เมนู

อรรถกถาปฏิสัลลานสูตร



ปฏิสัลลานสูตรที่ 2

มีวินิจฉัยดังต่อไปนี้ :-
บทว่า พหิทฺวารโกฏฺฐเก ได้แก่ ภายนอกซุ้มประตูปราสาท ไม่ใช่
ภายนอกซุ้มประตูวิหาร. ได้ยินว่า ปราสาทนั้นเป็นเหมือนโลหปราสาท
โดยรอบ แวดล้อมด้วยกำแพงอันเหมาะแก่ซุ้มประตูทั้ง 4 ด้าน ในร่ม
เงาปราสาทภายนอกซุ้มประตูด้านทิศตะวันออก ในบรรดาซุ้มประตูเหล่า-
นั้น พระองค์ประทับนั่งเหนือบวรพุทธอาสน์ที่บรรจงจัดไว้ ทรงตรวจดู
โลกธาตุด้านทิศตะวันออก.
บทว่า ชฏิลา ได้แก่ ผู้ทรงเพศดาบสผู้มีชฎา. บทว่า นิคฺคณฺฐา
ได้แก่ ผู้ทรงรูปนิครนถ์ผู้นุ่งผ้าขาว. บทว่า เอกสาฏกา ได้แก่ ผู้เอาท่อน
ผ้าเก่าท่อนหนึ่งผูกมือ ปกปิดด้านหน้าของร่างกายด้วยชายผ้าเก่าแม้อื่นนั้น
เที่ยวไป เหมือนพวกนิครนถ์ผู้มีผ้าผืนเดียว. บทว่า ปรูฬฺหกจฺฉนขโลมา
ได้แก่ ผู้มีขนรักแร้งอกแล้ว เล็บงอกแล้ว และขนนอกนั้นก็งอกแล้ว
อธิบายว่า ขนที่รักแร้เป็นต้นยาว และเล็บยาว. บทว่า ขารึ วิวิธมาทาย
ความว่า ใช้สาแหรกต่างๆ หาบเครื่องบริขารของบรรพชิตมีประการต่างๆ.
บทว่า อวิทูเร อติกฺกมนฺติ ความว่า เข้าไปยังพระนครโดยทางไม่ไกลพระ-
วิหาร. บทว่า ราชาหํ ภนฺเต ปเสนทิโกสโล ความว่า พระเจ้าปเสนทิโกศล
ทรงประกาศว่า ท่านผู้เจริญ ข้าพเจ้าเป็นพระราชานามว่า ปเสนทิโกศล
ท่านทั้งหลายจงทราบนามของข้าพเจ้า. ถามว่า ก็เพราะเหตุไร พระราชา
ผู้ประทับอยู่ในสำนักของอัครบุคคลผู้เลิศในโลก จึงประคองอัญชลีแก่นัก
เปลือยผู้ไม่มีสิริเห็นปานนี้เล่า. ตอบว่า เพื่อต้องการจะทรงสงเคราะห์.
จริงอยู่ พระเจ้าปเสนทิโกศลได้มีพระดำริอย่างนี้ว่า ถ้าเราจะไม่ทำเหตุ

