เมนู

เป็นธรรม หามีไม่. บทว่า ตํ สพฺพชานึ กุสโล วิทิตฺวา ความว่า
ท่านผู้ฉลาด คือบัณฑิต ทราบความเสื่อม คือความหายไป ได้แก่ความ
ตาย ของสรรพสัตว์นี้นั้น หรือว่า ทราบถึงความเสื่อม คือความพินาศ
ได้แก่ความผุพัง ของสรรพสัตว์ทั้งหมดนั้น ด้วยอำนาจมรณานุสติ
หรือด้วยอำนาจมนสิการถึงพระไตรลักษณะมี อนิจจตา เป็นต้น. บทว่า
อาตาปิโย พฺรหฺมจริยํ จเรยฺย ความว่า เมื่อบำเพ็ญวิปัสสนา ชื่อว่า
มีความเพียร เพราะประกอบด้วยความเพียร คือความเพียรเครื่องเผากิเลส
ชื่อว่าปรารภความเพียร ด้วยอำนาจสัมมัปปธาน 4 พึงประพฤติ คือ
ปฏิบัติมรรคพรหมจรรย์ อันเป็นอุบายเครื่องก้าวล่วงมรณะโดยสิ้นเชิง.

จบอรรถกถาอัปปายุกาสูตรที่ 2



3. สุปปพุทธกุฏฐิสูตร



ว่าด้วยการตรัสอริยสัจแก่สุปปพุทธกุฏฐิ



[ 112 ] ข้าพเจ้าได้สดับมาแล้วอย่างนี้ :-
สมัยหนึ่ง พระผู้มีพระภาคเจ้าประทับอยู่ ณ พระวิหารเวฬุวัน กลัน-
ทกนิวาปสถาน ใกล้พระนครราชคฤห์ ก็สมัยนั้นแล ในพระนครราชคฤห์
มีบุรุษเป็นโรคเรื้อนชื่อว่าสุปปพุทธะ เป็นมนุษย์ขัดสน กำพร้า ยากไร้
ก็สมัยนั้นแล พระผู้มีพระภาคเจ้าแวดล้อมไปด้วยบริษัทหมู่ใหญ่ ประทับ
นั่งแสดงธรรมอยู่ สุปปพุทธกุฏฐิได้เห็นหมู่มหาชนประชุมกันแต่ที่ไกล
เทียว ครั้นแล้วได้มีความดำริว่า หมู่มหาชนจะแบ่งของควรเคี้ยว หรือของ
ควรบริโภคอะไร ๆ ให้ในที่นี้แน่แท้ ไฉนหนอ เราพึงเข้าไปหาหมู่มหา-
ชน เราพึงได้ของควรเคี้ยวหรือของควรบริโภค ในหมู่มหาชนนี้เป็นแน่

ลำดับนั้นแล สุปปพุทธกุฏฐิได้เข้าไปหาหมู่มหาชนนั้นแล้ว ได้เห็น
พระผู้มีพระภาคเจ้าแวดล้อมด้วยบริษัทหมู่ใหญ่ ประทับนั่งแสดงธรรมอยู่
ครั้นแล้วได้มีความดำริว่า หมู่มหาชนคงไม่แบ่งของควรเคี้ยวหรือของควร
บริโภคอะไร ๆ ให้ในที่นี้ พระสมณโคดมนี้ทรงแสดงธรรมอยู่ในบริษัท
ถ้ากระไร แม้เราก็พึงได้ฟังธรรม เขานั่งอยู่ ณ ที่ควรส่วนข้างหนึ่งในบริษัท
นั้นเอง ด้วยคิดว่า แม้เราจักฟังธรรม ลำดับนั้นแล พระผู้มีพระภาคเจ้า
ทรงกำหนดใจของบริษัททุกหมู่เหล่าด้วยพระทัยแล้ว ได้ทรงกระทำไว้
ในพระทัยว่า ในบริษัทนี้ ใครหนอแลควรจะรู้แจ้งธรรม พระผู้มี-
พระภาคเจ้าได้ทรงเห็นสุปปพุทธกุฏฐินั่งอยู่ในบริษัทนั้น ครั้นแล้วได้
ทรงพระดำริว่า ในบริษัทนี้ บุรุษนี้แลควรจะรู้แจ้งธรรม พระองค์
ทรงปรารภสุปปพุทธกุฏฐิตรัสอนุปุพพีกถา คือ ทานกถา ศีลกถา สัคคกถา
โทษแห่งกามอันต่ำทรามเศร้าหมอง และทรงประกาศอานิสงส์ในเนกขัมมะ
เมื่อใด พระผู้มีพระภาคเจ้าได้ทรงทราบว่าสุปปพุทธกุฏฐิมีจิตควร อ่อน
ปราศจากนิวรณ์เฟื่องฟู ผ่องใส เมื่อนั้น พระองค์ทรงประกาศพระธรรม-
เทศนาที่พระพุทธเจ้าทั้งหลายทรงยกขึ้นแสดงด้วยพระองค์เอง คือ ทุกข์
สมุทัย นิโรธ มรรค ธรรมจักษุปราศจากธุลี ปราศจากมลทิน ได้เกิด
ขึ้นแก่สุปปพุทธกุฏฐิในที่นั่งนั้นแล้วว่า สิ่งใดสิ่งหนึ่งมีความเกิดขึ้นเป็น
ธรรมดา เหมือนผ้าที่สะอาดปราศจากมลทิน ควรรับน้ำย่อมด้วยดีฉะนั้น.
[113] ลำดับนั้นแล สุปปพุทธกุฏฐิมีธรรมอันเห็นแล้ว มีธรรม
อันบรรลุแล้ว มีธรรมอันรู้แจ้งแล้ว มีธรรมอันหยั่งถึงแล้ว ข้ามความ
สงสัยได้แล้ว ปราศจากความเคลือบแคลง บรรลุถึงความเป็นผู้แกล้วกล้า
ไม่เชื่อต่อผู้อื่นในศาสนาของพระศาสดา ลุกจากอาสนะ เข้าไปเฝ้าพระ-

