เมนู

อรรถกถาปฐมกิรสูตร



ปฐมกิรสูตรที่ 4

มีวินิจฉัยดังต่อไปนี้ :-
ในบทว่า นานาติตฺถิยา สมณพฺราหฺมณปริพฺพาชกา นี้ มีวิเคราะห์
ดังต่อไปนี้ ชื่อว่า ท่า เพราะเป็นเหตุข้ามโอฆสงสาร ได้แก่ ทางเป็นที่
ไปสู่พระนิพพาน. แต่ในที่นี้ ทิฏฐิทัสสนะ ความเห็นคือทิฏฐิ ที่พวก
ผู้มีทิฏฐิยึดถือเป็นคติเช่นนั้น โดยวิปลาสอันผิดแผก ท่านประสงค์เอา
ว่า ท่า. ผู้ประกอบใน ท่า มีอาการต่าง ๆ มีว่าเที่ยงเป็นต้นนั้น ชื่อว่า
นานาทิฏฐิ. สมณะเปลือยและนิครนถ์เป็นต้น กฐกลาปพราหมณ์เป็นต้น
และปริพาชกชื่อโปกขรสาติเป็นต้น ชื่อว่าสมณะ พราหมณ์ และปริพา-
ชก. สมณะ พราหมณ์ และปริพาชกเหล่านั้น ผู้ประกอบในท่าต่างๆ
เหมือนกัน. ชื่อว่า ทิฏฐิ เพราะเป็นเครื่องเห็น โดยนัยมีอาทิว่า อัตตา
และโลกเที่ยง หรือทิฏฐินั้นย่อมเห็นเอง หรือทิฏฐินั้นเป็นเพียงความเห็น
เช่นนั้นเท่านั้น คำว่า ทิฏฐินี้ เป็นชื่อของการยึดถือผิด. ทิฏฐิต่าง ๆคือ
มีอย่างเป็นอเนก โดยเห็นว่าเที่ยงเป็นต้น ของชนเหล่านั้นมีอยู่ เหตุนั้น
ชนเหล่านั้นชื่อว่ามีทิฏฐิต่าง ๆ. ความพอใจโดยเห็นว่าเที่ยงเป็นต้น ชื่อว่า
ขันติ, ความชอบใจ ชื่อว่า รุจิ โดยอรรถ จิตวิปลาสและสัญญาวิปลาส
อันเป็นไปโดยนัยมีอาทิว่า อัตตาและโลกเที่ยง ความพอใจต่าง ๆ เช่นนั้น
ของชนเหล่านั้นมีอยู่ เหตุนั้น ชนเหล่านั้นชื่อว่า มีความพอใจต่าง ๆ กัน.
ความชอบใจของชนเหล่านั้นมีอยู่ เหตุนั้น ชนเหล่านั้นมีชื่อว่า มีความ
ชอบใจต่าง ๆ กัน
. จริงอยู่ ในส่วนเบื้องต้น บุคคลผู้มีทิฏฐิเป็นคติ ย่อม
ทำจิตให้ชอบใจ และให้พอใจโดยประการนั้น ภายหลังยึดถือว่า สิ่งนี้
เท่านั้นจริง สิ่งอื่นเปล่า. อีกอย่างหนึ่ง ทิฏฐิว่าด้วยความเห็น ชื่อว่าขันติ