เมนู

ดังว่ามานี้ จึงเป็นเช่นเดียวกันกับด้วยความยินดีในเอกีภาพ.
จบอรรถกถานาคสูตรที่ 5

6. ปิณโฑลภารทวาชสูตร



ว่าด้วยคำสอนของพระพุทธเจ้าทั้งหลาย



[100] ข้าพเจ้าได้สดับมาแล้วอย่างนี้ :-
สมัยหนึ่ง พระผู้มีพระภาคเจ้าประทับอยู่ ณ พระวิหารเชตวัน
อารามของท่านอนาถบิณฑิกเศรษฐี ใกล้พระนครสาวัตถี ก็สมัยนั้นแล
ท่านพระปิณโฑลภารทวาชะผู้ถือการอยู่ป่าเป็นวัตร ถือทรงผ้าบังสุกุลเป็น
วัตร ถือทรงไตรจีวรเป็นวัตร มีความปรารถนาน้อย สันโดษ ชอบสงัด
ไม่คลุกคลีด้วยหมู่ ปรารภความเพียร ผู้มีวาทะกำจัด หมั่นประกอบใน
อธิจิต นั่งคู้บัลลังก์ตั้งกายตรง อยู่ในที่ไม่ไกลพระผู้มีพระภาคเจ้า พระผู้มี-
พระภาคเจ้าได้ทรงเห็นท่านพระปิณโฑลภารทวาชะผู้ถือการอยู่ป่าเป็นวัตร
. . .อยู่ในที่ไม่ไกล.
ลำดับนั้นแล พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงทราบเนื้อความนี้แล้ว จึง
ทรงเปล่งอุทานนี้ในเวลานั้นว่า
การไม่ว่าร้ายกัน 1 การไม่เบียดเบียนกัน 1 การ
สำรวมในพระปาติโมกข์ 1 ความเป็นผู้รู้จักประมาณ
ในภัต 1 ที่นอนที่นั่งอันสงัด 1 การประกอบความ
เพียรในอธิจิต 1 นี้เป็นคำสั่งสอนของพระพุทธเจ้า
ทั้งหลาย.

จบปิณโฑลภารทวารสูตรที่ 6

อรรถกถาปิณโฑลภารทวารสูตร



ปิณโฑลภารทวาชสูตรที่ 6 มีวินิจฉัยดังต่อไปนี้ :-
บทว่า ปิณฺโฑลภารทฺวาโช ความว่า ชื่อว่าปิณโฑละ เพราะบวช
เสาะแสวงหาก้อนข้าว.
ได้ยินว่า เขาเป็นพราหมณ์หมดสิ้นโภคะ เห็นลาภและสักการะเป็น
อันมากของภิกษุสงฆ์ จึงออกบวชเพื่อต้องการก้อนข้าว. เขาถือกระเบื้อง
แผ่นใหญ่ เข้าใจว่าเป็นบาตร เที่ยวดื่มข้าวยาคูเต็มกระเบื้อง บริโภคภัต
และกินขนมของเคี้ยว. ลำดับนั้น พวกภิกษุกราบทูลความที่ท่านกินจุ
แด่พระศาสดา. พระศาสดาจึงไม่ทรงอนุญาตให้เธอใช้ถลกบาตร. เธอจึง
คว่ำบาตรวางไว้โต้เตียง. เธอแม้เมื่อจะวางเสือกผลักวางไว้. แม้เมื่อจะถือ
เอาก็ลากคร่าถือเอามา. เมื่อกาลล่วงไป ล่วงไป กระเบื้องนั้นก็กร่อนไป
เพราะการเสียดสี จุเพียงข้าวสุกทะนานเดียวเท่านั้น. ลำดับนั้น พวกภิกษุ
จึงกราบทูลแด่พระศาสดา. ต่อมาพระศาสดาจึงทรงอนุญาตให้เธอมีถลก
บาตรได้. สมัยต่อมา พระเถระเจริญอินทรีย์ดำรงอยู่ในพระอรหัตผล.
ดังนั้น เขาจึงเรียกท่านว่า ปิณโฑละ เพราะเมื่อก่อนท่านแสวงหาเศษ
อามิสเพื่อก้อนข้าว แต่โดยโคตรเรียกว่าภารทวาชะ เพราะรวมศัพท์ทั้ง 2
ศัพท์เข้าด้วยกัน จึงเรียกว่า ปิณโฑลภารทวาชะ.
บทว่า อารญฺญโก ความว่า ชื่อว่า อารัญญกะ เพราะท่านอยู่ใน
ป่าโดยห้ามเสนาสนะชายบ้านเสีย. บทว่า อารญฺญโก นี้ เป็นชื่อของ
ภิกษุผู้ประพฤติสมาทานอรัญญิกธุดงค์. อนึ่ง การตกลงแห่งก้อนอามิส
คือภิกษาหาร ชื่อว่าบิณฑบาต. อธิบายว่า ก้อนข้าวที่คนอื่นให้ตกลงใน
บาตร. ภิกษุชื่อว่า ปิณฑปาติกะ เพราะแสวงหาบิณฑบาต คือเข้าไป