เมนู

เมฆิยวรรควรรณนาที่ 4



อรรถกถาเมฆิยสูตร



เมฆิยสูตรที่ 1 แห่งเมฆิยวรรคมีวินิจฉัยดังต่อไปนี้ :-
บทว่า จาลิกายํ ได้แก่ ใกล้เมืองชื่ออย่างนี้. ได้ยินว่า เลยสถานที่
ประตูนั้นไป มีเปือกตมไหวอยู่รอบ ๆ. เพราะตั้งชิดเปือกตมที่ไหว
นครนั้นจึงปรากฏแก่ผู้ที่แลดูเหมือนไหวอยู่ เพราะฉะนั้น เมืองนั้นเขาจึง
เรียกว่า จาลิกา. บทว่า จาลิเก ปพฺพเต ความว่า ในที่ไม่ไกลนครนั้น
มีภูเขาลูกหนึ่ง แม้ภูเขานั้นก็ปรากฏแก่ผู้แลดูเหมือนไหวอยู่ ในวัน
อุโบสถข้างแรม เพราะภูเขานั้นขาวปลอด เพราะฉะนั้น ภูเขานั้นจึงนับว่า
จาลิกบรรพต. ชนทั้งหลายได้พากันสร้างวิหารใหญ่ในที่นั้น ถวายแด่พระ-
ผู้มีพระภาคเจ้า. ในกาลนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้าได้ทรงทำนครนั้นให้เป็น
โคจรคาม ประทับอยู่ที่มหาวิหารใกล้จาลิกบรรพตนั้น ด้วยเหตุนั้น
ท่านจึงกล่าวว่า ประทับอยู่ ณ จาลิกบรรพต ใกล้เมืองจาลิกา.
บทว่า เมฆิโย เป็นชื่อของพระเถระนั้น. บทว่า อุปฏฺฐาโก โหติ
ได้แก่ เป็นผู้บำเรอ. จริงอยู่ ในปฐมโพธิกาล พระผู้มีพระภาคเจ้าไม่มี
อุปัฏฐากประจำ บางคราวได้มีพระนาคสมาละ. บางคราวพระนาคิต.
บางคราวพระอุปวาณะ. บางคราวพระสุนักขัตตะ. บางคราวพระ-
จุนทสมณุทเทศ บางคราวพระสาคตะ. บางคราวพระเมฆิยะ. แม้ใน
คราวนั้น ท่านพระเมฆิยเถรนั่นแหละเป็นอุปัฏฐาก. ด้วยเหตุนั้น ท่าน
จึงกล่าวว่า ก็สมัยนั้นแล ท่านพระเมฆิยะเป็นอุปัฏฐากพระผู้มีพระภาคเจ้า.
บทว่า ชนฺตุคามํ ได้แก่ วิหารนั้นนั่นแหละ ได้มีโคจรคามอื่น
ซึ่งมีอย่างนั้น. บาลีว่า ชตฺตุคามํ ดังนี้ก็มี. บทว่า กิมิกาฬาย ได้แก่

แห่งแม่น้ำอันได้ชื่อว่ากิมิกาฬา เพราะมีแมลงสีดำมาก. บทว่า ชงฺฆาวิหารํ
ความว่า เที่ยวไปเพื่อบรรเทาความเมื่อยล้าอันเกิดที่ขา เพราะนั่งนาน.
บทว่า ปาสาทิกํ ความว่า ชื่อว่าน่าเลื่อมใส เพราะนำความเลื่อมใสมา
แก่ผู้เห็น เพราะมีต้นไม้ไม่ห่างและมีใบสนิท. ชื่อว่า น่าฟูใจ เพราะมี
ร่มเงาสนิท และเพราะมีภูมิภาคน่าฟูใจ. ชื่อว่า น่ารื่นรมย์ เพราะทำจิต
ให้รื่นรมย์ ด้วยอรรถว่าทำผู้เข้าไปภายในให้เกิดปีติโสมนัส. บทว่า อลํ
แปลว่า สามารถ. แปลว่า ควร ก็ได้. บทว่า ปธานตฺถิกสฺส ได้แก่
ผู้มีความต้องการอบรมความเพียร. บทว่า ปธานาย ได้แก่ ด้วยการ
กระทำสมณธรรม. บทว่า อาคจฺเฉยฺยาหํ ตัดเป็น อาคจฺเฉยฺยํ อหํ.
ได้ยินว่า เมื่อก่อนที่นั้นเป็นพระราชอุทยาน ที่พระเถระเคยเป็นพระราชา
ครอบครองมา 500 ชาติ ตามลำดับ ด้วยเหตุนั้น จิตของพระเถระนั้น
จึงน้อมไปเพื่อจะอยู่ในที่นั้น ในขณะพอสักว่าได้เห็นเท่านั้น.
บทว่า อาคเมหิ ตาว ความว่า พระศาสดาครั้นทรงสดับคำของ
พระเถระแล้ว เมื่อทรงใคร่ครวญ จึงทรงทราบว่า ญาณของเธอยังไม่ถึง
ความแก่กล้าก่อน เมื่อจะตรัสห้าม จึงตรัสอย่างนั้น. ก็เพื่อจะให้เธอเกิด
จิตอ่อนโยนขึ้นว่า เมื่อเป็นเช่นนี้พระเถระนี้แม้ไปแล้ว เมื่อกรรมยังไม่
สำเร็จก็จะไม่ระแวง จักกลับมาด้วยอำนาจความรัก จึงตรัสคำนี้ว่า เรา
เป็นผู้เดียวอยู่ก่อน. บทว่า ยาว อญฺโญปิ โกจิ ภิกฺขุ อาคจฺฉติ ความ
ว่า เธอจงรอจนกว่าภิกษุไร ๆ จะมายังสำนักเรา. บาลีว่า โกจิ ภิกฺขุ
ทิสฺสติ
ภิกษุไร ๆ จะปรากฏดังนี้ก็มี. อาจารย์บางพวกกล่าวว่า อาคจฺฉตุ.
บางพวกกล่าว ทิสฺสตุ เหมือนกัน. บทว่า นตฺถิ กิญฺจิ อุตฺตรึ กรณียํ
ความว่า เพราะพระองค์ทำกิจ 16 อย่างมีปริญญากิจเป็นต้น ในสัจจะ 4

ด้วยมรรค 4 หรือเพราะทรงบรรลุอภิสัมโพธิญาณ ชื่อว่ากรณียกิจอื่นอัน
ยิ่งกว่านั้น ย่อมไม่มี. บทว่า นตฺถิ กตสฺส วา ปฏิจโย ความว่า หรือ
กิจที่ทรงกระทำเสร็จแล้วก็ไม่ต้องสั่งสมต่อไป. ถึงมรรคที่พระองค์ให้เกิด
ต่อไป หรือกิเลสที่พระองค์ละได้แล้ว ไม่มีกิจที่จะละอีก. บทว่า อตฺถิ
กตสฺส ปฏิจโย
ความว่า เพราะข้าพระองค์ยังไม่บรรลุอริยมรรค ข้าพระ-
องค์จึงจำต้องสั่งสมกล่าวคือพอกพูนต่อไป เพื่อธรรมมีศีลเป็นต้น อัน
สำเร็จในสันดานของข้าพระองค์. บทว่า ปธานนฺติ โข เมฆิย วทมานํ
กินฺติ วเทยฺยาม
ความว่า เราจะกล่าวชื่ออะไรอื่นกะเธอผู้กล่าวอยู่ว่า จะ
ทำสมณธรรม.
บทว่า ทิวาวิหารํ นิสีทิ ความว่า พระเถระนั่งพักผ่อนในกลางวัน.
ก็พระเถระนั่งก็นั่งบนแผ่นศิลามงคล ซึ่งเมื่อก่อนตนเคยเป็นพระราชา
500 ชาติตามลำดับ ทรงกรีฑาในพระราชอุทยาน นั่งแวดล้อมด้วย
นักฟ้อนต่าง ๆ. ครั้นตั้งแต่เวลาที่ท่านนั่งแล้ว เป็นเหมือนภาวะแห่ง
สมณะหายไป เกิดเป็นเหมือนกลายเพศเป็นพระราชาห้อมล้อมด้วยบริวาร
นักฟ้อนนั่งบนบัลลังก์อันควรค่ามากภายใต้เศวตฉัตร. ครั้นเมื่อท่านยินดี
สมบัตินั้น กามวิตกก็เกิดขึ้น. ขณะนั้นเองท่านได้เห็น เหมือนเห็นโจร
2 คนถูกจับพร้อมด้วยของกลาง เขานำมายืนอยู่ตรงหน้า. ในโจร 2 คน
นั้น พยาบาทวิตกเกิดขึ้นด้วยอำนาจการสั่งให้ฆ่าโจรคนหนึ่ง วิหิงสาวิตก
เกิดขึ้นด้วยอำนาจการสั่งให้จองจำโจรคนหนึ่ง. เมื่อเป็นเช่นนั้น ท่านได้
เป็นผู้แวดล้อมเกลื่อนกล่นด้วยอกุศลวิตก เหมือนต้นไม้ถูกล้อมด้วยเชิง
เถาวัลย์และเหมือนรวงผึ้งแวดล้อมด้วยตัวผึ้งฉะนั้น. ท่านหมายเอาอาการ
นั้น จึงกล่าวว่า อถ โข อายสฺมโต เมฆิยสฺส ดังนี้เป็นต้น.

ได้ยินว่า คำว่า อจฺฉริยํ วต โภ นี้ ชื่อว่าอัศจรรย์ในการติเตียน
เหมือนท่านพระอานนท์เห็นพระผู้มีพระภาคเจ้ามีพระร่างเปลี่ยนไปเพราะ
รอยย่น จึงได้ทูลว่า น่าอัศจรรย์ พระเจ้าข้า เรื่องไม่เคยมี พระเจ้าข้า.
แต่อาจารย์อีกพวกหนึ่งกล่าวว่า สมัยนั้น กามวิตกย่อมเกิดขึ้นแก่ท่าน
ด้วยอำนาจความโลภในเพราะดอกไม้ ผลไม้ และใบอ่อนเป็นต้น พยาบาท-
วิตกเกิดขึ้น เพราะได้ฟังเสียงนกเป็นต้นที่ร้องเสียงแข็ง วิหิงสาวิตกเกิดขึ้น
เพราะประสงค์ห้ามนกเหล่านั้นด้วยก้อนดินเป็นต้น กามวิตกเกิดขึ้น เพราะ
ความมุ่งหมายในที่นั้นว่า เราจะอยู่ที่นี้แหละ พยาบาทวิตกเกิดขึ้น เพราะ
ได้เห็นพรานไพรทั้งหลายในที่นั้น ๆ แล้วมีจิตมุ่งร้ายในพรานไพรเหล่านั้น
วิหิงสาวิตกย่อมเกิดขึ้น เพราะประสงค์จะเบียดเบียนพรานไพรเหล่านั้น
ดังนี้ก็มี. การที่มิจฉาวิตกเกิดขึ้นแก่ท่านอย่างใดอย่างหนึ่งนั่นแหละเป็น
เหตุน่าอัศจรรย์. บทว่า อนฺวาสตฺตา แปลว่า ตามติดข้อง คือเกลื่อนกล่น.
การพูดมากแม้ในความเป็นผู้เดียวก็ปรากฏ ทั้งในตนและในครู. บาลีว่า
อนฺวาสตฺโต ดังนี้ก็มี.
บทว่า เยน ภควา เตนุปสงฺกมิ ความว่า พระเถระเกลื่อนกล่นไป
ด้วยมิจฉาวิตกอย่างนี้ เมื่อไม่อาจทำกรรมฐานให้เป็นสัปปายะ จึงกำหนด
ว่า พระผู้มีพระภาคเจ้าผู้ทรงเห็นกาลไกล ได้เห็นเหตุอันน่าอัศจรรย์นี้
หนอ จึงทรงห้าม คิดว่า เราจักกราบทูลเหตุนี้แด่พระทศพล จึงลุกขึ้น
จากอาสนะที่นั่งเข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาคเจ้าถึงที่ประทับ ครั้นแล้วได้
กราบทูลเรื่องของตนโดยนัยมีอาทิว่า อิธ มยฺหํ ภนฺเต ดังนี้.
บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า เยภุยฺเยน ได้แก่ มากครั้ง คือบ่อย ๆ.
บทว่า ปาปกา แปลว่า ลามก. บทว่า อกุสลา แปลว่า เกิดแต่อกุศล.

