เมนู

สังวร 4 หมวดนี้ มีการทำปาฏิโมกข์ให้สำเร็จ. บทว่า มตฺตญฺณุตา จ
ภตฺตสฺมึ ได้แก่ ความเป็นผู้รู้ประมาณในโภชนะ ด้วยอำนาจการแสวงหา
การรับ การบริโภค และการสละ. บทว่า ปนฺตญฺจ สยนาสนํ ได้แก่
ที่นอนและที่นั่งอันสงัด มีราวป่าและโคนไม้เป็นต้น อันอนุกูลแก่ภาวนา.
บทว่า จิตฺเต จ อาโยโค ความว่า เมื่อทำอรหัตผลจิต กล่าวคือ ชื่อว่า
อธิจิต เพราะเป็นจิตยิ่ง คือเพราะสูงสุดกว่าจิตทั้งปวงให้สำเร็จ ความ
พากเพียรย่อมมีด้วยอำนาจสมถภาวนาและวิปัสสนาภาวนา เพื่อทำอรหัต-
ผลจิตนั้นให้สำเร็จ. บทว่า เอตํ พุทฺธาน สาสนํ ความว่า การไม่ว่าร้าย
ผู้อื่น 1 การไม่ทำร้ายผู้อื่น 1 การสำรวมในพระปาฏิโมกข์ 1 การรู้จัก
ประมาณในการแสวงหาและการรับเป็นต้น 1 การอยู่ในที่อันสงัด 1
การประกอบเนืองๆ ซึ่งอธิจิตตามที่กล่าวแล้ว 1 นี้เป็นคำสอน คือเป็น
โอวาท อธิบายว่า เป็นคำพร่ำสอนของพระพุทธเจ้าทั้งหลาย สิกขา 3 พึง
ทราบว่าพระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสแล้วด้วยพระคาถานี้ ด้วยประการฉะนี้.
จบอรรถกถาปิณโฑลภารทวารสูตรที่ 6

7. สารีปุตตสูตร



ว่าด้วยความโศกไม่มีแก่มุนีผู้มีสติ



[101] ข้าพเจ้าได้สดับมาแล้วอย่างนี้ :-
สมัยหนึ่ง พระผู้มีพระภาคเจ้าประทับอยู่ ณ พระวิหารเชตวัน อาราม
ของท่านอนาถบิณฑิกเศรษฐี ใกล้พระนครสาวัตถี ก็สมัยนั้นแล ท่าน
พระสารีบุตรผู้มีความปรารถนาน้อย สันโดษ ชอบสงัด ไม่คลุกคลีด้วยหมู่