เมนู

ด้วยหินเป็นแท่งทึบ ตั้งอยู่โดยถึงความเป็นวสี เพราะไม่มีกิเลสเครื่องเอน
เอียงทั้งหมด ย่อมไม่หวั่น คือย่อมไม่ไหว ด้วยโลกธรรมแม้ทั้งปวง.
บัดนี้ เพื่อจะทรงแสดงอาการที่พระขีณาสพนั้น ไม่มีความหวั่น
ไหว พร้อมด้วยเหตุ จึงตรัสคำมีอาทิว่า วิรตฺตํ.
บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า วิรตฺตํ รชนีเยสุ ความว่า ผู้ปราศจาก
ความยินดี ในธรรมที่เป็นไปในภูมิสามแม้ทั้งหมด อันเป็นเหตุเกิดราคะ
ซึ่งเป็นที่ตั้งแห่งความยินดี ด้วยอริยมรรค คือวิราคธรรม อธิบายว่า
ตัดราคะได้เด็ดขาดโดยประการทั้งปวง ในธรรมที่เป็นไปในภูมิสามนั้น.
บทว่า โกปเนยฺเย ความว่า ย่อมไม่โกรธ คือ ย่อมไม่ขัดเคือง ได้แก่
ไม่ถึงอาการอันผิดแผก ในอาฆาตวัตถุ แม้ทั้งหมดอันเป็นที่ตั้งแห่งความ
ขัดเคือง. บทว่า ยสฺเสวํ ภาวิตํ จิตฺตํ ความว่า จิตอันพระอริยบุคคล
ตามที่กล่าวแล้วใด อบรมแล้ว โดยภาวะอันนำมาซึ่งความเป็นผู้คงที่ด้วย
อาการอย่างนี้ คือ โดยนัยดังกล่าวแล้ว. บทว่า กุโต ตํ ทุกขฺเมสฺสติ
ความว่า ทุกข์จักเข้าถึงซึ่งบุคคลผู้สูงสุดนั้นแต่ที่ไหน คือ แต่สัตว์ หรือ
สังขาร อธิบายว่า บุคคลเช่นนั้น ย่อมไม่มีทุกข์.
จบอรรถกถาชุณหสูตรที่ 4

5. นาคสูตร



ว่าด้วยพระผู้มีพระภาคเจ้าละจากหมู่อยู่ผู้เดียว



[97] ข้าพเจ้าได้สดับมาแล้วอย่างนี้ :-
สมัยหนึ่ง พระผู้มีพระภาคเจ้าประทับอยู่ ณ โฆสิตาราม ใกล้เมือง
โกสัมพี ก็สมัยนั้นแล พระผู้มีพระภาคเจ้าเกลื่อนกล่นอยู่ด้วยภิกษุ ภิกษุณี
อุบาสก อุบาสิกา พระราชา มหาอำมาตย์ของพระราชา เดียรถีย์ สาวกแห่ง