อีกอย่างหนึ่ง ชื่อว่าลามก เพราะอรรถว่า นำสัตว์ให้ถึงทุคติ ชื่อว่า
อกุศล เพราะเป็นข้าศึกต่อกุศล. ชื่อว่าวิตก เพราะตรึก คือคิด ได้แก่
ยกจิตขึ้นสู่อารมณ์. วิตกที่เกิดพร้อมกับกาม ชื่อว่ากามวิตก อธิบายว่า
วิตกที่สัมปยุตด้วยกิเลสกาม มีวัตถุกามเป็นอารมณ์ วิตกที่เกิดพร้อมกับ
พยาบาท ชื่อว่าพยาบาทวิตก วิตกที่เกิดพร้อมด้วยวิหิงสา ชื่อว่าวิหิงสา-
วิตก. ในวิตกเหล่านั้น ธรรมที่เป็นข้าศึกต่อเนกขัมมะอันเป็นไปด้วย
อำนาจการยินดีในกาม ชื่อว่ากามวิตก ธรรมที่เป็นข้าศึกต่อเมตตา อัน
เป็นไปด้วยอำนาจความประทุษร้ายสัตว์ทั้งหลาย ด้วยคิดว่า ขอให้สัตว์
เหล่านี้จงเดือดร้อน จงฉิบหาย หรืออย่าได้มี ชื่อว่าพยาบาทวิตก ธรรม
ที่เป็นข้าศึกต่อกรุณา อันเป็นไปด้วยอำนาจความเป็นผู้ประสงค์จะเบียด-
เบียนเหล่าสัตว์ ด้วยปหรณวัตถุมีฝ่ามือ ก้อนดิน และท่อนไม้เป็นต้น
ชื่อว่าวิหิงสาวิตก.
ก็เพราะเหตุไร พระผู้มีพระภาคเจ้าจึงทรงอนุญาตให้เธอไปในที่
นั้น เพราะพระองค์ทรงอนุญาตด้วยทรงพระดำริว่า เมฆิยะนี้แม้เราไม่
อนุญาต ก็ยังละเราไปเสียได้ ทั้งเธอก็จะมีความคิดเป็นอย่างอื่นไปว่า
ชะรอยพระผู้มีพระภาคเจ้าจะไม่อนุญาตให้เราไป เพราะประสงค์ให้เป็นผู้
ปรนนิบัติ ข้อนั้นพึงเป็นไปเพื่อไม่เป็นประโยชน์ เพื่อทุกข์ตลอดกาลนาน
แก่เธอ.
เมื่อเธอนั่งกราบทูลเรื่องราวของตนอย่างนี้ ลำดับนั้น พระผู้มี-
พระภาคเจ้า เมื่อจะทรงแสดงธรรมอันเป็นสัปปายะแก่เธอ จึงตรัสคำมี
อาทิว่า ดูก่อนเมฆิยะ เจโตวิมุตติยังไม่แก่กล้า ดังนี้.
บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า อปริปฺกาย แปลว่า ยังไม่ถึงความ

แก่กล้า. บทว่า เจโตวิมุตฺติยา ได้แก่ ใจหลุดพ้นจากกิเลส. จริงอยู่
ในเบื้องต้น ใจย่อมหลุดพ้นจากกิเลส ด้วยตทังควิมุตติ และวิกขัมภน-
วิมุตติ ภายหลังย่อมหลุดพ้นด้วยสมุจเฉทวิมุตติ และปฏิปัสสัทธิวิมุตติ.
ก็วิมุตตินี้นั้นข้าพเจ้ากล่าวไว้พิสดารแล้วในหนหลังแล. เพราะฉะนั้น
บัณฑิตพึงทราบโดยนัยตามที่กล่าวแล้วในอธิการที่ว่าด้วยวิมุตตินั้น. ใน
ข้อนั้น เมื่อเธอบ่ม คือปลุกอัธยาศัยให้ตื่นด้วยธรรมอันเป็นเครื่องบ่ม
วิมุตติ เมื่อวิปัสสนาถือเอาห้องมรรคถึงความแก่กล้า เจโตวิมุตติ ชื่อว่า
เป็นอันแก่กล้า เมื่อวิปัสสนายังไม่ถือเอาห้องมรรค ชื่อว่ายังไม่แก่กล้า.
ก็ธรรมเป็นเครื่องบ่มวิมุตติ เป็นไฉน ? คือพึงทราบธรรม 15 อย่าง
โดยทำสัทธินทรีย์เป็นต้นให้หมดจด. สมจริงดังที่ท่านกล่าวไว้ว่า
เมื่อเว้นบุคคลผู้ไม่มีศรัทธา เสพ คบ เข้าไปนั่งใกล้บุคคลผู้มีศรัทธา
พิจารณาพระสูตรอันเป็นที่ตั้งแห่งความเลื่อมใส สัทธินทรีย์ย่อมหมดจด
ด้วยอาการ 3 เหล่านี้.
เมื่อเว้นบุคคลผู้เกียจคร้าน เสพ คบ เข้าไปนั่งใกล้บุคคลผู้ริเริ่ม
ความเพียร พิจารณาสัมมัปปธาน วิริยินทรีย์ย่อมหมดจดด้วยอาการ 3
เหล่านี้.
เมื่อเว้นบุคคลผู้มีสติหลงลืม เสพ คบ เข้าไปนั่งใกล้บุคคลผู้มีสติ
ตั้งมั่น พิจารณาสติปัฏฐาน สตินทรีย์ย่อมหมดจดด้วยอาการ 3 เหล่านี้.
เมื่อเว้นบุคคลผู้มีจิตไม่เป็นสมาธิ เสพ คบ เข้าไปนั่งใกล้บุคคล
ผู้มีจิตเป็นสมาธิ พิจารณาฌานและวิโมกข์ สมาธินทรีย์ย่อมหมดจดด้วย
อาการ 3 เหล่านี้.
เมื่อเว้นบุคคลผู้ทรามปัญญา เสพ คบ เข้าไปนั่งใกล้บุคคลผู้มี
ปัญญา พิจารณาญาณจริยาลึกซึ้ง ปัญญินทรีย์ย่อมหมดจดด้วยอาการ 3

เหล่านี้ ดังนั้นเมื่อเป็นบุคคล 5 จำพวกเหล่านี้ เสพ คบ เข้าไปนั่งใกล้
บุคคล 5 จำพวก พิจารณาพระสูตร 5 สูตร อินทรีย์ 5 เหล่านี้ย่อม
หมดจดด้วยอาการ 15 เหล่านี้. ธรรม 15 ประการแม้อื่นอีก เป็นเครื่อง
บ่มวิมุตติ คือ อินทรีย์ 5 มีศรัทธาเป็นต้น สัญญาอันเป็นส่วนแห่งการ
ตรัสรู้ 5 เหล่านี้ คือ อนิจจสัญญา ทุกขสัญญา อนัตตสัญญา ปหาน-
สัญญา วิราคสัญญา ความเป็นผู้มีกัลยาณมิตร ความสำรวมในศีล ความ
เป็นผู้ขัดเกลาอย่างยิ่ง ความปรารภความเพียร ปัญญาอันเป็นไปในส่วน
แห่งการตรัสรู้.
บรรดาธรรมเหล่านั้น พระศาสดาผู้ฉลาดในการฝึกเวไนยบุคคล
เมื่อจะทรงแสดงธรรมอันเป็นเครื่องบ่มวิมุตติมีกัลยาณมิตรเป็นต้น ในที่นี้
ตามอัธยาศัยของพระเมฆิยเถระ ผู้ควรแนะนำ จึงตรัสว่า ธรรมเหล่านี้
ย่อมเป็นไปเพื่อความแก่กล้า เมื่อจะให้ธรรมเหล่านั้นพิสดาร จึงตรัส
คำมีอาทิว่า เมฆิยะ ภิกษุในพระธรรมวินัยนี้ เป็นกัลยาณมิตร.
บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า กลฺยาณมิตฺโต ความว่า ชื่อว่ากัลยาณ-
มิตร เพราะมีมิตรงาม คือ เจริญ ดี. บุคคลผู้มีมิตรสมบูรณ์ด้วยศีลคุณ
เป็นต้น มีอุปการะด้วยอาการทั้งปวงอย่างนี้ คือบำบัดทุกข์ สร้างสรรค์
หิตประโยชน์ ชื่อว่าเป็นกัลยาณมิตรแท้จริง. ชื่อว่ากัลยาณสหาย เพราะ
ไป คือดำเนินไปกับด้วยกัลยาณบุคคลตามที่กล่าวแล้วนั่นแหละ คือไม่
เป็นไปปราศจากกัลยาณมิตรบุคคลเหล่านั้น. ชื่อว่ามีพวกดี เพราะเป็นไป
โดยภาวะที่โน้มน้อมโอนไปทางใจและทางกายในกัลยาณบุคคลนั่นแล. ด้วย
3 บท ย่อมยังความเอื้อเฟื้อให้เกิดขึ้นในการสังสรรค์กับกัลยาณมิตร.
ในข้อนั้น มีลักษณะกัลยาณมิตรดังต่อไปนี้ กัลยาณมิตรในพระ-

ศาสนานี้ เป็นผู้ถึงพร้อมด้วยศรัทธา ศีล สุตะ จาคะ วิริยะ สติ สมาธิ
และปัญญา. ในลักษณะกัลยาณมิตรนั้น บุคคลมีศรัทธาสมบัติ ย่อมเชื่อ
ปัญญาตรัสรู้ของพระตถาคต กรรม และผลแห่งกรรม ไม่ละทิ้งการแสวง
หาประโยชน์เกื้อกูลในเหล่าสัตว์ อันเป็นเหตุแห่งพระสัมมาสัมโพธิญาณ
ด้วยการเชื่อนั้น มีศีลสมบัติ ย่อมเป็นที่รัก เป็นที่พอใจ เป็นที่เคารพ
สรรเสริญ เป็นผู้โจทก์ท้วง เป็นผู้ติเตียนบาป เป็นผู้ว่ากล่าวอดทนต่อ
ถ้อยคำของเพื่อนสพรหมจารีทั้งหลาย มีสุตสมบัติ ย่อมทำถ้อยคำอันลึก
ซึ้งเกี่ยวด้วยสัจจะ และปฏิจจสมุปบาทเป็นต้น มีจาคสมบัติ ย่อมเป็นผู้
มักน้อย สันโดษ ชอบสงัด ไม่คลุกคลีด้วยหมู่ มีวิริยสมบัติ ย่อมเป็น
ผู้ริเริ่มความเพียร เพื่อปฏิบัติประโยชน์เกื้อกูลแก่สัตว์ทั้งหลาย มีสติสมบัติ
ย่อมมีสติตั้งมั่น มีสมาธิสมบัติ ย่อมเป็นผู้มีจิตไม่ฟุ้งซ่าน มีจิตเป็น
สมาธิ มีปัญญาสมบัติ ย่อมรู้สภาวะที่ไม่ผิดแผก. บุคคลนั้นเป็นผู้ถึง
พร้อมด้วยคติธรรมอันเป็นกุศลด้วยสติ รู้สิ่งที่มีประโยชน์และไม่มีประ-
โยชน์แห่งสัตว์ทั้งหลายตามเป็นจริงด้วยปัญญา เป็นผู้มีจิตแน่วแน่ในกุศล-
ธรรมเหล่านั้นด้วยสมาธิ ย่อมเกียดกันสัตว์ทั้งหลายจากสิ่งที่ไม่เป็นประ-
โยชน์แล้วชักนำเข้าไปในสิ่งที่เป็นประโยชน์ด้วยวิริยะ. ด้วยเหตุนั้น ท่าน
จึงกล่าวว่า
บุคคลเป็นที่รัก เคารพ ยกย่อง เป็นผู้ว่ากล่าว
ผู้อดทนถ้อยคำ ผู้กระทำถ้อยคำอันลึกซึ้ง และไม่
ชักนำในฐานะที่ไม่ควร.

