เมนู

อย่างนี้ว่า เป็นลาภของเราหนอ เราได้ดีแล้วหนอ พระผู้มีพระภาค-
อรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้าเป็นศาสดาของเรา เราออกบวชเป็นบรรพชิตใน
ธรรมวินัยอันพระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสดีแล้ว เพื่อนพรหมจรรย์ของเรามีศีล
มีธรรมอันงาม เราเป็นผู้กระทำบริบูรณ์ในศีลทั้งหลาย เป็นผู้มีจิตตั้งมั่น
แน่วแน่เป็นอันดี เราเป็นพระอรหันตขีณาสพ และเราเป็นผู้มีฤทธิ์มาก
มีอานุภาพมาก ชีวิตของเราเจริญ ความตายของเราเจริญ.
ลำดับนั้นแล พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงทราบความปริวิตกแห่งใจของ
ท่านพระอุปเสนวังคันตบุตรด้วยพระหฤทัยแล้ว จึงทรงเปล่งอุทานนี้ใน
เวลานั้นว่า
ชีวิตย่อมไม่ทำให้ผู้ใดเดือดร้อน ผู้นั้นย่อมไม่
เศร้าโศกในที่สุดคือมรณะ ถ้าว่าผู้นั้นมีบทอันเห็น
แล้วไซร้ เป็นนักปราชญ์ ย่อมไม่เศร้าโศกในท่าม
กลางแห่งสัตว์มีความโศก ภิกษุผู้มีภวตัณหาอันตัด
ขาดแล้ว มีจิตสงบ มีชาติสงสารสิ้นแล้ว ย่อมไม่
มีภพใหม่.
จบอุปเสนวังคันตปุตตสูตรที่ 9

อรรถกถาอุปเสนวังคันตปุตตสูตร



อุปเสนวังคันตปุตตสูตรที่ 9 มีวินิจฉัยดังต่อไปนี้ :-
บทว่า อุปเสโน ในบทว่า อุปเสนสฺส นี้ เป็นชื่อของพระเถระ
นั้น. ก็เพราะท่านเป็นบุตรของท่านวังคันตพราหมณ์ เขาจึงเรียกว่า
วังคันตบุตร.

ความพิสดารว่า พระเถระนี้ เป็นน้องชายของท่านพระสารีบุตร
บวชในพระศาสนา เมื่อยังไม่ทรงบัญญัติสิกขาบทอุปสมบทได้ 2 พรรษา
เป็นพระอุปัชฌาย์ ให้อุปสมบทภิกษุรูปหนึ่งพร้อมกับภิกษุนั้นไปอุปัฏฐาก
พระผู้มีพระภาคเจ้า ถูกพระผู้มีพระภาคเจ้า ตรัสถามว่า ภิกษุนั้นเป็น
สัทธิวิหาริกของเธอแล้วทรงติเตียนโดยนัยอันมาในขันธกะว่า ดูก่อน
โมฆบุรุษ เธอเวียนมาเพื่อความเป็นคนมักมากเร็วเกินไป คือการเนื่อง
ด้วยคณะ เป็นผู้มีใจสลดเหมือนม้าที่ถูกตีด้วยแส้ จึงเกิดอุตสาหะขึ้นว่า
แม้ถ้าบัดนี้เราอาศัยบริษัทถูกพระผู้มีพระภาคเจ้าทรงติเตียน และก็เพราะ
อาศัยบริษัทเหมือนกัน จึงได้รับการสรรเสริญดังนี้แล้ว จึงสมาทานธุต-
ธรรมทั้งหมดประพฤติเริ่มวิปัสสนา ไม่นานนักก็ได้อภิญญา 6 บรรลุ
ปฏิสัมภิทา เป็นพระมหาขีณาสพให้นิสิตของตนทรงธุดงค์เหมือนกัน
พร้อมกับนิสิตเหล่านั้น จึงเข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาคเจ้า ได้รับการ
สรรเสริญจากสำนักพระผู้มีพระภาคเจ้า เนื่องด้วยบริษัทโดยนัยที่มาแล้ว
ในสันถตสิกขาบทว่า อุปเสน บริษัทนี้ของเธอน่าเลื่อมใสแล จึงทรง
สถาปนาไว้ในเอตทัคคะว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย บรรดาภิกษุสาวกของเรา
ผู้มีความเลื่อมใสรอบด้าน คืออุปเสนวังคันตบุตรเป็นเอตทัคคะ ในบรรดา
พระมหาสาวก 80 รูป ท่านก็จัดเข้าในภายในรูปหนึ่ง. วันหนึ่งท่านกลับ
จากบิณฑบาตภายหลังภัต เมื่อพวกอันเตวาสิกไปสู่ที่พักกลางวันของ
ตน ๆ จึงถือเอาน้ำจากหม้อน้ำล้างเท้าแล้ว ลูบตัวให้เย็นลาดท่อนหนัง
แล้วนั่งพักผ่อนกลางวัน นึกถึงคุณความดีของตน. พวกนิสิตของท่าน
หลายร้อยหลายพันรูปช่วยกันบำรุงท่านไม่ขาดสาย. ท่านส่งมนสิการมุ่ง
ตรงพระคุณของพระผู้มีพระภาคเจ้าว่า อันดับแรกคุณความดีของสาวกเรา