เดียรถีย์ ประทับอยู่ลำบากไม่ผาสุก ลำดับนั้นแล พระผู้มีพระภาคเจ้าทรง
ดำริว่า บัดนี้เราแลเกลื่อนกล่นอยู่ด้วยภิกษุ ภิกษุณี อุบาสก อุบาสิกา
พระราชา มหาอำมาตย์ของพระราชา เดียรถีย์ สาวกแห่งเดียรถีย์ อยู่
ลำบากไม่ผาสุก ถ้ากระไร เราพึงหลีกออกจากหมู่อยู่ผู้เดียวเถิด ครั้งนั้น
เป็นเวลาเช้า พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงอันตรวาสกแล้ว ทรงถือบาตรและ
จีวร เสด็จเข้าไปบิณฑบายังเมืองโกสัมพี ครั้นเสด็จเที่ยวบิณฑบาตใน
เมืองโกสัมพี เสด็จกลับจากบิณฑบาตภายหลังภัตแล้ว ทรงเก็บเสนาสนะ
ทรงถือบาตรและจีวรด้วยพระองค์เอง ไม่ทรงบอกลาอุปัฏฐาก ไม่ทรงบอก
เล่าภิกษุสงฆ์ พระองค์เดียวไม่มีเพื่อน เสด็จหลีกจาริกไปทางป่าปาลิไลยกะ
เสด็จจาริกไปโดยลำดับ ถึงป่าปาลิไลยกะแล้ว.
[ 98 ] ได้ยินว่า ณ ที่นั้น พระผู้มีพระภาคเจ้าประทับอยู่ที่วงไม้
ภัททสาละในราวไพรรักขิตวันในป่าปาลิไลยกะ แม้พญาช้างเชือกหนึ่ง
เกลื่อนกล่นอยู่ด้วยเหล่าช้างพลาย ช้างพัง ช้างสะเทิ้น ลูกช้าง กินหญ้า
ที่ช้างทั้งหลายเล็มยอดเสียแล้ว และช้างทั้งหลายกินกิ่งไม้ที่พญาช้างนั้น
หักลง ๆ พญาช้างนั้นดื่มน้ำที่ขุ่น และเมื่อพญาช้างนั้นลงและขึ้นจากน้ำ
เหล่าช้างพังเดินเสียดสีกายไป พญาช้างนั้นเกลื่อนกล่นอยู่ลำบากไม่ผาสุก
ลำดับนั้นแล พญาช้างนั้นดำริว่า บัดนี้ เราแลเกลื่อนกล่นอยู่ด้วยเหล่าช้าง
พลาย ช้างพัง ช้างสะเทิ้น ลูกช้าง เรากินหญ้าที่ช้างทั้งหลายเล็มยอด
เสียแล้ว และช้างทั้งหลายกินกิ่งไม้ที่เราหักลง ๆ เราดื่มน้ำที่ขุ่น และเมื่อ
เราลงและขึ้นจากท่าน้ำ เหล่าช้างพังทั้งหลาย เดินเสียดสีกายไป เรา
เกลื่อนกล่นอยู่ลำบากไม่ผาสุก ถ้ากระไร เราพึงหลีกออกจากโขลงอยู่แต่
ผู้เดียว ลำดับนั้นแล พญาช้างนั้นหลีกออกจากโขลง แล้วเข้าไปเฝ้า

พระผู้มีพระภาคเจ้าที่ควงไม้ภัททสาละ ในราวป่ารักขิตวัน ณ ป่าปาลิไลยกะ
ที่พระผู้มีพระภาคเจ้าประทับอยู่ ได้ยินว่า พญาช้างนั้นกระทำประเทศที่
พระผู้มีพระภาคเจ้าประทับอยู่ในรักขิตวันนั้นให้ปราศจากของเขียว และ
เข้าไปตั้งน้ำฉันน้ำใช้ไว้สำหรับพระผู้มีพระภาคเจ้าด้วยงวง.
[99] ครั้งนั้นแล พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงหลีกเร้นอยู่ในที่ลับ
ทรงเกิดความปริวิตกแห่งพระทัยอย่างนี้ว่า เมื่อก่อนเราแลเกลื่อนกล่นอยู่
ด้วยภิกษุ ภิกษุณี อุบาสก อุบาสิกา พระราชา มหาอำมาตย์ของพระราชา
เดียรถีย์ สาวกแห่งเดียรถีย์ เราเกลื่อนกล่นอยู่ลำบากไม่ผาสุก บัดนี้
เรานั้นไม่เกลื่อนกล่นอยู่ด้วย ภิกษุ ภิกษุณี อุบาสก อุบาสิกา พระราชา
มหาอำมาตย์ของพระราชา เดียรถีย์ สาวกแห่งเดียรถีย์ เราไม่เกลื่อนกล่น
เป็นสุขสำราญ พญาช้างนั้นเกิดความปริวิตกแห่งใจอย่างนี้ว่า เมื่อก่อน
เราแลเกลื่อนกล่นอยู่ด้วยเหล่าช้างพลาย ช้างพัง ช้างสะเทิ้น ลูกช้าง เรา
กินหญ้าที่ช้างทั้งหลายเล็มยอดเสียแล้ว และช้างทั้งหลายกินกิ่งไม้ที่เราหัก
ลง ๆ เราดื่มน้ำที่ขุ่น และเมื่อเราลงและขึ้นจากน้ำ ช้างพังทั้งหลายเดิน
เสียดสีกายไป เราเกลื่อนกล่นอยู่ลำบากไม่ผาสุก บัดนี้ เราไม่เกลื่อนกล่น
อยู่ด้วยเหล่าช้างพลาย ช้างพัง ช้างสะเทิ้น ลูกช้าง เราไม่กินหญ้าที่ช้าง
ทั้งหลายเล็มยอดแล้ว และช้างทั้งหลายไม่กินกิ่งไม้ที่เราหักลง ๆ เราดื่มน้ำ
ที่ไม่ขุ่น และเมื่อเราลงและขึ้นจากน้ำ ช้างพังทั้งหลายก็ไม่เดินเสียดสีกาย
ไป เราไม่เกลื่อนกล่นอยู่เป็นสุขสำราญ
ลำดับนั้นแล พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงทราบความสงัดกายของพระ-
องค์ และทรงทราบความปริวิตกแห่งใจของพญาช้างนั้น ด้วยพระหฤทัย
แล้ว จึงทรงเปล่งอุทานนี้ในเวลานั้นว่า

