เมนู

ยนฺตํ กยิรา ได้แก่ พึงกระทำความวอดวายให้แก่โจรหรือคนผู้มีเวรนั้น.
แม้ในบทที่ 2 ก็นัยนี้เหมือนกัน . ท่านกล่าวคำอธิบายไว้ดังนี้ว่า โจร
ผู้มักประทุษร้ายมิตรคนหนึ่ง ผิดในวิญญาณก็ทรัพย์และอวิญญาณกทรัพย์
มีบุตร ภรรยา นา สวน โค และกระบือเป็นต้นของโจรคนหนึ่ง ตนผิด
ต่อโจรใด เห็นโจรแม้นั้นผิดในคนเหมือนอย่างนั้นนั่นแหละ ก็หรือว่า
คนมีเวรเห็นคนมีเวรผู้ผูกเวรด้วยเหตุอย่างใดอย่างหนึ่ง พึงกระทำความ
วอดวายให้แก่ผู้มีเวรนั้น หรือพึงเบียดเบียนบุตรและภรรยา ก็หรือว่าพึง
ปลงเขาเสียจากชีวิต เพราะความที่ตนเป็นคนหยาบช้าทารุณ จิตที่ชื่อว่า
ตั้งไว้ผิด เพราะตั้งไว้ผิดในอกุศลกรรมบถ 10 พึงทำเขาให้เลวกว่านั้น
คือพึงทำบุรุษนั้นให้เลวกว่านั้น. ความจริง โจรโจกหรือคนมีเวรมีประการ
ดังกล่าวแล้ว พึงทำทุกข์ให้เกิดขึ้นแก่โจรโจกหรือคนมีเวร หรือทำโจร-
โจกหรือคนมีเวรให้สิ้นชีวิตในอัตภาพนี้เท่านั้น ส่วนจิตที่ตั้งไว้ผิดใน
อกุศลกรรมบถ 10 นี้ ย่อมทำเขาให้ถึงความวอดวายในปัจจุบันนี้นั่นแหละ
ย่อมซัดไปในอบาย 4 ไม่ให้เขาเงยศีรษะขึ้นได้ แม้ในแสนอัตภาพ.
จบอรรถกถาโคปาลสูตรที่ 3

4. ชุณหสูตร



ว่าด้วยยักษ์ประหารศีรษะพระสารีบุตร



[93] ข้าพเจ้าได้สดับมาแล้วอย่างนี้ :-
สมัยหนึ่ง พระผู้มีพระภาคเจ้าประทับอยู่ ณ พระวิหารเวฬุวันกลัน-
ทกนิวาปสถาน ใกล้กรุงราชคฤห์ ก็สมัยนั้นแล ท่านพระสารีบุตรและ
ท่านพระมหาโมคคัลลานะอยู่ที่กโปตกันทราวิหาร ก็สมัยนั้น ท่านพระ-

