เมนู

อรรถกถาสุปปพุทธกุฏฐิสูตร



สุปปพุทธกุฏฐิสูตรที่ 3 มีวินิจฉัยดังต่อไปนี้ :-
บทว่า ราชคเห สุปฺปพุทฺโธ นาม กุฏฺฐี อโหสิ ความว่า บุรุษคน-
หนึ่ง นามว่า สุปปพุทธะ ได้อยู่ในกรุงราชคฤห์. ก็เขามีตัวถูกโรคเรื้อน
รบกวนอย่างหนัก. บทว่า มนุสฺสทลิทฺโท ความว่า เป็นผู้เข็ญใจกว่าเขา
ทั้งหมดในบรรดามนุษย์ ในกรุงราชคฤห์. ก็เขาเย็บท่อนผ้าเก่า ที่พวก
มนุษย์ทิ้งไว้ ที่กองหยากเยื่อและที่รั้วเป็นต้น นุ่งห่ม. ถือกระเบื้องไปตาม
เรือน อาศัยข้าวตังและภัตที่เป็นเดนได้มาเลี้ยงชีพ. แม้ของนั้น เขาก็ไม่
ได้ตามความต้องการ เพราะกรรมที่ตนทำไว้ในปางก่อน. ด้วยเหตุนั้น
ท่านจึงกล่าวว่า เป็นมนุษย์ขัดสน. บทว่า มนุสฺสกปโณ ได้แก่ ใน
บรรดามนุษย์ เขาถึงความกำพร้าอย่างยิ่ง. บทว่า มนุสฺสวราโก ได้แก่
ผู้ยากไร้ เพราะถูกพวกมนุษย์ติเตียนและดูหมิ่น. บทว่า มหติยา ปริสาย
ความว่า ด้วยภิกษุบริษัท และอุบาสกบริษัทหมู่ใหญ่.
ได้ยินว่า วันหนึ่ง พระผู้มีพระภาคเจ้า แวดล้อมไปด้วยภิกษุสงฆ์
หมู่ใหญ่ เสด็จเข้าไปบิณฑบาตยังกรุงราชคฤห์ ทรงเสวยบิณฑบาตที่พวก
ภิกษุได้มาด้วยดี เสด็จกลับจากบิณฑบาตภายหลังภัตร แวดล้อมด้วยภิกษุ
จำนวนเล็กน้อย เสด็จออกรอคอยการมาของอุบาสกผู้ถวายทาน และภิกษุ
ที่เหลือ ได้ประทับยืนในถิ่นที่รื่นรมย์แห่งหนึ่ง ภายในพระนครนั่นเอง.
ในทันใดนั่นเอง ภิกษุทั้งหลายมาจากที่นั้น ๆ พากันแวดล้อมพระผู้มี-
พระภาคเจ้า. ฝ่ายอุบาสกทั้งหลาย เข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาคเจ้า ด้วย
หมายใจว่าจักฟังอนุโมทนา ถวายบังคมแล้วกลับมา. ได้มีการประชุม
ใหญ่ขึ้นแล้ว. พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงแสดงอาการนั่ง. ในขณะนั้นนั่นเอง

ภิกษุทั้งหลายปูลาดอาสนะอันสมควรแด่พระพุทธเจ้า. ลำดับนั้น พระผู้มี-
พระภาคเจ้าทรงทำประเทศนั้นทั้งสิ้น ให้สว่างไสว ด้วยพระรูปโฉมอันหา
อุปมามิได้ อันรุ่งโรจน์ด้วยมหาปุริสลักษณะ 32 ประการ ซึ่งประดับ
ด้วยอนุพยัญชนะ 80 ประการ อันรุ่งเรืองแวดล้อมไปด้วยพระรัศมีข้าง
ละวา อันฉายพระพุทธรังสี มีพรรณะ 6 ประการ คือ เขียว เหลือง แดง
ขาว หงสบาท และเลื่อมปภัสสร แวดล้อมไปด้วยหมู่ภิกษุ ดุจพระจันทร์
เพ็ญ แวดล้อมไปด้วยหมู่ดาว ประทับนั่งบนบวรพุทธาสน์ที่บรรจงจัดไว้
ทรงบันลือสีหนาท ดุจไกสรราชสีห์ ณ พื้นมโนศิลา ทรงแสดงธรรม
ด้วยพระสุรเสียงดุจเสียงพรหม อันไพเราะดุจเสียงร้องของนกการเวก.
ฝ่ายภิกษุทั้งหลายแล เป็นผู้มักน้อย สันโดษ ชอบสงัด ไม่คลุกคลี
ปรารภความเพียร มีใจเป็นสมาธิ ชอบตักเตือนตน ติเตียนบาป ผู้กล่าว
สอน อดทนต่อถ้อยคำ สมบูรณ์ด้วยศีล สมาธิ ปัญญา วิมุตติ และวิมุตติ-
ญาณทัสสนะ ห่มบังสุกุลจีวรสีเมฆ แวดล้อมพระผู้มีพระภาคเจ้า ดุจช้าง
ตระกูลคันธะซึ่งสวมเกราะไว้ด้วยดี เงี่ยโสตลง สดับพระธรรมเทศนา.
ฝ่ายอุบาสกทั้งหลาย นุ่งห่มผ้าเรียบร้อย มีอุตราสงค์สะอาด ในเวลาเช้า
ยังมหาทานให้เป็นไป บูชาพระผู้มีพระภาคเจ้าด้วยสักการะมีของหอมและ
ระเบียบดอกไม้เป็นต้น ถวายบังคมแล้ว แสดงอาการนอบน้อมแก่ภิกษุ-
สงฆ์ แวดล้อมพระผู้มีพระภาคเจ้าและภิกษุสงฆ์ สำรวมมือและเท้า เงี่ย
โสตลงสดับธรรมโดยเคารพ. ด้วยเหตุนั้น ท่านจึงกล่าวว่า ก็โดยสมัย
นั้นแล พระผู้มีพระภาคเจ้า แวดล้อมไปด้วยบริษัทใหญ่ ประทับนั่ง
แสดงธรรมอยู่แล้ว ดังนี้เป็นต้น.

ก็สุปปพุทธะ ถูกความทุรพลคือความหิวครอบงำ จึงเที่ยวแสวงหา
อาหาร ผ่านระหว่างถนน เห็นมหาชนนั้นประชุมกัน แต่ที่ไกลลิบ เกิด
ความดีใจขึ้นว่า หมู่มหาชนนี้ ประชุมกันด้วยเรื่องอะไรหนอ ชะรอยว่า
ในที่นั้น เขาคงจะแจกอาหารเป็นแน่แท้ ไฉนหนอ เราไปในที่นั้น
สามารถจะได้อะไร ๆ สักอย่าง ไม่ว่าจะเป็นของเคี้ยว หรือของกิน ดังนี้
แล้ว จึงไปในที่นั้นได้เห็นพระผู้มีพระภาคเจ้า พระองค์น่าเลื่อมใส น่า
ชมเชย ถึงความสงบด้วยการฝึกตนอย่างสูง ทรงฝึกแล้ว คุ้มครองแล้ว
ประกอบด้วยอินทรีย์ที่สำรวมแล้ว แวดล้อมไปด้วยบริษัทนั้น แสดงธรรม
อยู่ ครั้นเห็นแล้ว อันอุปนิสัยสมบัติที่แก่กล้า ซึ่งประกอบไว้ในชาติ
ก่อน ตักเตือนอยู่ จึงคิดว่า ไฉนหนอ แม้เราก็ควรฟังธรรม ดังนี้แล้ว
จึงได้นั่ง ณ ท้ายบริษัท ซึ่งท่านหมายกล่าวไว้ว่า สุปปพุทธกุฏฐิ ได้
เห็นแล้วแล ฯลฯ นั่ง ณ ส่วนข้างหนึ่ง ในที่นั้นนั่นเอง ด้วยหวังใจ
ว่า แม้เราก็จักฟังธรรม ดังนี้เป็นต้น.
บทว่า สพฺพาวนฺตํ แปลว่า มีบุคคลทุกหมู่เหล่า คือ มีบุคคลทุก
เหล่ามีคนเลว เป็นต้น. ในข้อนั้นมีอธิบายว่า ไม่เหลือแม้ใคร ๆ ไว้.
อาจารย์บางพวกกล่าวว่า สพฺพวนฺตํ ดังนี้ก็มี. บทว่า เจตสา ความว่า
ด้วยพระหทัยอันประกอบด้วยพุทธจักษุ. จริงอยู่ ท่าแสดงพระญาณโดย
ยกจิตขึ้นเป็นประธาน เพราะฉะนั้น จึงมีอธิบายว่า ด้วยอาสยานุสยญาณ
และอินทริยปโรปริยัตญาณ. บทว่า เจโต ปริจฺจ มนสากาสิ ความว่า
ทรงกำหนดจิตของบริษัทนั้น เฉพาะคนแล้วทรงไว้ในพระหทัย คือ
ทรงตรวจดูชนเหล่านั้น. บทว่า ภพฺโพ ธมฺมํ วิญฺญาตุํ ความว่า เป็นผู้
สามารถ คือ เพียบพร้อมด้วยอุปนิสัย เพื่อบรรลุธรรมคือมรรคและผล.