แม้เพียงเท่านี้ แก่พวกเหล่านี้ พวกเหล่านี้ก็จะคิดว่า พวกเราละบุตรและ
ภรรยา ได้รับการกินและการนอนลำบากเป็นต้น เพื่อประโยชน์แก่พระ-
ราชานี้ พระราชานี้ไม่ทรงกระทำแม้เพียงความยำเกรงพวกเรา เพราะ
เมื่อทรงทำความยำเกรงเป็นต้นนั้น ผู้คนจะไม่เชื่อพวกเราว่าเป็นพวกสอด-
แนม จักเข้าใจเราว่าเป็นบรรพชิตจริง จะประโยชน์อะไรด้วยการบอก
ความจริงแก่พระราชานี้ จึงปกปิดสิ่งที่ตนเห็นและได้ยินมาไม่บอก แต่
เมื่อทรงทำอย่างนั้น ชนเหล่านั้นจักนอกโดยไม่ปกปิด. อีกอย่างหนึ่ง แม้
เพื่อจะทรงทราบอัธยาศัยของพระศาสดา พระราชาจึงทรงกระทำอย่างนั้น
และ ได้ยินว่า พระราชาแม้เมื่อเข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาคเจ้า ก็ไม่ทรง
เชื่อพระสัมมาสัมโพธิญาณ สิ้นกาลเล็กน้อย. ด้วยเหตุนั้น พระราชาจึง
มีพระดำริอย่างนี้ว่า ถ้าพระผู้มีพระภาคเจ้าทรงทราบเหตุทั้งปวงไซร้ เมื่อ
เรากระทำความยำเกรงต่อพวกเหล่านี้แล้วพูดว่า ชนพวกนี้เป็นพระอรหันต์
ก็จะไม่พึงยินยอม ถ้าว่าพระองค์ทรงยินยอมคล้อยตามเรา พระองค์จะ
เป็นพระสัพพัญญูได้ที่ไหน. ท้าวเธอได้ทรงกระทำอย่างนั้น เพื่อจะทรง
ทราบอัธยาศัยของพระศาสดา ด้วยประการฉะนี้. แต่พระผู้มีพระภาคเจ้า
ทรงทราบว่า เมื่อเราตถาคตกล่าวไปตรง ๆ ว่า พวกนี้ไม่ใช่สมณะ เป็น
คนสอดแนม แม้ถ้าพระราชาพึงเชื่อไซร้ ฝ่ายมหาชนเมื่อไม่ทราบความ
นั้นก็จะไม่พึงเชื่อ พึงกล่าวว่า พระสมณโคดมตรัสคำอะไร ๆ จนคล่อง
พระโอฐว่า พระราชาฟังคำของพระองค์ ข้อนั้นจะพึงเป็นไปเพื่อมิใช่
ประโยชน์ เพื่อทุกข์ตลอดกาลนานแก่มหาชนนั้น ทั้งงานลับของพระราชา
จะพึงเปิดเผยขึ้น พระราชาจักตรัสว่า พวกเหล่านั้นเป็นคนสอดแนมด้วย
พระองค์เอง จึงตรัสคำมีอาทิว่า ข้อนั้นรู้ได้ยากแล.

บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า ปุตฺตสมฺพาธสยนํ ได้แก่ ทรงนอน
เบียดเสียดกับพระโอรสและพระมเหสี. ก็ในการนี้ ท่านแสดงถึงการ
กำหนดเอาพระมเหสี โดยยกพระโอรสขึ้นเป็นประธาน. ท่านแสดงถึง
ความที่จิตของชนเหล่านั้นเศร้าหมอง โดยถูกความโศกมีราคะเป็นต้น
ครอบงำ โดยความที่พระราชามีจิตติดข้องอยู่ในบุตรและภรรยา. ก็ด้วย
บทว่า กามโภคินา นี้ ท่านแสดงถึงถูกราคะครอบงำ. แม้ด้วยบททั้ง 2
แสดงถึงความที่ชนเหล่านั้นมีจิตฟุ้งซ่าน. บทว่า กาสิกจนฺทนํ ได้แก่
จันทน์ละเอียด. อีกอย่างหนึ่ง ได้แก่ ผ้าที่ทำในแคว้นกาสีและไม้จันทน์.
บทว่า นาลาคนฺธวิเลปนํ ได้แก่ ทรงไว้ซึ่งระเบียบดอกไม้ เพื่อต้องการ
สีและกลิ่น ซึ่งของหอม เพื่อต้องการความหอม ซึ่งการลูบไล้ เพื่อต้องการ
ย้อมผิว. บทว่า ชาตรูปรชตํ ได้แก่ ทอง และทรัพย์ที่เหลือ. บทว่า
สาทิยนฺเตน ได้แก่ รับไว้. แม้ด้วยทุกบทก็ประกาศถึงความที่ชนเหล่า-
นั้นติดอยู่ในกามทั้งนั้น.
บทว่า สํวาเสน แปลว่า ด้วยการอยู่ร่วม. บทว่า สีลํ เวทิตพฺพํ
ความว่า อันผู้อยู่ร่วม คืออยู่ร่วมในที่เดียวกัน ก็พึงทราบว่า ผู้นี้เป็น
ผู้มีศีล หรือเป็นผู้ทุศีล. บทว่า ตญฺจ โข ทีเฆน อทฺธุนา น อิตฺตเรน
ความว่า ก็ศีลนั่นพึงทราบโดยกาลนาน ไม่พึงทราบโดยกาลที่จะพึงมีพึง
เกิด. จริงอยู่ ในวันเล็กน้อย ใคร ๆ อาจแสดงเป็นผู้มีอาการสำรวม
และอาการสำรวมอินทรีย์. บทว่า มนสิกโรตา โน อมนสิกโรตา ความว่า
ศีลแม้นั้นบุคคลผู้ใส่ใจ คือพิจารณาว่า เราจักกำหนดศีลของเขา อาจรู้
ได้ บุคคลนอกนี้หารู้ได้ไม่. บทว่า ปญฺญวตา ความว่า ศีลแม้นั้น
เฉพาะผู้มีปัญญา คือบัณฑิตอาจรู้ได้. เพราะคนเขลาใส่ใจอยู่ก็ไม่อาจรู้.