สารีบุตรมีผมอันปลงแล้วใหม่ ๆ นั่งเข้าสมาธิอย่างหนึ่งอยู่กลางแจ้งในคืน
เดือนหงาย.
[94] ก็สมัยนั้น ยักษ์สองสหายออกจากทิศอุดรไปยังทิศทักษิณ
ด้วยกรณียกิจบางอย่าง ได้เห็นท่านพระสารีบุตรมีผมอันปลงแล้วใหม่ ๆ
นั่งอยู่กลางแจ้งในคืนเดือนหงาย ครั้นแล้วยักษ์ตนหนึ่งได้กล่าวกะยักษ์
ผู้เป็นสหายว่า ดูก่อนสหาย เราจะประหารที่ศีรษะแห่งสมณะนี้ เมื่อยักษ์
นั้นกล่าวอย่างนี้แล้ว ยักษ์ผู้เป็นสหายได้กล่าวกะยักษ์นั้นว่า ดูก่อนสหาย
อย่าเลย ท่านอย่าประหารสมณะเลย ดูก่อนสหาย สมณะนั้นมีคุณยิ่ง
มีฤทธิ์มาก มีอานุภาพมาก แม้ครั้งที่ 2. . . แม้ครั้งที่ 3 ยักษ์นั้นก็ได้
กล่าวกะยักษ์ผู้เป็นสหายว่า ดูก่อนสหาย เราจะประหารที่ศีรษะแห่งสมณะ
นี้ แม้ครั้งที่ 3 ยักษ์ผู้เป็นสหายก็ได้กล่าวกะยักษ์นั้นว่า ดูก่อนสหาย อย่า
เลย ท่านอย่าประหารสมณะเลย ดูก่อนสหาย สมณะนั้นมีคุณยิ่ง มีฤทธิ์
มาก มีอานุภาพมาก ลำดับนั้นแล ยักษ์นั้นไม่เชื่อยักษ์ผู้เป็นสหาย ได้
ประหารศีรษะแห่งท่านพระสารีบุตรเถระ ยักษ์นั้นพึงยังพญาช้างสูงตั้ง 7
ศอก หรือ 8 ศอกให้จมลงไปก็ได้ หรือพึงทำลายยอดภูเขาใหญ่ก็ได้
ด้วยการประหารนั้น ก็แลยักษ์นั้นกล่าวว่า เราย่อมเร่าร้อน แล้วได้ตกลง
ไปสู่นรกใหญ่ในที่นั้นเอง.
[95] ท่านพระมหาโมคคัลลานะ ได้เห็นยักษ์นั้นประหารที่ศีรษะ
แห่งท่านพระสารีบุตร ด้วยจักษุเพียงดังทิพย์อันบริสุทธิ์ล่วงจักษุของ
มนุษย์ แล้วเข้าไปหาท่านพระสารีบุตร ครั้นแล้วได้ถามท่านพระสารีบุตร
ว่า ดูก่อนอาวุโส ท่านพึงอดทนได้หรือ พึงยังอัตภาพให้เป็นไปได้หรือ
ทุกข์อะไร ๆ ไม่มีหรือ ท่านพระสารีบุตรตอบว่า ดูก่อนอาวุโสโมคคัล-

ลานะ ผมพึงอดทนได้ พึงยังอัตภาพให้เป็นไปได้ แต่บนศีรษะของผม
มีทุกข์หน่อยหนึ่ง.
ม. ดูก่อนอาวุโสสารีบุตร น่าอัศจรรย์ ไม่เคยมี ท่านพระสารีบุตร
มีฤทธิ์มาก มีอานุภาพมาก ยักษ์ตนหนึ่งได้ประหารศีรษะของท่านในที่นี้
การประหารเป็นการประหารใหญ่เพียงนั้น ยักษ์นั้นพึงยังพญาช้างสูงตั้ง 7
ศอก 8 ศอกให้จมลงไปก็ได้ หรือพึงทำลายยอดภูเขาใหญ่ก็ได้ ด้วยการ
ประหารนั้น ก็แล ท่านพระสารีบุตรได้กล่าวอย่างนี้ว่า ดูก่อนอาวุโส
โมคคัลลานะ ผมพึงอดทนได้ พึงยังอัตภาพให้เป็นไปได้ แต่บนศีรษะ
ของผมมีทุกข์หน่อยหนึ่ง.
สา. ดูก่อนอาวุโสโมคคัลลานะ น่าอัศจรรย์ ไม่เคยมี ท่านมหา-
โมคคัลลานะมีฤทธิ์มาก มีอานุภาพมาก ที่เห็นยักษ์ ส่วนผมไม่เห็นแม้
ซึ่งปิศาจผู้เล่นฝุ่นในบัดนี้.
[96] พระ.ผู้มีพระภาคเจ้าได้ทรงสดับการเจรจาปราศรัยเห็นปานนี้
แห่งท่านมหานาคทั้งสองนั้น ด้วยโสตธาตุอันเป็นทิพย์บริสุทธิ์ล่วงโสต-
ธาตุของมนุษย์ ครั้งนั้นแล พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงทราบเนื้อความนี้แล้ว
จึงทรงเปล่งอุทานนี้ในเวลานั้นว่า
จิตของผู้ใดเปรียบด้วยภูเขาหิน ตั้งมั่น ไม่หวั่น-
ไหว ไม่กำหนัดในอารมณ์เป็นที่ตั้งแห่งความกำหนัด
ไม่โกรธเคืองในอารมณ์เป็นที่ตั้งแห่งการโกรธเคือง
จิตของผู้ใดอบรมแล้วอย่างนี้ ทุกข์จักถึงผู้นั้นแต่ที่
ไหน.