บทว่า อยํ ปฐโม ธมฺโม ปริปากาย สํวตฺตติ ความว่า ธรรมอัน
หาโทษมิได้นี้ กล่าวคือความเป็นผู้มีมิตรอันดีงาม ชื่อว่าเป็นที่ 1 เพราะ

เป็นเบื้องต้นแห่งพรหมจริยาวาส และเพราะตรัสไว้เป็นข้อแรกในธรรม 5
ประการนี้ โดยมีอุปการะมากแก่กุศลธรรมทั้งปวง และโดยความเป็น
ประธาน ย่อมเป็นไปเพื่อความแก่กล้าแห่งเจโตวิมุตติ โดยกระทำศรัทธา
เป็นต้น ที่ไม่บริสุทธิ์ให้บริสุทธิ์. ก็ในที่นี้ ความที่กัลยาณมิตรมีอุปการะ
มากและเป็นประธาน พึงทราบโดยสุตตบทมีอาทิว่า อานนท์ ความเป็น
ผู้มีมิตรดีงาม มีสหายดีงาม นี้เป็นพรหมจรรย์ทั้งสิ้น เพราะทรงปฏิเสธ
ท่านพระอานนท์ผู้เป็นธรรมภัณฑาคาริกผู้กล่าวอยู่ว่า ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ
ความเป็นผู้มีมิตรดีงามนี้ เป็นกึ่งหนึ่งของพรหมจรรย์ ถึง 2 ครั้งว่า มา
เหวํ อานนฺท
อย่ากล่าวอย่างนี้ อานนท์.
บทว่า ปุน จปรํ แปลว่า ก็ธรรมข้ออื่นยังมีอยู่อีก. ในบทว่า สีลวา
นี้ มีวินิจฉัยดังต่อไปนี้ ที่ชื่อว่าศีล เพราะอรรถว่าอะไร ? ที่ชื่อว่าศีล
เพราะอรรถว่า ตั้งไว้มั่น. ที่ชื่อว่าตั้งไว้มั่น คืออะไร ? คือตั้งมั่นไว้ด้วย
ดี อธิบายว่า ความที่กายกรรมเป็นต้นเหมาะสม เพราะความเป็นผู้มีศีลดี.
อีกอย่างหนึ่ง เป็นที่รองรับไว้ อธิบายว่า ความเป็นที่รองรับไว้ โดย
ความเป็นที่ตั้งแห่งกุศลธรรมมีฌานเป็นต้น เพราะฉะนั้น จึงชื่อว่าศีล
เพราะรองรับไว้ หรือทรงไว้. นี้เป็นอรรถแห่งศีลโดยนัยแห่งลักษณะ
ของศัพท์ เป็นอันดับแรก. แต่อาจารย์อีกพวกหนึ่ง พรรณนาอรรถโดย
นิรุตตินัยว่า อรรถแห่งศีล มีอรรถว่าศีรษะ มีอรรถว่าเย็น มีอรรถว่า
ตั้งมั่น มีอรรถว่าสังวร. ศีลนี้นั้นมีอยู่กับบุคคลนั้นโดยครบถ้วน หรือ
โดยดีเยี่ยม เพราะฉะนั้น จึงชื่อว่า สีลวา ผู้มีศีล. อธิบายว่า ผู้สมบูรณ์
ด้วยศีล.

อนึ่ง เพื่อจะแสดงประการที่บุคคลเป็นผู้มีศีล สมบูรณ์ด้วยศีล จึง
ตรัสคำมีอาทิว่า ปาติโมกฺขสํวรสํวุโต ดังนี้.
บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า ปาติโมกฺขํ ได้แก่ ศีลในสิกขาบท.
จริงอยู่ ศีลในสิกขาบทนั้น ชื่อว่าปาติโมกข์ เพราะอรรถว่า ทำบุคคล
ผู้ปกปักรักษาสีลสิกขาบทนั้น ให้หลุดพ้นจากทุกข์มีทุกข์ในอบายเป็นต้น.
การปิดกั้น ชื่อว่าสังวร ได้แก่ การไม่ล่วงละเมิดทางกายและวาจา. สังวร
คือปาติโมกข์ ชื่อว่าปาติโมกขสังวร. ภิกษุผู้สำรวม คือมีกายและวาจา
ปิดด้วยปาติโมกขสังวรนั้น จึงชื่อว่าสำรวมด้วยปาติโมกขสังวร. นี้เป็น
การแสดงภาวะที่ภิกษุนั้นตั้งอยู่ในศีลนั้น. บทว่า วิหรติ เป็นบทแสดง
ภาวะที่ภิกษุพรั่งพร้อมด้วยการอยู่อันสมควรด้วยปาติโมกขสังวรนั้น. บทว่า
อาจารโคจรสมฺปนฺโน เป็นบทแสดงถึงธรรมอันมีอุปการะแก่ปาติโมกข-
สังวรในเบื้องต่ำ และแก่ความพากเพียรเพื่อคุณวิเศษในเบื้องสูง. บทว่า
อณุมตฺเตสุ วชฺเชสุ ภยทสฺสาวี เป็นบทแสดงภาวะที่ภิกษุไม่เคลื่อนจาก
ปาติโมกขศีลเป็นธรรมดา. บทว่า สมาทาย เป็นบทแสดงการยึดเอา
สิกขาบทโดยไม่มีส่วนเหลือ. บทว่า สิกฺขติ เป็นบทแสดงภาวะที่ภิกษุ
พรั่งพร้อมด้วยการศึกษา. บทว่า สิกฺขาปเทสุ เป็นบทแสดงธรรมที่ควร
ศึกษา.
อีกนัยหนึ่ง ชื่อว่า ปาติ เพราะมีปกติตกไปในอบายมากครั้ง
เพราะกิเลสรุนแรง เพราะการทำความชั่วทำได้ง่าย และเพราะการทำบุญ
ทำได้ยาก ได้แก่ ปุถุชน. อีกอย่างหนึ่ง ชื่อว่า ปาติ เพราะถูกกำลัง
กรรมซัดไปในภพเป็นต้น โดยภาวะไม่เที่ยง และมีปกติไปโดยการหมุน
ไปโดยกำหนดไม่ได้ เหมือนโพงน้ำ เหมือนหม้อเครื่องยนต์. อีกอย่าง

หนึ่ง ชื่อว่า ปาติ เพราะมีปกติตกไปแห่งอัตภาพในสัตวนิกายนั้น ๆ ด้วย
อำนาจมรณะ หรือสันดานของสัตว์คือจิตนั่นเอง. ชื่อว่าปาฏิโมกข์ เพราะ
ยังผู้ตกไปนั้นให้พ้นจากสังสารทุกข์. ก็สัตว์ ที่เรียกว่า วิมุตตะ เพราะ
จิตหลุดพ้น. สมจริงดังคำที่ท่านกล่าวไว้ว่า ผู้มีจิตผ่องแผ้วย่อมบริสุทธิ์
และกล่าวไว้ว่า จิตหลุดพ้นจากอาสวะ เพราะไม่ยึดมั่น. อีกอย่างหนึ่ง
ชื่อว่า ปาติ เพราะตกไป คือไป ได้แก่เป็นไปในสงสาร ด้วยเหตุมี
อวิชชาเป็นต้น. สมจริงดังกล่าวไว้ว่า สัตว์ผู้มีอวิชชาเป็นเครื่องกั้นมี
ตัณหาเป็นเครื่องผูก แล่นไป ท่องเที่ยวไป. ธรรม ชื่อว่าปาฏิโมกขะ
เพราะเป็นเหตุให้สัตว์ผู้ตกไปนั้นพ้นจากสังกิเลส 3 มีตัณหาเป็นต้น. พึง
ทราบความสำเร็จสมาส เหมือนความสำเร็จคำมีอาทิว่า ตณฺหากาโล.
อีกอย่างหนึ่ง ชื่อว่า ปาติ เพราะทำสัตว์ให้ตกไป คือให้ตกไปไม่
เหลือจากทุกข์ ได้แก่ จิต. สมจริงดังที่ท่านกล่าวไว้ว่า สัตวโลกถูกจิต
นำไป คือเป็นไปตามจิต. ชื่อว่าปาฏิโมกข์ เพราะเป็นเครื่องทำสัตว์
ผู้ตกไปนั้นให้พ้นไป (จากทุกข์). อีกอย่างหนึ่ง ชื่อว่า ปาติ เพราะเป็น
เครื่องตกไปในอบายทุกข์และสังสารทุกข์ของสัตว์ ได้แก่สังกิเลสมีตัณหา
เป็นต้น. สมจริงดังที่ท่านกล่าวไว้ว่า ตัณหา ย่อมยังบุรุษให้เกิด และ
กล่าวไว้ว่า บุรุษมีตัณหาเป็นเพื่อนสอง. ชื่อว่าปาฏิโมกข์ เพราะพ้น
จากการตกไปจากตัณหาสังกิเลสนั้น. อีกอย่างหนึ่ง ชื่อว่า ปาติ เพราะ
เป็นที่ตกไปของสัตว์ ได้แก่อายตนะภายใน 6 และอายตนะภายนอก 6.
สมจริงดังที่ท่านกล่าวไว้ว่า สัตวโลก เกิดพร้อมในอายตนะภายใน 6 และ
อายตนะภายนอก 6 ย่อมทำการชมเชยในอายตนะภายใน 6 และอายตนะ
ภายนอก 6. ชื่อว่าปาฏิโมกข์ เพราะพ้นจากการตกไป กล่าวคืออายตนะ

ภายใน 6 และอายตนะภายนอก 6 นั้น. อีกอย่างหนึ่ง ชื่อว่า ปาติ
คือสงสาร เพราะมีการตกไป คือการทำให้ตกไป ชื่อว่าปาฏิโมกข์
เพราะหลุดพ้นจากสงสารนั้น.
อีกอย่างหนึ่ง พระผู้มีพระภาคเจ้าผู้ธรรมิศร ชาวโลกเฉลิมพระ-
นามว่า ปติ เพราะเป็นอธิบดีของสรรพโลก. ชื่อว่า โมกขะ เพราะเป็น
เครื่องพ้นของสัตว์. ชื่อว่า ปติโมกข์ เพราะเป็นเครื่องพ้นแห่งพระผู้มี-
พระภาคเจ้าผู้ได้นามว่า ปติ เหตุทรงบัญญัติไว้. ปติโมกข์นั่นแหละ เป็น
ปาฏิโมกข์. อีกอย่างหนึ่ง ชื่อว่า ปติโมกข์ เพราะพระผู้มีพระภาคเจ้านั้น
ชื่อว่าเป็นใหญ่ โดยอรรถว่ามีคุณทั้งปวงสูงสุดอันมีคุณนั้นเป็นมูล และ
ชื่อว่าเป็นผู้พ้น โดยอรรถตามที่กล่าวแล้ว. ปติโมกข์นั้นแหละ เป็น
ปาฏิโมกข์. สมจริงดังคำที่ท่านกล่าวไว้ว่า คำว่า ปาฏิโมกข์ นี้เป็นมุข
และเป็นประมุข. พึงทราบพิสดารดังต่อไปนี้.
อีกอย่างหนึ่ง ศัพท์ว่า ป ใช้ในอรรถว่า ปการะ ศัพท์ว่า อติ
เป็นนิบาต ใช้ในอรรถว่า อัจจันตะ. เพราะฉะนั้น จึงชื่อว่าปาฏิโมกข์
เพราะพ้นล่วงส่วน โดยทุกประการ. จริงอยู่ ศีลนี้ ชื่อว่าปาฏิโมกข์ เพราะ
ตัวศีลทำให้หลุดพ้นได้จริง ด้วยตทังควิมุตติ ที่ประกอบด้วยสมาธิและ
ปัญญาทำให้หลุดพ้นได้จริง ด้วยอำนาจวิกขัมภนวิมุตติ และสมุจเฉทวิมุตติ.
อีกอย่างหนึ่ง ชื่อปฏิโมกข์ เพราะหลุดพ้นเฉพาะ อธิบายว่า หลุดพ้น
จากวีติกกมโทษนั้น ๆ เฉพาะอย่าง. ปฏิโมกข์นั้นแหละ เป็นปาฏิโมกข์.
หรือว่า นิพพาน ชื่อว่าโมกขะ. ชื่อว่าปฏิโมกข์ เพราะเปรียบกับ
โมกขะนั้น. จริงอยู่ ศีลสังวร เป็นเหตุทำพระนิพพานให้เกิดขึ้น เหมือน
พระอาทิตย์ทำอรุณให้เกิด และมีส่วนเปรียบด้วยพระนิพพานนั้น เพราะ