ยังมีประมาณถึงเพียงนี้ พระคุณของพระศาสดาของเราจะเป็นเช่นไรหนอ.
พวกนิสิตเหล่านั้น หลายพันโกฏิ พากันบำรุงท่านตามสมควรแก่พลังญาณ.
ท่านระลึกถึงพระคุณของพระศาสดา อันเหมาะสมแก่ภาวะที่ปรากฏเเจ่ม-
แจ้ง โดยนัยมีอาทิว่า พระศาสดาของเราทรงมีศีลอย่างนี้ มีธรรมอย่างนี้
มีปัญญาอย่างนี้ มีวิมุตติอย่างนี้ และโดยนัยมีอาทิว่า แม้เพราะเหตุนั้น
พระผู้มีพระภาคเจ้าพระองค์นั้นเป็นพระอรหันต์ ตรัสรู้เองโดยชอบ แต่
นั้นจึงระลึกถึงคุณของพระธรรมโดยนัยมีอาทิว่า พระธรรมอันพระผู้มี-
พระภาคเจ้าตรัสดีแล้ว และคุณของพระอริยสงฆ์ โดยนัยมีอาทิว่า พระ-
สงฆ์เป็นผู้ปฏิบัติดีแล้ว เมื่อคุณของพระรัตนตรัย ปรากฏแจ่มแจ้ง ด้วย
อาการอย่างนี้ พระมหาเถระจึงมีใจชื่นชมเบิกบาน นั่งเสวยปีติและโสมนัส
อันโอฬาร มีโวการมีอาการเป็นอเนก. เพื่อจะแสดงถึงเนื้อความนั้น
ท่านจึงกล่าวคำมีอาทิว่า ท่านพระอุปเสนวังคันตบุตร อยู่ในที่ลับ.
บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า รโหคตสฺส แปลว่า อยู่ในที่ลับ. บทว่า
ปฏิสลฺลีนสฺส ได้แก่ เป็นผู้โดดเดี่ยว. บทว่า เอวํ เจตโส ปริวิตกฺโก
อุทปาทิ
ความว่า ความวิตกแห่งจิต ซึ่งมีอาการที่จะกล่าวในบัดนี้ เกิด
ขึ้นแล้วด้วยอาการอย่างนี้. บทว่า ลาภา วต เม ความว่า ความได้
อัตภาพเป็นมนุษย์ การอุบัติแห่งพระพุทธเจ้า การมีศรัทธา และการ
บรรลุมรรคผลเป็นต้นเหล่านั้น จัดเป็นลาภของเราอันน่าอัศจรรย์จริง
หนอ. บทว่า สุลทฺธํ วต เม ความว่า การบรรพชาอุปสมบทและการ
เข้าไปนั่งใกล้พระรัตนตรัยเป็นต้น เราได้แล้วในพระศาสนาของพระผู้มี-
พระภาคเจ้านี้นั้น เราได้ดีแล้วจริงเชียวหนอ. ท่านกล่าวเหตุในข้อนั้น
โดยนัยมีอาทิว่า สตฺถา จ เม ดังนี้.