บทว่า เอตทโหสิ ความว่า พระผู้มีพระภาคเจ้าได้มีพระดำริดังนี้ว่า
สุปปพุทธะนี้ ผิดในพระปัจเจกพุทธเจ้า นามว่า ตครสิขี จึงเป็นเช่นนี้
ก็จริง ถึงอย่างนั้น เธอก็ยังมีอุปนิสัยแห่งมรรคและผล โชติช่วงอยู่ใน
ภายในนั่นเอง ดุจแท่งทองถูกฝุ่นกลบไว้ เพราะฉะนั้น เขาจึงควรจะรู้
แจ้ง. ด้วยเหตุนั้น จึงตรัสว่า ในที่นี้ บุรุษนี้แล้ว ควรจะรู้แจ้งธรรม
ดังนี้เป็นต้น.
บทว่า อนุปุพฺพิกถํ ได้แก่ กถาตามลำดับอย่างนี้ว่า ศีลในลำดับ
แห่งทาน สวรรค์ในลำดับแห่งศีล มรรคในลำดับแห่งสวรรค์. จริงอยู่
พระผู้มีพระภาคเจ้า ทรงแสดงความยินดี พร้อมด้วยเหตุ ต่อแต่นั้น ทรง
ประกาศโทษโดยนัยต่าง ๆ เพื่อให้หมู่สัตว์สงัดแล้ว จึงแสดงวิวัฏฏะ โดย
การประกาศคุณแห่งเนกขัมมะเป็นประธาน ของเหล่าสัตว์ผู้มีหทัยสลด
เพราะการฟังโทษ.
บทว่า ทานกถํ ได้แก่ กถาอันเกี่ยวเนื่องด้วยคุณของทานมีอาทิ
อย่างนี้ว่า ขึ้นชื่อว่า ทานนี้ เป็นเหตุแห่งความสุข เป็นมูลแห่งสมบัติ
เป็นที่ตั้งแห่งโภคะ เป็นที่ต้านทาน เป็นที่เร้น เป็นคติ เป็นที่ไปในเบื้อง
หน้า ของสัตว์ผู้ดำเนินไปตามทางที่ไม่สม่ำเสมอ ที่พึ่ง ที่พำนัก ที่ยึด-
หน่วง ที่ต้านทาน ที่เร้น ที่ไป ที่ไปในเบื้องหน้า เช่นกับทานนี้ ย่อม
ไม่มี ในโลกนี้และโลกหน้า จริงอยู่ ทานนี้ เป็นเช่นกับอาสนสีหะที่
สำเร็จด้วยแก้ว เพราะอรรถว่า เป็นที่พึ่ง เป็นเช่นกับมหาปฐพี เพราะ
อรรถว่า เป็นที่พำนัก เป็นเช่นกับเชือกสำหรับยึด เพราะอรรถว่า เป็น
เครื่องยึดหน่วง เป็นเช่นกับนาวา เพราะอรรถว่า เป็นที่ข้ามทุกข์ เป็น
ผู้กล้าหาญในสงคราม เพราะอรรถว่า เป็นที่โล่งใจ เป็นนครที่แวดล้อม

ด้วยคูรอบด้าน เพราะอรรถว่า เป็นที่ต้านทานภัยรอบด้าน เป็นดังปทุม
เพราะอรรถว่า ไม่ถูกมลทินคือความตระหนี่เป็นต้นฉาบทา เป็นดังไฟ
เพราะอรรถว่า เผามลทินคือความตระหนี่เป็นต้นเหล่านั้น เป็นดังอสรพิษ
เพราะอรรถว่า ยินดีได้ยาก เป็นดังราชสีห์ เพราะอรรถว่า ไม่สะดุ้งกลัว
เป็นดังช้าง เพราะอรรถว่า ทรงพลัง เป็นดังโคอุสภะขาว เพราะอรรถว่า
อันชาวโลกสมมติกันว่าเป็นมงคลยิ่ง เป็นดังพญาม้าวลาหก เพราะ
อรรถว่า ส่งไปให้ถึงภูมิอันปลอดภัย จริงอยู่ ทานย่อมให้สิริราชสมบัติ
ในโลก ให้จักรพรรดิสมบัติ สักกสมบัติ มารสมบัติ พรหมสมบัติ สาวก-
บารมีญาณ ปัจเจกโพธิญาณ และให้สัมมาสัมโพธิญาณ. ก็เพราะเหตุที่
บุคคลผู้ให้ทาน สามารถเพื่อจะสมาทานศีล ฉะนั้น พระองค์จึงทรงแสดง
สีลกถาไว้ในลำดับแห่งทานกถา.
บทว่า สีลกถํ ได้แก่ กถาที่เกี่ยวเนื่องด้วยคุณแห่งศีลมีอาทิอย่างนี้
ว่า ขึ้นชื่อว่า ศีลนี้ เป็นที่พึ่ง เป็นที่พำนัก เป็นที่ยึดหน่วง เป็นที่ต้านทาน
เป็นที่เร้น เป็นคติ เป็นที่ไปในเบื้องหน้า ของสัตว์ทั้งหลาย จริงอยู่ ที่พึ่ง
ที่พำนัก ที่ยึดหน่วง ที่ต้านทาน ที่เร้น ที่ไป ที่ไปในเบื้องหน้า ของ
สมบัติในโลกนี้และโลกหน้า เช่นกับศีล ย่อมไม่มี เครื่องประดับเช่นกับศีล
ดอกไม้ เช่นกับดอกไม้คือศีล กลิ่น เช่นกับกลิ่นของศีล ย่อมไม่มี จริงอยู่
ชาวโลกพร้อมทั้งเทวดาแลดูผู้ประดับด้วยเครื่องประดับคือศีล ผู้ทัดทรง
ดอกไม้คือศีล ลูบไล้ด้วยของหอมคือศีล ย่อมไม่ถึงความอิ่ม เพื่อจะทรง
แสดงว่า บุคคลได้สวรรค์นี้ ก็เพราะอาศัยศีลนี้ ดังนี้แล้ว จึงทรงแสดง
สัคคกถาไว้ในลำดับแห่งศีล

บทว่า สคฺคกถํ ได้แก่ กถาที่เกี่ยวเนื่องด้วยคุณแห่งสวรรค์ มีอาทิ
อย่างนี้ว่า ขึ้นชื่อว่า สวรรค์ เป็นสิ่งที่น่าปรารถนา น่าใคร่ น่าพอใจ ย่อม
ได้ความรื่นเริงในสวรรค์นั้นเป็นนิตย์ คือ ย่อมได้สมบัติเป็นนิตย์ ได้แก่
เทพชั้นจาตุมมหาราช ย่อมได้ทิพยสุข ทิพยสมบัติ ถึง 9 ล้านปี เทพชั้น
ดาวดึงส์ ย่อมได้ถึง 3 โกฏิ 6 ล้านปี. จริงอยู่ เมื่อพระพุทธเจ้าแสดง
สวรรค์สมบัติ พระโอษฐ์ไม่พอ (ที่จะตรัส). สมจริงดังพระดำรัสที่พระ-
องค์ตรัสไว้ มีอาทิว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เราพึงแสดงสัคคกถา โดย
อเนกปริยายแล. พระผู้มีพระภาคเจ้า เพื่อจะทรงประเล้าประโลม ด้วย
กถาแสดงความยินดีพร้อมด้วยเหตุดังพรรณนามาอย่างนี้ จึงแสดงว่า แม้
สวรรค์นี้ ไม่เที่ยง ไม่ยั่งยืน ไม่ควรทำความยินดีด้วยอำนาจความพอใจ
ในสวรรค์นั้น เปรียบเหมือนบุคคลประดับช้างแล้ว ยังตัดงวงของช้างนั้น
อีก จึงทรงแสดงโทษ ความต่ำทราม ความเศร้าหมอง ของกามทั้งหลาย
โดยนัยมีอาทิว่า กามทั้งหลาย มีความอร่อยน้อย มีทุกข์มาก มีความคับ-
แค้นมาก ในสวรรค์นั้น มีโทษมากยิ่ง.
บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า อาทีนวํ แปลว่า โทษ. บทว่า โอการํ
ได้แก่ มีความเลวทรามเป็นสภาวะ อธิบายว่า พวกคนไม่ประเสริฐ พึง
ส้องเสพ พวกคนประเสริฐ ไม่พึงส้องเสพ จึงชื่อว่า มีความเลวทราม
เป็นสภาวะ. บทว่า สงฺกิเลสํ ความว่า เพราะกามเหล่านั้น สัตว์ทั้งหลาย
จึงมีความเศร้าหมองในสงสาร. เพราะเหตุนั้นนั่นแล ท่านจึงกล่าวว่า
ผู้เจริญ สัตว์ทั้งหลาย จักเศร้าหมองหนอ. ครั้นทรงให้กลัว ด้วยโทษ
แห่งกามอย่างนี้แล้ว จึงทรงประกาศอานิสงส์ในเนกขัมมะ คือ แสดง
พรรณนาคุณของบรรพชาและคุณในฌานเป็นต้น.

