เมนู

อรรถกถาคณิกาสูตร


คณิกาสูตรที่ 8

มีวินิจฉัยดังต่อไปนี้ :-
บทว่า เทฺว ปูคา ได้แก่ 2 คณะ. บทว่า อญฺญตริสฺสา คณิกาย
ได้แก่ หญิงงามเมืองคนหนึ่ง. บทว่า สารตฺตา แปลว่า กำหนัดด้วยดี.
บทว่า ปฏิพทฺธจิตฺตา แปลว่า มีจิตผูกพันด้วยกิเลส.
ได้ยินว่า ในกรุงราชคฤห์ ในวันมหรสพวันหนึ่ง พวกนักเลงเป็น
อันมาก เที่ยวกันเป็นพวก ๆ แต่ละคนก็นำหญิงแพศยามาคนหนึ่ง ๆ เข้า
สวนเล่นมหรสพ. หลังจากนั้น ในวันมหรสพ นักเลง 2-3 คน พาหญิง
แพศยาคนนั้นแหละมาเล่นมหรสพ ครั้นวันมหรสพวันหนึ่ง พวกนักเลง
แม้เหล่าอื่น ก็ประสงค์จะเล่นมหรสพเช่นนั้นเหมือนกัน เมื่อจะนำหญิง
แพศยามา จึงนำหญิงแพศยาคนหนึ่งที่พวกนักเลงพวกก่อนเคยนำมา ฝ่าย
นักเลงพวกก่อนเห็นดังนั้นจึงกล่าวว่า หญิงนี้อยู่ในปกครองของพวกเรา.
ฝ่ายนักเลงพวกหลังก็ได้กล่าวอย่างนั้นเหมือนกัน. นักเลงทั้ง 2 พวกนั้น
ก่อการทะเลาะกันว่า เมื่อเป็นเช่นนี้ พวกเราก็ปกครองได้ พวกเรา
ก็ปกครองได้ จึงได้ประหัตประหารกันด้วยฝ่ามือเป็นต้น. ด้วยเหตุนั้น
ท่านจึงกล่าวว่า เตน โข ปน สมเยน ราชคเห เทฺว ปูคา ดังนี้
เป็นต้น.
บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า อุปกฺกมนฺติ แปลว่า ประหารกัน .
บทว่า มรณมฺปิ นิคจฺฉนฺติ ความว่า เข้าถึงความตายด้วยการประหารกัน
อย่างรุนแรง. ฝ่ายอีกพวกหนึ่งได้รับทุกข์ปางตาย คือมีความตายเป็น
ประมาณ.