ทำกิเลสให้ดับตามสมควร. ปฏิโมกข์นั้นแหละ เป็นปาฏิโมกข์. อีกอย่าง
หนึ่ง ชื่อว่า ปฏิโมกข์ เพราะแปรไป คือทำทุกข์ให้พ้นไป. ปฏิโมกข์
นั้นแหละ เป็นปาฏิโมกข์ ในข้อนี้ พึงทราบความศัพท์ว่า ปาฏิโมกข์
เท่านี้ อย่างนี้ ด้วยประการฉะนี้.
ชื่อว่า สังวร เพราะเป็นเครื่องปิดกั้น. สังวร คือปาฏิโมกข์ ชื่อว่า
ปาฏิโมกขสังวร. แต่เมื่อว่าโดยความหมาย ได้แก่งดเว้นจากโทษที่พึง
ก้าวล่วงนั้น ๆ และเจตนา. ภิกษุผู้เข้าถึง ประกอบด้วยปาฏิโมกขสังวรนั้น
ท่านเรียกว่า ผู้สำรวมด้วยปาฏิโมกขสังวร. สมจริงดังที่ตรัสไว้ในคัมภีร์
วิภังค์ว่า ภิกษุ เป็นผู้เข้าถึง เข้าถึงพร้อม มาถึง มาถึงพร้อม เข้าใกล้
เข้าใกล้พร้อม ประกอบด้วยปาฏิโมกขสังวรนี้ ด้วยเหตุนั้น จึงตรัสว่า
ผู้สำรวมด้วยปาฏิโมกขสังวร. บทว่า วิหรติ ความว่า ย่อมอยู่ คือผลัด-
เปลี่ยน ได้แก่ผลัดเปลี่ยนไป ด้วยอิริยาบถวิหาร.
บทว่า อาจารโคจรสมฺปนฺโน ความว่า ชื่อว่าถึงพร้อมด้วยอาจาระ
และโคจร เพราะเว้นอนาจารทั้งปวง เหตุไม่ทำมิจฉาชีพมีการให้ไม้ไผ่
เป็นต้น และการคะนองกายเป็นต้น แล้วประกอบด้วยอาจารสมบัติอัน
สมควรแก่ภิกษุ ที่ตรัสไว้อย่างนี้ว่า การไม่ล่วงละเมิดทางกาย ทางวาจา
และทั้งทางกายทั้งทางวาจา และเว้นอโคจร มีหญิงแพศยาเป็นต้น แล้ว
ประกอบด้วยโคจร กล่าวคือที่อันสมควรเข้าไปบิณฑบาตเป็นต้น.
อีกอย่างหนึ่ง ภิกษุใด มีความเคารพยำเกรงในพระศาสดา มีความ
เคารพยำเกรงในเพื่อนสพรหมจารี ถึงพร้อมด้วยหิริโอตตัปปะ นุ่งห่ม
เรียบร้อย มีการก้าวไป ก้าวกลับ แลดู เหลียวดู คู้เหยียด น่าเลื่อมใส
สมบูรณ์ด้วยอิริยาบถ คุ้มครองทวารในอินทรีย์ รู้จักประมาณในโภชนะ

ถึงพร้อมด้วยความเพียร ประกอบด้วยสติและสัมปชัญญะ เป็นผู้มักน้อย
สันโดษ ชอบสงัด ไม่คลุกคลีด้วยหมู่ กระทำความเคารพในอภิสมา-
จาริกวัตร มากด้วยความเคารพและยำเกรงอยู่ ภิกษุนี้ ท่านเรียกว่า
สมบูรณ์ด้วยอาจาระ.
ส่วน โคจรมี 3 อย่าง คือ อุปนิสัยโคจร 1 อารักขโคจร 1 อุป-
นิพันธโคจร 1
ใน 3 อย่างนั้น ภิกษุใด ประกอบด้วยคุณ คือกถาวัตถุ
10 มีมิตรดีงาม มีลักษณะดังกล่าวแล้ว ซึ่งอาศัยแล้ว ย่อมได้ฟังสิ่งที่
ยังไม่เคยฟัง ย่อมทำสิ่งที่เคยฟังแล้วให้ผ่องแผ้ว ตัดความสงสัยเสียได้
ทำความเห็นให้ตรง ทำจิตให้เลื่อมใส ซึ่งเมื่อศึกษาตาม ย่อมเจริญด้วย
ศรัทธา ด้วยศีล ด้วยสุตะ ด้วยจาคะ และด้วยปัญญา นี้ท่านเรียกว่า
อุปนิสัยโคจร. ภิกษุใด เข้าไปสู่ละแวกบ้าน เดินไปตามถนน มีตาทอดลง
แลดูชั่วแอก เดินสำรวมจักขุนทรีย์ไป ไม่เดินแลพลช้าง ไม่เดินแลพลม้า
ไม่เดินแลพลรถ ไม่เดนแลพลราบ ไม่เดินแลหญิง ไม่เดินแลชาย ไม่
แหงนดู ไม่ก้มดู ไม่เดินเหลียวแลดู ตามทิศน้อยใหญ่ นี้ ท่านเรียกว่า
อารักขโคจร. ส่วน อุปนิพันธโคจร ได้แก่ สติปัฏฐาน 4 อันเป็นที่ซึ่ง
ภิกษุเข้าไปผูกจิตของตนไว้. สมจริงดังที่พระผู้มีพระภาคเจ้าได้ตรัสไว้ว่า
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ก็อะไร เป็นโคจร คือเป็นอารมณ์อันเป็นของบิดา
ของตนของภิกษุ คือสติปัฏฐาน 4. ในโคจร 3 อย่างนั้น เพราะอุปนิสัย-
โคจรท่านกล่าวไว้ก่อนแล้ว ในที่นี้พึงทราบโคจร 2 อย่างนอกนั้น. ภิกษุ
นั้นชื่อว่าผู้สมบูรณ์ด้วยอาจาระและโคจร เพราะประกอบด้วยอาจารสมบัติ
ตามที่กล่าวแล้ว และโคจรสมบัตินี้ ด้วยประการฉะนี้.

บทว่า อณุมตฺเตสุ วชฺเชสุ ภยทสฺสาวี ความว่า ผู้มีปกติเห็นภัย
ในโทษ ต่างด้วยเสขิยสิกขาบทที่ภิกษุไม่แกล้งต้อง และอกุศลจิตตุปบาท
เป็นต้น ชื่อว่ามีประมาณน้อย เพราะมีประมาณเล็กน้อย. จริงอยู่ ภิกษุใด
เห็นโทษมีประมาณน้อย กระทำให้เป็นเหมือนขุนเขาสิเนรุสูง 100,068
โยชน์ ฝ่ายภิกษุใด เห็นอาบัติเพียงทุพภาษิตซึ่งเป็นอาบัติเบากว่าอาบัติ
ทั้งปวง กระทำให้เหมือนอาบัติปาราชิก ภิกษุแม้นี้ ชื่อว่ามีปกติเห็นภัย
ในโทษมีประมาณน้อย. บทว่า สมาทาย สิกฺขติ สิกฺขาปเทสุ ความว่า
ภิกษุยึดถือสิกขาบทที่ควรศึกษาอย่างใดอย่างหนึ่ง ในสิกขาบททั้งหลาย
ทั้งหมด โดยไม่มีส่วนเหลือ โดยประการทั้งปวง ศึกษาอยู่ อธิบายว่า
ย่อมประพฤติ คือทำให้บริบูรณ์โดยชอบ.
บทว่า อภิสลฺเลขิกา ได้แก่ ผู้มีปกติขัดเกลากิเลสอย่างเข้มงวด
คือเป็นผู้สมควรเพื่อละกิเลสเหล่านั้นโดยทำให้เบาบาง. บทว่า เจโตวิวรณ-
สปฺปยา
ได้แก่ เป็นสัปปายะของสมถะและวิปัสสนา กล่าวคือเปิดจิต โดย
กระทำนิวรณ์อันเป็นตัวปกปิดจิตให้ห่างไกล. สมถะและวิปัสสนานั้นแหละ
เป็นสัปปายะ คือเป็นอุปการะแก่การเปิดจิต หรือการกระทำจิตนั้นแหละ
ให้ปรากฏ เหตุฉะนั้น จึงชื่อว่า เจโตวิวรณสัปปยา เป็นสัปปายะในการ
เปิดจิต.
บัดนี้ เพื่อจะแสดงเหตุเครื่องนำมาซึ่งความเบื่อหน่ายเป็นต้น อัน
เป็นกถาขัดเกลากิเลสและเป็นสัปปายะในการเปิดจิต จึงตรัสคำมีอาทิว่า
เอกนฺตนิพฺพิทาย ดังนี้.
บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า เอกนฺตนิพฺพิทาย ได้แก่ เพื่อหน่าย
จากวัฏทุกข์โดยแท้จริงทีเดียว. บทว่า วิราคาย นิโรธาย ได้แก่ เพื่อ

คลายและเพื่อดับวักทุกข์นั้น ๆ แหละ. บทว่า อุปสมาย ได้แก่ เพื่อสงบ
สรรพกิเลส. บทว่า อภิญฺญาย ได้แก่ เพื่อรู้ยิ่งธรรมที่ควรรู้ยิ่งแม้
ทั้งหมด. บทว่า สมฺโพธาย ได้แก่ เพื่อตรัสรู้มรรคจิต 4. บทว่า
นิพฺพานาย ได้แก่ เพื่ออนุปาทิเสสนิพพานธาตุ. ก็บรรดาบทเหล่านี้
ตรัสวิปัสสนาด้วยบท 3 ข้างต้น. ตรัสมรรคด้วยบททั้ง 2 ตรัสนิพพาน
ด้วยบททั้ง 2. ท่านแสดงว่า อุตริมนุสธรรมทั้งหมดนี้ เริ่มต้นแต่สมถะ
และวิปัสสนาจนถึงนิพพานเป็นที่สุด ย่อมเกิดมีแก่ผู้ได้กถาวัตถุ 10.
บัดนี้ เมื่อจะทรงจำแนกแสดงกถานั้น จึงตรัสคำมีอาทิว่า อปฺ-
ปิจฺฉกกถา
ดังนี้.
บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า อปฺปิจฺโฉ แปลว่า ผู้ไม่ปรารถนา.
กถาแห่งอัปปิจฉะนั้น ชื่อว่า อัปปิจฉกถา หรือกถาที่เกี่ยวด้วยความเป็น
ผู้มักน้อย ชื่อว่า อัปปิจฉกถา. ก็ในที่นี้ ว่าด้วยอำนาจความปรารถนา
มีบุคคล 4 จำพวก คือ อตฺริจฺโฉ ผู้ปรารถนายิ่ง ๆ ขึ้น 1 ปาปิจฺโฉ ผู้
ปรารถนาลามก 1 มหิจฺโฉ ผู้มักมาก 1 อปฺปิจฺโฉ ผู้มักน้อย 1. ใน
บุคคล 4 จำพวกนั้น ผู้ไม่อิ่มลาภตามที่ตนได้มา ปรารถนาลาภยิ่ง ๆ ขึ้น
ชื่อว่า อัตริจฉะ ซึ่งท่านหมายกล่าวไว้ว่า
ท่านได้เสวยนางเวมาณิกเปรต 4 นาง ได้ประ-
สบ 8 นาง ได้เสวยนางเวมาณิกเปรต 8 นาง ได้
ประสบ 16 นาง ได้เสวยนางเวมาณิกเปรต 16 นาง
ได้ประสบ 32 นาง เป็นผู้มักมากเกินไป จึงมายินดี
จักรกรด จักรกรดย่อมพัดผันบนกระหม่อนของท่าน
ซึ่งถูกความอยากนำมา ดังนี้.