บทว่า กลฺยจิตฺตํ ในบทว่า กลฺยจิตฺตํ เป็นต้น ได้แก่ จิตที่ควร
แก่การงาน คือ จิตเป็นที่ตั้งแห่งการงาน อธิบายว่า เป็นจิตที่เหมาะแก่
การงาน โดยเข้าถึงภาวะเป็นที่รองรับเทศนาที่ทรงประกาศไว้ในเบื้องต่ำ
และเทศนาเบื้องสูง เพราะปราศจากโทษแห่งจิต มีความเป็นผู้ไม่มีศรัทธา
เป็นต้น. เชื่อมความว่า ในคราวที่พระผู้มีพระภาคเจ้า ทรงทราบว่า
สุปปพุทธกุฏฐินั้น มีจิตอ่อน เพราะปราศจากกิเลสมีทิฏฐิและมานะเป็นต้น
มีจิตปราศจากนิวรณ์ เพราะปราศจากนิวรณ์ มีกามฉันทนิวรณ์เป็นต้น
มีจิตเบิกบาน เพราะประกอบด้วยปีติและปราโมทย์อย่างยิ่งในสัมมาปฏิบัติ
และมีจิตผ่องใส เพราะสมบูรณ์ด้วยศรัทธาในสัมมาปฏิบัตินั้น. อีกอย่าง
หนึ่ง. บทว่า กลฺยจิตฺตํ ได้แก่ จิตไม่มีโรค เพราะปราศจากกามฉันท-
นิวรณ์. บทว่า มุทุจิตฺตํ ได้แก่ จิตไม่แข็งกระด้าง ด้วยอำนาจเมตตา
เพราะปราศจากพยาบาท. บทว่า วินีวรณจิตฺตํ ได้แก่ จิตที่ไม่ถูกปิดกั้น
เพราะไม่ฟุ้งซ่าน โดยปราศจากอุทธัจจะและกุกกุจจนิวรณ์. บทว่า
อุทคฺคจิตฺตํ ได้แก่ จิตไม่หดหู่ ด้วยอำนาจประคองไว้ โดยปราศจาก
ถีนมิทธนิวรณ์. บทว่า ปสนฺนจิตฺตํ ได้แก่ จิตที่น้อมไปในสัมมาปฏิบัติ
โดยปราศจากวิจิกิจฉานิวรณ์.
ศัพท์ อถ แปลว่า ภายหลัง. บทว่า สามุกฺกํสิกา ได้แก่ เทศนา
ที่พระองค์ทรงแสดงเอง คือ ทรงยกขึ้นแสดงด้วยพระองค์เอง ได้แก่
ทรงเห็นเองด้วยพระสยัมภูญาณ อธิบายว่า ไม่ทั่วไป แก่ชนเหล่าอื่น.
ถามว่า ก็เทศนานั้น ชื่ออะไร ? ตอบว่า ชื่อว่า อริยสัจเทศนา. ด้วย
เหตุนั้นนั่นแล พระองค์จึงตรัสว่า ทุกขอริยสัจ สมุทัยอริยสัจ นิโรธ-
อริยสัจ มรรคอริยสัจ.
ก็ข้อนี้ เป็นการแสดงสัจจะโดยสรุป. เพราะ

ฉะนั้น ในที่นี้ จึงควรแสดงอริยสัจ. อริยสัจเหล่านั้น เมื่อว่าโดยอาการ
เหตุนั้น พึงทราบโดยนัยที่กล่าวไว้แล้วในคัมภีร์วิสุทธิมรรคนั่นแล.
พระผู้มีพระภาคเจ้า ทรงแสดงการละกิเลส และการยังอริยมรรค
ให้เกิดขึ้น แก่สุปปพุทธะ ด้วยอำนาจอุปมา โดยคำมีอาทิว่า เสยฺยถาปิ
ดังนี้. บทว่า อปคตกาฬกํ แปลว่า ปราศจากธรรมฝ่ายดำ. บทว่า
สมฺมเทว แปลว่า ด้วยดีนั่นแล. บทว่า รชนํ ได้แก่ น้ำย้อมมีสี เขียว
เหลือง แดง และหงสบาท เป็นต้น. บทว่า ปฏิคฺคณฺเหยฺย แปลว่า พึง
รับ คือ พึงเป็นผ้าที่ผ่องใส. บทว่า ตสฺมึเยว อาสเน ได้แก่ ในที่นั่ง
นั้นนั่นเอง. ด้วยคำนี้ เป็นอันทรงแสดงถึงความที่สุปปพุทธกุฏฐินั้น มี
ความเห็นแจ้งได้เร็ว มีปัญญาเฉียบแหลม และเป็นสุขาปฏิปทาขิปป-
ภิญญาบุคคล. บทว่า วิรชํ วีตมลํ ความว่า ชื่อว่า ปราศจากธุลี เพราะ
ไม่มีธุลีคือราคะเป็นต้น อันเป็นเหตุนำสัตว์ไปสู่อบาย ชื่อว่า ปราศจาก
มลทิน เพราะปราศจากมลทิน คือทิฏฐิและวิจิกิจฉา ไม่มีส่วนเหลือ.
อีกอย่างหนึ่ง ชื่อว่า ปราศจากธุลี เพราะไม่มีธุลีคือกิเลส อันโสดาปัตติ-
มรรคพึงฆ่า ชื่อว่า ปราศจากมลทิน เพราะปราศจากความเป็นผู้ทุศีล 5
อย่าง. บทว่า ธมฺมจกฺขุํ ท่านหมายถึงโสดาปัตติผล. เพื่อจะทรงแสดง
อาการเกิดขึ้นแห่งธรรมจักษุนั้น จึงตรัสว่า สิ่งใดสิ่งหนึ่ง มีความเกิดขึ้น
เป็นธรรมดา สิ่งนั้นทั้งมวลล้วนมีความดับไปเป็นธรรมดา. ก็ธรรม
จักษุนั้น แม้ทำนิโรธให้เป็นอารมณ์แล้ว ก็แทงทะลุปรุโปร่ง ซึ่งสังขต-
ธรรม ด้วยอำนาจกิจนั้นแล เกิดขึ้น. ในข้อนั้น มีการเทียบเคียงอุปมา
ดังต่อไปนี้ จิตพึงเห็นเหมือนผ้า. ภาวะที่จิตเศร้าหมองด้วยมลทินมีราคะ

เป็นต้น พึงเห็นเหมือนภาวะที่ผ้าเปื้อนด้วยมลทินที่จรมาฉะนั้น. อนุ-
ปุพพิกถา พึงเห็นเหมือนแผ่นกระดานสำหรับซัก. ศรัทธา พึงเห็นเหมือน
น้ำ. การใช้น้ำคือศรัทธาชะโลมให้ชุ่ม แล้วใช้สติสมาธิและปัญญา ทำ
โทสะให้หย่อนลง แล้วปรารภความเพียร ชำระจิตให้สะอาด ด้วยวิธีมี
สุตะเป็นต้น พึงเห็นเหมือนการเอาน้ำแช่ผ้าให้เปียก แล้วใช้น้ำด่างโคมัย
ขยำที่จุดดำ เพราะการประกอบนั้น. อริยมรรคพึงเห็นเหมือนน้ำย้อม.
การชำระจิตที่ข่มกิเลสได้แล้วให้ผ่องแผ้วด้วยมรรค พึงเห็นเหมือนผ้าที่
สะอาดผ่องใส ด้วยการซักย้อมนั้นฉะนั้น.
ก็สุปปพุทธะ นั่งที่ท้ายบริษัท สดับพระธรรมเทศนา บรรลุโสดา-
ปัตติผลอย่างนี้แล้ว มีความประสงค์จะกราบทูลถึงคุณที่ตนได้รับแด่พระ-
ศาสดา เมื่อไม่อาจหยั่งลงสู่ท่ามกลางบริษัทได้ ในเวลาที่มหาชนถวาย
บังคมพระศาสดา แล้วตามส่งเสด็จแล้วกลับ เมื่อพระผู้มีพระภาคเจ้า
เสด็จไปยังพระวิหาร แม้ตนเองก็ได้ไปยังพระวิหารด้วย. ขณะนั้น ท้าว
สักกเทวราช ทรงทราบว่า สุปปพุทธกุฏฐินี้ มีความประสงค์จะประกาศ
คุณที่ตนได้รับพระศาสนา ของพระศาสดาให้ปรากฏ คิดจักทดลองเธอ
จึงเสด็จไป ประทับอยู่ในอากาศ ได้ตรัสคำนี้ว่า สุปปพุทธะ เธอเป็น
คนขัดสน เป็นคนกำพร้า เป็นคนยากไร้ เราจะให้ทรัพย์ อันหาประมาณ
มิได้ แก่เธอ แต่เธอจงพูดว่า พระพุทธ ไม่ใช่พระพุทธ พระธรรม
ไม่ใช่พระธรรม พระสงฆ์ ไม่ใช่พระสงฆ์ เราพอกันที ด้วยพระพุทธ
เราพอกันที ด้วยพระธรรม เราพอกันที ด้วยพระสงฆ์. ลำดับนั้น
สุปปพุทธะจึงกล่าวกะท้าวสักกนั้นว่า ท่านเป็นใคร ? ตอบว่า เราเป็น
ท้าวสักกเทวราช. สุปปพุทธกุฏฐิกล่าวว่า ดูก่อนอันธพาล ผู้ไม่มียางอาย

ท่านกล่าวคำที่ไม่ควรจะกล่าวอย่างนี้ ไม่สมควรพูดกับเราเลย อนึ่ง
เพราะเหตุไร ท่านจึงพูดกับเราว่า เป็นคนเข็ญใจ ขัดสน กำพร้า เราเป็น
โอรสบุตรของพระโลกนาถเจ้ามิใช่หรือ เราไม่ใช่คนเข็ญใจ ขัดสน
กำพร้า ที่จริงแล เราได้รับความสุขด้วยความสุขอย่างยิ่ง มีทรัพย์มาก
ดังนี้แล้ว จึงกล่าวว่า
บุคคลใด ไม่เลือกว่าจะเป็นหญิงหรือชาย มี
ทรัพย์ 7 อย่างคือ ทรัพย์คือศรัทธา ทรัพย์คือศีล
ทรัพย์คือหิริ ทรัพย์คือโอตตัปปะ ทรัพย์คือสุตะ
ทรัพย์คือจาคะ และทรัพย์คือปัญญา บัณฑิตเรียก
บุคคลนั้นว่าไม่เข็ญใจ และชีวิตของเขาไม่เปล่า.