ผู้มีพระภาคเจ้าถึงที่ประทับ ถวายบังคมแล้ว นั่ง ณ ที่ควรส่วนข้างหนึ่ง
ครั้นได้กราบทูลพระผู้มีพระภาคเจ้าว่า ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ภาษิตของ
พระองค์แจ่มแจ้งนัก ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ภาษิตของพระองค์แจ่มแจ้ง
นัก พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงประกาศโดยอเนกปริยาย เปรียบเหมือน
หงายของที่คว่ำ เปิดของที่ปิด บอกทางแก่คนหลงทาง หรือตามประทีป
ไว้ในที่มืดด้วยหวังว่า ผู้มีจักษุจักเห็นรูปได้ฉะนั้น ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ
ข้าพระองค์นี้ ขอถึงพระผู้มีพระภาคเจ้ากับทั้งพระธรรมและพระภิกษุสงฆ์
ว่าเป็นสรณะ ขอพระผู้มีพระภาคเจ้าทรงจำข้าพระองค์ว่าเป็นอุบาสกผู้ถึง
สรณะตลอดชีวิต ตั้งแต่วันนี้เป็นต้นไป.
ลำดับนั้นแล สุปปพุทธกุฏฐิอันพระผู้มีพระภาคเจ้าทรงชี้แจงให้เห็น
แจ้ง ให้สมาทาน ให้อาจหาญ ร่าเริง ด้วยธรรมีกถา ชื่นชมยินดีพระ-
ภาษิตของพระผู้มีพระภาคเจ้า ลุกจากอาสนะถวายบังคมพระผู้มีพระภาคเจ้า
กระทำประทักษิณแล้วหลีกไป ครั้งนั้นแล แม่โคลูกอ่อนชนสุปปพุทธกุฏฐิ
ผู้หลีกไปไม่นานให้ล้มลง ปลงเสียจากชีวิต ลำดับนั้นแล ภิกษุมากด้วย
กันเข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาคเจ้าถึงที่ประทับ ถวายบังคมแล้ว นั่ง ณ ที่ควร
ส่วนข้างหนึ่ง ครั้นแล้วได้ทูลถามพระผู้มีพระภาคเจ้าว่า ข้าแต่พระองค์
ผู้เจริญ สุปปพุทธกุฏฐิอันพระผู้มีพระภาคเจ้าทรงชี้แจงให้เห็นแจ้ง ให้
สมาทาน ให้อาจหาญ ร่าเริง ด้วยธรรมีกถาแล้ว กระทำกาละ คติของ
เขาเป็นอย่างไร ภพหน้าของเขาเป็นอย่างไร พระเจ้าข้า พระผู้มีพระ-
ภาคเจ้าทรงพยากรณ์ว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย สุปปพุทธกุฏฐิเป็นบัณฑิต
ปฏิบัติธรรมสมควรแก่ธรรม และไม่เบียดเบียนเราให้ลำบากเพราะธรรม
เป็นเหตุ ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย สุปปพุทธกุฏฐิเป็นพระโสดาบัน เพราะ

