลพระผู้มีพระภาคเจ้าว่า ข้าแต่
พระองค์ผู้เจริญ พระตถาคตอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้ายังไม่เสด็จอุบัติขึ้น
ในโลก เพียงใด พวกอัญญเดียรถีย์ย่อมเป็นผู้อันมหาชนสักการะ เคารพ
นับถือ บูชา ยำเกรง และได้จีวร บิณฑบาต เสนาสนะและคิลานปัจจัย
เภสัชบริขาร เพียงนั้น แต่เมื่อใด พระตถาคตอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า
เสด็จอุบัติขึ้นในโลก พวกอัญเดียรถีย์ปริพาชก ย่อมเป็นผู้อันมหาชนไม่