เมนู

ลำดับนั้นแล พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงทราบเนื้อความนี้แล้ว จึง
ทรงเปล่งอุทานในเวลานั้นว่า
ความสงสัยอย่างหนึ่งอย่างใดในอัตภาพนี้ หรือ
ในอัตภาพอื่น ในความรู้ของตน หรือในความรู้ของ
ผู้อื่น บุคคลผู้เพ่งพินิจ มีความเพียร ประพฤติ
พรหมจรรย์อยู่ ย่อมละความสงสัยเหล่านั้นได้ทั้งหมด.

จบกังขาเรวตสูตรที่ 7

อรรถกถากังขาเรวตสูตร



กังขาเรวตสูตรที่ 7 มีวินิจฉัยดังต่อไปนี้ :-
บทว่า เรวโต เป็นชื่อของพระเถระนั้น. จริงอยู่ พระเถระนั้น
ได้บรรพชาอุปสมบทในพระศาสนาแล้ว เป็นผู้มีศีล มีกัลยาณธรรมอยู่.
แต่เธอเป็นผู้มากไปด้วยความสงสัย กล่าวคือความรังเกียจในพระวินัย โดย
มีอาทิว่า ถั่วเขียวที่เป็นอกัปปิยะ ย่อมไม่ควรเพื่อจะบริโภค และว่าน้ำอ้อย
งบที่เป็นอกัปปิยะ ย่อมไม่ควรเพื่อจะบริโภค. ด้วยเหตุนั้น ท่านจึง
ปรากฏชื่อว่ากังขาเรวตะ ครั้นภายหลัง ท่านเรียนพระกัมมัฏฐานใน
สำนักพระศาสดา เพียรพยายามอยู่ ทำให้แจ้งอภิญญา 6 ยับยั้งอยู่ด้วยสุข
อันเกิดแต่ฌาน และสุขอันเกิดแต่ผลจิต. แต่โดยมาก ท่านพิจารณา
อริยมรรคที่ตนบรรลุแล้ว ทำได้หนักแน่น. ด้วยเหตุนั้น ท่านจึงกล่าวว่า
พิจารณาอยู่ ซึ่งกังขาวิตรณวิสุทธิของตน ดงนี้เป็นต้น.
จริงอยู่ ปัญญาที่สัมปยุตด้วยมรรค ในที่นี้ ท่านประสงค์เอาว่า
กังขาวิตรณวิสุทธิ เพราะข้าม คือก้าวล่วงความสงสัยทั้งปวง โดยไม่มี