ความสิ้นไปแห่งสังโยชน์ทั้งสาม มีความไม่ตกต่ำเป็นธรรมดา เป็นผู้เที่ยง
ที่จะตรัสรู้ในเบื้องหน้า.
[114] เมื่อพระมีพระภาคเจ้าตรัสอย่างนี้แล้ว ภิกษุรูปหนึ่งได้
ทูลถามพระผู้มีพระภาคเจ้าว่า ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ อะไรหนอแลเป็นเหตุ
เป็นปัจจัยเครื่องให้สุปปพุทธกุฏฐิมนุษย์ขัดสน กำพร้า ยากไร้ พระผู้-
มีพระภาคเจ้าทรงพยากรณ์ว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เรื่องเคยมีแล้ว สุปป-
พุทธกุฏฐิเป็นเศรษฐีบุตรอยู่ในกรุงราชคฤห์นี้แล เขาออกไปยังภูมิเป็นที่
เล่นในสวน ได้เห็นพระปัจเจกพุทธเจ้า นามว่าตครสิขี กำลังเที่ยวบิณฑบาต
ไปในพระนคร ครั้นแล้วเขาดำริว่า ใครนี่เป็นโรคเรื้อนเที่ยวไปอยู่ เขา
ถ่มน้ำลายหลีกไปข้างเบื้องซ้าย เขาหมกไหม้อยู่ในนรกสิ้นปีเป็นอันมาก
สิ้นร้อยปี สิ้นพันปี สิ้นแสนปีเป็นอันมาก เพราะผลแห่งกรรมนั้นยัง
เหลืออยู่ เขาจึงได้เป็นมนุษย์ขัดสน กำพร้า ยากไร้ อยู่ในกรุงราชคฤห์
นี้แล เขาอาศัยธรรมวินัยที่พระตถาคตประกาศแล้ว สมาทานศรัทธา ศีล
สุตะ จาคะ ปัญญา ครั้นอาศัยธรรมวินัยที่พระตถาคตประกาศแล้วสมา-
ทาน ศรัทธา ศีล สุตะ จาคะ ปัญญา เมื่อตายไป เขาเข้าถึงสุคติ
โลกสวรรค์ เป็นผู้เข้าถึงความเป็นสหายของเหล่าเทวดาชั้นดาวดึงส์ เขา
ย่อมไพโรจน์ล่วงเทวดาเหล่าอื่นในชั้นดาวดึงส์นั้นด้วยวรรณะและด้วยยศ.
ลำดับนั้นแล พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงทราบเนื้อความนี้แล้ว จึง
ทรงเปล่งอุทานนี้ในเวลานั้นว่า
บุรุษผู้เป็นบัณฑิต พึงละเว้นบาปทั้งหลายในสัตว์
โลก เหมือนบุรุษผู้มีจักษุ เมื่อทางอื่นที่จะก้าวไปมีอยู่
ย่อมหลีกที่อันไม่ราบเรียบเสียฉะนั้น.

จบสุปปพุทธกุฏฐิสูตรที่ 3

อรรถกถาสุปปพุทธกุฏฐิสูตร



สุปปพุทธกุฏฐิสูตรที่ 3 มีวินิจฉัยดังต่อไปนี้ :-
บทว่า ราชคเห สุปฺปพุทฺโธ นาม กุฏฺฐี อโหสิ ความว่า บุรุษคน-
หนึ่ง นามว่า สุปปพุทธะ ได้อยู่ในกรุงราชคฤห์. ก็เขามีตัวถูกโรคเรื้อน
รบกวนอย่างหนัก. บทว่า มนุสฺสทลิทฺโท ความว่า เป็นผู้เข็ญใจกว่าเขา
ทั้งหมดในบรรดามนุษย์ ในกรุงราชคฤห์. ก็เขาเย็บท่อนผ้าเก่า ที่พวก
มนุษย์ทิ้งไว้ ที่กองหยากเยื่อและที่รั้วเป็นต้น นุ่งห่ม. ถือกระเบื้องไปตาม
เรือน อาศัยข้าวตังและภัตที่เป็นเดนได้มาเลี้ยงชีพ. แม้ของนั้น เขาก็ไม่
ได้ตามความต้องการ เพราะกรรมที่ตนทำไว้ในปางก่อน. ด้วยเหตุนั้น
ท่านจึงกล่าวว่า เป็นมนุษย์ขัดสน. บทว่า มนุสฺสกปโณ ได้แก่ ใน
บรรดามนุษย์ เขาถึงความกำพร้าอย่างยิ่ง. บทว่า มนุสฺสวราโก ได้แก่
ผู้ยากไร้ เพราะถูกพวกมนุษย์ติเตียนและดูหมิ่น. บทว่า มหติยา ปริสาย
ความว่า ด้วยภิกษุบริษัท และอุบาสกบริษัทหมู่ใหญ่.
ได้ยินว่า วันหนึ่ง พระผู้มีพระภาคเจ้า แวดล้อมไปด้วยภิกษุสงฆ์
หมู่ใหญ่ เสด็จเข้าไปบิณฑบาตยังกรุงราชคฤห์ ทรงเสวยบิณฑบาตที่พวก
ภิกษุได้มาด้วยดี เสด็จกลับจากบิณฑบาตภายหลังภัตร แวดล้อมด้วยภิกษุ
จำนวนเล็กน้อย เสด็จออกรอคอยการมาของอุบาสกผู้ถวายทาน และภิกษุ
ที่เหลือ ได้ประทับยืนในถิ่นที่รื่นรมย์แห่งหนึ่ง ภายในพระนครนั่นเอง.
ในทันใดนั่นเอง ภิกษุทั้งหลายมาจากที่นั้น ๆ พากันแวดล้อมพระผู้มี-
พระภาคเจ้า. ฝ่ายอุบาสกทั้งหลาย เข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาคเจ้า ด้วย
หมายใจว่าจักฟังอนุโมทนา ถวายบังคมแล้วกลับมา. ได้มีการประชุม
ใหญ่ขึ้นแล้ว. พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงแสดงอาการนั่ง. ในขณะนั้นนั่นเอง