เมนู

ไม่เป็นที่รักของเธอทั้งหลายมิใช่หรือ เด็กเหล่านั้นกราบทูลว่า อย่างนั้น
พระเจ้าข้า ข้าพระองค์ทั้งหลายกลัวต่อความทุกข์ ความทุกข์ไม่เป็นที่รัก
ของข้าพระองค์ทั้งหลาย.
ลำดับนั้นแล พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงทราบเนื้อความนี้แล้ว จึง
ทรงเปล่งอุทานนี้ในเวลานั้นว่า
ถ้าท่านทั้งหลายกลัวความทุกข์ ถ้าความทุกข์
ไม่เป็นที่รักของท่านทั้งหลายไซร้ ท่านทั้งหลายอย่า
ได้ทำบาปกรรมทั้งในที่แจ้งหรือในที่ลับเลย ถ้าท่าน
ทั้งหลายจักทำหรือทำอยู่ซึ่งบาปกรรมไซร้ ท่านทั้ง-
หลายแม้จะเหาะหนีไป ก็ย่อมไม่พ้นไปจากความ
ทุกข์เลย.

จบกุมารกสูตรที่ 4

อรรถกถากุมารกสูตร



กุมารกสูตรที่ 4 มีวินิจฉัยดังต่อไปนี้ :-
บทว่า กุมารกา แปลว่า คนหนุ่ม. แต่ในที่นี้คนหนุ่ม ซึ่งรู้
อรรถของสุภาษิตและทุพภาษิต ท่านประสงค์ว่า กุมารกะ. จริงอยู่ สัตว์
เหล่านี้ จำเดิมแต่วันที่เกิดมา จนถึงอายุ 15 ปี ท่านเรียกว่า กุมารกะ
และว่า พาละ ต่อจากนั้น มีอายุ 20 ปี ท่านเรียกว่า คนหนุ่มสาว.
บทว่า มจฺฉเก พาเธนฺติ ความว่า เด็กหนุ่มเหล่านั้น ในฤดูแล้ง เมื่อ
น้ำในสระแห่งหนึ่งใกล้หนทางแห้งแล้ว จึงพากันวิดน้ำที่ขังอยู่ในที่ลุ่ม

จับและฆ่าปลาตัวเล็ก ๆ ด้วยหมายใจว่า เราจักปิ้งกิน. บทว่า เตนุป-
สงฺกมิ ความว่า พระองค์เสด็จแวะจากทางเข้าไปยังสระน้ำหน่อยหนึ่ง
แล้วประทับยืนอยู่ เพราะเหตุนั้น ท่านจึงกล่าวว่า อุปสงฺกมิ. ก็เพราะ
เหตุไร จึงเสด็จเข้าไปหา. เพราะเพื่อจะให้เด็นเหล่านั้นเกิดควาคุ้นเคย
กับพระองค์ จึงเสด็จเข้าไปหา. ศัพท์ว่า โว ในคำนี้ว่า ภายถ โว เป็น
เพียงนิบาต. บทว่า ทุกฺขสฺส เป็นฉัฏฐีวิภัตติลงในอรรถปัญจมีภัตติ
อธิบายว่า ทุกฺขสฺมา จากทุกข์. ด้วยบทว่า อปฺปิยํ โว ทุกฺขํ พระองค์
ตรัสถามว่า ทุกข์ที่เกิดในร่างกายของพวกเธอ ไม่น่ารักไม่น่าปรารถนา
มิใช่หรือ ?
บทว่า เอตมตฺถํ วิทิตฺวา ความว่า พระองค์ทรงทราบโดยอาการ
ทั้งปวงซึ่งอรรถนี้ว่า สัตว์เหล่านี้ ไม่ปรารถนาทุกข์เพื่อตนเลย แต่ปฏิบัติ
เหตุแห่งทุกข์อยู่ โดยใจความ เป็นอันชื่อว่า ปรารถนาทุกข์อยู่นั่นเอง.
บทว่า อิมํ อุทานํ ความว่า ทรงเปล่งอุทานนี้ อันเกียดกั้นการกระทำ
ชั่วและประกาศโทษของการทำชั่ว.
อุทานนั้นมีความหมายดังต่อไปนี้ ถ้าว่า ทุกข์อันจะให้เป็นไปใน
อบายทั้งสิ้น และอันต่างด้วยความเป็นผู้มีอายุน้อยและความเป็นผู้มีส่วน
ชั่วแห่งมนุษย์เป็นต้นในสุคติ เป็นธรรมชาติ ไม่น่ารัก ไม่น่าปรารถนา
สำหรับพวกท่าน ถ้าพวกท่านกลัวทุกข์นั้นไซร้ พวกท่านอย่าได้กระทำ
คืออย่าได้ก่อกรรมชั่ว คือกรรมลามกแม้มีประมาณน้อย ชนิดปาณาติบาต
เป็นต้นทางกายหรือทางวาจาทั้งในที่แจ้ง คือไม่ปิดบัง เพราะปรากฏแก่
คนอื่น (และ) ชนิดอภิชฌาเป็นต้น เพราะในมโนทวาร ทั้งในที่ลับคือ
ปกปิดโดยความไม่ปรากฏแก่คนอื่น ถ้าว่า ท่านทำกรรมชั่วนั้นบัดนี้ หรือ

