เมนู

เป็นอันทรงประกาศแล้วทีเดียว เพราะประกาศถึงพระสัมมาสัมโพธิญาณ
ดังนี้แล.
จบอรรถกถาอาหุสูตรที่ 3

4. ปฐมกิรสูตร



ว่าด้วยความเห็นต่างกัน



[136] ข้าพเจ้าได้สดับมาแล้วอย่างนี้ :-
สมัยหนึ่ง พระผู้มีพระภาคเจ้าประทับอยู่ ณ พระวิหารเชตวัน อาราม
ของท่านอนาถบิณฑิกเศรษฐี ใกล้พระนครสาวัตถี ก็สมัยนั้นแล สมณะ
พราหมณ์ ปริพาชกมากด้วยกัน ผู้มีลัทธิต่าง ๆ กัน มีทิฏฐิต่างกัน มีความ
พอใจต่างกัน มีความชอบใจต่างกัน อาศัยทิฏฐินิสัยต่างกัน อาศัยอยู่ใน
พระนครสาวัตถี สมณพราหมณ์พวกหนึ่ง มีวาทะอย่างนี้ มีทิฏฐิ
อย่างนี้ว่า
1. โลกเที่ยง นี้แหละจริง อื่นเปล่า.
ส่วนสมณพราหมณ์อีกพวกหนึ่งมีวาทะอย่างนี้ มีทิฏฐิอย่างนี้ว่า
2. โลกไม่เที่ยง นี้แหละจริง อื่นเปล่า.
สมณพราหมณ์พวกหนึ่งมีวาทะอย่างนี้ มีทิฏฐิอย่างนี้ว่า
3. โลกมีที่สุด. . .
4. โลกไม่มีที่สุด. . .
5. ชีพอันนั้น สรีระก็อันนั้น. . .
6. ชีพเป็นอื่น สรีระก็เป็นอื่น. . .

7. สัตว์เบื้องหน้าแต่แล้ว ย่อมเป็นอีก . . .
8. สัตว์เบื้องหน้าแต่ตายแล้ว ย่อมไม่เป็นอีก . . .
9. สัตว์เบื้องหน้าแต่ตายแล้ว ย่อมเป็นอีกก็มี ย่อมไม่เป็นอีกก็มี
นี้แหละจริง อื่นเปล่า.
สมณพราหมณ์พวกหนึ่งมีวาทะอย่างนี้ มีทิฏฐิอย่างนี้ว่า
10. สัตว์เบื้องหน้าแต่ตายแล้ว ย่อมเป็นอีกก็หามิได้ ย่อมไม่เป็น
อีกก็หามิได้ นี้แหละจริง อื่นเปล่า.
สมณพราหมณ์เหล่านั้นเกิดบาดหมางกัน ทะเลาะกัน วิวาทกัน
ทิ่มแทงกันและกันด้วยหอกคือปากว่า ธรรมเป็นเช่นนี้ ธรรมไม่เป็นเช่นนี้
ธรรมไม่เป็นเช่นนี้ ธรรมเป็นเช่นนี้.
[137] ครั้งนั้นเป็นเวลาเช้า ภิกษุมากด้วยกัน นุ่งแล้วถือบาตร
และจีวรเข้าไปบิณฑบาตยังพระนครสาวัตถี ครั้นเที่ยวบิณฑบาตภายหลัง
ภัตแล้ว เข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาคเจ้าถึงที่ประทับ ถวายบังคมแล้วนั่ง ณ
ที่ควรส่วนข้างหนึ่ง ครั้นได้กราบทูลพระผู้มีพระภาคเจ้าว่า ข้าแต่พระองค์
ผู้เจริญ ขอประทานพระวโรกาส สมณะ พราหมณ์ ปริพาชกมากด้วยกัน
ผู้มีลัทธิต่างๆ กัน มีทิฏฐิต่างกัน มีความพอใจต่างกัน มีความชอบใจ
ต่างกัน อาศัยทิฏฐินิสัยต่างกัน อาศัยอยู่ในพระนครสาวัตถี สมณพราหมณ์
พวกหนึ่งมีวาทะอย่างนี้ มีทิฏฐิอย่างนี้ว่า โลกเที่ยง นี้แหละจริง. . .
ธรรมเป็นเช่นนี้ ธรรมไม่เป็นเช่นนี้ ธรรมไม่เป็นเช่นนี้ ธรรมเป็นเช่นนี้
พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย อัญญเดียรถีย์เป็นคนตา
บอด ไม่มีจักษุ ไม่รู้จักประโยชน์ ไม่รู้จักความฉิบหายใช่ประโยชน์ ไม่
รู้จักธรรม ไม่รู้จักสภาพมิใช่ธรรม เมื่อไม่รู้จักประโยชน์ ไม่รู้จักความ

