เมนู

สัตว์เหล่าใดเหล่าหนึ่งผู้เกิดแล้ว และแม้จักเกิด
สัตว์ทั้งหมดนั้นจักละร่างกายไป ท่านผู้ฉลาดทราบ
ความเสื่อมแห่งสัตว์ทั้งปวงนั้นแล้ว พึงเป็นผู้มีความ
เพียรประพฤติพรหมจรรย์.

จบอัปปายุกาสูตรที่ 2

อรรถกถาอัปปายุกาสูตร



อัปปายุกาสูตรที่ 2

มีวินิจฉัยดังต่อไปนี้ :-
คำว่า อจฺฉริยํ ภนฺเต แม้นี้ พึงทราบโดยข้ออัศจรรย์ที่น่าติเตียน
เหมือนในเมฆิยสูตร. บทว่า ยาว อปฺปายุกา แปลว่า มีอายุน้อย
เพียงไร อธิบายว่า มีชีวิตชั่วเวลานิดหน่อย. บทว่า สตฺตาหชาเต
ความว่า ประสูติโดยสัปดาห์ 1 ชื่อว่าสัตตาหชาตะ ในเมื่อพระองค์
ประสูติได้ 7 วัน. อธิบายว่า ในวันที่ 7 ที่พระองค์ประสูติ. บทว่า
ตุสิตํ กายํ อุปปชฺชิ ความว่า เข้าถึงเทพนิกายชั้นดุสิต โดยการถือ
ปฏิสนธิ.
เล่ากันมาว่า วันหนึ่งภายหลังภัตร พระเถระนั่งพักผ่อนกลางวัน
ใส่ใจถึงพระรูปโฉมของพระผู้มีพระภาคเจ้า อันประดับด้วยพระลักษณะ
และพระอนุพยัญชนะ มีพระรูปเลอโฉม เป็นทัสนานุตริยะ แล้วจึง
คิดว่า น่าอัศจรรย์ พระพุทธเจ้าทั้งหลายเพียบพร้อมไปด้วยพระรูปกาย
น่าชม นำมาซึ่งความเลื่อมใสรอบด้าน น่ารื่นรมย์ใจ ดังนี้แล้ว จึงเสวย
ปีติและโสมนัสอย่างยิ่ง จึงคิดอย่างนี้ว่า ธรรมดามารดาผู้บังเกิดเกล้า
ถึงจะมีบุตรรูปร่างไม่ดี ก็ยังมีความพอใจ คล้ายว่าบุตรรูปร่างดีฉะนั้น