และที่ตรัสว่า บุคคลผู้อยากได้เกินส่วน ย่อมเสื่อมจากประโยชน์
เพราะโลภเกินไป และเพราะเมาในความโลภเกินไป. ผู้มีความประสงค์
ในการยกย่องคุณที่ไม่มีอยู่ ชื่อว่าผู้ปรารถนาลามก เพราะมีความต้องการ
ในลาภสักการะและเสียงเยินยอ ซึ่งท่านหมายกล่าวไว้ว่า ในบาปธรรม
เหล่านั้น การหลอกลวงเป็นไฉน การดำรงอิริยาบถ กิริยาที่ดำรงอิริยาบถ
ความดำรงอิริยาบถไว้ด้วยดี ด้วยการเสพปัจจัยหรือด้วยการพูดเลียบเคียง
ของผู้ปรารถนาลามกถูกความอยากครอบงำ อาศัยในลาภสักการะและเสียง
เยินยอ ดังนี้เป็นต้น. ผู้มีความประสงค์ในการยกย่องคุณที่มีอยู่ และไม่
รู้ประมาณในการรับ ชื่อว่าผู้มักมาก ซึ่งท่านหมายกล่าวไว้ว่า บุคคล
บางคนในโลกนี้ เป็นผู้มีศรัทธา ปรารถนาว่า ขอคนจงรู้จักเราว่าเป็น
ผู้มีศรัทธา เป็นผู้มีศีลย่อมปรารถนาว่า ขอคนจงรู้จักเราว่าเป็นผู้มีศีล
ดังนี้เป็นต้น. จริงอย่างนั้น แม้มารดาผู้บังเกิดเกล้า ก็ไม่สามารถจะเอา
ใจเขาได้ ด้วยเหตุนั้น ท่านจึงกล่าวคำนี้ไว้ว่า
บุคคลผู้ให้ปัจจัยเป็นอันมากเป็นเล่มเกวียน ก็ไม่
พึงยังแม้สภาวะ 3 เหล่านี้ คือกองไฟ 1 มหาสมุทร 1
บุคคลผู้มักมาก 1 ให้เต็มได้.

บุคคลเว้นโทษ มีความเป็นผู้ปรารถนาเกินไปเป็นต้นเหล่านี้ให้ห่าง
ไกล แล้วมีความประสงค์ซ่อนคุณที่มีอยู่ และรู้จักประมาณในการรับ
ชื่อว่าเป็นผู้มักน้อย. เพราะเขาปรารถนาจะปกปิดคุณแม้ที่มีอยู่ในตน
ถึงจะมีศรัทธา ก็ไม่ปรารถนาว่า ขอคนจงรู้จักเราว่ามีศรัทธา ถึงจะมีศีล
มีสุตะมาก ชอบสงัด ปรารภความเพียร มีสติตั้งมั่น มีใจเป็นสมาธิ
มีปัญญา ก็ไม่ปรารถนาว่า ขอคนจงรู้จักเราว่ามีปัญญา.

บุคคลมักน้อยนี้นั้น มี 4 จำพวก คือ ผู้มักน้อยในปัจจัย 1 ผู้มัก
น้อยในธุดงค์ 1 ผู้มักน้อยในปริยัติ 1 ผู้มักน้อยในอธิคม 1 ใน 4 จำพวก
นั้น ผู้มักน้อยในปัจจัย 4 ตรวจดูผู้ให้ปัจจัย ไทยธรรม และกำลังของ
ตน ก็แม้ถ้าไทยธรรมมีมาก ทายกประสงค์จะถวายน้อย ก็รับแต่น้อย
ด้วยอำนาจทายก. ถ้าไทยธรรมมีน้อย ทายกประสงค์จะถวายมาก ก็รับ
แต่น้อย ด้วยอำนาจไทยธรรม. ถ้าแม้ไทยธรรมมีมากทั้งทายกก็ประสงค์
จะถวายมาก ควรจะรู้กำลังของตน แล้วรับแต่พอประมาณเท่านั้น. ก็ภิกษุ
เห็นปานนี้ ย่อมทำลาภที่ยังไม่เกิดให้เกิดขึ้น ย่อมทำลาภที่เกิดขึ้นแล้วให้
มั่นคง ยังจิตทายกทั้งหลายให้ยินดี. ก็ผู้ไม่ประสงค์จะให้รู้ว่า การสมาทาน
ธุดงค์มีอยู่ในตน ชื่อว่าผู้มักน้อยในธุดงค์. ผู้ใด ไม่ปรารถนาเพื่อจะ
ให้ผู้อื่นรู้ว่าตนเป็นพหูสูต ผู้นี้ ชื่อว่าผู้มักน้อยในปริยัติ. ส่วนผู้ใด
เป็นพระอริยบุคคลชั้นโสดาบันเป็นต้นรูปใดรูปหนึ่ง ก็ไม่ปรารถนาจะให้
เพื่อนสพรหมจารีรู้ว่าตนเป็นพระโสดาบันเป็นต้น ผู้นี้ ชื่อว่าผู้มักน้อย
ในอธิคม. กถา อันเป็นไปด้วยสามารถประกาศโทษและอานิสงส์มีอาการ
เป็นอเนก และด้วยสามารถประกาศโทษของอิจฉาจาร อันมีความเป็น
ผู้ปรารถนาเกินเป็นต้น เป็นปฏิปักษ์ต่อความมักน้อยนั้น พร้อมกับวิธี
มีการชี้ถึงความยินดีความมักน้อย ของบุคคลผู้มักน้อยนี้ ชื่อว่ากถาว่า
ด้วยความมักน้อย ด้วยประการฉะนี้.
บทว่า สนฺตุฏฺฐิ ในคำว่า สนฺตุฏฺฐิกถา นี้ ได้แก่ ความยินดีด้วย
ของ ๆ ตน คือด้วยของที่ตนได้มา ชื่อว่าสันตุฏฐิ. อีกอย่างหนึ่ง
การละความปรารถนาปัจจัยที่ไม่สม่ำเสมอ แล้วยินดีปัจจัยที่สม่ำเสมอ

ชื่อว่าสันตุฏฐิ. อีกอย่างหนึ่ง ความยินดีด้วยของที่มีอยู่ คือปรากฏอยู่
ชื่อว่าสันตุฏฐิ. สมจริงดังคำที่ท่านกล่าวไว้ว่า
ผู้ไม่เศร้าโศกถึงสิ่งที่เป็นอดีต ไม่บ่นถึงสิ่งที่เป็น
อนาคต ยังอัตภาพให้เป็นไปด้วยสิ่งเป็นปัจจุบัน ท่าน
เรียกว่า ผู้สันโดษ.

อีกอย่างหนึ่ง ความยินดีด้วยปัจจัยโดยวิธีที่พระผู้มีพระภาคเจ้าทรง
อนุญาตแล้ว ด้วยญายธรรมโดยชอบ ชื่อว่าสันตุฏฐิ โดยอรรถ ได้แก่
ความสันโดษในปัจจัยตามที่ตามได้. สันโดษนั้นมี 12 อย่าง อะไรบ้าง
คือ ความสันโดษในจีวรมี 3 อย่าง คือ ยถาลาภสันโดษ 1 ยถาพล-
สันโดษ 1 ยถาสารุปปสันโดษ 1.
สันโดษในบิณฑบาตเป็นต้นก็เหมือน
กัน.
ในสันโดษเหล่านั้น มีสังวรรณนาโดยประเภทดังต่อไปนี้ ภิกษุใน
พระธรรมวินัยนี้ ได้จีวรดีก็ตาม ไม่ดีก็ตาม เธอยังอัตภาพให้เป็นไปด้วย
จีวรนั้นนั่นแหละ ไม่ปรารถนาจีวรอื่น ถึงจะได้ก็ไม่รับ อาการของภิกษุ
นั้นนี้ ชื่อว่า ยถาลาภสันโดษในจีวร. แต่ครั้นเธอทุพพลภาพตามปกติ
หรือถูกความเจ็บและชราครอบงำ เธอห่มจีวรหนัก ย่อมลำบาก เธอ
เปลี่ยนจีวรหนักนั้นกับภิกษุผู้ชอบพอกัน แม้ยังอัตภาพให้เป็นไปด้วยจีวร
เบา ก็ชื่อว่า เป็นผู้สันโดษแท้ อาการของภิกษุนั้นนี้ ชื่อว่า ยถาลาภ-
สันโดษในจีวร. ภิกษุอีกรูปหนึ่ง ได้จีวรมีค่ามากผืนใดผืนหนึ่ง มีจีวร
ผ้าไหมเป็นต้น คิดว่า นี้ สมควรแก่พระเถระผู้บวชนาน นี้ สมควรแก่
พระเถระผู้เป็นพหูสูต นี้ สมควรแก่พระเถระผู้เป็นไข้ นี้ สมควรแก่
พระเถระผู้มีลาภน้อย จึงถวายแก่พระเถระเหล่านั้น แล้วแสวงผ้าที่มี

ชายจากกองหยากเยื่อเป็นต้นด้วยตนเอง ทำสังฆาฏิ หรือรับจีวรเก่าของ
ท่านเหล่านั้นมาครอง ก็จัดว่าเป็นผู้สันโดษโดยแท้. อาการของภิกษุนั้น
นี้ ชื่อว่า ยถาสารุปปสันโดษในจีวร. อนึ่ง ภิกษุในพระธรรมวินัยนี้
ได้บิณฑบาตที่ปอนๆ หรือประณีต เธอยังอัตภาพให้เป็นไปด้วยบิณฑ-
บาตนั้นนั่นแหละ ไม่ปรารถนาบิณฑบาตอื่น ถึงจะได้ก็ไม่รับ อาการ
ของภิกษุนั้นนี้ ชื่อว่า ยถาลาภสันโดษในบิณฑบาต. ก็ครั้นเธอเจ็บไข้
บริโภคบิณฑบาตที่ปอน ๆ อันเป็นของแสลงตามปกติหรือแสลงต่อความ
เจ็บไข้ ถึงความเป็นผู้มีโรคหนัก เธอถวายแก่ภิกษุผู้ชอบพอกัน บริโภค
โภชนะอันเป็นสัปปายะจากมือของภิกษุผู้ชอบพอกันนั้น กระทำสมณธรรม
ก็ชื่อว่า เป็นผู้สันโดษแท้ อาการของภิกษุนั้นนี้ ชื่อว่า ยถาพลสันโดษ
ในบิณฑบาต.
ภิกษุอีกรูปหนึ่ง ได้บิณฑบาตที่ประณีต เธอคิดว่า
บิณฑบาตนี้สมควรแก่พระเถระผู้บวชนานเป็นต้น ถวายแก่พระเถระ
เหล่านั้นเหมือนจีวร หรือถือเอาบาตรอันเป็นของ ๆ พระเถระเหล่านั้น
เที่ยวไปบิณฑบาตด้วยตนเอง แล้วฉันอาหารผสม จัดว่าเป็นผู้สันโดษแท้
อาการของภิกษุนั้นนี้ ชื่อว่ายถาสารุปปสันโดษในบิณฑบาต. ก็เสนาสนะ
ที่ถึงแก่ภิกษุในพระธรรมวินัยนี้ จะเป็นที่พอใจหรือไม่พอใจก็ตาม โดยที่สุด
กระท่อมที่มุงด้วยหญ้าก็ดี ที่ลาดด้วยหญ้าก็ดี เธอย่อมยินดีด้วยเสนาสนะ
นั้นนั่นแหละ หรือเสนาสนะอื่นที่ดีกว่าซึ่งมาถึงเข้าอีก ก็ไม่รับ อาการ
ของภิกษุนั้นนี้ ชื่อว่า ยถาลาภสันโดษในเสนาสนะ. ก็เมื่อเธออาพาธ
มีร่างกายทุรพล ได้เสนาสนะที่แสลงตามปกติหรือแสลงแก่ความป่วยไข้
เมื่ออยู่ก็ไม่มีความผาสุก เธอถวายเสนาสนะนั้นแก่ภิกษุผู้ชอบพอกันเสีย
อยู่ในเสนาสนะอันเป็นสัปปายะเป็นของภิกษุผู้ชอบพอกันนั้น กระทำ