ฉิบหายใช่ประโยชน์ ไม่รู้จักธรรม ไม่รู้จักสภาพมิใช่ธรรม ก็บาดหมาง
กัน ทะเลาะกัน วิวาทกัน ทิ่มแทงกันและกันด้วยหอกคือปากว่า ธรรม
เป็นเช่นนี้ ธรรมไม่เป็นเช่นนี้ ธรรมไม่เป็นเช่นนี้ ธรรมเป็นเช่นนี้.
[138] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เรื่องเคยมีมาแล้ว ในพระนครสาวัตถี
นี้แล มีพระราชาพระองค์หนึ่ง ครั้งนั้นแล พระราชาพระองค์นั้นตรัส
เรียกบุรุษคนหนึ่งมาสั่งว่า ดูก่อนบุรุษผู้เจริญ นี่แน่ะเธอ คนตาบอดใน
พระนครสาวัตถีมีประมาณเท่าใด ท่านจงบอกให้คนตาบอดเหล่านั้น
ทั้งหมดมาประชุมร่วมกัน บุรุษนั้นทูลรับพระราชดำรัสแล้ว พาคนตาบอด
ในพระนครสาวัตถีทั้งหมดเข้าไปเฝ้าพระราชาถึงที่ประทับ ครั้นแล้วได้
กราบบังคมทูลพระราชาพระองค์นั้นว่า ขอเดชะ พวกคนตาบอดใน
พระนครสาวัตถีมาประชุมกันแล้ว พระพุทธเจ้าข้า พระราชาองค์นั้น
ตรัสว่า แน่ะพนาย ถ้าอย่างนั้น ท่านจงแสดงช้างแก่พวกคนตาบอดเถิด
บุรุษนั้นทูลรับพระราชดำรัสแล้วแสดงช้างแก่พวกคนตาบอด คือ แสดง
ศีรษะช้างแก่คนตาบอดพวกหนึ่งว่า ช้างเป็นเช่นนี้ แสดงหูช้างแก่คนตา
บอดพวกหนึ่งว่า ช้างเป็นเช่นนี้ แสดงงาช้างแก่คนตาบอดพวกหนึ่งว่า
ช้างเป็นเช่นนี้ แสดงงวงช้างแก่คนตาบอดพวกหนึ่งว่า ช้างเป็นเช่นนี้
แสดงตัวช้างแก่คนตาบอดพวกหนึ่งว่า ช้างเป็นเช่นนี้ แสดงเท้าช้างแก่
คนตาบอดพวกหนึ่งว่า ช้างเป็นเช่นนี้ แสดงหลังช้างแก่คนตาบอดพวก
หนึ่งว่า ช้างเป็นเช่นนี้ แสดงโคนหางช้างแก่คนตาบอดพวกหนึ่งว่า ช้าง
เป็นเช่นนี้ แสดงปลายหางช้างแก่คนตาบอดพวกหนึ่งว่า ช้างเป็นเช่นนี้
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ลำดับนั้นแล บุรุษนั้น ครั้นแสดงช้างแก่พวกคน

