เมนู

อรรถกถาอานันทสูตร



อานันทสูตรที่ 8 มีวินิจฉัยดังต่อไปนี้ :-
บทว่า อายสฺมนฺตํ อานนฺทํ เอตทโวจ ความว่า พระเทวทัต
ชักชวนในการฆ่า ให้ปล่อยช้างนาฬาคิรี กลิ้งศิลา เมื่อไม่อาจทำความ
พินาศแก่พระผู้มีพระภาคเจ้าได้ จึงได้กล่าวคำมีอาทิว่า อชฺชตคฺเค ตั้งแต่
วันนี้เป็นต้นไปนี้ ด้วยประสงค์จะทำลายสงฆ์ กระทำความแยกจักร.
บทว่า อญฺญตฺเรว ภควตา แปลว่า แยกจากพระผู้มีพระภาคเจ้า. อธิบาย
ว่า ไม่กระทำให้เป็นพระศาสดา . บทว่า อญฺญตฺเรว ภิกฺขุสงฺเฆน แปลว่า
แยกจากภิกษุสงฆ์เท่านั้น. บทว่า อุโปสถํ กริสฺสามิ สงฺฆกมฺมานิ จ
ความว่า จักแยกภิกษุสงฆ์ผู้กระทำตามโอวาทของพระผู้มีพระภาคเจ้า กระ-
ทำอุโบสถ และสังฆกรรมแผนกหนึ่งกับเหล่าภิกษุผู้คล้อยตามเรา. บทว่า
เทวทตฺโต สงฺฆํ ภินฺทิสฺสติ ความว่า วันนี้ พระเทวทัตจักทำลายสงฆ์
แยกเป็น 2 ส่วน โดยแน่นอน เพราะพระเทวทัตตระเตรียมพรรคพวก
ผู้กระทำการแตกแยกทั้งหมดไว้แล้ว. จริงอยู่ เมื่อพระเทวทัตแสดงวัตถุ
แม้อย่างใดอย่างหนึ่งในบรรดาวัตถุเครื่องกระทำความแตกแยก มีอาทิว่า
แสดงอธรรมว่าเป็นธรรม แล้วให้ยินยอมว่า พวกเธอจงถือเอาสิ่งนี้ จง
ชอบใจสิ่งนี้ ด้วยเหตุนั้น ๆ แล้วให้จับสลาก แยกกระทำสังฆกรรม
สงฆ์เป็นอันถูกทำลายแล้ว.
สมจริงดังพระดำรัสที่ตรัสไว้ว่า สงฆ์แตกกันด้วยอาการ 5 อย่าง
คือด้วยกรรม 1 ด้วยอุทเทส 1 ด้วยการชักชวน 1 ด้วยการสวดประกาศ 1
ด้วยการจับสลาก 1. บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า กมฺเมน ได้แก่ ด้วยกรรม
อย่างใดอย่างหนึ่ง ในบรรดากรรม 4 อย่าง มีอปโลกนกรรมเป็นต้น. บทว่า

อุทฺเทเสน ได้แก่ ด้วยอุทเทสอย่างใดอย่างหนึ่ง ในบรรดาปาติโมกขุท-
เทศ 5 อย่าง. บทว่า โวหรนฺโต ได้แก่ แสดงถึงวัตถุเครื่องทำความ
แตกร้าว 18 อย่าง มีการแสดงสิ่งที่ไม่เป็นธรรม ว่าเป็นธรรมเป็นต้น
ด้วยอุบัติเหล่านั้น ๆ. บทว่า อนุสฺสาวเนน ความว่า ด้วยการเปล่งวาจา
ประกาศที่ใกล้หู โดยนัยมีอาทิว่า พวกเธอย่อมรู้มิใช่หรือว่า เราบวชมา
จากตระกูลสูง และว่าเป็นพหูสูต ควรหรือพวกท่านจะให้เกิดความคิด
ขึ้นว่า ชื่อว่าคนเช่นเราจะพึงให้ถือนอกธรรม นอกวินัย เราไม่กลัวอบาย
หรือ. บทว่า สลากคฺคาเหน ความว่า ด้วยการสวดประกาศอย่างนี้แล้ว
จึงสนับสนุนความคิดของภิกษุเหล่านั้น กระทำให้มีการไม่หวนกลับเป็น
ธรรม แล้วให้จับสลากด้วยคำว่า พวกท่านจงจับสลากนี้. ก็ในอาการ
เหล่านี้ กรรมหรืออุทเทสเท่านั้น ย่อมเป็นสำคัญ ส่วนการชักชวน การ
สวดประกาศ และการให้จับสลาก เป็นส่วนเบื้องต้น. จริงอยู่ เมื่อเธอ
ชักชวนด้วยการแสดงวัตถุ 18 ประการ แล้วสวดประกาศเพื่อให้เกิดความ
ยินดีในการชักชวนนั้น แล้วจึงให้จับสลาก สงฆ์ก็เป็นอันชื่อว่ายังไม่แตก
กันก่อน. แต่เมื่อภิกษุ 4 รูป หรือเกินกว่านั้น พากันจับสลากแล้ว พา
กันทำอุทเทส หรือกรรมแยกกัน ด้วยอาการอย่างนี้ สงฆ์ชื่อว่าเป็นอัน
ถูกทำลายแล้ว.
ส่วนพระเทวทัต พอให้ส่วนเบื้องต้นแห่งสังฆเภททั้งหมดสำเร็จ
แล้ว ก็คิดว่า วันนี้เราจักแยกทำอุโบสถ และสังฆกรรม เป็นเฉพาะ
ส่วนหนึ่ง จึงได้กล่าวคำมีอาทิว่า อชฺชตคฺเค ดังนี้. ด้วยเหตุนั้น พระ-
อานนทเถระจึงกราบทูลว่า วันนี้ พระเทวทัตจักทำลายสงฆ์ พระ-
เจ้าข้า ดังนี้เป็นต้น. เพราะเราทั้งหลายได้กล่าวไว้แล้วว่า เพราะพระ-
เทวทัต ตระเตรียมพรรคพวกผู้ทำความแตกร้าวทั้งหมดไว้แล้ว.

