เมนู

เป็นธรรม หามีไม่. บทว่า ตํ สพฺพชานึ กุสโล วิทิตฺวา ความว่า
ท่านผู้ฉลาด คือบัณฑิต ทราบความเสื่อม คือความหายไป ได้แก่ความ
ตาย ของสรรพสัตว์นี้นั้น หรือว่า ทราบถึงความเสื่อม คือความพินาศ
ได้แก่ความผุพัง ของสรรพสัตว์ทั้งหมดนั้น ด้วยอำนาจมรณานุสติ
หรือด้วยอำนาจมนสิการถึงพระไตรลักษณะมี อนิจจตา เป็นต้น. บทว่า
อาตาปิโย พฺรหฺมจริยํ จเรยฺย ความว่า เมื่อบำเพ็ญวิปัสสนา ชื่อว่า
มีความเพียร เพราะประกอบด้วยความเพียร คือความเพียรเครื่องเผากิเลส
ชื่อว่าปรารภความเพียร ด้วยอำนาจสัมมัปปธาน 4 พึงประพฤติ คือ
ปฏิบัติมรรคพรหมจรรย์ อันเป็นอุบายเครื่องก้าวล่วงมรณะโดยสิ้นเชิง.

จบอรรถกถาอัปปายุกาสูตรที่ 2



3. สุปปพุทธกุฏฐิสูตร



ว่าด้วยการตรัสอริยสัจแก่สุปปพุทธกุฏฐิ



[ 112 ] ข้าพเจ้าได้สดับมาแล้วอย่างนี้ :-
สมัยหนึ่ง พระผู้มีพระภาคเจ้าประทับอยู่ ณ พระวิหารเวฬุวัน กลัน-
ทกนิวาปสถาน ใกล้พระนครราชคฤห์ ก็สมัยนั้นแล ในพระนครราชคฤห์
มีบุรุษเป็นโรคเรื้อนชื่อว่าสุปปพุทธะ เป็นมนุษย์ขัดสน กำพร้า ยากไร้
ก็สมัยนั้นแล พระผู้มีพระภาคเจ้าแวดล้อมไปด้วยบริษัทหมู่ใหญ่ ประทับ
นั่งแสดงธรรมอยู่ สุปปพุทธกุฏฐิได้เห็นหมู่มหาชนประชุมกันแต่ที่ไกล
เทียว ครั้นแล้วได้มีความดำริว่า หมู่มหาชนจะแบ่งของควรเคี้ยว หรือของ
ควรบริโภคอะไร ๆ ให้ในที่นี้แน่แท้ ไฉนหนอ เราพึงเข้าไปหาหมู่มหา-
ชน เราพึงได้ของควรเคี้ยวหรือของควรบริโภค ในหมู่มหาชนนี้เป็นแน่