พึงทราบวินิจฉัยในบทว่า สตฺถา วต เม เป็นต้นนั้น ชื่อว่า สตฺ ถา
เพราะพร่ำสอนเหล่าสัตว์ตามสมควรด้วยประโยชน์ในภพนี้ ประโยชน์ใน
ภพหน้า และปรมัตถประโยชน์. ชื่อว่า ภควา เพราะเหตุมีความเป็นผู้
มีภาคยธรรมเป็นต้น. ชื่อว่า อรหํ (พระอรหันต์) เพราะเป็นผู้ไกลจาก
กิเลสทั้งหลาย 1 เพราะกำจัดซี่กำแห่งสังสารจักร 1 เพราะกำจัดข้าศึกคือ
กิเลส 1 เพราะเป็นผู้สมควรแก่สักการะมีปัจจัยเป็นต้น 1 เพราะไม่มีที่
ลับในการทำบาป 1. ชื่อว่า สัมมาสัมพุทธ เพราะตรัสรู้ธรรมทั้งปวง
โดยชอบ และด้วยพระองค์เอง ในข้อนี้มีความสังเขป เพียงเท่านี้.
ส่วนความพิสดารควรค้นดูในพุทธานุสตินิเทศ ในคัมภีร์วิสุทธิมรรคเถิด.
บทว่า สฺวากฺขาเต แปลว่า ตรัสดีแล้ว คือตรัสให้นำสัตว์ออกจากทุกข์
โดยส่วนเดียว. บทว่า ธมฺมวินเย ได้แก่ ปาพจน์. จริงอยู่ ปาพจน์นั้น
ท่านเรียกว่า ธรรมวินัย เพราะทรงไว้ซึ่งผู้ปฏิบัติตามที่พร่ำสอน จากการ
ตกไปในสังสารทุกข์ และเพราะกำจัดกิเลสมีราคะเป็นต้น. บทว่า สพฺรหฺม-
จาริโน
ความว่า ชื่อว่า สพรหมจารี เพราะประพฤติ คือปฏิบัติสม่ำ-
เสมอ ซึ่งพระศาสนาคือพรหม เพราะอรรถว่าประเสริฐ ได้แก่
อริยมรรคสัจจะ ของพระผู้มีพระภาคเจ้า. บทว่า สีลวนฺโต ได้แก่ ผู้มี
ศีล คือศีลในมรรคและศีลในผล. บทว่า กลฺยาณธมฺมา ความว่า
ชื่อว่า ผู้มีกัลยาณธรรม เพราะมีธรรมอันงามคือดี เช่น สมาธิ ปัญญา
วิมุตติ และวิมุตติญาณทัสสนะเป็นต้น. ด้วยคำนี้ พระผู้มีพระภาคเจ้า ทรง
แสดงข้อปฏิบัติอันดีแก่พระสงฆ์. ด้วยบทว่า สีเลสุ จมฺหิ ปริปูริการี นี้
พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสว่า แม้เราบวชแล้ว ก็มิได้กล่าวติรัจฉานกถา
เป็นผู้มากไปด้วยความเพียรอันมั่นคงอยู่ โดยที่แท้ เราบำเพ็ญศีลทั้ง 4 มี