ดังนั้น เรานั้น จึงชื่อว่าอริยทรัพย์ 7 ประการนี้ เพราะบุคคล
ผู้มีอริยทรัพย์เหล่านี้ พระพุทธเจ้า หรือพระปัจเจกพุทธเจ้า ไม่ตรัสเรียก
ว่า เป็นคนเข็ญใจ. ท้าวสักกะทรงสดับถ้อยคำของเขาแล้ว จึงละเขาไว้
ในระหว่างทางแล้ว เสด็จไปเฝ้าพระศาสดา กราบทูลคำและคำตอบทั้งหมด
นั้นแด่พระศาสดา. ลำดับนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสกะท้าวสักกะว่า
ดูก่อนสักกะ เทพเช่นท่าน แม้ตั้งร้อย ตั้งพัน ก็ไม่อาจจะให้สุปปพุทธ-
กุฏฐิ กล่าวว่า พระพุทธ ไม่ใช่พระพุทธ พระธรรม ไม่ใช่พระธรรม
พระสงฆ์ ไม่ใช่พระสงฆ์. แม้สุปปพุทธกุฏฐิแล ก็ไปเฝ้าพระศาสดา
พระศาสดาทรงกระทำปฏิสันถารแล้ว จึงกราบทูลถึงคุณที่ตนได้รับ. ด้วย
เหตุนั้น ท่านจึงกล่าวว่า อถ โข สุปฺปพุทฺโธ กุฏฺฐี ทิฏฺฐธมฺโม ปตฺต-
ธมฺโม
ดังนี้เป็นต้น.

บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า ทิฏฺฐธมฺโม ความว่า ชื่อว่า ผู้เห็น
ธรรม เพราะเห็นอริยสัจจธรรม. แม้ในบทที่เหลือก็นัยนี้เหมือนกัน.
บรรดาบทเหล่านั้น ธรรมศัพท์ ในบทว่า ทิฏฺฐธมฺโม นี้ บ่งถึงคำสามัญ
ชื่อว่า ทัสสนะ แม้อื่นไปจากญาณทัสสนะก็ยังมี เพราะเหตุนั้น ทัสสนะ
นั้น ท่านเรียกว่า ปตฺตธมฺโม เพื่อแสดงนิวัตตนะ (นิโรธสัจ). ก็การ
บรรลุแม้อื่นจากญาณสมบัติ ก็ยังมี เพราะเหตุนั้น ท่านจึงเรียกว่า
วิทิตธมฺโม ผู้รู้แจ้งธรรม เพื่อให้แปลกไปจากญาณทัสสนะนั้น. ก็ความ
เป็นผู้รู้แจ้งธรรมนี้นั้น จัดเป็นส่วนหนึ่งในธรรมทั้งหลาย เพราะฉะนั้น
เพื่อจะแสดงความเป็นผู้รู้แจ้งธรรมนั้น โดยทุกส่วน ท่านจึงกล่าวว่า
ปริโยคาฬฺหธมฺโม ผู้หยั่งถึงธรรม. เพราะเหตุนั้น พระองค์จึงทรงแสดง
เฉพาะการตรัสรู้สัจจะตามที่กล่าวแล้วแก่เขา. จริงอยู่ มรรคญาณให้สำเร็จ
ปริญญากิจเป็นต้น ด้วยอำนาจการตรัสรู้ครั้งเดียว ชื่อว่า หยั่งลงสู่ไญย-
ธรรมโดยทุกส่วน รอบด้าน ไม่ใช่ญาณอื่นนอกจากมรรคญาณนั้น. ด้วย
เหตุนั้น ท่านจึงกล่าวว่า ทิฏฺโฐ อริยสจฺจธมฺโม เอเตนาติ ทิฏฺฐธมฺโม
ดังนี้เป็นต้น. เพราะเหตุนั้นนั่นแล ท่านจึงกล่าวคำมีอาทิว่า ติณฺณวิจิ-
กิจฺโฉ
ผู้ข้ามความสงสัยได้แล้ว ดังนี้.
ในธรรมเหล่านั้น ผู้ชื่อว่า ข้ามความสงสัยได้แล้ว เพราะข้าม
ความสงสัยมีวัตถุ 16 ประการ และมีวัตถุ 8 ประการ ซึ่งเป็นเสมือน
หนทางกันดารที่มีภัย. ในบรรดาธรรมมีปวัตติ (ทุกขสัจ) เป็นต้น จาก
ธรรมนั้นนั่นแล ชื่อว่า ผู้ปราศจากความเคลือบแคลง เพราะปราศจาก
คือ ตัดขาดความเคลือบแคลงที่เป็นไปอย่างนี้ว่า เราได้เป็นอย่างนี้หรือ
ไม่หนอ. ชื่อว่า ถึงความแกล้วกล้า เพราะถึงความแกล้วกล้า คือภาวะ

แห่งผู้องอาจ ได้แก่ ความเป็นผู้เชี่ยวชาญ เพราะละบาปธรรมที่ทำความ
ไม่แกล้วกล้า และเพราะตั้งอยู่ด้วยดีในคุณมีศีลเป็นต้น อันเป็นข้าศึกต่อ
บาปธรรมนั้น. ชื่อว่า ไม่ต้องมีคนอื่นสนับสนุนในศาสนาของพระศาสดา
เพราะไม่มีคนอื่นสนับสนุน คือ ไม่ได้ประพฤติในศาสนานี้ โดยเชื่อต่อ
ผู้อื่น. ในคำว่า อภิกฺกนฺตํ ภนฺเต เป็นต้น มีวินิจฉัยดังต่อไปนี้ อภิกฺกนฺเต
ศัพท์นี้ ปรากฏในอรรถหลายอย่าง มีอรรถว่า สิ้นไป ดี งาม และ
อนุโมทนายิ่ง เป็นต้น แม้โดยแท้ ถึงอย่างนั้น ในที่นี้ พึงเห็น
อภิกฺกนฺตศัพท์ ใช้ในอรรถว่า อนุโมทนายิ่ง. ด้วยเหตุนั้นนั่นแล อภิกกันต
ศัพท์นั้น ท่านจึงกล่าวไว้ถึง 2 ครั้ง คือ ด้วยความเลื่อมใส 1 ด้วย
ความสรรเสริญ 1 อธิบายว่า ดีละ ดีละ พระเจ้าข้า. อีกอย่างหนึ่ง
บทว่า อภิกฺกนฺตํ แปลว่า น่าใคร่ น่าปรารถนา น่าชอบใจยิ่ง อธิบายว่า
ดียิ่ง. ใน 2 ศัพท์นั้น สุปปพุทธกุฏฐิ ชมเชยเทศนาของพระผู้มีพระภาค-
เจ้า ด้วย อภิกกันตศัพท์ ศัพท์หนึ่ง ชมเชยความเลื่อมในของตน ด้วย
อภิกกันตศัพท์ อีกศัพท์หนึ่ง. จริงอยู่ ในข้อนั้น มีอธิบายดังต่อไปนี้
พระธรรมเทศนาของพระผู้มีพระภาคเจ้า แจ่มแจ้งนัก พระเจ้าข้า ความ
เลื่อมใสของข้าพระองค์ เพราะอาศัยพระธรรมเทศนา ของพระผู้มีพระ-
ภาคเจ้า แจ่มแจ้งนัก พระเจ้าข้า. อีกอย่างหนึ่ง สุปปพุทธกุฏฐิ กล่าว
2. บทชมเชยพระดำรัสของพระผู้มีพระภาคเจ้าเท่านั้นว่า แจ่มแจ้งนัก
โดยให้โทสะพินาศไป แจ่มแจ้งนัก โดยบรรลุคุณ แจ่มแจ้งนัก โดยนำ
มาซึ่งศรัทธา โดยให้เกิดปัญญา โดยพร้อมด้วยอรรถ โดยพร้อมด้วย
พยัญชนะ โดยบทอันง่าย โดยอรรถอันลึกซึ้ง โดยสบายหู โดยจับใจ
โดยไม่ยกตน โดยไม่ข่มผู้อื่น โดยความเยือกเย็นเพราะพระกรุณา โดย

