เมนู

สังวร 4 หมวดนี้ มีการทำปาฏิโมกข์ให้สำเร็จ. บทว่า มตฺตญฺณุตา จ
ภตฺตสฺมึ ได้แก่ ความเป็นผู้รู้ประมาณในโภชนะ ด้วยอำนาจการแสวงหา
การรับ การบริโภค และการสละ. บทว่า ปนฺตญฺจ สยนาสนํ ได้แก่
ที่นอนและที่นั่งอันสงัด มีราวป่าและโคนไม้เป็นต้น อันอนุกูลแก่ภาวนา.
บทว่า จิตฺเต จ อาโยโค ความว่า เมื่อทำอรหัตผลจิต กล่าวคือ ชื่อว่า
อธิจิต เพราะเป็นจิตยิ่ง คือเพราะสูงสุดกว่าจิตทั้งปวงให้สำเร็จ ความ
พากเพียรย่อมมีด้วยอำนาจสมถภาวนาและวิปัสสนาภาวนา เพื่อทำอรหัต-
ผลจิตนั้นให้สำเร็จ. บทว่า เอตํ พุทฺธาน สาสนํ ความว่า การไม่ว่าร้าย
ผู้อื่น 1 การไม่ทำร้ายผู้อื่น 1 การสำรวมในพระปาฏิโมกข์ 1 การรู้จัก
ประมาณในการแสวงหาและการรับเป็นต้น 1 การอยู่ในที่อันสงัด 1
การประกอบเนืองๆ ซึ่งอธิจิตตามที่กล่าวแล้ว 1 นี้เป็นคำสอน คือเป็น
โอวาท อธิบายว่า เป็นคำพร่ำสอนของพระพุทธเจ้าทั้งหลาย สิกขา 3 พึง
ทราบว่าพระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสแล้วด้วยพระคาถานี้ ด้วยประการฉะนี้.
จบอรรถกถาปิณโฑลภารทวารสูตรที่ 6

7. สารีปุตตสูตร



ว่าด้วยความโศกไม่มีแก่มุนีผู้มีสติ



[101] ข้าพเจ้าได้สดับมาแล้วอย่างนี้ :-
สมัยหนึ่ง พระผู้มีพระภาคเจ้าประทับอยู่ ณ พระวิหารเชตวัน อาราม
ของท่านอนาถบิณฑิกเศรษฐี ใกล้พระนครสาวัตถี ก็สมัยนั้นแล ท่าน
พระสารีบุตรผู้มีความปรารถนาน้อย สันโดษ ชอบสงัด ไม่คลุกคลีด้วยหมู่

ปรารภความเพียร หมั่นประกอบในอธิจิต นั่งคู้บัลลังก์ ตั้งกายตรง อยู่
ในที่ไม่ไกลพระผู้มีพระภาคเจ้า พระผู้มีพระภาคเจ้าได้ทรงเห็นท่านพระ-
สารีบุตรผู้มีความปรารถนาน้อย. . . อยู่ในที่ไม่ไกล.
ลำดับนั้นแล พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงทราบเนื้อความนี้แล้ว จึงทรง
เปล่งอุทานนี้ในเวลานั้นว่า
ความโศกทั้งหลายย่อมไม่มีแก่ผู้ที่มีจิตยิ่ง ไม่
ประมาท เป็นมุนี ศึกษาอยู่ในคลองแห่งมุนี คงที่
สงบ มีสติทุกเมื่อ.

จบสารีปุตตสูตรที่ 7

อรรถกถาสารีปุตตสูตร



คำที่ไม่ได้กล่าวในก่อน ไม่มีในสูตรที่ 7. ในคาถาพึงทราบความ
ดังต่อไปนี้ :-
บทว่า อชิเจตโส แปลว่า ผู้มีอธิจิต. อธิบายว่า ผู้ประกอบด้วย
อรหัตผลจิต อันยิ่งกว่าจิตทั้งปวง. บทว่า อปฺปมชฺชโต แปลว่า ผู้ไม่
ประมาท ท่านอธิบายว่า ผู้ประกอบด้วยการกระทำเป็นไปติดต่อในธรรมอัน
หาโทษมิได้ ด้วยความไม่ประมาท. บทว่า มุนิโน ความว่า พระขีณาสพ
ชื่อว่ามุนี เพราะรู้โลกทั้งสองอย่างนี้ว่า เพราะผู้รู้โลกทั้งสอง ท่าน
เรียกว่า มุนี หรือเพราะประกอบด้วยญาณ กล่าวคือ ปัญญาอันสัมปยุต
ด้วยอรหัตผลนั้น ท่านเรียกว่า โมนะ. แก่พระมุนีนั้น. บทว่า มุนิ-
ปเถสุ สิกฺขโต
ความว่า ผู้ศึกษาในโพธิปักขิยธรรม 37 ประการ หรือ