ปาฏิโมกขสังวรศีลเป็นต้น ไม่ให้ขาด ไม่ให้ทะลุ ไม่ให้ด่าง ไม่ให้พร้อย
ให้เป็นไท ให้เป็นศีลอันวิญญูชนสรรเสริญ ให้เป็นศีลอันตัณหาและทิฏฐิ
แตะต้องไม่ได้ ให้บรรลุเฉพาะอริยมรรคเท่านั้น. ด้วยคำนี้ทรงแสดงถึง
ความเพียบพร้อมด้วยอริยผลทั้งสองเบื้องต่ำของพระองค์. จริง พระโสดา
บันและพระสกทาคามี เป็นผู้กระทำให้บริบูรณ์ในศีลทั้งหลาย. บทว่า
สุสมาหิโต จมฺหิ เอกคฺคจิตฺโต ความว่า เราเป็นผู้มีจิตตั้งมั่นด้วยสมาธิ
ต่างโดยอุปจารและอัปปนา และเป็นผู้มีจิตไม่ฟุ้งซ่าน แม้โดยประการ
ทั้งปวง. ด้วยคำคือความเป็นผู้กระทำให้บริบูรณ์ในสมาธินี้ ทรงแสดง
ถึงความเพียบพร้อมด้วยอริยผลที่ 3 ของพระองค์. จริงอยู่ พระอนาคามี
เป็นผู้กระทำให้บริบูรณ์ในสมาธิ. บทว่า อรหา จมฺหิ ขีณาสโว ความ
ว่า เราเป็นผู้ชื่อว่า ขีณาสพ เพราะอาสวะมีกามาสวะเป็นต้น สิ้นไปโดย
ประการทั้งปวง เพราะเหตุนั้นนั่นแล เราจึงเป็นผู้ชื่อว่า สิ้นกิเลสเครื่อง
พยุงสัตว์ไว้ในภพ และชื่อว่า เป็นพระอรหันต์เพราะเป็นทักขิไณยบุคคลผู้
เลิศในโลก พร้อมทั้งเทวโลก. ด้วยคำนี้ ทรงแสดงถึงความที่พระองค์
ทรงกระทำกรณียกิจเสร็จแล้ว. บทว่า มหิทฺธิโก จมฺหิ มหานุภาโว
ความว่า เราชื่อว่าเป็นผู้มีฤทธิ์มาก เพราะประกอบด้วยความเป็นผู้มีความ
ชำนาญมากในฤทธิ์มีการอธิฏฐานและมีการกระทำให้เป็นต่าง ๆ เป็นต้น
และชื่อว่า มีอานุภาพมาก เพราะเพียบพร้อมด้วยบุญญานุภาพ และ
คุณานุภาพอันโอฬาร. ด้วยคำนี้ พระองค์ทรงแสดงถึงการประกอบด้วย
โลกิยอภิญญา และอนุปุพพวิหารสมาบัติ 9 ของพระองค์. จริงอยู่ พระ-
สาวกชื่อว่า เป็นอริยะ เพราะเป็นผู้ชำนาญในอภิญญาทั้งหลาย ชื่อว่า มี
ฤทธิ์มาก เพราะยังสิ่งตามที่ตนปรารถนาให้สำเร็จ และชื่อว่ามีอานุภาพ