ความผ่องแผ้วแห่งปัญญา โดยประสบอารมณ์ โดยทนต่อการย่ำยี โดย
เป็นความสุขแก่ผู้ฟัง โดยเป็นประโยชน์แก่ผู้ใคร่ครวญ. ต่อแต่นั้น จึง
ชมเชย เฉพาะเทศนาด้วยอุปมา 4 ข้อ.
บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า นิกฺกุชฺชิตํ ได้แก่ วางคว่ำไว้ หรือ
เอาปากไว้ล่าง. บทว่า อุกฺกุชฺเชยฺย ได้แก่ พึงหงายขึ้น. บทว่า ปฏิจฺฉนฺนํ
ได้แก่ ปิดไว้ด้วยหญ้าและใยไม้เป็นต้น. บทว่า วิวเรยฺย แปลว่า พึงเปิด.
บทว่า มุฬฺหสฺส ได้แก่ ผู้หลงทิศ. บทว่า มคฺคํ อาจิกฺเขยฺย ความว่า
พึงจักมือแล้ว ชี้ทางว่า นั่นทาง. บทว่า อนฺธกาเร ได้แก่ ในที่มืด
ประกอบด้วยองค์ 4 นี้เป็นอรรถเฉพาะบทก่อน. ส่วนการประกอบ
อธิบาย มีดังต่อไปนี้ พระผู้มีพระภาคเจ้า เมื่อให้เราเบือนหน้าจาก
พระสัทธรรม ตกอยู่ในอสัทธรรมแล้วให้ออกจากอสัทธรรม เหมือน
ใคร ๆ พึงหงายภาชนะที่คว่ำไว้ฉะนั้น ทรงเปิดเผยพระศาสนา ที่รกชัฏ
คือมิจฉาทิฏฐิปิดบังไว้ ตั้งแต่พระศาสนาของพระผู้มีพระภาคเจ้า ทรง
พระนามว่า กัสสปะ อันตรธานไป เหมือนบุคคลเปิดภาชนะที่ปิดบังไว้
ฉะนั้น ทรงกระทำให้แจ้งซึ่งทางสวรรค์และนิพพาน แก่เราผู้ดำเนินไป
ในทางชั่วทางผิด เหมือนบุคคลบอกทางแก่คนหลงทางฉะนั้น เมื่อเรา
จมอยู่ในความมืด คือโมหะ ไม่เห็นรูปรัตนะมีพุทธรัตนะเป็นต้น จึง
ทรงประกาศธรรมโดยอเนกปริยาย เพราะประกาศโดยนัยต่าง ๆ โดยทรง
ไว้ซึ่งความโชติช่วง แห่งเทศนาอันกำจัดมืดคือโมหะ ซึ่งเป็นตัวปกปิด
ัรัตนะมีพุทธรัตนะเป็นต้นไว้ เหมือนบุคคลตามประทีปไว้ในที่มืดฉะนั้น.
ครั้นชมเชยเทศนาอย่างนี้แล้ว มีจิตเลื่อมใสในพระรัตนตรัยด้วยเทศนานั้น
เมื่อจะทำอาการเลื่อมใส จึงกล่าวคำมีอาทิว่า เอสาหํ ดังนี้.

บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า เอสาหํ ตัดเป็น เอโส อหํ. บทว่า
ภควนฺตํ สรณํ คจฺฉามิ ความว่า ข้าพระองค์ ขอถึง ขอคบ ขอรู้ หรือ
ว่า ขอหยั่งรู้ พระผู้มีพระภาคเจ้า โดยความประสงค์นี้ว่า พระผู้มีพระ-
ภาคเจ้าเป็นสรณะ เป็นที่ยึดหน่วงในเบื้องหน้า เป็นที่กำจัดทุกข์ เป็นที่
ทรงไว้ซึ่งประโยชน์เกื้อกูล ของข้าพระองค์. จริงอยู่ คติ เป็นอรรถ
ของธาตุเหล่าใด ถึงพุทธิ ก็เป็นอรรถของธาตุเหล่านั้น. บทว่า ธมฺมํ
ความว่า ชื่อว่าธรรม เพราะทรงไว้ซึ่งผู้บรรลุมรรค ผู้กระทำให้แจ้งซึ่ง
นิโรธ ผู้ปฏิบัติตามที่ทรงพร่ำสอน ไม่ให้ตกไปในอบาย 4. พระธรรม
นั้น โดยอรรถก็คือ อริยมรรคและพระนิพพานนั่นเอง. สมจริงดังพระ-
ดำรัสที่พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสไว้ว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ธรรมทั้งหลาย
ที่เป็นสังขตะ มีประมาณเพียงใด อริยมรรคมีองค์ 8 เราตถาคตกล่าวว่า
เลิศกว่าสังขตธรรมเหล่านั้น และว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ธรรมทั้งหลาย
ี่ที่เป็นสังขตะก็ดี อสังขตะก็ดี มีประมาณเพียงใด วิราคธรรม เรา
ตถาคตกล่าวว่า เลิศ กว่าสังขตธรรม หรือ อสังขตธรรมเหล่านั้น. ไม่ใช่
เพียงอริยมรรค และพระนิพพานอย่างเดียวเท่านั้น ที่ตถาคตกล่าวว่าเลิศ
ถึงแม้พระปริยัติธรรมพร้อมด้วยอริยผล เราตถาคตก็กล่าวว่าเลิศเหมือน
กัน. สมจริงดังพระดำรัสที่ตรัสไว้ว่า
เธอจงเข้าถึงธรรมนี้ อันเป็นที่สำรอกราคะ ไม่
เอนเอียง ไม่เศร้าโศก ไม่มีปัจจัยปรุงแต่ง ไม่น่า
รังเกียจ ไพเราะช่ำชอง ที่จำแนกไว้ดีแล้ว เพื่อเป็น
ที่พึ่ง.

จริงอยู่ ในพระคาถาว่า มรรคตรัสว่า เป็นธรรมเครื่องสำรอกราคะ.
บทว่า อเนชมโสกํ ได้แก่ อริยผล. บทว่า อสงฺขตํ ได้แก่ พระนิพพาน.
ด้วยคำว่า อปฺปฏิกูลํ มธุรมิมํ ปคุณํ สุวิภตฺตํ นี้ ทรงประสงค์ถึง
พระปริยัติธรรม. บทว่า ภิกฺขุสงฺฆํ ได้แก่ หมู่พระอริยบุคคล 8 ผู้
ทัดเทียมกัน โดยความเสมอกัน ด้วยทิฏฐิและศีล. ด้วยลำดับคำเพียง
เท่านี้ สุปปพุทธะ ได้ประกาศถึงไตรสรณคมน์.
บทว่า อชฺชตคฺเค ในคำว่า อุปาสกํ มํ ภาวา ธาเรตุ อชฺชตคฺเค
ปาณุเปตํ สรณํ คตํ
นี้ แปลว่า ตั้งแต่วันนี้เป็นต้นไป. บาลีว่า อชฺชทคฺเค
ดังนี้ก็มี. ท อักษรในบทว่า อชฺชทคฺเค นี้ ทำการเชื่อมบท ความว่า
อชฺช อคฺเค อชฺเช อาทึ กตฺวา แปลว่า ในที่สุดวันนี้ คือ ตั้งแต่วันนี้เป็น
ต้นไป. บทว่า ปาณุเปตํ ได้แก่ ประกอบด้วยลมปราณ อธิบายว่า ชีวิต
ของข้าพระองค์ยังเป็นไปอยู่ตราบใด ขอพระผู้มีพระภาคเจ้า จงทรงทำ
คือ จงทรงทราบข้าพระองค์ว่า ผู้เข้าถึง คือผู้ถึงสรณะ ด้วยไตรสรณคมน์
อันไม่ทั่วไปแก่ศาสดาอื่น ผู้ชื่อว่าเป็นอุบาสก คือ เป็นกัปปิยการก เพราะ
เข้าถึงพระรัตนตรัยตราบนั้น. ก็การถึงสรณคมน์ของสุปปพุทธะนี้เป็นสำเร็จ
แล้ว ด้วยการบรรลุอริยมรรคนี้แล้ว แต่เมื่อจะทำอัธยาศัย (ของตน)
แจ่มแจ้ง จึงได้กราบทูลอย่างนั้น
บทว่า ภควโต ภาสิตํ อภินนฺทิตฺวา อนุโมทิตฺวา ความว่า ครั้นมี
ในบันเทิงพระดำรัสของพระผู้มีพระภาคเจ้า เมื่อจะประกาศว่าตนบัน-
เทิงพระดำรัสนั้นนั่นแล จึงอนุโมทนา ด้วยวาจา โดยนัยดังกล่าวไว้แล้ว
บทว่า อภิวาเหตฺวา ปทกฺขิณํ กตฺวา ปกฺกามิ ความว่า ครั้งถวายบังคม
พระผู้มีพระภาคเจ้านั้น ด้วยเบญจางคประดิษฐ์ ความว่า ครั้นถวายบังคม

