เมนู

ก็ในบทว่า เอตมตฺถํ วิทิตฺวา นี้ เพราะการเปรียบด้วยคนตาบอด
แต่กำเนิด ไม่มาในพระสูตรนี้ จึงละความนั้นแล้วประกอบความโดยนัย
ที่กล่าวในหนหลังแล. ในคาถาก็เหมือนกัน. ในพระคาถานั้นมีความ
แปลกกันเพียงเท่านี้ว่า ยังไม่ถึงพระนิพพานอันเป็นที่หยั่งลง ย่อมจม
ลงในระหว่างเทียว.

คำนั้นมีอธิบายดังต่อไปนี้ ทิฏฐิคติกบุคคลทั้งหลายข้องอยู่ในทิฏฐิ
คือทิฏฐินิสัย ยังไม่ถึง คือยังไม่บรรลุพระนิพพาน กล่าวคือเป็นที่หยั่งลง
หรืออริยมรรคอันเป็นอุบายเครื่องบรรลุพระนิพพานนั้น เพราะเป็นฝั่ง
หรือเป็นที่พึ่งของทิฏฐิคติกบุคคลเหล่านั้น จึงจมคือหมกอยู่ในระหว่าง
คือในท่ามกลางโอฆะ 4 มีกาโมฆะเป็นต้น หรือห้วงน้ำใหญ่ คือสงสาร
นั่นแหละ. อริยมรรคและพระนิพพาน ชื่อว่าธรรมเป็นเครื่องหยั่งลง
เพราะเป็นเครื่องหยั่งลงหรือเป็นที่ตั้งอาศัย. ในที่นี้ เพราะรัสสะ โอคาธํ
นั่นแล จึงกล่าวว่า โอคธํ. มีการแยกบทว่า ตํ โอคธํ เป็น ตโมคธํ.
จบอรรถกถาทุติยกิรสูตรที่ 5

6. ติตถสูตร



ว่าด้วยลัทธิและทิฏฐิต่างกัน



[141] ข้าพเจ้าได้สดับมาแล้วอย่างนี้ :-
สมัยหนึ่ง พระผู้มีพระภาคเจ้าประทับอยู่ ณ พระวิหารเชตวัน อาราม
ของท่านอนาถบิณฑิกเศรษฐี ใกล้พระนครสาวัตถี ก็สมัยนั้นแล สมณะ
พราหมณ์ ปริพาชกมากด้วยกัน ผู้มีลัทธิต่าง ๆ กัน มีทิฏฐิต่างกัน มีความ

พอใจต่างกัน มีความชอบใจต่างกัน อาศัยทิฏฐินิสัยต่างกัน อาศัยอยู่ใน
พระนครสาวัตถี สมณพราหมณ์พวกหนึ่งมีวาทะอย่างนี้ มีทิฏฐิอย่างนี้ว่า
คนและโลกเที่ยง นี้แหละจริง อื่นเปล่า สมณพราหมณ์พวกหนึ่งมีวาทะ
อย่างนี้ มีทิฏฐิอย่างนี้ว่า คนและโลกไม่เที่ยง นี้แหละจริง อื่นเปล่า . . .
ธรรมเป็นเช่นนี้ ธรรมไม่เป็นเช่นนี้ ธรรมไม่เป็นเช่นนี้ ธรรมเป็น
เช่นนี้.
[142] ลำดับนั้น เป็นเวลาเช้า ภิกษุหลายรูปนุ่งแล้วถือบาตร
และจีวร เข้าไปบิณฑบาตยังพระนครสาวัตถี เที่ยวบิณฑบาตไปในพระ-
นครสาวัตถี กลับจากบิณฑบาตภายหลังภัตแล้ว เข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระ-
ภาคเจ้าถึงที่ประทับ ถวายบังคมพระผู้มีพระภาคเจ้าแล้ว นั่ง ณ ที่ควร
ส่วนข้างหนึ่ง ได้กราบทูลพระผู้มีพระภาคเจ้าว่า ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ
สมณะ พราหมณ์ ปริพาชกมากด้วยกัน มีลัทธิต่าง ๆ กัน มีทิฏฐิต่าง ๆ
กัน มีความพอใจต่าง ๆ กัน มีความชอบใจต่าง ๆ กัน อาศัยทิฏฐินิสัย
ต่าง ๆ กัน อาศัยอยู่ในพระนครสาวัตถีนี้ สมณพราหมณ์พวกหนึ่งมีวาทะ
อย่างนี้ มีทิฏฐิอย่างนี้ว่า คนและโลกเที่ยง นี้แหละจริง อื่นเปล่า สมณ-
พราหมณ์พวกหนึ่งมีวาทะอย่างนี้ มีทิฏฐิอย่างนี้ว่า ตนและโลกไม่เที่ยง
นี้แหละจริง อื่นเปล่า . . .ธรรมเป็นเช่นนี้ ธรรมไม่เป็นเช่นนี้ ธรรมไม่
เป็นเช่นนี้ ธรรมเป็นเช่นนี้.
พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย อัญญเดียรถีย์ปริ-
พาชกเป็นคนตาบอด ไม่มีจักษุ ย่อมไม่รู้จักประโยชน์ ไม่รู้จักความ
ฉิบหายใช่ประโยชน์ ไม่รู้จักธรรม ไม่รู้จักสภาพมิใช่ธรรม เมื่อไม่รู้จัก
ประโยชน์ ไม่รู้จักความฉิบหายมิใช่ประโยชน์ ไม่รู้จักธรรม ไม่รู้จักสภาพ

มิใช่ธรรม ก็บาดหมางกัน ทะเลาะกัน วิวาทกัน พูดจาทิ่มแทงกันและ
กันด้วยหอกคือปากว่า ธรรมเป็นเช่นนี้ ธรรมไม่เป็นเช่นนี้ ธรรมไม่
เป็นเช่นนี้ ธรรมเป็นเช่นนี้.
ลำดับนั้นแล พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงทราบเนื้อความนี้แล้ว จึงทรง
เปล่งอุทานนี้ในเวลานั้นว่า
หมู่สัตว์นี้ขวนขวายแล้วในทิฏฐิว่า ตนและโลก
เราสร้างสรรค์ ประกอบด้วยทิฏฐิว่าตนและโลกผู้อื่น
สร้างสรรค์ สมณพราหมณ์พวกหนึ่ง ไม่รู้จริงซึ่ง
ทิฏฐินั้นไม่ได้เห็นทิฏฐินั้นว่าเป็นลูกศร ก็เมื่อผู้พิจาร-
ณาเห็นอยู่ซึ่งความเห็นอันวิปริตนั้น ว่าเป็นดุจลูกศร
ความเห็นว่า เราสร้างสรรค์ย่อมไม่ปรากฏแก่ผู้นั้น
ความเห็นว่า ผู้อื่นสร้างสรรค์ ย่อมไม่ปรากฏแก่ผู้นั้น
หมู่สัตว์นี้ประกอบแล้วด้วยมานะ มีมานะเป็นเครื่อง
ร้อยรัดถูกมานะผูกพันไว้ กระทำความแข่งดีกันใน
ทิฏฐิทั้งหลาย ย่อมไม่ล่วงพ้นสงสารไปได้.

จบติตถสูตรที่ 6

อรรถกถาติตถสูตร



ติตถสูตรที่ 6

มีวินิจฉัยดังต่อไปนี้ :-
คำทั้งหมดมีนัยดังกล่าวแล้วในหนหลังแล. ก็ในคำว่า อิมํ อุทานํ นี้
พึงประกอบความว่า พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงเปล่งอุทานนี้ อันแสดงถึง