เมนู

เมฆิยวรรควรรณนาที่ 4



อรรถกถาเมฆิยสูตร



เมฆิยสูตรที่ 1 แห่งเมฆิยวรรคมีวินิจฉัยดังต่อไปนี้ :-
บทว่า จาลิกายํ ได้แก่ ใกล้เมืองชื่ออย่างนี้. ได้ยินว่า เลยสถานที่
ประตูนั้นไป มีเปือกตมไหวอยู่รอบ ๆ. เพราะตั้งชิดเปือกตมที่ไหว
นครนั้นจึงปรากฏแก่ผู้ที่แลดูเหมือนไหวอยู่ เพราะฉะนั้น เมืองนั้นเขาจึง
เรียกว่า จาลิกา. บทว่า จาลิเก ปพฺพเต ความว่า ในที่ไม่ไกลนครนั้น
มีภูเขาลูกหนึ่ง แม้ภูเขานั้นก็ปรากฏแก่ผู้แลดูเหมือนไหวอยู่ ในวัน
อุโบสถข้างแรม เพราะภูเขานั้นขาวปลอด เพราะฉะนั้น ภูเขานั้นจึงนับว่า
จาลิกบรรพต. ชนทั้งหลายได้พากันสร้างวิหารใหญ่ในที่นั้น ถวายแด่พระ-
ผู้มีพระภาคเจ้า. ในกาลนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้าได้ทรงทำนครนั้นให้เป็น
โคจรคาม ประทับอยู่ที่มหาวิหารใกล้จาลิกบรรพตนั้น ด้วยเหตุนั้น
ท่านจึงกล่าวว่า ประทับอยู่ ณ จาลิกบรรพต ใกล้เมืองจาลิกา.
บทว่า เมฆิโย เป็นชื่อของพระเถระนั้น. บทว่า อุปฏฺฐาโก โหติ
ได้แก่ เป็นผู้บำเรอ. จริงอยู่ ในปฐมโพธิกาล พระผู้มีพระภาคเจ้าไม่มี
อุปัฏฐากประจำ บางคราวได้มีพระนาคสมาละ. บางคราวพระนาคิต.
บางคราวพระอุปวาณะ. บางคราวพระสุนักขัตตะ. บางคราวพระ-
จุนทสมณุทเทศ บางคราวพระสาคตะ. บางคราวพระเมฆิยะ. แม้ใน
คราวนั้น ท่านพระเมฆิยเถรนั่นแหละเป็นอุปัฏฐาก. ด้วยเหตุนั้น ท่าน
จึงกล่าวว่า ก็สมัยนั้นแล ท่านพระเมฆิยะเป็นอุปัฏฐากพระผู้มีพระภาคเจ้า.
บทว่า ชนฺตุคามํ ได้แก่ วิหารนั้นนั่นแหละ ได้มีโคจรคามอื่น
ซึ่งมีอย่างนั้น. บาลีว่า ชตฺตุคามํ ดังนี้ก็มี. บทว่า กิมิกาฬาย ได้แก่