บทว่า สํโวหาเรน แปลว่าด้วยการกล่าว. จริงอยู่ วาณิชกรรม ชื่อว่า
โวหาร ในประโยคนี้ว่า
ก็บรรดามนุษย์ ผู้ใดผู้หนึ่งค้าขายเลี้ยงชีพ ดูก่อน
วาเสฏฐะ ท่านจงรู้เถอะว่า ผู้นั้นเป็นพ่อค้า ไม่ใช่
พราหมณ์.

เจตนา ชื่อว่าโวหาร ในประโยคนี้ว่า อริยโวหาร 4 อนริยโวหาร 4.
บัญญัติชื่อว่าโวหาร ในประโยคนี้ว่า การนับ สมัญญา บัญญัติ ชื่อว่า
โวหาร. ถ้อยคำ ชื่อว่าโวหาร ในประโยคนี้ว่า เขาพึงกล่าวด้วยเหตุสักว่า
กล่าว. แม้ในที่นี้ ท่านประสงค์โวหาร คือถ้อยคำนั้นนั่นเอง. จริงอยู่ การ
กล่าวต่อหน้าของคนบางคน ย่อมไม่สมกับถ้อยคำที่กล่าวลับหลัง และถ้อยคำ
ที่กล่าวลับหลัง ไม่สมกับคำที่กล่าวต่อหน้า ถ้อยคำที่กล่าวก่อนก็เหมือนกัน
ไม่สมกับคำที่กล่าวทีหลัง และถ้อยคำที่กล่าวทีหลังก็ไม่สมกับคำที่กล่าวก่อน
ผู้นั้นเมื่อกล่าวอยู่นั่นแล ใครๆ อาจรู้ได้ว่า บุคคลนั้นไม่สะอาดแล. พระ-
ผู้มีพระภาคเจ้า เมื่อจะทรงประกาศว่า สำหรับผู้ที่มีความสะอาดเป็นปกติ
บทที่กล่าวไว้ก่อน ย่อมสมกับบทที่กล่าวไว้หลัง และบทที่กล่าวไว้หลัง
ย่อมสมกับบทที่กล่าวไว้ก่อน บทที่กล่าวไว้ต่อหน้า ย่อมสมกับบทที่กล่าว
ไว้ลับหลัง และบทที่กล่าวไว้ลับหลัง ย่อมสมกับบทที่กล่าวไว้ต่อหน้า
เพราะฉะนั้น ผู้ที่กล่าวจึงสามารถรู้ได้ว่า ผู้นี้เป็นคนสะอาด จึงตรัสคำมี
อาทิว่า บัณฑิตพึงทราบความสะอาดด้วยการกล่าวดังนี้.
บทว่า ถาโม ได้แก่ กำลังแห่งญาณ. ก็ผู้ที่ไม่มีกำลังแห่งญาณ ย่อม
ไม่มองเห็น สิ่งที่ควรถือเอา คือกิจที่ควรทำ ในเมื่ออันตรายเกิดขึ้น จึง
เที่ยวไปเหมือนเข้าเรือนที่ไม่มีประตู. ด้วยเหตุนั้น พระองค์จึงตรัสว่า