สมณธรรม ก็จัดว่าเป็นผู้สันโดษแท้ อาการของภิกษุนั้นนี้ ชื่อว่า ยถาพล-
สันโดษในเสนาสนะ. ภิกษุอีกรูปหนึ่ง ไม่รับเสนาสนะที่ดี แม้ที่ถึงเข้า
ด้วยคิดว่า เสนาสนะนี้เป็นของประณีต เป็นที่ตั้งแห่งความประมาท หรือ
ได้เสนาสนะอันประณีตมีถ้ำ มณฑป และกูฏาคางเป็นต้น เพราะค่าที่เธอ
มีบุญมาก เธอถวายเสนาสนะเหล่านั้น แก่พระเถระผู้บวชนานเป็นต้น
เหมือนจีวรเป็นต้น ถึงจะอยู่ในที่ใดที่หนึ่ง ก็จัดว่าเป็นผู้สันโดษโดยแท้
อาการของภิกษุนั้นนี้ ชื่อว่า ยถาสารุปปสันโดษในเสนาสนะ.
อนึ่ง ภิกษุในพระธรรมวินัยนี้ ได้เภสัชปอน ๆ หรือประณีต
เธอยินดีด้วยเภสัชนั้นนั่นแหละ ไม่ปรารถนาเภสัชอื่น ถึงจะได้ก็ไม่รับ
อาการของภิกษุนั้นนี้ ชื่อว่า ยถาลาภสันโดษในคิลานปัจจัย. ก็ครั้นเธอ
ต้องการน้ำมัน ได้น้ำอ้อย เธอถวายน้ำอ้อยนั้นแก่ภิกษุผู้ชอบพอกัน
ประกอบเภสัชด้วยน้ำมัน จากมือของภิกษุผู้ชอบพอกันนั้น กระทำ
สมณธรรม ก็จัดว่าเป็นผู้สันโดษแท้ อาการของภิกษุนั้นนี้ ชื่อว่ายถาพล-
สันโดษในคิลานปัจจัย.
ภิกษุอีกรูปหนึ่งมีบุญมาก ได้เภสัชที่ประณีตมี
น้ำมัน น้ำผึ้ง และน้ำอ้อยเป็นต้นเป็นอันมาก เธอถวายเภสัชนั้นแก่
พระเถระผู้บวชนานเป็นต้น เหมือนจีวรเป็นต้น ประกอบเภสัช ด้วยวัตถุ
อย่างใดอย่างหนึ่งที่ตนได้มาแก่พระเถระเหล่านั้น ก็จัดว่าเป็นผู้สันโดษแท้
ส่วนภิกษุใด วางสมอดองด้วยน้ำมูตรเน่าในภาชนะหนึ่ง วางจตุมธุรสไว้
ในภาชนะหนึ่ง เมื่อเขาพูดว่า สิ่งใดที่ท่านต้องการเอาไปเถิดครับ ถ้าโรค
ของเธอระงับไปด้วยเภสัชขนานใดขนานหนึ่งบรรดาเภสัชเหล่านั้น เธอ
อนุสรณ์ถึงพระดำรัสว่า ชื่อว่าสมอดองด้วยน้ำมูตรเน่านี้ บัณฑิตมีพระ-
พุทธเจ้าเป็นต้นสรรเสริญแล้ว บรรพชาอาศัยเภสัชที่ดองด้วยน้ำมูตรเน่า

เธอพึงกระทำความอุตสาหะในข้อนั้นตลอดชีวิตเถิด จึงห้ามจตุมธุรส
ประกอบเภสัช ด้วยสมอดองน้ำมูตรเน่า จัดว่าเป็นผู้สันโดษอย่างยิ่งทีเดียว
อาการของภิกษุนั้นนี้ชื่อว่า ยถาสารูปปสันโดษในคิลานปัจจัย. สันโดษ
ทั้งหมดซึ่งมีประเภทดังกล่าวแล้วนั้น ท่านเรียกว่า สันตุฏฐี. ด้วยเหตุนั้น
ท่านจึงกล่าวว่า โดยอรรถก็คือ อิตริตรปัจจยสันโดษ สันโดษด้วยปัจจัย
ตามมีตามได้. กถาที่เป็นไปด้วยอำนาจประกาศอานิสงส์ของสันตุฏฐินั้น
พร้อมกับวิธีที่ชี้แนะเป็นต้น และด้วยอำนาจประกาศโทษของภิกษุผู้ตก
อยู่ในความอยากอันต่างด้วยความปรารถนาเกินไปเป็นต้น อันเป็นปฏิปักษ์
ต่อความสันโดษนั้น ชื่อว่า สันตุฏฐิกถา. แม้ในกถาอื่นจากนี้ ก็นัยนี้
เหมือนกัน. ข้าพเจ้า จักกล่าวแต่เพียงความแปลกกันเท่านั้น.
วิเวก ในบทว่า ปวิเวกกถา นี้ มี 3 อย่าง คือ กายวิเวก 1
จิตวิเวก 1 อุปธิวิเวก 1
ใน 3 อย่างนั้น ความที่ภิกษุละความอยู่คลุก
คลีด้วยหมู่แล้วอยู่สงัดในกิจทั้งปวงในทุกอิริยาบถอย่างนี้ คือ รูปหนึ่งเดิน
รูปหนึ่งยืน รูปหนึ่งนั่ง รูปหนึ่งนอน รูปหนึ่งเข้าบ้านบิณฑบาต รูป
หนึ่งกลับ รูปหนึ่งก้าวไป รูปหนึ่งอธิษฐานจงกรม รูปหนึ่งเที่ยวไป
รูปหนึ่งอยู่ ชื่อว่ากายวิเวก. อนึ่ง สมาบัติ 8 ชื่อว่า จิตวิเวก. พระ-
นิพพาน ชื่อว่าอุปธิวิเวก. สมจริงดังคำที่ท่านกล่าวไว้ว่าก็สำหรับผู้
ปลีกกายออกผู้ยินดีในเนกขัมมะ จัดเป็นกายวิเวก สำหรับผู้มีจิตบริสุทธิ์
ถึงความผ่องแผ้วอย่างยิ่ง จัดเป็นจิตวิเวก สำหรับผู้หมดอุปธิกิเลสผู้ถึง
วิสังขาร จัดเป็นอุปธิวิเวก. วิเวกนั้นแหละ คือปวิเวก. กถาที่เกี่ยวด้วย
ความสงัด ชื่อว่าปวิเวกกถา.
สังสัคคา ในบทว่า อสํสคฺคกถา นี้ มี 5 อย่าง คือ สวนสังสัคคะ 1

ทัสสนสังสัคคะ 1 สมุลลปนสังสัคคะ 1 สัมโภคสังสัคคะ 1 กายสังสัค-
คะ 1 ใน 5 อย่างนั้น ภิกษุบางรูปในพระธรรมวินัยนี้ ได้ยินว่า หญิงในบ้าน
หรือนิคมโน้นมีรูปงาม น่าชม น่าเลื่อมใส ประกอบด้วยความเป็นผู้มีสีกาย
งามอย่างยิ่ง เธอได้ยินดังนั้นแล้ว (มีจิต) ซ่านไป แผ่ไป ไม่สามารถจะ
ดำรงพรหมจรรย์อยู่ได้ จึงลาสิกขาเป็นคฤหัสถ์ ความสนิทสนมด้วยกิเลส
เกิดขึ้น โดยได้ฟังวิสภาคารมณ์ด้วยอาการอย่างนี้ ชื่อว่า สวนสังสัคคะ
ภิกษุหาได้ฟังเช่นนั้นไม่ เธอย่อมเห็นหญิงงามเอง น่าดู น่าเลื่อมใส ประ-
กอบด้วยสีกายงดงามอย่างยิ่ง เธอพอเห็นเท่านั้น (มีจิต) ซ่านไป แผ่ไป
ไม่สามารถจะดำรงพรหมจรรย์อยู่ได้ จึงลาสิกขาเป็นคฤหัสถ์ ความสนิท
สนมด้วยกิเลสที่เกิดขึ้น โดยได้เห็นวิสภาคารมณ์ด้วยอาการอย่างนี้ ชื่อว่า
ทัสสนสังสัคคะ ก็แลเพราะได้เห็น ความสนิทสนมด้วยกิเลสเกิดขึ้น
โดยการเจรจาปราศรัยกันและกัน ชื่อว่า สมุลลปนสังสัคคะ ด้วยการ
เจรจาปราศรัยนี้แหละ จึงรวมเข้ากับการกระซิกกระซี้เป็นต้นก็ได้. ก็
เพราะสิ่งใดสิ่งหนึ่งเป็นของตนที่ให้ก็ตาม ไม่ให้ก็ตามแก่มาตุคาม ความ
สนิทสนมด้วยกิเลสเกิดขึ้น ด้วยการให้สิ่งที่มีค่าที่ตนให้เป็นต้น ชื่อว่า
สัมโภคสังสัคคะ ความสนิทสนมด้วยกิเลสเกิดขึ้น ด้วยการจับมือมาตุคาม
เป็นต้น ชื่อว่า กายสังสัคคะ ความที่ภิกษุละความคลุกคลีด้วยคฤหัสถ์
อันไม่เป็นไปตามอนุโลม และความคลุกคลีอันเป็นเหตุเกิดกิเลสกับเพื่อน
สพรหมจารีทั้งหลายที่ท่านกล่าวไว้อย่างนี้ว่า ภิกษุคลุกคลีด้วยคฤหัสถ์อยู่
มีความคลุกคลีอันไม่เป็นไปตามอนุโลม มีโศกด้วยกัน ยินดีด้วยกัน
เมื่อเขาสุขก็สุข เมื่อเขาทุกข์ก็ทุกข์ ถึงความขวนขวายในกรณียกิจที่เกิด
ขึ้นด้วยตนเอง ดังนี้ทั้งหมดเสียได้ เข้าไปตั้งเฉพาะซึ่งธรรมทั้งปวง คือ

ความสังเวชในสงสารอันมั่นคงกว่า ความสำคัญในสิ่งที่มีสังขารว่าเป็นภัย
อย่างแรงกล้า ความสำคัญในร่างกายว่าเป็นสิ่งปฏิกูล มีหิริและโอตตัปปะ
อันมีการเกลียดอกุศลทั้งหมดเป็นตัวนำ ทั้งมีสติและสัมปชัญญะในการ
กระทำทุกอย่าง แล้วไม่มีความติดข้องในธรรมทั้งปวง เหมือนหยาดน้ำ
ไม่ติดบนใบบัวฉะนั้นนี้ ชื่อว่าอสังสัคคะ เพราะเป็นปฏิปักษ์ต่อสังสัคคะ
ทั้งปวง กถาอันเกี่ยวด้วยอสังสัคคะ ชื่อว่า อสังสัคคกถา.
ในบทว่า วีริยารมฺภกถา นี้ มีวินิจฉัยดังต่อไปนี้. ภาวะแห่งบุคคล
ผู้แกล้วกล้า หรือกรรมแห่งบุคคลผู้แกล้วกล้า เพราะฉะนั้น จึงชื่อว่าวิริยะ
อีกอย่างหนึ่ง ชื่อว่าวิริยะ เพราะอันบุคคลพึงดำเนินไป คือ พึงให้เป็น
ไปตามวิธี ก็ความเพียรนั้น คือ การเริ่มเพื่อละอกุศลธรรม (และ)
ให้กุศลธรรมเกิดขึ้น ชื่อว่า วิริยารัมภะ ปรารภความเพียร. วิริยา-
รัมภะนั้น มี 2 อย่าง คือ เป็นไปทางกาย 1 เป็นไปทางจิต 1
มี 3 อย่าง คือ อารัมภธาตุ 1 นิกกมธาตุ 1 ปรักกมธาตุ 1 มี 4
อย่างด้วยอำนาจสัมมัปปธาน 4. วิริยารัมภะทั้งหมดนั้น พึงทราบด้วย
อำนาจการปรารภความเพียรอย่างนี้ ของภิกษุผู้ไม่ให้กิเลสที่เกิดขึ้นใน
ตอนเดินถึงในตอนยืน ที่เกิดในตอนยืนไม่ให้ถึงตอนนั่ง ที่เกิดขึ้นใน
ตอนนั่งไม่ให้ถึงตอนนอน ข่มไว้ด้วยพลังความเพียรไม่ให้เงยศีรษะขึ้นได้
ในอิริยาบถนั้น ๆ เหมือนคนเอาไม้มีลักษณะดังเท้าแพะกดงูเห่าไว้ และ
เหมือนเอาดาบที่คมกริบฟันคอศัตรูฉะนั้น. กถาอันเกี่ยวด้วยวิริยารัมภะ
นั้น ชื่อว่า วิริยารัมภกถา
ศีลในบทว่า ศีลกถาเป็นต้น มี 2 อย่าง คือ โลกิยศีล 1 โลกุตร-
ศีล 1. ในศีล 2 อย่างนั้น โลกิยศีล ได้แก่ปาริสุทธิศีล 4 มีปาติ-