มีจิตน้อมไปในคุณของพระศาสดา พลางเพ่งดูประคองอัญชลี น้อมนมัส-
การพระผู้มีพระภาคเจ้านั้นแล จนลับสายตาจึงหลีกไป. ก็สุปปพุทธะ
ผู้หลีกไป ซึ่งมีมือเท้าและนิ้วด้วน เพราะถูกโรคเรื้อนครอบงำ มีตัว
เปื้อนคูถ มีของไม่สะอาดไหลออกรอบตัว ถูกฝีบีบคั้นไม่สะอาด มีกลิ่น
เหม็น น่าเกลียดยิ่งนัก ถึงความเป็นผู้น่าสงสารอย่างยิ่ง ถูกแม่โคลูกอ่อน
ซึ่งถูกบาปกรรมอันเข้าไปตัดรอนให้เป็นไปพร้อมเพื่ออายุน้อย ที่ตนสั่ง
สมกระทำไว้ตักเตือนอยู่ พอเมื่อบุญกรรมอันให้เป็นไปพร้อมเพื่อสวรรค์
ได้โอกาส เหมือนความมุ่งหมายที่เกิดขึ้นว่า กายนี้ไม่สมควร เพื่อเป็นที่
รองรับอริยธรรม อันประณีตยิ่งนัก ซึ่งสงบอย่างแท้จริงนี้ ดังนี้ จึง
ขวิดให้ล้มลงตายไป. ด้วยเหตุนั้น ท่านจึงกล่าวว่า ครั้งนั้นแล แม่โค
ลูกอ่อนชนสุปปพุทธกุฏฐิ ผู้หลีกไปไม่นานให้ล้มลง ปลงเสียจากชีวิต

ดังนี้เป็นต้น.
เล่ากันมาว่า ในอดีตกาล สุปปพุทธกุฏฐินั้นเป็นบุตรเศรษฐีคนหนึ่ง
กำลังกับบุตรเศรษฐี 3 คน ผู้เป็นสหายของตน นำหญิงแพศยางาม
เมืองคนหนึ่ง ไปสู่อุทยาน เสวยสมบัติตลอดวัน เมื่อพระอาทิพย์ลับไป
ได้กล่าวคำนี้กะสหายทั้งหลายว่า ทองคำเป็นจำนวนมากมีถึงพันมหาปณะ
และเครื่องประดับมีค่ามาก มีอยู่ในมือของหญิงคนนี้ ในที่นี้ไม่มีใครอื่น
และก็ค่ำแล้ว เอาเถอะ พวกเราจะช่วยกันฆ่าหญิงนี้เสียให้ตายแล้ว ถือเอา
ทรัพย์ทั้งหมดไป. คนทั้ง 4 นั้น มีอัธยาศัยเป็นอันเดียวกัน จึงเข้าไป
เพื่อจะฆ่าหญิงนั้น. หญิงคนนั้นเมื่อถูกพวกเขาจะฆ่า จึงตั้งความปรารถนา
ว่า คนพวกนี้ไม่มียางอาย ไร้ความกรุณา ความสันถวะด้วยอำนาจกิเลสกับ
เราแล้ว ยังจะฆ่าเราผู้ไม่มีความผิด เพราะความโลภในทรัพย์อย่างเดียว

คนพวกนี้ ฆ่าเราครั้งเดียวก่อน ส่วนเราขอให้ได้เกิดเป็นยักษิณี ก็สามารถ
เพื่อจะฆ่าคนพวกนี้ได้หลายครั้ง ดังนี้แล้วจึงตายไป. ได้ยินว่า ในคน
เหล่านั้น คนหนึ่งได้เป็นกุลบุตร ชื่อว่า ปุกกุสะ คนหนึ่งเป็นพาหิย-
ทารุจีริยะ คนหนึ่งเป็นเพชฌฆาตเคราแดง และคนเหนึ่งเป็นสุปปพุทธกุฏฐิ
ในหลายร้อยอัตภาพ ของคนทั้ง 4 ดังว่ามานี้ นางเกิดเป็นแม่โคใน
กำเนิดยักษ์ ปลงชีวิต (ของคนเหล่านั้น). ก็ด้วยวิบากของกรรมนั้น คน
เหล่านั้น จึงถึงความตายในระหว่างอัตภาพนั้น ๆ. สุปปพุทธกุฏฐิ ตาย
โดยฉับพลัน ด้วยอาการอย่างนี้. ด้วยเหตุนั้น ท่านจึงกล่าวว่า อถ โข
อจิรปกฺกนฺตํ ฯ เป ฯ โวโรเปสิ
ดังนี้เป็นต้น.
ครั้งนั้นแล ภิกษุหลายรูป กราบทูลการทำกาละของสุปปพุทธกุฏฐิ
แด่พระผู้มีพระภาคเจ้าแล้ว จึงทูลถามถึงเบื้องหน้า (ของเขา). พระ-
ผู้มีพระภาคเจ้า ทรงตรัสพยากรณ์แล้ว. ด้วยเหตุนั้น ท่านจึงกล่าวว่า
อถ โข สมฺพหุลา ภิกฺขู เป็นต้น.
บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า ติณฺณํ สํโยชนานํ ปริกฺขยา ความว่า
เพราะการละโดยสมุจเฉทเด็ดขาดซึ่งเครื่องผูกในภพสามนี้ คือ สักกาย-
ทิฏฐิ วิจิกิจฉา และสีลัพพตปรามาส. บทว่า โสตาปนฺโน ได้แก่ผู้บรรลุ
อริยมรรค กล่าวคือ กระแสครั้งแรก. สมจริงดังคำที่ท่านกล่าวไว้ว่า
อาวุโส สารีบุตร ท่านกล่าวว่า โสโต โสโต นี้ อาวุโส โสตะ เป็นไฉน
หนอแล คือ อริยมรรคมีองค์ 8 นี้แหละ ชื่อว่า โสตะ ดังนี้เป็นต้น.
บทว่า อวินิปาตธมฺโม แปลว่า ไม่มีการตกต่ำเป็นธรรมดา. ชื่อว่าผู้มี
ความไม่ตกต่ำเป็นธรรมดา เพราะท่านไม่มีความตกต่ำไปเป็นธรรมดา
อธิบายว่า ไม่มีการตกไปด้วยอำนาจการเกิดในอบาย 4 มีสภาวะ.

บทว่า นิยโต ได้แก่ แน่นอนโดยธรรมนิยาม คือ โดยการกำหนดแน่นอน.
บทว่า สมฺโพธิปรายโน ความว่า ชื่อว่า เป็นผู้ที่จะตรัสรู้ในเบื้องหน้า
เพราะการตรัสรู้ กล่าวคือมรรคสามเบื้องสูง พึงเป็นที่ไป เป็นคติ เป็น
ที่พึ่งอาศัยในเบื้องหน้า คือ อันตนจะพึงบรรลุแน่แท้. ด้วยเหตุนั้น พระ-
ผู้มีพระภาคเจ้า จึงแสดงเนื้อความนี้ไว้ว่า เมื่อมีคำถามว่า คติของเขา
เป็นอย่างไร ภพหน้าของเขาเป็นอย่างไร ก็ตรัสว่า คติของสุปปพุทธะ
เจริญแล ไม่เสื่อม. แต่คติไม่สมบูรณ์ เพราะกรรมนั้น. ก็พระองค์ผู้เป็น
พระธรรมราชา ทรงมีพระประสงค์จะประกาศความนั้น อันเนื่องด้วย
ความสืบต่อแห่งคำถาม จึงได้ภาษิตความไว้เพียงเท่านี้แล. จริงอยู่ พระ-
ผู้มีพระภาคเจ้า ทรงเห็นว่า เมื่อเรากล่าวคำเพียงเท่านี้ บรรดาผู้มีสติ
รอบคอบเหล่านี้เท่านั้น ภิกษุรูปหนึ่ง ผู้ฉลาดในอนุสนธิ จักถามถึงเหตุ
ว่า สุปปพุทธะ เป็นโรคเรื้อน เป็นคนเข็ญใจ และเป็นคนกำพร้า เมื่อ
เป็นเช่นนั้น เราจักประกาศ เหตุข้อนั้นของสุปปพุทธะ ด้วยความสืบต่อ
แห่งคำถามนั้นแล้วจบเทศนาลง. ด้วยเหตุนั้นนั่นแล พระองค์จึงตรัสว่า
เอวํ วุตฺเต อญฺญตโร ภิกฺขุ ดังนี้เป็นต้น.
บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า เหตุ ได้แก่ เหตุที่ไม่ทั่วไป. ส่วนเหตุ
ที่ทั่วไป ได้แก่ ปัจจัยแล. เหตุทั้งสองอย่างนั้น มีความแปลกกัน ดังนี้.
บทว่า เยน ได้แก่ ด้วยเหตุและด้วยปัจจัยใด. บทว่า ภูตปุพฺพํ ได้แก่
เหตุที่เคยเกิดแล้ว. เพื่อจะแสดงความที่เหตุเกิดในอดีตกาล ท่านจึงกล่าว
คำว่า สุปฺปพุทฺโธ ดังนี้เป็นต้น.
ถามว่า ก็เหตุเกิดขึ้นในกาลไหน ? ข้าพเจ้าจะเฉลย. เล่ากันมาว่า
ในอดีตกาล เมื่อพระตถาคตยังไม่เสด็จอุบัติ กุลธิดาคนหนึ่ง ในบ้านแห่ง