ตาบอดแล้ว เช้าไปเฝ้าพระราชาพระองค์นั้น ถึงที่ประทับ ครั้นแล้วได้
กราบทูลว่า ขอเดชะ คนตาบอดเหล่านั้นเห็นช้างแล้วแล บัดนี้ ขอให้ฝ่า
ละอองธุลีพระบาท จงทรงสำคัญเวลาอันควรเถิด พระเจ้าข้า ดูก่อนภิกษุ
ทั้งหลาย ลำดับนั้นแล พระราชาพระองค์นั้นเสด็จเข้าไปถึงที่คนตาบอด
เหล่านั้น ครั้นแล้วได้ตรัสถามว่า ดูก่อนคนตาบอดทั้งหลาย พวกท่าน
ได้เห็นช้างแล้วหรือ คนตาบอดเหล่านั้น กราบทูลว่า ขอเดชะ ข้าพระ-
พุทธเจ้าทั้งหลายได้เห็นแล้ว พระเจ้าข้า.
รา. ดูก่อนคนตาบอดทั้งหลาย ท่านทั้งหลายกล่าวว่า ข้าพระพุทธ-
เจ้าทั้งหลายได้เห็นช้างแล้ว ดังนี้ ช้างเป็นเช่นไป.
คนตาบอดพวกที่ได้ลูบคลำศีรษะช้าง ได้กราบทูลอย่างนี้ว่า ขอ
เดชะ ช้างเป็นเช่นนี้ คือ เหมือนหม้อ พระเจ้าข้า คนตาบอดพวกที่ได้
ลูบคลำหูช้าง ได้กราบทูลอย่างนี้ว่า ขอเดชะ ช้างเป็นเช่นนี้ คือ เหมือน
กระดัง พระเจ้าข้า คนตาบอดพวกที่ได้ลูบคลำงาช้าง ได้กราบทูลอย่างนี้
ว่า ขอเดชะ ช้างเป็นเช่นนี้ คือ เหมือนผาล พระเจ้าข้า คนตาบอด
พวกที่ได้ลูบคลำงวงช้าง ได้กราบทูลอย่างนี้ว่า ขอเดชะ ช้างเป็นเช่นนี้
คือ เหมือนงอนไถ พระเจ้าข้า คนตาบอดพวกที่ได้ลูบคลำตัวช้าง ได้
กราบทูลอย่างนี้ว่า ขอเดชะ ช้างเป็นเช่นนี้ คือ เหมือนฉางข้าว พระ-
เจ้าข้า คนตาบอดพวกที่ได้ลูบคลำเท้าช้าง ได้กราบทูลอย่างนี้ว่า ขอเดชะ
ช้างเป็นเช่นนี้ คือ เหมือนเสา พระเจ้าข้า คนตาบอดพวกที่ได้ลูบคลำ
หลับช้าง ได้กราบทูลอย่างนี้ว่า ขอเดชะ ช้างเป็นเช่นนี้ คือ เหมือนครก
ตำข้าว พระเจ้าข้า คนตาบอดพวกที่ได้ลูบคลำโคนหางช้าง ได้กราบทูล

อย่างนี้ว่า ขอเดชะ ช้างเป็นเช่นนี้ คือ เหมือนสาก พระเจ้าข้า คนตา
บอดพวกที่ได้ลูบคลำปลายหางช้าง ได้กราบทูลอย่างนี้ว่า ขอเดชะ ช้างเป็น
เช่นนี้ คือ เหมือนไม้กวาด พระเจ้าข้า คนตาบอดเหล่านั้นได้ทุ่มเถียง
กันและกันว่า ช้างเป็นเช่นนี้ ช้างไม่ใช่เป็นเช่นนี้ ช้างไม่ใช่เป็นเช่นนี้
ช้างเป็นเช่นนี้ ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ก็พระราชาพระองค์นั้นได้ทรงมี
พระทัยชื่นชมเพราะเหตุนั้นแล.
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ฉันนั้นเหมือนกันแล พวกอัญญเดียรถีย์ปริพา-
ชกเป็นคนตาบอด ไม่มีจักษุ ย่อมไม่รู้จักประโยชน์ ไม่รู้จักความฉิบหาย
ใช่ประโยชน์ ไม่รู้จักธรรม ไม่รู้จักสภาพมิใช่ธรรม เมื่อไม่รู้จักประโยชน์
ไม่รู้จักความฉิบหายใช่ประโยชน์ ไม่รู้จักธรรม ไม่รู้จักสภาพมิใช่ธรรม
มีบาดหมางกัน ทะเลาะกัน วิวาทกัน ทิ่มแทงกันและกันด้วยหอกคือปาก
ว่า ธรรมเป็นเช่นนี้ ธรรมไม่เป็นเช่นนี้ ธรรมไม่เป็นเช่นนี้ ธรรมเป็น
เช่นนี้.
ลำดับนั้นแล พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงทราบเนื้อความนี้แล้ว จึงทรง
เปล่งอุทานนี้ในเวลานั้นว่า
ได้ยินว่า สมณพราหมณ์พวกหนึ่งย่อมข้องอยู่
เพราะทิฏฐิทั้งหลายอันหาสาระมิได้เหล่านี้ ชนทั้ง-
หลายผู้เห็นโดยส่วนเดียว ถือผิดซึ่งทิฏฐินิสัยนั้น ย่อม
วิวาทกัน.

