เมนู

ฉันใด คำอุปไมยอันยังอุปมาให้ถึงพร้อมนี้ก็ฉันนั้น. ก็ อิธศัพท์ ใน
คาถานั้นพึงทราบว่า ท่านแสดงว่าลบไปแล้ว.

จบอรรถกถาปฐมกิรสูตรที่ 4

5. ทุติยกิรสูตร



ว่าด้วยความเห็นแย้งกัน



[139] ข้าพเจ้าได้สดับมาแล้วอย่างนี้ :-
สมัยหนึ่ง พระผู้มีพระภาคเจ้าประทับอยู่ ณ พระวิหารเชตวัน อาราม
ของท่านอนาถบิณฑิกเศรษฐี ใกล้พระนครสาวัตถี ก็สมัยนั้นแล สมณะ
พราหมณ์ ปริพาชกมากด้วยกัน ผู้มีลัทธิต่าง ๆ กัน มีทิฏฐิต่างกัน มีความ
พอใจต่างกัน มีความชอบใจต่างกัน อาศัยทิฏฐินิสัยต่างกัน อาศัยอยู่ใน
พระนครสาวัตถี สมณพราหมณ์พวกหนึ่งมีวาทะอย่างนี้ มีทิฏฐิอย่างนี้ว่า
1. ตนและโลกเที่ยง นี้แหละจริง อื่นเปล่า.
สมณพราหมณ์พวกหนึ่งมีวาทะต่างอย่างนี้ มีทิฏฐิอย่างนี้ว่า
2. ตนและโลกไม่เที่ยง นี้แหละจริง อื่นเปล่า.
สมณพราหมณ์พวกหนึ่งมีวาทะอย่างนี้ มีทิฏฐิอย่างนี้ว่า
3. ตนและโลกเที่ยงก็มี ไม่เที่ยงก็มี...
4. ตนและโลกเที่ยงก็มิใช่ ไม่เที่ยงก็มิใช่...
5. ตนและโลกอันตนเองสร้างสรรค์...
6. ตนและโลกอันผู้อื่นสร้างสรรค์...
7. ตนและโลกอันตนเองสร้างสรรค์ก็มี อันผู้อื่นสร้างสรรค์ก็มี...

8. ตนและโลกเกิดขึ้นลอย ๆ ตนเองสร้างสรรค์ก็หามิได้ ผู้อื่น
สร้างสรรค์ก็หามิได้...
9. ตนและโลกยั่งยืน มีทั้งสุขและทุกข์...
10. ตนและโลกไม่ยั่งยืน มีทั้งสุขและทุกข์...
11. ตนและโลกมีทั้งสุขและทุกข์ ยั่งยืนก็มี ไม่ยั่งยืนก็มี...
12. ตนและโลกมีทั้งสุขและทุกข์ ยั่งยืนก็หามิได้ ไม่ยั่งยืนก็หามิได้.
13. ตนและโลกมีทั้งสุขและทุกข์ ตนเองสร้างสรรค์.
14. ตนและโลกมีทั้งสุขและทุกข์ ผู้อื่นสร้างสรรค์ นี้แหละจริง อื่น
เปล่า.
สมณพราหมณ์พวกหนึ่งมีวาทะอย่างนี้ มีทิฏฐิอย่างนี้ว่า
15. ตนและโลกมีทั้งสุขและทุกข์ ตนเองสร้างสรรค์ก็มี ผู้อื่นสร้าง
สรรค์ก็มี นี้แหละจริง อื่นเปล่า.
สมณพราหมณ์พวกหนึ่งมีวาทะอย่างนี้ มีทิฏฐิอย่างนี้ว่า
16. ตนและโลกมีทั้งสุขและทุกข์ เกิดขึ้นลอย ๆ ตนเองสร้างสรรค์
ก็หามิได้ ผู้อื่นสร้างสรรค์ก็หามิได้ นี้แหละจริง อื่นเปล่า.
สมณพราหมณ์เหล่านั้นบาดหมางกัน ทะเลาะกัน วิวาทกัน ทิ่มแทง
กันและกันด้วยหอกคือปากว่า ธรรมเป็นเช่นนี้ ธรรมไม่เป็นเช่นนี้ ธรรม
ไม่เป็นเช่นนี้ ธรรมเป็นเช่นนี้.
[140] ครั้งนั้นแล เวลาเช้า ภิกษุมากด้วยกัน นุ่งแล้วถือบาตร
และจีวรเข้าไปบิณฑบาตยังพระนครสาวัตถี ครั้นเที่ยวบิณฑบาตในพระ-
นครสาวัตถี กลับจากบิณฑบาตภายหลังภัตแล้วเข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาค-
เจ้าถึงที่ประทับ ถวายบังคมแล้ว นั่ง ณ ที่ควรส่วนข้างหนึ่ง ครั้นแล้ว
ได้กราบทูลพระผู้มีพระภาคเจ้าว่า ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ขอประทาน

พระวโรกาส สมณะ พราหมณ์ ปริพาชกมากด้วยกัน ผู้มีลัทธิต่าง ๆ
กัน มีทิฏฐิต่างกัน มีความพอใจต่างกัน อาศัยทิฏฐินิสัยต่างกัน อาศัย
อยู่ในพระนครสาวัตถี สมณพราหมณ์พวกหนึ่งมีวาทะอย่างนี้ มีทิฏฐิ
อย่างนี้ว่า คนและโลกเที่ยง นี้แหละจริง อื่นเปล่า ฯ ล ฯ ธรรมเป็น
เช่นนี้ ธรรมไม่เป็นเช่นนี้ ธรรมไม่เป็นเช่นนี้ ธรรมเป็นเช่นนี้ พระ-
เจ้าข้า.
พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย อัญญเดียรถีย์
ปริพาชกเป็นคนบอด ไม่มีจักษุ ย่อมไม่รู้จักประโยชน์ ไม่รู้จักความ
ฉิบหายใช่ประโยชน์ ไม่รู้จักธรรม ไม่รู้จักสภาพมิใช่ธรรม ไม่รู้จัก
ประโยชน์ ไม่รู้จักความฉิบหาย ใช่ประโยชน์ ไม่รู้จักธรรม ไม่รู้จัก
สภาพมิใช่ธรรม ก็บาดหมางกัน ทะเลาะกัน วิวาทกัน ทิ่มแทงกัน
และกันอยู่ด้วยหอกคือปากว่า ธรรมเป็นเช่นนี้ ธรรมไม่เป็นเช่นนี้ ธรรม
ไม่เป็นเช่นนี้ ธรรมเป็นเช่นนี้.
ลำดับนั้นแล พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงทราบเนื้อความนี้แล้ว จึง
ทรงเปล่งอุทานนี้ในเวลานั้นว่า
ได้ยินว่า สมณพราหมณ์พวกหนึ่งข้องอยู่ในทิฏฐิ-
นิสัยเหล่านี้ ยังไม่ถึงนิพพานเป็นที่หยั่งลง ย่อมจมอยู่
ในระหว่างแล.


จบทุติยกิรสูตรที่ 5

อรรถกถาทุติยกิรสูตร



ทุติยกิรสูตรที่ 5

มีวินิจฉัยดังต่อไปนี้ :-
บทว่า สสฺสโต อตฺตา จ โลโก จ ความว่า ชนแม้เหล่าอื่นยึดถือ
รูปารมณ์เป็นต้นอย่างใดอย่างหนึ่ง ว่าเป็นอัตตา และว่าเป็นโลกแล้ว