หนึ่ง รักษานารอบกรุงพาราณสี. นางเห็นพระปัจเจกพุทธเจ้ารูปหนึ่ง
มีจิตเลื่อมใส จึงถวายดอกปทุมดอกหนึ่ง พร้อมด้วยข้าวตอก 500 แด่
พระปัจเจกพุทธเจ้านั้นแล้ว ตั้งปรารถนาได้บุตร 500 คน. ก็ในขณะ
นั้นนั่นเอง พรานเนื้อ 500 คน ก็ถวายเนื้อมีรสอร่อย แด่พระปัจเจก-
พุทธเจ้าแล้ว ตั้งความปรารถนาว่า ขอพวกเราพึงเป็นลูกของนาง และ
ว่าขอพวกเราพึงได้คุณวิเศษที่ท่านได้รับแล้ว. นางดำรงอยู่จนชั่วอายุแล้ว
บังเกิดในเทวโลก จุติจากเทวโลกนั้นแล้ว บังเกิดในกลีบปทุม ในสระ
ที่เกิดขึ้นเองแห่งหนึ่ง. ดาบสตนหนึ่งพบนางเข้าจึงเลี้ยงดู. เมื่อนางเที่ยว
ไป ดอกปทุมทั้งหลาย ก็ผุดขึ้นจากพื้นดินทุก ๆ ย่างเท้า. พรานไพรคน
หนึ่งเห็นเข้าจึงกราบทูลแด่พระเจ้าพาราณสี. พระราชาทรงรับสั่งให้นำ
นางมาแล้ว ตั้งให้เป็นอัครมเหสี. นางตั้งครรภ์แล้ว. มหาปทุมกุมาร
อยู่ในท้องของนาง. ส่วนพระกุมารที่เหลือ อาศัยมลทินครรภ์บังเกิด.
พระกุมารเหล่านั้น เจริญวัยแล้ว พากันเล่นในสระปทุมในพระราชอุทยาน
นั่งในดอกปทุมคนละดอก มีญาณแก่กล้าเริ่มตั้งความสิ้นไปและเสื่อมไป
ในสังขารทั้งหลาย แล้วบรรลุปัจเจกโพธิญาณ. พระปัจเจกพุทธเจ้าเหล่า
นั้นได้มีคาถาพยากรณ์ว่า
ท่านจงดูใบและกลีบ ของดอกปทุมที่เกิดขึ้นใน
สระ บานเต็มที่แล้ว ก็เกลื่อนกล่นไปด้วยหมู่ภมร
โดยเป็นของไม่เที่ยง พอเห็นความไม่เที่ยงนั้นแล้ว
พึงเป็นผู้เดียวเที่ยวไปดังนอแรดเถิด.

พระปัจเจกสัมพุทธเจ้า นามว่า ตครสิขี ผู้อยู่ในภายในพระปัจเจก-
พุทธเจ้า 500 รูปเหล่านั้น ผู้บรรลุปัจเจกโพธิญาณอย่างนั้น เข้านิโรธ-

สมาบัติตลอด 7 วัน ที่เงื้อมนันทมูลกะ ณ คันธมาทนบรรพต ล่วงไป
7 วัน จึงออกจากนิโรธ เหาะมาลงที่อิสิคิลิบรรพต ในเวลาเช้า ครองผ้า
แล้วถือบาตรและจีวรแล้ว เข้าไปบิณฑบาตยังกรุงราชคฤห์. ก็ในสมัยนั้น
ในกรุงราชคฤห์ มีบุตรเศรษฐี คนหนึ่ง พร้อมด้วยบริวารหมู่ใหญ่ ออก
จากพระนคร เพื่อกรีฑาในอุทยาน พบพระปัจเจกพุทธเจ้า นามว่า
ตครสิขี คิดว่า ใครนี่ หัวโล้น ครองผ้ากาสาวะ จักเป็นคนโรคเรื้อน
เอาผ้าของคนโรคเรื้อน คลุมร่างกายไปอย่างนั้นแล ดังนี้แล้วจึงถ่มน้ำลาย
หลีกไปทางเบื้องซ้าย ซึ่งท่านหมายกล่าวไว้ว่า สุปฺปพุทฺโธ กุฏฺฐี
อิมสฺมึเยว ราชคเห ฯ เป ฯ ปกฺกามิ
ดังนี้เป็นต้น.
บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า กฺวายํ ตัดเป็น โก อยํ (คือ) เรา
กล่าวโดยการขู่. บาลีว่า โกวายํ ดังนี้ก็มี. ด้วยบทว่า กุฏฺฐิ เขากล่าว
ถึงท่านผู้ไม่เป็นโรคเรื้อน ผู้แสวงหาคุณอันยิ่งใหญ่นั้นแล ว่าเป็นโรค
เรื้อน ให้ถึงอักโกสวัตถุ. บทว่า กุฏฺฐิจีวเรน แปลว่า ด้วยจีวรของคน
โรคเรื้อน. ท่านแสดงว่า ก็แม้พระปัจเจกพุทธเจ้านี้ก็เหมือนคนโรคเรื้อน
โดยมากที่ถือเอาผ้าอย่างใดอย่างหนึ่งมานุ่งห่ม เพื่อป้องกันเหลือบยุง
เป็นต้น และเพื่อป้องกันโรค. อีกอย่างหนึ่ง เพราะเหตุที่ท่านทรงผ้า
บังสุกุลจีวร เจาจึงดูหมิ่นว่า เป็นเหมือนร่างของคนขี้เรื้อน เพราะผ้าปะ
มีสีหลายอย่าง จึงกล่าวว่า กุฏฺฐิจีวเรน ดังนี้. บทว่า นิฏฺฐุหิตฺวา ได้แก่
ถ่มน้ำลาย. บทว่า อปพฺยามโต กริตฺวา ความว่า บัณฑิตทั้งหลาย เห็น
พระปัจเจกพุทธเจ้าผู้เช่นนั้น ไหว้แล้วกระทำประทักษิณ แต่บุรุษโรคเรื้อน
นี้เดินไปทางซ้ายพระปัจเจกพุทธเจ้านั้น คือให้ทานอยู่ด้านซ้ายมือตนเดิน
ไปด้วยความดูหมิ่น เพราะความที่ตนไม่เป็นวิญญูชน. ปาฐะว่า อปวามโต

ดังนี้ก็มี. บทว่า ตสฺส กมฺมสฺส ได้แก่ กรรมชั่วที่เป็นไป ด้วยการ
ดูหมิ่นพระปัจเจกพุทธเจ้านามว่าตครสิขีว่า ใครนี้เป็นโรคเรื้อน แล้วจึง
ถ่มน้ำลายหลีกไปทางซ้าย. บทว่า นิรเย ปจิตฺถ ได้แก่ เขาถูกไฟนรก
ไหม้. อาจารย์บางพวกกล่าวว่า ปจิตฺวา นิรยคฺคินา ดังนี้ก็มี. บทว่า
ตสฺเสว กมฺมสฺส วิปากวเสเสน ได้แก่ เขาถือปฏิสนธิในนรกด้วย
กรรมใด กรรมนั้น ย่อมไม่ให้ผลในมนุษยโลก อนึ่ง เวทนาของเขาอัน
เป็นไปในขณะต่างกัน เป็นไปด้วยอำนาจการปฏิบัติผิดในพระปัจเจก-
พุทธเจ้า ในเวลานั้น เป็นกรรมอำนวยผลในภพต่อ ๆ ไป เมื่อวิบากกรรม
ให้ปฏิสนธิเป็นไตรเหตุ ในพวกมนุษย์เพราะบุญกรรมอันเป็นตัวอำนวย
ผลในภพอื่น ๆ นั้นแล แต่ให้ถึงความเป็นโรคเรื้อน เป็นคนเข็ญใจ
และเป็นคนน่าสงสารนั้นนั่นเอง ด้วยอำนาจความเป็นกรรมมีส่วนเสมอกัน.
จริงอยู่ การบัญญัติกรรมนั้น ปรากฏแล้วในโลกแม้เช่นนี้ เหมือนการ
บัญญัตินั่นแลว่า สิ่งที่มีรสขมเท่านั้นเป็นโอสถ. ครั้นทรงแก้ปัญหาที่ภิกษุ
นั้นทูลถามว่า เหตุอะไรหนอ พระเจ้าข้า ดังนี้ ด้วยลำดับคำเพียงเท่านี้ บัดนี้
เพื่อจะแก้ปัญหาที่ภิกษุทั้งหลายถามในกาลก่อนว่า ท่านมีคติเป็นอย่างไร
ภพเบื้องหน้าของท่านเป็นอย่างไร จึงตรัสคำมีอาทิว่า โส ตถาคตปฺปเวทิตํ
ธมฺมวินยํ
ดังนี้.
บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า ตถาคตปฺปเวทิตํ ความว่า ชื่อว่า
ตถาคตปฺปเวทิตํ เพราะพระตถาคตคือพระผู้มีพระภาคเจ้า ทรงแสดงแล้ว
ตรัสแล้ว ทรงประกาศแล้ว. บทว่า อาคมฺม ได้แก่ บรรลุ อีกอย่างหนึ่ง บท
ว่า อาคมฺม เพราะอาศัยแล้วจึงรู้. ปาฐะว่า ตถาคตปฺปเวทิเต ธมฺมวินเย