ดูก่อนมหาบพิตร พึงทราบกำลัง ในเมื่ออันตรายเกิดขึ้นแล ดังนี้
เป็นต้น.
บทว่า สากจฺฉาย แปลว่า ด้วยการสนทนากัน. จริงอยู่ ถ้อยคำ
ของผู้มีปัญญาทราม ย่อมเลือนลอยไปเหมือนลูกข่างในน้ำ. สำหรับผู้มี
ปัญญาเมื่อพูด ย่อมมีไหวพริบ ไม่มีที่สุด. จริงอยู่ ปลาเขารู้ได้ว่า ตัว
ใหญ่ หรือตัวเล็ก ก็ด้วยน้ำที่กระเพื่อมนั่นเอง.
ดังนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้า มิได้ตรัสถึงคนเหล่านั้นแก่พระราชา
โดยตรงทีเดียวว่า พวกเหล่านี้แล้ว จึงประกาศอุบายเป็นเหตุรู้ถึงพระอร-
หันต์ หรือผู้มิใช่พระอรหันต์. พระราชา ทรงทราบดังนั้นแล้ว มีความ
เลื่อมใสยิ่ง ในพระสัพพัญญุตญาณ และเทศนาวิลาส ของพระผู้มีพระ-
ภาคเจ้า จึงทรงประกาศความเลื่อมใสของพระองค์ โดยนัยมีอาทิว่า น่า
อัศจรรย์ พระเจ้าข้า
บัดนี้ เมื่อจะตรัสบอกคนเหล่านั้น แด่พระผู้มี-
พระภาคเจ้า ตามความเป็นจริง จึงตรัสคำมีอาทิว่า บุรุษของข้าพระองค์
เหล่านี้เป็นโจร พระเจ้าข้า
ดังนี้.
บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า โจรา ความว่า บุคคลผู้ไม่ได้เป็น
บรรพชิตเลย บริโภคก้อนข้าวของชาวแว่นแคว้น โดยรูปของบรรพชิต
เพราะเป็นผู้ปกปิดกรรมชั่วไว้. บทว่า โอจรกา แปลว่า เป็นคนสอดแนม.
จริงอยู่ พวกโจร เมื่อเที่ยวไปตามยอดภูเขา ก็ชื่อว่าเป็นคนสอดแนม
เหมือนกัน เพราะมีกรรมอันเลวทราม. อีกอย่างหนึ่ง บทว่า โอจรกา
ได้แก่ จารบุรุษ. บทว่า โอจริตฺวา ได้แก่ ผู้เที่ยวพิจารณาสอดส่อง
อธิบายว่า รู้เรื่องนั้น ๆ ในที่นั้น ๆ. บทว่า โอยายิสฺสามิ แปลว่า จัก
ดำเนินไป อธิบายว่า จักกระทำ. บทว่า รโชชลฺลํ ได้แก่ ธุลี และ