จิตของพญาช้างมีงาเช่นกับงอนรถ ย่อมสมกับจิต
ที่ประเสริฐของพระพุทธเจ้าผู้ประเสริฐ เพราะพระ-
พุทธเจ้าพระองค์เดียว ทรงยินดีอยู่ในป่า.
จบนาคสูตรที่ 5

อรรถกถานาคสูตร



นาคสูตรที่ 5 มีวินิจฉัยดังต่อไปนี้ :-
บทว่า โกสมฺพิยํ ความว่า ใกล้นครอันได้นามอย่างนี้ว่า โกสัมพี
เพราะสร้างไว้ในที่ที่กุสุมพฤาษีอยู่. บทว่า โฆสิตาราเม ได้แก่ ในอาราม
ที่โฆสิตเศรษฐีสร้างไว้. บทว่า ภควา อากิณฺโณ วิหรติ ได้แก่ พระ-
ผู้มีพระภาคเจ้า ได้ทรงรับความคับแคบ ประทับอยู่. ถามว่า ก็พระ-
ผู้มีพระภาคเจ้า มีความคับแคบหรือมีความคลุกคลี ? ตอบว่า ไม่มี
เพราะใคร ๆ ไม่สามารถจะเข้าเฝ้าพระผู้มีพระภาคเจ้า โดยไม่ปรารถนา.
จริงพระผู้มีพระภาคพุทธเจ้าทั้งหลาย เข้าเฝ้าได้โดยยากก็เพราะไม่ทรงติด
อยู่ในที่ทั้งปวง. ก็พระผู้มีพระภาคเจ้า ทรงอาศัยความอนุเคราะห์ในหมู่
สัตว์ ด้วยทรงแสวงหาประโยชน์เกื้อกูล เพื่อจะรื้อถอนหมู่สัตว์ออกจาก
โอฆะ 4 โดยสมควรแก่ปฏิญญาว่า เราหลุดพ้นแล้ว จักให้หมู่สัตว์หลุด
พ้นด้วย จึงทรงรับให้บริษัททั้ง 8 เข้าเฝ้ายังสำนักของพระองค์ตลอด
เวลา. ก็พระองค์เอง อันพระมหากรุณากระตุ้นเตือน เป็นกาลัญญู
เสด็จเข้าไปในบริษัทนั้น. ข้อนี้ อันพระพุทธเจ้าทุกพระองค์ เคยประ-
พฤติกันมา. นี้ท่านประสงค์ว่า การอยู่เกลื่อนกล่นในที่นี้.
แต่ในที่นี้ เมื่อภิกษุชาวเมืองโกสัมพีเกิดทะเลาะกัน พระศาสดา