เมนู

ด้วยหินเป็นแท่งทึบ ตั้งอยู่โดยถึงความเป็นวสี เพราะไม่มีกิเลสเครื่องเอน
เอียงทั้งหมด ย่อมไม่หวั่น คือย่อมไม่ไหว ด้วยโลกธรรมแม้ทั้งปวง.
บัดนี้ เพื่อจะทรงแสดงอาการที่พระขีณาสพนั้น ไม่มีความหวั่น
ไหว พร้อมด้วยเหตุ จึงตรัสคำมีอาทิว่า วิรตฺตํ.
บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า วิรตฺตํ รชนีเยสุ ความว่า ผู้ปราศจาก
ความยินดี ในธรรมที่เป็นไปในภูมิสามแม้ทั้งหมด อันเป็นเหตุเกิดราคะ
ซึ่งเป็นที่ตั้งแห่งความยินดี ด้วยอริยมรรค คือวิราคธรรม อธิบายว่า
ตัดราคะได้เด็ดขาดโดยประการทั้งปวง ในธรรมที่เป็นไปในภูมิสามนั้น.
บทว่า โกปเนยฺเย ความว่า ย่อมไม่โกรธ คือ ย่อมไม่ขัดเคือง ได้แก่
ไม่ถึงอาการอันผิดแผก ในอาฆาตวัตถุ แม้ทั้งหมดอันเป็นที่ตั้งแห่งความ
ขัดเคือง. บทว่า ยสฺเสวํ ภาวิตํ จิตฺตํ ความว่า จิตอันพระอริยบุคคล
ตามที่กล่าวแล้วใด อบรมแล้ว โดยภาวะอันนำมาซึ่งความเป็นผู้คงที่ด้วย
อาการอย่างนี้ คือ โดยนัยดังกล่าวแล้ว. บทว่า กุโต ตํ ทุกขฺเมสฺสติ
ความว่า ทุกข์จักเข้าถึงซึ่งบุคคลผู้สูงสุดนั้นแต่ที่ไหน คือ แต่สัตว์ หรือ
สังขาร อธิบายว่า บุคคลเช่นนั้น ย่อมไม่มีทุกข์.
จบอรรถกถาชุณหสูตรที่ 4

5. นาคสูตร



ว่าด้วยพระผู้มีพระภาคเจ้าละจากหมู่อยู่ผู้เดียว



[97] ข้าพเจ้าได้สดับมาแล้วอย่างนี้ :-
สมัยหนึ่ง พระผู้มีพระภาคเจ้าประทับอยู่ ณ โฆสิตาราม ใกล้เมือง
โกสัมพี ก็สมัยนั้นแล พระผู้มีพระภาคเจ้าเกลื่อนกล่นอยู่ด้วยภิกษุ ภิกษุณี
อุบาสก อุบาสิกา พระราชา มหาอำมาตย์ของพระราชา เดียรถีย์ สาวกแห่ง