เมนู

ของสะอาด ดังนี้ก็มี. คำนั้นมีอธิบายดังต่อไปนี้ คนมีบาป คือคนชั่ว
ย่อมไม่ยินดี ของที่สะอาด คือของที่ไม่มีโทษ มีความผ่องแผ้วเป็นธรรม
โดยที่แท้ ยินดีแต่ของไม่สะอาด คือสังกิเลสธรรมเท่านั้น เหมือน
สุกรบ้านเป็นต้น ยินดีแต่สถานที่สกปรกฉะนั้น เพราะฉะนั้น พระองค์จึง
ทรงเปลี่ยนเทศนา โดยธรรมอันเป็นปฏิปักษ์กัน.
เมื่อพระผู้มีพระภาคเจ้า ทรงเปล่งอุทานอย่างนี้แล้ว ท่านโสณะลุก
จากอาสนะถวายบังคมพระผู้มีพระภาคเจ้า ทูลขอวัตถุ 5 ประการ มีอุป-
สมบทเป็นต้น พร้อมด้วยสงฆ์ปัญจวรรค ในปัจจันตประเทศ ตามคำ
อุปัชฌาย์ของตน. คำว่า ภควาปิ ตานิ อนุชานิ ทั้งหมด พึงทราบโดย
นัยที่มาแล้วในขันธกะเถิด.
จบอรรถกถาโสณสูตรที่ 6

7. กังขาเรวตสูตร



ว่าด้วยผู้มากด้วยความสงสัย



[123] ข้าพเจ้าได้สดับมาแล้วอย่างนี้ :-
สมัยหนึ่ง พระผู้มีพระภาคเจ้าประทับอยู่ ณ พระวิหารเชตวัน
อารามของท่านอนาถบิณฑิกเศรษฐี ใกล้พระนครสาวัตถี ก็สมัยนั้นแล
ท่านพระกังขาเรวตะนั่งคู้บัลลังก์ ตั้งกายตรง พิจารณากังขาวิตรณวิสุทธิ
ของตนอยู่ในที่ไม่ไกลพระผู้มีพระภาคเจ้า พระผู้มีพระภาคเจ้าได้ทรงเห็น
ท่านพระกังขาเรวตะผู้นั่งคู้บัลลังก์ ตั้งกายตรง พิจารณากังขาวิตรณวิสุทธิ
ของตนอยู่ในที่ไม่ไกล.

ลำดับนั้นแล พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงทราบเนื้อความนี้แล้ว จึง
ทรงเปล่งอุทานในเวลานั้นว่า
ความสงสัยอย่างหนึ่งอย่างใดในอัตภาพนี้ หรือ
ในอัตภาพอื่น ในความรู้ของตน หรือในความรู้ของ
ผู้อื่น บุคคลผู้เพ่งพินิจ มีความเพียร ประพฤติ
พรหมจรรย์อยู่ ย่อมละความสงสัยเหล่านั้นได้ทั้งหมด.

จบกังขาเรวตสูตรที่ 7

อรรถกถากังขาเรวตสูตร



กังขาเรวตสูตรที่ 7 มีวินิจฉัยดังต่อไปนี้ :-
บทว่า เรวโต เป็นชื่อของพระเถระนั้น. จริงอยู่ พระเถระนั้น
ได้บรรพชาอุปสมบทในพระศาสนาแล้ว เป็นผู้มีศีล มีกัลยาณธรรมอยู่.
แต่เธอเป็นผู้มากไปด้วยความสงสัย กล่าวคือความรังเกียจในพระวินัย โดย
มีอาทิว่า ถั่วเขียวที่เป็นอกัปปิยะ ย่อมไม่ควรเพื่อจะบริโภค และว่าน้ำอ้อย
งบที่เป็นอกัปปิยะ ย่อมไม่ควรเพื่อจะบริโภค. ด้วยเหตุนั้น ท่านจึง
ปรากฏชื่อว่ากังขาเรวตะ ครั้นภายหลัง ท่านเรียนพระกัมมัฏฐานใน
สำนักพระศาสดา เพียรพยายามอยู่ ทำให้แจ้งอภิญญา 6 ยับยั้งอยู่ด้วยสุข
อันเกิดแต่ฌาน และสุขอันเกิดแต่ผลจิต. แต่โดยมาก ท่านพิจารณา
อริยมรรคที่ตนบรรลุแล้ว ทำได้หนักแน่น. ด้วยเหตุนั้น ท่านจึงกล่าวว่า
พิจารณาอยู่ ซึ่งกังขาวิตรณวิสุทธิของตน ดงนี้เป็นต้น.
จริงอยู่ ปัญญาที่สัมปยุตด้วยมรรค ในที่นี้ ท่านประสงค์เอาว่า
กังขาวิตรณวิสุทธิ เพราะข้าม คือก้าวล่วงความสงสัยทั้งปวง โดยไม่มี