โมกขสังวรศีลเป็นต้น. โลกุตรศีล ได้แก่มรรคศีล และผลศีล. อนึ่ง
สมาบัติ 8 พร้อมด้วยอุปจาระอันเป็นบาทแห่งวิปัสสนา ชื่อว่าโลกิยสมาธิ
ก็ในที่นี้ สมาธิที่สัมปยุตด้วยมรรค ชื่อว่า โลกุตรสมาธิ. ฝ่ายปัญญา
ก็เหมือนกัน ที่สำเร็จด้วยการฟัง สำเร็จด้วยการคิด ที่สัมปยุตด้วยฌาน
และวิปัสสนาญาณ จัดเป็นโลกิยปัญญา แต่ในที่นี้ เมื่อว่าโดยพิเศษ
พึงยึดเอาวิปัสสนาปัญญา. ปัญญาที่สัมปยุตด้วยมรรคและผล จัดเป็น
โลกุตรปัญญา. แม้วิมุตติ ก็ได้แก่วิมุตติอันสัมปยุตด้วยอริยผล และ
นิพพาน. ฝ่ายอาจารย์อีกพวกหนึ่ง พรรณนาความในข้อนี้ไว้ ด้วย
อำนาจแม้ตทังควิมุตติ วิกขัมภนวิมุตติ และสมุจเฉทวิมุตติ. แม้วิมุตติ-
ญาณทัสสนะ ก็ได้แก่ปัจจเวกขณญาณ 19. กถาอันเป็นไปด้วยอำนาจ
การประกาศโทษและอานิสงส์ มีอาการเป็นอเนกแห่งคุณมีศีลเป็นต้น
เหล่านี้ พร้อมด้วยวิธีมีการชี้แจงเป็นต้น และด้วยอำนาจการประกาศโทษ
แห่งความเป็นผู้ทุศีลเป็นต้น อันเป็นข้าศึกต่อคุณมีศีลเป็นต้นนั้น หรือ
กถาอันเกี่ยวด้วยอานิสงส์และโทษของศีลนั้น ชื่อว่ากถาว่าด้วยศีลเป็นต้น.
ก็ในที่นี้ เพราะพระบาลีมีอาทิว่า ภิกษุเป็นผู้มักน้อยด้วยตนเอง
ทั้งกระทำกถาว่าด้วยความมักน้อยแก่ผู้อื่น และชื่อว่าเป็นผู้สันโดษด้วยจีวร
ตามมีตามได้ ทั้งประกาศแห่งความสันโดษด้วยจีวรตามมีตามได้ กถา
เห็นปานนั้น อันภิกษุผู้ประกอบด้วยคุณมีความเป็นผู้มักน้อยเป็นต้น ด้วย
ตนเอง พึงให้โทษเป็นไปตามอัธยาศัยเกื้อกูลแม้แก่คนเหล่าอื่น เพื่อประ-
โยชน์แก่ความมักน้อยและสันโดษนั้น ซึ่งท่านกล่าวไว้โดยพิเศษด้วยความ
เป็นผู้ขัดเกลาอย่างยิ่งเป็นต้น ในที่นี้ พึงทราบว่า กถาว่าด้วยความมักน้อย
เป็นต้น. จริงอยู่ กถาของผู้กระทำนั่นแหละย่อมทำประโยชน์ตามที่ประ-

สงค์ให้สำเร็จโดยพิเศษ. สมจริงดังที่พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสไว้ว่า ดูก่อน
เมฆิยะ นี้เป็นความหวังของภิกษุผู้กัลยาณมิตร ฯ ล ฯ เป็นการได้โดยไม่ยาก.
บทว่า เอวรูปาย ได้แก่ เช่นนี้ คือตามที่กล่าวแล้ว. บทว่า นิกามลาภี
ความว่า เป็นผู้ได้ตามปรารถนา คือได้ตามความชอบใจ ได้แก่ได้ตาม
สะดวกเพื่อจะฟังและวิจารณ์กถาเหล่านี้ทุกเวลา. บทว่า อกิจฺฉลาภี ได้แก่
เป็นผู้ได้โดยไม่ยาก. บทว่า อกสิรลาภี ได้แก่ เป็นผู้ได้โดยไพบูลย์.
บทว่า อารทฺธวีริโย ได้แก่ ประคองความเพียรไว้. บทว่า อกุสลานํ
ธมฺมานํ ปหานาย
ได้แก่ เพื่อจะละบาปธรรม ที่ชื่อว่าอกุศล เพราะ
อรรถว่าเกิดจากความเป็นผู้ไม่ฉลาด. บทว่า กุสลานํ ธมฺมานํ ได้แก่
ธรรมที่สัมปยุตด้วยมรรคและผล พร้อมทั้งวิปัสสนา ที่ชื่อว่ากุศล เพราะ
อรรถว่าตัดบาปธรรมอันบัณฑิตเกลียดเป็นต้น และเพราะอรรถว่าไม่มี
โทษ. บทว่า อุปสมฺปทาย ได้แก่ ให้ถึงพร้อม คือให้เกิดขึ้นใน
สันดานตน. บทว่า ถามว่า ได้แก่ ผู้ประกอบด้วยกำลังความเพียรกล่าว
คือความอุตสาหะ. บทว่า ทฬฺหปรกฺกโม ได้แก่ มีความบากบั่นมั่น คือ
มีความเพียรไม่ย่อหย่อน. บทว่า อนิกฺขิตฺตธุโร ได้แก่ ไม่ทอดทิ้งธุระ
คือมีความเพียรไม่ท้อถอย.
บทว่า ปญฺญวา ได้แก่ ผู้มีปัญญาด้วยปัญญาอันสัมปยุตด้วย
วิปัสสนา. บทว่า อุทยตฺถคามินิยา ได้แก่ แทงตลอดถึงความเกิดขึ้น
และความดับไปแห่งเบญจขันธ์. บทว่า อริยาย ได้แก่ ห่างไกล คือ
ตั้งอยู่ในที่ไกลจากกิเลส ด้วยอำนาจวิกขัมภนวิมุตติ คือปราศจากโทษ.
บทว่า นิพฺเพธิกาย แปลว่า เป็นส่วนแห่งการตรัสรู้. บทว่า สมฺมา-

ทุกฺขกฺขยคามินิยา ได้แก่ บรรลุโดยชอบ คือโดยเหตุ โดยนัย ซึ่ง
อริยมรรคอันได้นามว่า ทุกขักขยะ เพราะทำวัฏทุกข์ให้สิ้นไป.
ก็แล ในธรรม 5 ประการเหล่านี้ ศีล วิริยะ และปัญญา เป็นองค์
ภายใน 2 องค์นอกนี้เป็นองค์ภายนอกสำหรับพระโยคี แม้ถึงอย่างนั้น
พระโยคีก็ยังปรารถนาธรรม 8 ประการนอกนั้น โดยเป็นที่อาศัยของ
กัลยาณมิตรนั่นเอง. ในที่นี้ พระศาสดาเมื่อทรงแสดงว่า กัลยาณมิตร
นั่นแหละเป็นผู้มีอุปการะมาก จึงทรงเพิ่มพระธรรมเทศนาโดยนัยมีอาทิว่า
เมฆิยะ ข้อนี้ภิกษุผู้มีกัลยาณมิตรพึงหวังได้.
บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า ปาฏิกงฺขํ แปลว่า พึงหวังโดยส่วน
เดียว อธิบายว่า มีภาวะแน่แท้. บทว่า ยํ เป็นกิริยาปรามาส.
ท่านอธิบายคำนี้ว่า ในคำว่า สีลวา ภวิสฺสติ นี้มีอธิบายว่า ข้อที่ภิกษุ
ผู้มีมิตรดีงาม มีศีล คือ สมบูรณ์ด้วยศีลนั้น พึงหวังได้ เพราะภิกษุนั้น
เป็นผู้สมบูรณ์ด้วยศีล คือเป็นผู้มีภาวะแน่นอน เพราะชักชวนเธอในข้อนั้น
โดยแท้จริงทีเดียว. แม้ในคำว่า ปาติโมกฺขสํวรสํวุโต วิหรติ ดังนี้เป็นต้น
ก็นัยนี้เหมือนกัน.
พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงแสดงศาสนสมบัติทั้งสิ้นโดยความเป็นผู้มี
กัลยาณมิตรเป็นต้น แต่ท่านเมฆิยะผู้ไม่เอื้อเฟื้อพระดำรัสของพระองค์ผู้
เป็นกัลยาณมิตรผู้สูงสุดในโลกพร้อมทั้งเทวโลก แล้วเข้าไปยังไพรสณฑ์
นั้น ถึงประการอันแปลกเช่นนั้น บัดนี้ จึงทรงประกาศภาวนานัยแก่เธอ
ผู้เกิดความเอื้อเฟื้อในไพรสณฑ์นั้น เพราะเธอถูกกามวิตกเป็นต้นประ-
ทุษร้ายในคราวก่อน และเพราะกามวิตกเป็นต้นเหล่านั้นเป็นข้าศึกโดย
ตรง กรรมฐานจึงไม่สำเร็จแก่เธอ ต่อแต่นั้น เมื่อจะตรัสบอก

กรรมฐานแห่งพระอรหัต จึงตรัสคำมีอาทิว่า ดูก่อนเมฆิยะ ก็แลภิกษุ
นั้นพึงตั้งอยู่ในธรรม 5 ประการนี้ แล้วพึงเจริญธรรม 4 ประการนี้
ยิ่ง ๆ ขึ้นไป.
บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า เตน ได้แก่ ผู้ประกอบด้วยคุณมีศีล
เป็นต้นตามที่กล่าวแล้ว โดยมีกัลยาณมิตรเป็นที่อาศัยอย่างนี้. ด้วยเหตุนั้น
นั่นแล จึงตรัสว่า ตั้งอยู่ในธรรม 5 ประการเหล่านี้ เป็นต้น. บทว่า
อุตฺตรึ ความว่า หากอันตรายมีราคะเป็นต้น พึงเกิดขึ้นแก่ผู้ปรารภตรุณ-
วิปัสสนา เพื่อจะชำระอันตรายเหล่านั้นให้หมดจด เบื้องหน้าแต่นั้นพึง
เจริญ คือทำให้เกิด และพอกพูนธรรม 4 ประการนั้น. บทว่า อสุภา
ได้แก่ เจริญอสุภกรรมฐานอย่างใดอย่างหนึ่งตามสมควรในบรรดาอสุภ-
กรรมฐาน ในเอกเทศหนึ่ง. บทว่า ราคสฺส ปหานาย ได้แก่ เพื่อละ
กามราคะ. บัณฑิตพึงประกาศเนื้อความนี้ด้วยอุปมาบุคคลผู้เกี่ยวข้าวสาลี.
จริงอยู่ ชายคนหนึ่งถือเคียวเกี่ยวข้าวสาลีในนาข้าวสาลี ตั้งแต่ที่สุดไป
ครั้นเหล่าโคแหกรั้วของเขาเข้าไป เขาก็วางเคียวถือไม้ไล่โคให้ออกไป
โดยทางนั้นนั่นแล แล้วทำรั้วให้เหมือนเดิมแล้วถือเคียวเกี่ยวข้าวสาลีอีก.
ในอุปมาข้อนั้น พระพุทธศาสนา พึงเห็นเหมือนนาข้าวสาลี พระโยคาวจร
เหมือนคนเกี่ยวข้าว มรรคปัญญาเหมือนเคียว เวลาทำกรรมในวิปัสสนา
เหมือนเวลาเกี่ยว อสุภกรรมฐานเหมือนไม้ สังวรเหมือนรั้ว การที่ราคะ
เกิดขึ้นเพราะอาศัยความประมาทโดยไม่พิจารณาทันทีทันใด เหมือนการ
ที่โคทั้งหลายพังรั้วไป เวลาที่ข่มราคะด้วยอสุภกรรมฐานแล้วเริ่มทำกรรม
ในวิปัสสนาอีก พึงเห็นเหมือนคนเกี่ยวข้าววางเคียวถือไม้ไล่โคให้ออกไป
โดยทางที่เข้ามานั่นแหละ ทำรั้วให้เหมือนเดิมแล้วเกี่ยวข้าวตั้งแต่ที่ที่ตน