จักทำในอนาคตไซร้ ทุกข์ อันเป็นผลของกรรมนั้น ในอบาย 4 มีนรก
เป็นต้น และในมนุษย์ทั้งหลาย จักไม่ติดตามพวกเราผู้หนีไปข้างโน้น
ข้างนี้ ด้วยความประสงค์ดังว่ามานี้ แม้พวกท่านจะเหาะหนี คือจงใจ
หลีกหนีไป ก็ไม่หลุด คือไม่พ้นจากทุกข์นั้นไปได้ ท่านแสดงไว้ว่าจะให้
ผล ในเมื่อความพรั่งพร้อมแห่งปัจจัยอื่นมีคติและกาลเป็นต้นนั่นแล.
อาจารย์บางพวกกล่าวว่า ปลายเน ดังนี้ก็มี ความว่า เมื่อการไป คือ
การหลีกไปในที่ใดที่หนึ่ง มีอยู่ โดยนัยดังกล่าวแล้ว. มีความนี้ พึงแสดง
ด้วยคาถานี้ว่า ผู้ทำกรรมชั่ว จะหนีไปในอากาศ หรือท่ามกลางสมุทร
ฯลฯ ย่อมไม่พ้นจากกรรมชั่วนั้นไปได้.
จบอรรถกถากุมารกสูตรที่ 4

5. อุโปสถสูตร



ว่าด้วยธรรมอันน่าอัศจรรย์ 8



[116] ข้าพเจ้าได้สดับมาแล้วอย่างนี้ :-
สมัยหนึ่ง พระผู้มีพระภาคเจ้าประทับอยู่ ณ ปุพพาราม ปราสาทของ
นางวิสาขามิคารมารดา ก็สมัยนั้นแล พระผู้มีพระภาคเจ้าแวดล้อมด้วย
ภิกษุสงฆ์ ประทันนั่งอยู่ในวันอุโบสถ ลำดับนั้นแล เมื่อราตรีล่วงไปแล้ว
ปฐมยามสิ้นไปแล้ว ท่านพระอานนท์ลุกขากอาสนะกระทำจีวรเฉวียงบ่า
ข้างหนึ่ง ประนมอัญชลีไปทางที่พระผู้มีพระภาคเจ้าประทับอยู่ ได้กราบทูล
พระผู้มีพระภาคเจ้าว่า ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ราตรีล่วงไปแล้ว ปฐมยาม
สิ้นไปแล้ว ภิกษุสงฆ์นั่งอยู่นานแล้ว ขอพระผู้มีพระภาคเจ้าทรงแสดง