จบชุณหสูตรที่ 4

อรรถกถาชุณหสูตร



ชุณหสูตรที่ 4 มีวินิจฉัยดังต่อไปนี้ :-
บทว่า กโปตกนฺทรายํ ได้แก่ ในวิหารมีชื่ออย่างนั้น. ได้ยินว่า
เมื่อก่อนนกพิราบเป็นอันมากอยู่ในซอกเขานั้น. ด้วยเหตุนั้น ซอกเขานั้น
จึงเรียกกันว่า กโปตกันทรา. ภายหลังถึงเขาสร้างวิหารไว้ในที่นั้น ก็ยัง
ปรากฏว่า กโปตกันทรา อยู่นั่นเอง. ด้วยเหตุนั้น ท่านจึงกล่าวว่า กโป-
ตกนฺทรายนฺติ เอวํนามเก วิหาเร.

บทว่า ชุณฺหาย รตฺติยา ได้แก่ ในราตรีศุกลปักษ์. บทว่า นโว-
โรปิเตหิ เกเสหิ
ได้แก่ มีผมที่ปลงไม่นาน ก็คำว่า เกเสหิ นี้ เป็น
ตติยาวิภัตติ ใช้ในลักษณะอิตถัมภูต. บทว่า อพฺโภกาเส ได้แก่ ที่เนิน
กลางแจ้งที่ไม่มีเครื่องมุงหรือเครื่องบัง. ในพระเถระเหล่านั้น ท่านพระ-
สารีบุตรมีวรรณดุจทองคำ ท่านมหาโมคคัลลานะมีวรรณดังดอกอุบลเขียว
ก็พระมหาเถระทั้งสององค์นั้นเป็นชาติพราหมณ์โดยเฉพาะ สมบูรณ์ด้วย
อภินิหาร สิ้นหนึ่งอสงไขยยิ่งด้วยแสนกัป บรรลุปฏิสัมภิทา 6 เป็นพระ-
ขีณาสพผู้ใหญ่ ได้สมาบัติทุกอย่าง ถึงที่สุดสาวกบารมีญาณ 67 ประการ
ทำกโปตกันทราวิหารแห่งเดียวกันให้สว่างไสวไพโรจน์ เหมือนสีหะ 2 ตัว
อยู่ถ้ำทองแห่งเดียวกัน เหมือนเสือโคร่ง 2 ตัว หยั่งลงสู่พื้นที่เหยียดกาย
แห่งเดียวกัน เหมือนพญาช้างฉัททันต์ 2 เชือก เข้าป่าสาลวันซึ่งมีดอก
บานสะพรั่งแห่งเดียวกัน เหมือนพญาครุฑ 2 ตัวอยู่ป่าฉิมพลีแห่งเดียว
กัน เหมือนท้าวเวสวัณ 2 องค์ ขึ้นยานสำหรับพาคนไปยานเดียวกัน
เหมือนท้าวสักกะ 2 องค์ ประทับนั่งบนบัณฑุกัมพลิศิลาอาสน์เดียวกัน
เหมือนท้าวมหาพรหม 2 องค์ อยู่ในวิมานเดียวกัน เหมือนดวงจันทร์ 2