ส่วนเหลือ คือความสงสัยมีวัตถุ 16 อันเป็นไปโดยนัยมีอาทิว่า ตลอด
อดีตกาลยาวนาน เราได้มีแล้วหรือหนอ ความสงสัยมีวัตถุ 8 ที่ท่าน
กล่าวไว้อย่างนี้ว่า ย่อมสงสัยในพระพุทธเจ้า ในพระธรรม ฯลฯ ย่อม
สงสัยในปฏิจจสมุปปันนธรรม จะป่วยกล่าวไปไยถึงความสงสัยนอกนี้เล่า
และเพราะความบริสุทธิ์โดยส่วนเดียว จากกิเลสเหล่าอื่นที่ตนพึงละ. ก็
ท่านผู้มีอายุนี้ เพราะเหตุที่ท่านมีความสงสัยเป็นปกติมานาน ท่านจึงนั่ง
พิจารณาอริยมรรคที่ตนบรรลุแล้วนั้น ให้หนักแน่นว่า เราละความสงสัย
เหล่านี้ได้เด็ดขาด เพราะอาศัยมรรคธรรมนี้ ไม่ใช่นั่งพิจารณาเห็นนาม
รูปพร้อมด้วยปัจจัย เพราะการข้ามความสงสัยเสียได้นั้น มีความไม่เที่ยง
เป็นที่สุด.
บทว่า เอตมตฺถํ วิทิตฺวา ความว่า ทรงทราบอรรถนี้ คือ การข้าม
ความสงสัยแห่งอริยมรรคได้เด็ดขาด แล้วจึงทรงเปล่งอุทานนี้ อันแสดง
ถึงความนั้น.
บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า ยากาจิ กงฺขา อิธ วา หุรํ วา ความว่า
ความสงสัยในอัตภาพนี้ คืออัตภาพที่เป็นปัจจุบันนี้ที่เกิดขึ้น โดยนัยมีอาทิ
ว่า เราย่อมเป็นหรือหนอ หรือว่าเราไม่เป็นหนอ หรือในอัตภาพอื่น คือ
ในอัตภาพที่เป็นอดีตและอนาคตที่เกิดขึ้น โดยนัยมีอาทิว่า ตลอดอดีต-
กาลยาวนาน เราได้มีแล้วหรือหนอ. บทว่า สกเวทิยา วา ปรเวทิยา วา
ความว่า ความสงสัยนั้น คือความเคลือบแคลงอย่างใดอย่างหนึ่ง ใน
ความรู้ของตนที่จะพึงได้ คือที่เป็นไปโดยเป็นอารมณ์ในอัตภาพของตน
อย่างนี้ คือโดยนัยดังกล่าวแล้ว หรือในความรู้ของผู้อื่น ที่จะพึงได้ใน
อัตภาพของผู้อื่น คือที่จะพึงได้ ได้แก่ที่เป็นไปในอัตภาพอันสูงสุด โดย

นัยมีอาทิว่า เป็นพระพุทธเจ้าหรือหนอ หรือว่าไม่เป็นหนอ. บทว่า
ฌายิโน ตา ปชหนฺติ สพฺพา อาตาปิโน พฺรหฺมจริยํ จรนฺตา ความว่า
คนเหล่าใด ชื่อว่าผู้เพ่งฌาน ด้วยอารัมมณุปนิชฌาน และลักษณุปนิช-
ฌาน เจริญวิปัสสนา ชื่อว่ามีความเพียร เพราะบริบูรณ์ด้วยสัมมัปปธาน 4
ประพฤติอยู่ คือได้รับมรรคพรหมจรรย์ ผู้ตั้งอยู่ในปฐมมรรค ต่างโดย
ประเภทแห่งสัทธานุสารีบุคคลเป็นต้น ย่อมละ คือย่อมตัดขาด ซึ่งความ
สงสัยทั้งปวงนั้น ในขณะแห่งมรรค. ก็ต่อแต่นั้น เป็นอันชื่อว่าคนเหล่า-
นั้นละความสงสัยเหล่านั้นเสียได้. เพราะฉะนั้น จึงมีอธิบายว่า การละ
ความสงสัยเหล่านั้นอื่นจากนี้ได้เด็ดขาด ย่อมไม่มี.
ดังนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้า เมื่อจะทรงชมเชยการบรรลุอริยมรรค
ของท่านพระกังขาเรวตะ โดยฌานมุข คือโดยยกฌานขึ้นเป็นประธาน จึง
ทรงเปล่งอุทานด้วยอำนาจความชมเชย. ก็ด้วยเหตุนั้นนั่นแล พระผู้มี-
พระภาคเจ้า จึงทรงสถาปนาท่านไว้ในเอตทัคคะโดยความเป็นผู้มีฌานว่า
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย บรรดาภิกษุผู้สาวกของเราผู้มีฌาน กังขาเรวตะเป็น
เลิศแล.
จบอรรถกถากังขาเรวตสูตรที่ 7

8. อานันทสูตร



ว่าด้วยคนดีทำชั่วได้ยาก



[124] ข้าพเจ้าได้สดับมาแล้วอย่างนี้ :-
สมัยหนึ่ง พระผู้มีพระภาคเจ้าประทับอยู่ ณ พระวิหารเวฬุวัน
กลันทกนิวาปสถาน ใกล้พระนครราชคฤห์ ก็สมัยนั้นแล ในวันอุโบสถ