จบปฐมกิรสูตรที่ 4

อรรถกถาปฐมกิรสูตร



ปฐมกิรสูตรที่ 4

มีวินิจฉัยดังต่อไปนี้ :-
ในบทว่า นานาติตฺถิยา สมณพฺราหฺมณปริพฺพาชกา นี้ มีวิเคราะห์
ดังต่อไปนี้ ชื่อว่า ท่า เพราะเป็นเหตุข้ามโอฆสงสาร ได้แก่ ทางเป็นที่
ไปสู่พระนิพพาน. แต่ในที่นี้ ทิฏฐิทัสสนะ ความเห็นคือทิฏฐิ ที่พวก
ผู้มีทิฏฐิยึดถือเป็นคติเช่นนั้น โดยวิปลาสอันผิดแผก ท่านประสงค์เอา
ว่า ท่า. ผู้ประกอบใน ท่า มีอาการต่าง ๆ มีว่าเที่ยงเป็นต้นนั้น ชื่อว่า
นานาทิฏฐิ. สมณะเปลือยและนิครนถ์เป็นต้น กฐกลาปพราหมณ์เป็นต้น
และปริพาชกชื่อโปกขรสาติเป็นต้น ชื่อว่าสมณะ พราหมณ์ และปริพา-
ชก. สมณะ พราหมณ์ และปริพาชกเหล่านั้น ผู้ประกอบในท่าต่างๆ
เหมือนกัน. ชื่อว่า ทิฏฐิ เพราะเป็นเครื่องเห็น โดยนัยมีอาทิว่า อัตตา
และโลกเที่ยง หรือทิฏฐินั้นย่อมเห็นเอง หรือทิฏฐินั้นเป็นเพียงความเห็น
เช่นนั้นเท่านั้น คำว่า ทิฏฐินี้ เป็นชื่อของการยึดถือผิด. ทิฏฐิต่าง ๆคือ
มีอย่างเป็นอเนก โดยเห็นว่าเที่ยงเป็นต้น ของชนเหล่านั้นมีอยู่ เหตุนั้น
ชนเหล่านั้นชื่อว่ามีทิฏฐิต่าง ๆ. ความพอใจโดยเห็นว่าเที่ยงเป็นต้น ชื่อว่า
ขันติ, ความชอบใจ ชื่อว่า รุจิ โดยอรรถ จิตวิปลาสและสัญญาวิปลาส
อันเป็นไปโดยนัยมีอาทิว่า อัตตาและโลกเที่ยง ความพอใจต่าง ๆ เช่นนั้น
ของชนเหล่านั้นมีอยู่ เหตุนั้น ชนเหล่านั้นชื่อว่า มีความพอใจต่าง ๆ กัน.
ความชอบใจของชนเหล่านั้นมีอยู่ เหตุนั้น ชนเหล่านั้นมีชื่อว่า มีความ
ชอบใจต่าง ๆ กัน
. จริงอยู่ ในส่วนเบื้องต้น บุคคลผู้มีทิฏฐิเป็นคติ ย่อม
ทำจิตให้ชอบใจ และให้พอใจโดยประการนั้น ภายหลังยึดถือว่า สิ่งนี้
เท่านั้นจริง สิ่งอื่นเปล่า. อีกอย่างหนึ่ง ทิฏฐิว่าด้วยความเห็น ชื่อว่าขันติ