มากเพราะชำระสันดานให้หมดจด ด้วยอุปนิสัยสมบัติในปางก่อน และ
ด้วยวิหารสมาบัติต่าง ๆ แล. บทว่า ภทฺทกํ เม ชีวิตํ ความว่า กายนี้
ของเราผู้ประกอบคุณมีศีลอย่างนี้เป็นต้น ยังทรงอยู่เพียงใด ประโยชน์
สุขนั่นแล ก็ยังเจริญอยู่แก่หมู่สัตว์เพียงนั้น ถึงชีวิตของเรา ก็ชื่อว่า เจริญ
คือ ดีงาม เพราะว่าเป็นบุญเขต. ด้วยบทว่า ภทฺทกํ มรณํ นี้ พระองค์
ทรงแสดงถึงความเป็นผู้คงที่ ในอรรถทั้ง 2 ว่า ก็ถ้าเบญจขันธ์นี้
จะดับไปในวันนี้ หรือในขณะนี้แหละ เหมือนไฟหมดเชื้อฉะนั้น แม้
มรณะ คือ ปรินิพพานอันหาปฏิสนธิมิได้ของเรานั้น ก็จัดเป็นความดี.
ดังนั้น พระมหาเถระ จึงตรึกถึงความที่ตนมีโสมนัสอย่างโอฬาร ด้วย
ความนับถือมากในธรรม และด้วยการเสวยปีติอันเกิดแต่ธรรม เพราะตน
ยังละความหนาไปด้วยความเย่อหยิ่งในโสมนัสไม่ได้.
พระศาสดาประทับนั่งในพระคันธกุฎีนั้นแล ทรงทราบเรื่องนั้น
ด้วยพระสัพพัญญุตญาณ จึงทรงเปล่งอุทานนี้ อันประกาศความเป็น
ผู้คงที่ของท่านทั้งในชีวิต และมรณะ. ด้วยเหตุนั้น ท่านจึงกล่าวว่า อถ
โข ภควา ฯ เป ฯ อุทาเนสิ
ดังนี้ เป็นต้น.
บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า ยํ ชีวิตํ น ตปติ ความว่า ชีวิตย่อม
ทำบุคคลผู้เป็นพระขีณาสพ ไม่ให้เดือดร้อน คือไม่ให้ลำบากเพราะความ
เกิดขึ้นแห่งขันธ์ต่อไป ไม่มีโดยประการทั้งปวง. อีกอย่างหนึ่ง ชีวิตที่
เป็นปัจจุบันนั่นแล ย่อมไม่เบียดเบียน เพราะประกอบด้วยสติสัมปชัญญะ
ในที่ทุกสถาน เหตุถึงความไพบูลย์ด้วยสติปัญญา เพราะชีวิตนั้นเป็นสัง-
ขตธรรมโดยประการทั้งปวง. จริงอยู่ อันธปุถุชนผู้คบหาคนชั่ว มากไป
ด้วยอโยนิโสมนสิการ ไม่บำเพ็ญกุศล ไม่บำเพ็ญบุญ ย่อมเดือดร้อน

