เมนู

นัยมีอาทิว่า เป็นพระพุทธเจ้าหรือหนอ หรือว่าไม่เป็นหนอ. บทว่า
ฌายิโน ตา ปชหนฺติ สพฺพา อาตาปิโน พฺรหฺมจริยํ จรนฺตา ความว่า
คนเหล่าใด ชื่อว่าผู้เพ่งฌาน ด้วยอารัมมณุปนิชฌาน และลักษณุปนิช-
ฌาน เจริญวิปัสสนา ชื่อว่ามีความเพียร เพราะบริบูรณ์ด้วยสัมมัปปธาน 4
ประพฤติอยู่ คือได้รับมรรคพรหมจรรย์ ผู้ตั้งอยู่ในปฐมมรรค ต่างโดย
ประเภทแห่งสัทธานุสารีบุคคลเป็นต้น ย่อมละ คือย่อมตัดขาด ซึ่งความ
สงสัยทั้งปวงนั้น ในขณะแห่งมรรค. ก็ต่อแต่นั้น เป็นอันชื่อว่าคนเหล่า-
นั้นละความสงสัยเหล่านั้นเสียได้. เพราะฉะนั้น จึงมีอธิบายว่า การละ
ความสงสัยเหล่านั้นอื่นจากนี้ได้เด็ดขาด ย่อมไม่มี.
ดังนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้า เมื่อจะทรงชมเชยการบรรลุอริยมรรค
ของท่านพระกังขาเรวตะ โดยฌานมุข คือโดยยกฌานขึ้นเป็นประธาน จึง
ทรงเปล่งอุทานด้วยอำนาจความชมเชย. ก็ด้วยเหตุนั้นนั่นแล พระผู้มี-
พระภาคเจ้า จึงทรงสถาปนาท่านไว้ในเอตทัคคะโดยความเป็นผู้มีฌานว่า
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย บรรดาภิกษุผู้สาวกของเราผู้มีฌาน กังขาเรวตะเป็น
เลิศแล.
จบอรรถกถากังขาเรวตสูตรที่ 7

8. อานันทสูตร



ว่าด้วยคนดีทำชั่วได้ยาก



[124] ข้าพเจ้าได้สดับมาแล้วอย่างนี้ :-
สมัยหนึ่ง พระผู้มีพระภาคเจ้าประทับอยู่ ณ พระวิหารเวฬุวัน
กลันทกนิวาปสถาน ใกล้พระนครราชคฤห์ ก็สมัยนั้นแล ในวันอุโบสถ

เวลาเช้า ท่านพระอานนท์นุ่งแล้ว ถือบาตรจีวร เข้าไปบิณฑบาตยังพระ-
นครราชคฤห์ พระเทวทัตได้เห็นท่านพระอานนท์กำลังเที่ยวบิณฑบาต
อยู่ในพระนครราชคฤห์ จึงเข้าไปหาท่านพระอานนท์ แล้วได้กล่าวกะท่าน
พระอานนท์ว่า ดูก่อนอาวุโสอานนท์ บัดนี้ ผมจักกระทำอุโบสถและสังฆ-
กรรมแยกจากพระผู้มีพระภาคเจ้า แยกจากภิกษุสงฆ์ ตั้งแต่วันนี้เป็นต้น
ไป ครั้งนั้นแล ท่านพระอานนท์เที่ยวบิณฑบาตในพระนครราชคฤห์
กลับจากบิณฑบาตในภายหลังภัตแล้ว เข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาคเจ้าถึงที่
ประทับ ถวายบังคมแล้วนั่ง ณ ที่ควรส่วนข้างหนึ่ง ครั้นแล้วได้กราบทูล
พระผู้มีพระภาคเจ้าว่า ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ขอประทานพระวโรกาส
เวลาเช้า ข้าพระองค์นุ่งแล้ว ถือบาตรและจีวรเข้าไปบิณฑบาตยังพระ-
นครราชคฤห์ พระเทวทัตได้เห็นข้าพระองค์กำลังเที่ยวบิณฑบาตอยู่ใน
พระนครราชคฤห์ จึงเข้าไปหาข้าพระองค์ ครั้นแล้วได้กล่าวกะข้าพระ-
องค์ว่า ดูก่อนอาวุโสอานนท์ บัดนี้ ผมจักกระทำอุโบสถและสังฆกรรม
แยกจากพระผู้มีพระภาคเจ้า แยกจากภิกษุสงฆ์ ตั้งแต่วันนี้เป็นต้นไป
ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ วันนี้ พระเทวทัตจักทำลายสงฆ์ จักกระทำ
อุโบสถและสังฆกรรม.
ลำดับนั้นแล พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงทราบเนื้อความนี้แล้ว จึง
ทรงเปล่งอุทานนี้ในเวลานั้นว่า
ความดีคนดีทำได้ง่าย ความดีคนชั่วทำได้ยาก
ความชั่วคนชั่วทำได้ง่าย ความชั่วพระอริยะทั้งหลาย
ทำได้ยาก.

