เมนู

อรรถกถาโคปาลสูตร



โคปาลสูตรที่ 3 มีวินิจฉัยดังต่อไปนี้ :-
บทว่า โกสเลสุ ความว่า พระราชกุมารชาวชนบท ชื่อว่าโกศล.
ชนบทแห่งหนึ่ง อันเป็นที่อยู่ของพระราชกุมารเหล่านั้น ก็เรียกว่า โกศล
เหมือนกัน ในโกศลชนบทนั้น. บทว่า จาริกํ จรติ ได้แก่ เสด็จเที่ยว
จาริกไปในชนบท โดยเสด็จไปอย่างไม่รีบด่วน. บทว่า มหตา ความว่า
ชื่อว่าใหญ่ เพราะใหญ่โดยคุณบ้าง ชื่อว่าใหญ่ เพราะใหญ่โดยจำนวน
เพราะกำหนดนับไม่ได้บ้าง. บทว่า ภิกฺขุสงฺเฆน ได้แก่ ด้วยหมู่สมณะอัน
ทัดเทียมกันด้วยทิฏฐิและศีล. บทว่า สทฺธึ แปลว่า ด้วยกัน. บทว่า มคฺคา
โอกฺกมฺม
แปลว่า แวะออกจากทาง. บทว่า อญฺญตรํ รุกฺขมูลํ ได้แก่
มูล กล่าวคือที่ใกล้ต้นไม้ใหญ่ มีใบเขียวทึบ มีร่มเงาสนิท. บทว่า
อญฺญตโร โคปาลโก ความว่า ผู้รักษาฝูงโคคนหนึ่งโดยชื่อ ชื่อว่า
นันทะ. ได้ยินว่า นายนันทะนั้นเป็นคนมั่งคั่ง มีทรัพย์มาก มีโภคะมาก
รักษาฝูงโคของท่านอนาถบิณฑิกเศรษฐี หลีกเลี่ยงการกดขี่ของพระราชา
โดยทำเป็นคนเลี้ยงโค รักษาทรัพย์ของตน เหมือนเกณิยชฎิลหลีกเลี่ยง
การกดขี่ด้วยเพศบรรพชาฉะนั้น. เขาถือเอาปัญจโครสตามกาลเวลามายัง
สำนักของมหาเศรษฐีแล้วมอบให้ แล้วไปยังสำนักพระศาสดา พบพระ-
ศาสดา ฟังธรรม และอ้อนวอนพระศาสดาเพื่อเสด็จมายังที่อยู่ของคน.
พระศาสดาทรงรอความแก่กล้าแห่งญาณของเธอนั่นแหละ ภายหลังทรง
แวดล้อมด้วยภิกษุสงฆ์หมู่ใหญ่ เสด็จจาริกไปในชนบท ทราบว่า บัดนี้
เธอมีญาณแก่กล้าแล้ว จึงเสด็จแวะลงจากทางไม่ไกลแต่ที่ทีเธออยู่ ประตู-
ทับนั่ง ณ โคนไม้แห่งหนึ่ง รอการมาของเธอ, ผ่ายนายนันทะทราบว่า