ดังนี้ก็มี. บทว่า สทฺธํ สมาทิยิ ความว่า เขาถือเอาโดยชอบซึ่งศรัทธา
ทั้ง 2 อย่าง คือ ศรัทธาที่เป็นส่วนบุรพภาพ อันเป็นที่อาศัยแห่งพระ-
รัตนตรัยว่า พระผู้มีพระภาคเจ้าผู้ตรัสรู้โดยชอบและด้วยพระองค์เอง 1
พระธรรมอันพระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสไว้ดีแล้ว 1 พระสงฆ์สาวกของพระ-
ผู้มีพระภาคเจ้าผู้ปฏิบัติดีแล้ว 1 และศรัทธาที่เป็นโลกุตระ อธิบายว่า
ถือเอาจนสิ้นภพโดยที่ไม่ต้องถือเอาอีก คือทำให้เกิดขึ้นในจิตสันดาน
ของตน แม้ในบทมีอาทิว่า สีลํ สมาทิยิ ก็นัยนี้เหมือนกัน. บทว่า
สีลํ ได้แก่ ศีลที่สัมปยุตด้วยมรรคจิตและที่สัมปยุตด้วยผลจิต พร้อมด้วย
ีศีลอันเป็นส่วนเบื้องต้น. บทว่า สุตํ ได้แก่ สุตะทั้ง 2 อย่าง คือ ความ
เป็นผู้มีปริยัติธรรมอันสดับแล้วมาก 1 ความเป็นผู้มีปฏิเวธอันสดับแล้ว
มาก 1 จริงอยู่ แม้ปริยัติธรรมมีประการตามที่สาวกทั้งหลายได้แล้ว ด้วย
การแทงตลอดสัจจะในเวลาสดับธรรม เธอก็ได้สดับแล้ว ทรงจำแล้ว
ได้สั่งสมแล้ว ได้เพ่งด้วยใจแล้ว และได้แทงตลอดด้วยดีด้วยทิฏฐิ. บทว่า
จาคํ ได้แก่ จาคะ กล่าวคือการปล่อยวางอภิสังขารคือกิเลส อันปฐมมรรค
(โสดาปัตติมรรค) พึงฆ่า อันเป็นเหตุให้พระอริยสาวกทั้งหลาย เป็นผู้
สละเด็ดขาดในไทยธรรม มีมือสะอาด ยินดีในการเสียสละ. บทว่า ปญฺญํ
ได้แก่ ปัญญาอันสัมปยุตด้วยมรรคจิต และปัญญาอันสัมปยุตด้วยผลจิต
พร้อมด้วยวิปัสสนาปัญญา.
บทว่า กายสฺสส เภทา ได้แก่ เพราะละขันธ์ที่มีใจครอง. บทว่า
อรมฺมรณา ได้แก่ แต่การถือเอาขันธ์อันบังเกิดเฉพาะในขณะนั้น. อีก
อย่างหนึ่ง บทว่า กายสฺส เภทา ได้แก่ เพราะชีวิตินทรีย์ขาดไป.
บทว่า ปรมฺมรณา ได้แก่ เบื้องหน้าแต่จุติจิต. แม้จิตบททั้ง 3 คือ

สุคตึ สคฺคํ โลกํ ท่านกล่าวถึงเทวโลกเท่านั้น. จริงอยู่ เทวโลกนั้น ชื่อว่า
สุคติ เพราะเป็นคติดี เหตุงดงามด้วยสมบัติทั้งหลาย. ชื่อว่า สัคคะ
เพราะ เลิศด้วยดีด้วยอารมณ์ทั้งหลายมีรูปารมณ์เป็นต้น อีกอย่างหนึ่ง
เรียกว่า โลก เพราะเห็นแต่ความสุขตลอดทุกกาล หรือเรียกว่า โลก
เพราะผุพัง. บทว่า อุปปนฺโน ได้แก่ เข้าถึงโดยถือปฏิสนธิ. บทว่า
สหพฺยตํ ได้แก่ ความเป็นสหาย. แต่อรรถแห่งคำมีดังนี้ว่า ชื่อว่า
สหัพยะ เพราะอรรถว่าไปคือเป็นไป ได้แก่อยู่ร่วมกัน คือ สหัฏฐายี
ยืนร่วมกันหรือ สหวาสี อยู่ร่วมกัน. ภาวะแห่งสหัพยะ ชื่อว่า สหัพยตา.
บทว่า อติโรจติ ได้แก่ ชื่อว่า รุ่งโรจน์ เพราะล่วง หรือว่า ไพโรจน์
เพราะครอบงำ. บทว่า วณฺเณน ได้แก่ สมบูรณ์ด้วยรูป. บทว่า ยสสา
แปลว่า ด้วยบริวาร. จริงอยู่ เขาทอดทิ้งร่างกายมีประการดังกล่าวไว้ใน
โลกนี้ แล้วได้อัตภาพทิพย์ตามที่กล่าวแล้ว พร้อมด้วยบริวารเป็นอัน
มาก โดยชั่วขณะจิตเดียวเหมือนบุคคลทิ้งภาชนะดินที่เปื้อนของไม่สะอาด
ทั้งชำรุด แล้วถือเอาภาชนะทองชมพูนุทอันบริสุทธิ์วิจิตรด้วยรัตนะหลาก
หลายหุ้มด้วยข่ายรัศมีอันประภัสสร.
บทว่า เอตมตฺถํ วิทิตฺวา ความว่า ทรงทราบโดยประการทั้งปวง
ซึ่งโทษในการไม่งดเว้นบาปและอานิสงส์ในการงดเว้นบาปนี้ จึงทรง
เปล่งอุทานนี้ อันประกาศซึ่งความนั้น.
อุทานนั้น มีความสังเขปดังต่อไปนี้ บุรุษผู้มีจักษุ เมื่อความ
พยายามคือความเพียรทางกายมีอยู่ คือเป็นไปอยู่ในร่างกาย ย่อมเว้นที่
ไม่สม่ำเสมอมีเหวเป็นต้น หรือรูปที่ไม่สม่ำเสมอมีรูปช้าง รูปม้า รูปงู
รูปไก่ และรูปโคเป็นต้น เพราะมีความดุร้ายเป็นสภาวะ ฉันใด บัณฑิต

คือบุรุษผู้มีปัญญาในชีวโลกคือในสัตวโลกนี้ ก็ฉันนั้น เมื่อรู้ประโยชน์
เกื้อกูลแก่ตน เพราะความเป็นผู้มีปัญญานั้น พึงเว้นบาปทั้งหลายคือ
ทุจริตลามก อธิบายว่า ก็เมื่อเป็นเช่นนี้ ไม่พึงถึง โดยประการที่สุปป-
พุทธะนี้ ไม่เว้นบาปในพระปัจเจกพุทธเจ้านาม ตครสิขี แล้วถึงความ
วอดวายอย่าใหญ่หลวง อีกอย่างหนึ่ง อธิบายว่า สุปปพุทธกุฏฐิ อาศัย
ธรรมเทศนาของเรา บัดนี้ ถึงความสังเวชเว้นบาปทั้งหลาย บรรลุคุณ
วิเศษอย่างยิ่งฉันใด แม้คนอื่นก็ฉันนั้น เมื่อต้องการบรรลุคุณวิเศษ
อย่างยิ่ง ก็พึงเว้นบาปเสีย.
จบอรรถกถาสุปปพุทธกุฏฐิสูตรที่ 3

4. กุมารกสูตร



ว่าด้วยตรัสความทุกข์แก่เด็กหนุ่ม



[115] ข้าพเจ้าได้สดับมาแล้วอย่างนี้ :-
สมัยหนึ่ง พระผู้มีพระภาคเจ้าประทับอยู่ ณ พระวิหารเชตวัน อาราม
ของท่านอนาถบิณฑิกเศรษฐี ใกล้พระนครสาวัตถี ก็สมัยนั้นแล เด็กรุ่น
หนุ่มมากด้วยกัน จับปลาอยู่ในระหว่างพระนครสาวัตถีกับพระวิหาร-
เชตวัน ครั้งนั้นแล เป็นเวลาเช้า พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงอันตรวาสกแล้ว
ทรงถือบาตรและจีวรเสด็จเข้าไปบิณฑบาตยังพระนครสาวัตถี ได้ทอด-
พระเนตรเห็นเด็กรุ่นหนุ่มมากด้วยกัน จักปลาอยู่ในหว่างพระนครสาวัตถี
กับพระวิหารเชตวัน ครั้นแล้วเสด็จเข้าไปหาเด็กรุ่นหนุ่มเหล่านั้น แล้ว
ได้ตรัสถามว่า พ่อหนูทั้งหลาย เธอทั้งหลายกลัวต่อความทุกข์ ความทุกข์