จบอานันทสูตรที่ 8

อรรถกถาอานันทสูตร



อานันทสูตรที่ 8 มีวินิจฉัยดังต่อไปนี้ :-
บทว่า อายสฺมนฺตํ อานนฺทํ เอตทโวจ ความว่า พระเทวทัต
ชักชวนในการฆ่า ให้ปล่อยช้างนาฬาคิรี กลิ้งศิลา เมื่อไม่อาจทำความ
พินาศแก่พระผู้มีพระภาคเจ้าได้ จึงได้กล่าวคำมีอาทิว่า อชฺชตคฺเค ตั้งแต่
วันนี้เป็นต้นไปนี้ ด้วยประสงค์จะทำลายสงฆ์ กระทำความแยกจักร.
บทว่า อญฺญตฺเรว ภควตา แปลว่า แยกจากพระผู้มีพระภาคเจ้า. อธิบาย
ว่า ไม่กระทำให้เป็นพระศาสดา . บทว่า อญฺญตฺเรว ภิกฺขุสงฺเฆน แปลว่า
แยกจากภิกษุสงฆ์เท่านั้น. บทว่า อุโปสถํ กริสฺสามิ สงฺฆกมฺมานิ จ
ความว่า จักแยกภิกษุสงฆ์ผู้กระทำตามโอวาทของพระผู้มีพระภาคเจ้า กระ-
ทำอุโบสถ และสังฆกรรมแผนกหนึ่งกับเหล่าภิกษุผู้คล้อยตามเรา. บทว่า
เทวทตฺโต สงฺฆํ ภินฺทิสฺสติ ความว่า วันนี้ พระเทวทัตจักทำลายสงฆ์
แยกเป็น 2 ส่วน โดยแน่นอน เพราะพระเทวทัตตระเตรียมพรรคพวก
ผู้กระทำการแตกแยกทั้งหมดไว้แล้ว. จริงอยู่ เมื่อพระเทวทัตแสดงวัตถุ
แม้อย่างใดอย่างหนึ่งในบรรดาวัตถุเครื่องกระทำความแตกแยก มีอาทิว่า
แสดงอธรรมว่าเป็นธรรม แล้วให้ยินยอมว่า พวกเธอจงถือเอาสิ่งนี้ จง
ชอบใจสิ่งนี้ ด้วยเหตุนั้น ๆ แล้วให้จับสลาก แยกกระทำสังฆกรรม
สงฆ์เป็นอันถูกทำลายแล้ว.
สมจริงดังพระดำรัสที่ตรัสไว้ว่า สงฆ์แตกกันด้วยอาการ 5 อย่าง
คือด้วยกรรม 1 ด้วยอุทเทส 1 ด้วยการชักชวน 1 ด้วยการสวดประกาศ 1
ด้วยการจับสลาก 1. บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า กมฺเมน ได้แก่ ด้วยกรรม
อย่างใดอย่างหนึ่ง ในบรรดากรรม 4 อย่าง มีอปโลกนกรรมเป็นต้น. บทว่า