เมนู

ก็ในบทว่า เอตมตฺถํ วิทิตฺวา นี้ เพราะการเปรียบด้วยคนตาบอด
แต่กำเนิด ไม่มาในพระสูตรนี้ จึงละความนั้นแล้วประกอบความโดยนัย
ที่กล่าวในหนหลังแล. ในคาถาก็เหมือนกัน. ในพระคาถานั้นมีความ
แปลกกันเพียงเท่านี้ว่า ยังไม่ถึงพระนิพพานอันเป็นที่หยั่งลง ย่อมจม
ลงในระหว่างเทียว.

คำนั้นมีอธิบายดังต่อไปนี้ ทิฏฐิคติกบุคคลทั้งหลายข้องอยู่ในทิฏฐิ
คือทิฏฐินิสัย ยังไม่ถึง คือยังไม่บรรลุพระนิพพาน กล่าวคือเป็นที่หยั่งลง
หรืออริยมรรคอันเป็นอุบายเครื่องบรรลุพระนิพพานนั้น เพราะเป็นฝั่ง
หรือเป็นที่พึ่งของทิฏฐิคติกบุคคลเหล่านั้น จึงจมคือหมกอยู่ในระหว่าง
คือในท่ามกลางโอฆะ 4 มีกาโมฆะเป็นต้น หรือห้วงน้ำใหญ่ คือสงสาร
นั่นแหละ. อริยมรรคและพระนิพพาน ชื่อว่าธรรมเป็นเครื่องหยั่งลง
เพราะเป็นเครื่องหยั่งลงหรือเป็นที่ตั้งอาศัย. ในที่นี้ เพราะรัสสะ โอคาธํ
นั่นแล จึงกล่าวว่า โอคธํ. มีการแยกบทว่า ตํ โอคธํ เป็น ตโมคธํ.
จบอรรถกถาทุติยกิรสูตรที่ 5

6. ติตถสูตร



ว่าด้วยลัทธิและทิฏฐิต่างกัน



[141] ข้าพเจ้าได้สดับมาแล้วอย่างนี้ :-
สมัยหนึ่ง พระผู้มีพระภาคเจ้าประทับอยู่ ณ พระวิหารเชตวัน อาราม
ของท่านอนาถบิณฑิกเศรษฐี ใกล้พระนครสาวัตถี ก็สมัยนั้นแล สมณะ
พราหมณ์ ปริพาชกมากด้วยกัน ผู้มีลัทธิต่าง ๆ กัน มีทิฏฐิต่างกัน มีความ