มลทิน. บทว่า ปวาเหตฺวา ได้แก่ กำจัด คือชำระให้สะอาด. บทว่า
กปฺปิตเกสมสฺสุ ได้แก่ ใช้ช่างกัลบกตัดผมโกนหนวดตามวิธีที่กล่าวแล้ว
ในอลังการศาสตร์. บทว่า กามคุเณหิ ได้แก่ ส่วนแห่งกาม หรือเครื่อง
ผูกคือกาม. บทว่า สมปฺปิตา ได้แก่ ติดข้องด้วยดี. บทว่า สมงฺคิภูตา
แปลว่า พรั่งพร้อม. บทว่า ปริจริสฺสนฺติ ได้แก่ ให้อินทรีย์เที่ยวไป
โดยรอบ หรือจักเล่น.
บทว่า เอตมตฺถํ วิทิตฺวา ความว่า ทรงทราบความนี้ กล่าวคือ
การที่ราชบุรุษเหล่านั้น เป็นผู้ลวงโลกโดยเพศบรรพชิต เพราะเหตุแห่ง
ท้องของตน. บทว่า อิมํ อุทานํ ได้แก่ ทรงเปล่งอุทานนี้ อันประกาศ
ถึงข้อห้ามความผิดและความเป็นผู้ลวงโลก.
บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า น วายเมยฺย สพฺพตฺถ ความว่า
บรรพชิต ไม่พึงพยายาม คือไม่พึงทำความพยายามขวนขวาย ในการทำ
ความชั่วทั้งหมด มีความเป็นทูต และกระทำการสอดแนมเป็นต้น เหมือน
ราชบุรุษเหล่านี้ อธิบายว่า ไม่พึงทำความพยายามในกรรมอย่างใดอย่าง
หนึ่งทั้งหมด พึงพยายามเฉพาะในบุญ แม้มีประมาณน้อยเท่านั้น. บทว่า
นาญฺญสฺส ปุริโส สิยา ได้แก่ ไม่พึงเป็นคนรับใช้คนอื่น โดยรูปบรรพ-
ชิต. เพราะเหตุไร ? เพราะจะต้องทำกรรมชั่วมีสอดแนมเป็นต้น แม้เห็น
ปานนี้. บทว่า นาญฺญํ นิสฺสาย ชีเวยฺย ได้แก่ เป็นผู้ไม่อาศัยบุคคลอื่น
มีอิสรชนเป็นต้น มีความคิดอย่างนี้ว่า สุขทุกข์ของเรา เนื่องด้วยผู้นั้น
ดังนี้แล้วเลี้ยงชีพ คือเป็นผู้มีตนเป็นที่พึ่ง เป็นที่อาศัย อย่ามีคนอื่นเป็นที่พึ่ง
ที่อาศัยเลย. อีกอย่างหนึ่ง ไม่พึงอาศัยอกุศลกรรมอื่นเลี้ยงชีพ เพราะ
ได้นามว่า ผู้อื่น เหตุนำมาซึ่งความพินาศ. บทว่า ธมฺเมน น วณีจเร

ความว่า ไม่พึงกล่าวธรรมเพื่อต้องการทรัพย์. เพราะผู้แสดงแก่ชนเหล่า-
อื่น ด้วยเหตุแห่งทรัพย์เป็นต้น ย่อมชื่อว่านำธรรมไปทำการค้า. อย่า
เที่ยวเอาธรรมไปทำการค้าอย่างนั้น. อีกอย่างหนึ่ง บุคคลผู้ทำกรรมมี
การสอดแนมเป็นต้น เหมือนคนของพระเจ้าโกศล ทำการสอดแนมเพื่อ
ประโยชน์แก่ทรัพย์เป็นต้น ดำรงตามกิจมีการสมาทานเพศบรรพชาเป็นต้น
โดยไม่ให้คนอื่นสงสัย ชื่อว่านำธรรมมาทำการค้า. ฝ่ายบุคคลใด แม้
ประพฤติพรหมจรรย์บริสุทธิ์ในศาสนานี้ ก็ประพฤติพรหมจรรย์ เพื่อ
ปรารถนาเทพนิกายเหล่าใดเหล่าหนึ่ง แม้บุคคลนั้นก็ชื่อว่า นำธรรมมาทำ
การค้า อธิบายว่า ไม่พึงประพฤติ คือไม่พึงกระทำการค้าด้วยธรรม
อย่างนี้.
จบอรรถกถาปฏิสัลลานสูตรที่ 2

3. อาหุสูตร



ว่าด้วยการพิจารณาอกุศลและกุศลธรรม



[135] ข้าพเจ้าได้สดับมาแล้วอย่างนี้ :-
สมัยหนึ่ง พระผู้มีพระภาคเจ้าประทับอยู่ ณ พระวิหารเชตวัน อาราม
ของท่านอนาถบิณฑิกเศรษฐี ใกล้พระนครสาวัตถี ก็สมัยนั้นแล พระ-
ผู้มีพระภาคเจ้าประทับนั่ง ทรงพิจารณาอกุศลบาปธรรมเป็นอันมากที่พระ-
องค์ทรงละได้แล้ว และกุศลธรรมเป็นอันมากที่ถึงความเจริญบริบูรณ์.
ลำดับนั้นแล พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงทราบอกุศลบาปธรรมเป็น
อันมากที่พระองค์ทรงละได้แล้ว และกุศลธรรมเป็นอันมากที่ถึงความเจริญ
บริบูรณ์ จึงทรงเปล่งอุทานนี้ในเวลานั้นว่า