บทว่า เอตมตฺถํ วิทิตฺวา ความว่า ทรงทราบโดยประการทั้งปวง
ซึ่งสังฆเภทกรรม อันเป็นทางให้เกิดในอเวจีมหานรก ตั้งอยู่ตลอดกัป
แก้ไขไม่ได้ ที่พระเทวทัตให้บังเกิดขึ้นนี้. บทว่า อิมํ อุทานํ ความว่า
ทรงเปล่งอุทานนี้ อันประกาศอรรถนี้ว่า ก็บุคคลผู้ฉลาดหลักแหลมดี
เนื่องด้วยเป็นสัปบุรุษปฏิบัติถูกส่วนกันในฝ่ายกุศล และเป็นอสัปบุรุษ
ปฏิบัติไม่ถูกส่วนกันในฝ่ายกุศล ตามลำดับ.
บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า สุกรํ สาธุนา สาธุ ความว่า ชื่อว่า
คนดีเพราะยังประโยชน์ตนและประโยชน์ของสังคมให้สำเร็จ ได้แก่ผู้
ปฏิบัติชอบ กรรมดี คือกรรมงาม เจริญ อันนำมาซึ่งประโยชน์สุขแก่
ตน และสังคม อันคนดีนั้นคือพระสาวกมีพระสารีบุตรเป็นต้น พระ-
ปัจเจกสัมพุทธเจ้า พระสัมมาสัมพุทธเจ้า หรือโลกิยสาธุชนอื่น ทำได้
โดยง่าย คือสามารถเพื่อจะทำได้โดยง่าย. บทว่า สาธุ ปาเปน ทุกฺกรํ
ความว่า ก็กรรมดี มีลักษณะดังกล่าวแล้วนั้นนั่นแล อันคนชั่ว คือ
ปาปบุคคล มีพระเทวทัตเป็นต้น ทำได้ยาก คือไม่สามารถจะทำได้
อธิบายว่า เขาไม่อาจจะทำกรรมดีนั้นได้. บทว่า ปาปํ ปาเปน สุกรํ
ความว่า กรรมชั่ว คือกรรมไม่ดี ได้แก่กรรมที่นำความพินาศมาให้ทั้งแก่
ตน และสังคม อันคนชั่ว คือปาปบุคคลตามที่กล่าวแล้ว ทำได้ง่าย คือ
สามารถจะทำได้โดยง่าย. บทว่า ปาปมริเยหิ ทุกฺกรํ ความว่า ส่วนกรรม
ชั่วนั้น ๆ อันพระอริยเจ้าทั้งหลาย คืออันบัณฑิตมีพระพุทธเจ้าเป็นต้น
ทำได้ยาก คือไม่มีความยินดียิ่งเป็นแดนเกิด. ก็พระศาสดาทรงแสดงว่า
พระอริยบุคคลเหล่านั้น เป็นผู้ฆ่ากิเลส เพียงดังสะพานได้แล้ว.
จบอรรถกถาอานันทสูตรที่ 8

9. สัททายมานสูตร



ว่าด้วยมาณพกล่าวเสียงอื้ออึง



[125] ข้าพเจ้าได้สดับมาแล้วอย่างนี้ :-
สมัยหนึ่ง พระผู้มีพระภาคเจ้าเสด็จจาริกไปในโกศลชนบทกับภิกษุ
สงฆ์หมู่ใหญ่ ก็สมัยนั้นแล มาณพมากด้วยกันเปล่งเสียงอื้ออึงผ่านไปใน
ที่ไม่ไกลพระผู้มีพระภาคเจ้า พระผู้มีพระภาคเจ้าได้ทรงเห็นมาณพมาก
ด้วยกันเปล่งเสียงอื้ออึงผ่านไปในที่ไม่ไกล.
ลำดับนั้นแล พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงทราบเนื้อความนี้แล้ว จึง
ทรงเปล่งอุทานนี้ในเวลานั้นว่า
ชนทั้งหลายผู้มีสติหลงลืม อวดอ้างว่าเป็นบัณฑิต
พูดตามอารมณ์ พูดยืดยาวตามปรารถนา ย่อมไม่
รู้สึกถึงเหตุที่ตนพูดชักนำผู้อื่นนั้น.

จบสัททายมานสูตรที่ 9



อรรถกถาสัททายมานสูตร



สัททายมานสูตรที่ 9 มีวินิจฉัยดังต่อไปนี้ :-
บทว่า มาณวกา ได้แก่ คนหนุ่ม คือผู้ตั้งอยู่ในปฐมวัย คือใน
วัยหนุ่มสาว. เด็กพราหมณ์ ท่านประสงค์เอาในที่นี้. บทว่า สธายมาน-
รูปา
นี้ ท่านกล่าวหมายเอาคำที่เกิดจากการเย้ยหยัน. อธิบายว่า กล่าว
เย้ยหยันต่อบุคคลเหล่าอื่น และเป็นผู้มีปกติกล่าวคำนั้น. ในข้อนั้นมีอรรถ
แห่งคำดังต่อไปนี้. เมื่อควรจะกล่าวว่า สธยมานา เพราะวิเคราะห์ว่า
การกล่าวคำน่าเกลียด ชื่อว่า สธะ บอกกล่าวคำน่าเกลียดนั้น จึงกล่าวว่า