ด้วยความเดือดร้อน มีอาทิว่า เราไม่ได้ทำกรรมดีไว้หนอ เพราะเหตุนั้น
ชีวิตของเขาจึงทำให้เขาเดือดร้อน. ฝ่ายบุคคลนอกนี้ ผู้ไม่ทำบาป ทำแต่
บุญ หรือพระเสขบุคคล 7 จำพวก กับกัลยาณปุถุชน ย่อมไม่เดือดร้อน
ด้วยความเดือดร้อนในภายหลัง เพราะเว้นจากธรรมอันเป็นที่ตั้งแห่งความ
เดือดร้อน และเพราะประกอบด้วยธรรมอันไม่เป็นที่ตั้งแห่งความเดือด-
ร้อน เพราะเหตุนั้น ชีวิตของเขาเหล่านั้น จึงไม่เดือดร้อน. ส่วนใน
พระขีณาสพ ไม่จำต้องกล่าวถึงเลย เพราะเหตุนั้น ท่านจึงแต่งอรรถ-
วรรณนา ด้วยอำนาจปวัตติทุกข์. บทว่า มรณนฺเต น โสจติ ความว่า
ในที่สุด คือในที่สุดรอบกล่าวคือมรณะ หรือในเวลาใกล้จะตาย เขาย่อม
ไม่เศร้าโศก เพราะถอนความโศกขึ้นได้ ด้วยอนาคามิมรรคนั้นเอง. บทว่า
สเว ทิฏฺฐปโท ธีโร โสกมชฺเฌ น โสจติ ความว่า เขาชื่อว่าเห็นบท
เพราะเห็นบทธรรม 4 มี อนภิชฌาเป็นต้น หรือเห็นพระนิพพานนั่นเอง
ชื่อว่าเป็นนักปราชญ์ คือพระขีณาสพ เพราะเพียบพร้อมด้วยปัญญา
แม้ตั้งอยู่ในท่ามกลางแห่งสัตว์ ผู้ยังไม่ปราศจากราคะ อันได้นามว่าโสกะ
เพราะมีความโศกเป็นธรรม หรือในท่ามกลางแห่งโลกธรรมอันเป็นเหตุ
แห่งความโศก ย่อมไม่เศร้าโศก.
บัดนี้ เพื่อจะแสดงความที่ภิกษุนั้น ไม่มีเหตุแห่งความโศกโดย
ประการทั้งปวง จึงตรัสพระดำรัสมีอาทิว่า อุจฺฉินฺนภวตณฺหสฺส ดังนี้.
ในคำว่า อุจฺฉินฺนภวตณฺหสฺส นั้น มีวินิจฉัยดังต่อไปนี้ :- ภวตัณหา
อันผู้ใดตัดขาดแล้วโดยประการทั้งปวง ด้วยอรหัตมรรค ผู้นั้น ชื่อว่ามี
ภวตัณหาอันตัดขาดแล้ว. ภิกษุนั้น คือภิกษุผู้ขีณาสพ ชื่อว่าผู้มีจิตสงบ

เพราะสงบกิเลสที่เหลือได้เด็ดขาด. บทว่า วิกฺขีโณ ชาติสํสาโร ความว่า
สงสารมีความเกิดเป็นต้น ซึ่งมีลักษณะดังกล่าวแล้วว่า
ลำดับแห่งขันธ์ธาตุและอายตนะ เป็นไปไม่ขาด
สาย ท่านเรียกว่า สงสาร ดังนี้

สิ้นแล้วโดยพิเศษ. เพราะเหตุไร ? เพราะภพใหม่ของภิกษุนั้นไม่มี
อธิบายว่า เพราะเหตุที่พระอริยบุคคลนั้น คือเห็นปานนั้น ไม่เกิดอีก
ต่อไป ฉะนั้นสงสารคือความเกิดของท่านจึงสิ้นไป. ก็เพราะเหตุไร ท่าน
จึงไม่เกิดอีก ? ควรพูดอีกว่า เพราะท่านตัดภวตัณหาได้เด็ดขาด และเป็น
ผู้มีจิตสงบ. อีกอย่างหนึ่ง พึงประกอบ ความว่า สงสารคือชาติสิ้นแล้ว
เพราะเหตุนั้นแล ท่านจึงไม่เกิดอีก.
จบอรรถกถาอุปเสนวังคันตปุตตสูตรที่ 9

10. สารีปุตตสูตร



ว่าด้วยผู้มีจิตสงบระงบ



[109] ข้าพเจ้าได้สดับมาแล้วอย่างนี้ :-
สมัยหนึ่ง พระผู้มีพระภาคเจ้าประทับอยู่ ณ พระวิหารเชตวัน
อารามของท่านอนาถบิณฑิกเศรษฐี ใกล้พระนครสาวัตถี ก็สมัยนั้นแล
ท่านพระสารีบุตรนั่งคู้บัลลังก์ ตั้งกายตรง พิจารณาความสงบระงับของ
ตนอยู่ ในที่ไม่ไกลพระผู้มีพระภาคเจ้า พระผู้มีพระภาคเจ้าได้ทรงเห็น
ท่านพระสารีบุตรนั่งคู้บัลลังก์ ตั้งกายตรง พิจารณาความสงบระงับของตน
เองในที่ไม่ไกล.