ยืนอีก ในข้อนี้มีการเทียบเคียงอุปมาดังว่ามานี้. ทรงหมายเอาภาวนาวิธี
ซึ่งเป็นดังว่ามานี้ จึงตรัสว่า พึงเจริญอสุภะเพื่อละราคะ.
บทว่า เมตฺตา ได้แก่ กรรมฐานมีเมตตาเป็นอารมณ์. บทว่า
พฺยาปาทสฺส ปหานาย ได้แก่ เพื่อละความโกรธอันเกิดขึ้น โดยนัย
ดังกล่าวแล้วนั่นแล. บทว่า อานาปานสฺสติ ได้แก่ อานาปานสติอัน
มีวัตถุ 16. บทว่า วิตกฺกุปจฺเฉทาย ได้แก่ เพื่อติดวิตกที่เกิดขึ้นแล้ว
โดยนัยดังกล่าวแล้วนั่นแล. บทว่า อสฺมิมานสมุคฺฆาตาย ได้แก่ เพื่อ
ถอนมานะ 9 อย่างที่เกิดขึ้นว่าเรามี. บทว่า อนิจฺจสญฺญิโน ได้แก่ ผู้มี
ความสำคัญว่าไม่เที่ยง ด้วยอนิจจานุปัสสนาที่เป็นไปว่า สังขารทั้งปวงชื่อว่า
ไม่เที่ยง เพราะมีแล้วกลับไม่มี เพราะมีความเกิดขึ้นและดับไปเป็นที่สุด
เพราะมีการแตกดับ เพราะเป็นไปชั่วขณะ เพราะปฏิเสธความเป็นของ
เที่ยง. บทว่า อนตฺตสญฺญา สณฺฐาติ ได้แก่ อนัตตสัญญา กล่าวคือ
อนัตตานุปัสสนาที่เป็นไปอย่างนี้ว่า ธรรมทั้งปวงชื่อว่าเป็นอนัตตา เพราะ
ไม่มีแก่นสาร เพราะไม่เป็นไปในอำนาจ เพราะเป็นอื่น เพราะว่าง
เพราะเปล่า และเพราะสูญ ย่อมไม่ดำรงอยู่ คือไม่ตั้งมั่นอยู่ในจิต.
จริงอยู่ เมื่อเห็นอนิจจลักษณะก็เป็นอันชื่อว่าเห็นอนัตตลักษณะเหมือนกัน.
ก็บรรดาลักษณะทั้ง 3 เมื่อเห็นลักษณะหนึ่ง ก็เป็นอันชื่อว่าเห็นลักษณะ
2 อย่างนอกนี้เหมือนกัน. ด้วยเหตุนั้น จึงตรัสว่า เมฆิยะ ก็อนัตตสัญญา
ย่อมดำรงอยู่แก่ผู้มีความสำคัญในสังขารว่าเป็นของไม่เที่ยง. เมื่อเห็น
อนัตตลักษณะ มานะที่เกิดขึ้นว่าเรามี ก็ชื่อว่าละได้ด้วยนั่นเอง เพราะ-
เหตุนั้น พระองค์จึงตรัสว่า ผู้มีความสำคัญในสังขารว่าเป็นอนัตตา ย่อม
ถึงการถอนอัสมิมานะเสียได้. บทว่า ทิฏฺเฐว ธมฺเม นิพฺพานํ ความว่า

ย่อมบรรลุพระปรินิพพานอันหาปัจจัยมิได้ ในปัจจุบันนี้เอง คือในอัต-
ภาพนี้เอง. ในที่นี้มีความสังเขปเพียงเท่านี้ แต่เมื่อว่าโดยพิสดารนัยแห่ง
ภาวนาอันว่าด้วยอสุภกรรมฐานเป็นต้น ผู้ต้องการพึงตรวจดูโดยนัยที่กล่าว
ไว้ในคัมภีร์วิสุทธิมรรค.
บทว่า เอตมตฺถํ วิหิตฺวา ความว่า ทรงทราบเนื้อความนี้ กล่าวคือ
การที่ท่านพระเมฆิยะถูกพวกโจรคือมิจฉาวิตกปล้นภัณฑะคือกุศล. บทว่า
อิมํ อุทานํ ความว่า ทรงเปล่งอุทานนี้อันแสดงโทษในการไม่บรรเทา
กามวิตกเป็นต้น และอานิสงส์ในการบรรเทากามวิตกเป็นต้น.
บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า ขุทฺทา ได้แก่ เลว คือลามก. บทว่า
วิตกฺกา ได้แก่ บาปวิตก (อกุศลวิตก) 3 มีกามวิตกเป็นต้น. ก็อกุศล-
วิตกเหล่านั้น ท่านเรียกขุททะในที่นี้ เพราะถูกวิตกทั้งปวงทำให้เลว
เหมือนในประโยคมีอาทิว่า ไม่พึงประพฤติเลว. บทว่า สุขุมา ท่าน
ประสงค์เอาความตรึกถึงญาติเป็นต้น. ก็วิตกเหล่านี้ คือความตรึกถึงญาติ
ตรึกถึงชนบท ตรึกถึงเทวดา ความตรึกที่เกี่ยวกับความเอ็นดูผู้อื่น ความ
ตรึกที่เกี่ยวด้วยลาภสักการะ และชื่อเสียง ความตรึกที่เกี่ยวกับความไม่
ดูหมิ่น ย่อมไม่ร้ายแรงเหมือนกามวิตกเป็นต้น เพราะฉะนั้น ท่านจึงกล่าวว่า
สุขุมละเอียด เพราะมีสภาวะไม่หยาบ. บทว่า อนุคตา ได้เเก่ อนุวรรตน์
ไปตามจิต. จริงอยู่ เมื่อวิตกเกิดขึ้น จิตก็ไปตามวิตกนั้นแล เพราะยก
วิตกนั้นขึ้นสู่อารมณ์. บาลีว่า อนุคฺคตา ดังนี้ก็มี ความว่า อนุฏฺฐิตา
ไม่ตั้งมั่น. บทว่า มนโส อุพฺพิลาปา แปลว่า ทำจิตให้ฟุ้งซ่าน. บทว่า
เอเต อวิทฺวา มนโส วิตกฺเก ความว่า ไม่รู้ตามความเป็นจริงซึ่งมโนวิตก
มีกามวิตกเป็นต้นเหล่านั้น ด้วยญาตปริญญา ตีรณปริญญา และปหาน-

ปริญญา. โดยสลัดออกจากโทษคือความยินดี. บทว่า หุรา หุรํ ธาวติ
ภนฺติจิตฺโต
ความว่า ชื่อว่ามีจิตไม่ตั้งมั่น เพราะยังละมิจฉาวิตกไม่ได้
จึงแล่นไป คือหมุนไป ๆ มา ๆ ด้วยอำนาจความยินดีเป็นต้นในอารมณ์
นั้น ๆ โดยนัยมีอาทิว่า บางคราวในรูปารมณ์ บางคราวในสัททารมณ์
อีกอย่างหนึ่ง บทว่า หุรา หุรํ ธาวติ ภนฺตจิตฺโต ความว่า มีจิตหมุน
ไปด้วยอำนาจอวิชชาและตัณหาอันมีวิตกนั้นเป็นเหตุ เพราะยังกำหนด
วิตกไม่ได้ จึงแล่นไป คือท่องเที่ยวไป ๆ มา ๆ โดยจุติและปฏิสนธิ จาก
โลกนี้สู่โลกหน้า. บทว่า เอเต จ วิทฺรา มนโส วิตกฺเก ความว่า แต่
รู้ตามความเป็นจริงโดยความยินดีเป็นต้น ซึ่งมโนวิตกมีกามวิตกเป็นต้นมี
ประเภทตามที่กล่าวแล้วนั้น. บทว่า อาตาปิโย แปลว่า มีความเพียร.
บทว่า สํวรติ แปลว่า ย่อมปิด. บทว่า สติมา แปลว่า สมบูรณ์ด้วย
สติ. บทว่า อนุคฺคเต ได้แก่ ไม่เกิดขึ้นโดยอำนาจการได้ด้วยยาก. ท่าน
กล่าวคำอธิบายนี้ไว้ว่า รู้มโนวิตกมีกามวิตกเป็นต้นมีประการดังกล่าวแล้ว
นั้น ว่าเป็นความฟุ้งซ่านแห่งใจ เพราะเป็นเหตุทำจิตให้ฟุ้งซ่าน คือ
รู้โดยชอบทีเดียวด้วยมรรคปัญญาอันประกอบด้วยวิปัสสนาญาณ ชื่อว่าผู้มี
ความเพียร มีสติ เพราะมีสัมมาวายามะและสัมมาสติ ซึ่งมีมรรคปัญญานั้น
เป็นสหาย ปิดมโนวิตกเหล่านั้นที่ควรจะเกิดต่อไป ไม่ให้เกิดคือไม่ให้
ผุดขึ้นเลยในขณะมรรค ด้วยอริยมรรคภาวนา คือปิดกั้นด้วยญาณสังวร
ได้แก่ตัดความปรากฏ (ของวิตกเหล่านั้น) ก็พระอริยสาวกผู้เป็นอย่างนั้น
ชื่อว่าพุทธะ เพราะรู้สัจจะทั้ง 4 ละขาด คือตัดขาดกามวิตกเป็นต้น
เหล่านั้นโดยไม่เหลือ คือไม่มีส่วนเหลือ เหตุบรรลุพระอรหัต. แม้ในบท

นี้ อาจารย์บางพวกล่าวว่า อนุคเต ดังนี้ก็มี. ความแห่งบท อนุคเต
นั้น ได้กล่าวไว้ในหนหลังแล้วแล.
จบอรรถกถาเมฆิยสูตรที่ 1

2. อุทธตสูตร



ว่าด้วยอำนาจแห่งมาร



[ 90] ข้าพเจ้าได้สดับมาแล้วอย่างนี้ :-
สมัยหนึ่ง พระผู้มีพระภาคเจ้าประทับอยู่ที่สาลวัน อันเป็นที่เสด็จ
ประพาสของมัลลกษัตริย์ทั้งหลาย ใกล้กรุงกุสินารา ก็สมัยนั้นแล ภิกษุ
มากด้วยกันเป็นผู้มีจิตฟุ้งซ่าน เย่อหยิ่ง กลับกลอก ปากกล้า วาจา
พล่อย มีสติหลงลืม ไม่สำนักตัว มีจิตไม่ตั้งมั่น มีจิตหมุนไปผิด ไม่
สำรวมอินทรีย์ อยู่ในกุฎีที่เขาสร้างไว้ในป่า ในที่ไม่ไกลพระผู้มีพระภาค-
เจ้า พระผู้มีพระภาคเจ้าได้ทรงเห็นภิกษุเหล่านั้น ผู้มีจิตฟุ้งซ่าน เย่อหยิ่ง
กลับกลอก ปากกล้า วาจาพล่อย มีสติหลงลืม ไม่สำนึกตัว มีจิตไม่
ตั้งมั่น มีจิตหมุนไปผิด ไม่สำรวมอินทรีย์ อยู่ในกุฎีที่เขาสร้างไว้ในป่า
ในที่ไม่ไกล.
ลำดับนั้นแล พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงทราบเนื้อความนี้แล้ว จึง
ทรงเปล่งอุทานนี้ในเวลานั้นว่า
ภิกษุมีกายไม่รักษาแล้ว เป็นมิจฉาทิฏฐิ และถูก
ถีนมิทธะครอบงำแล้ว ย่อมไปสู่อำนาจแห่งมาร
เพราะเหตุนั้น ภิกษุพึงเป็นผู้รักษาจิต มีความดำริ
ชอบเป็นโคจร มุ่งสัมมาทิฏฐิเป็นเบื้องหน้า รู้ความ