เมนู

ภัต นั่งประชุมกันในโรงกลม เกิดสนทนากันในระหว่างว่า ดูก่อนท่าน
ผู้มีอายุทั้งหลาย ใครหนอแลย่อมรู้ศิลปะ. . .บางพวกกล่าวอย่างนี้ว่า ศิลปะ
ในทางภูมิศาสตร์เป็นยอดแห่งศิลปะทั้งหลาย ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ข้า-
พระองค์ทั้งหลายสนทนาเรื่องค้างไว้ในระหว่างนี้แล ก็พอดีพระผู้มีพระ-
ภาคเจ้าเสด็จมาถึง พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย การที่
เธอทั้งหลายเป็นกุลบุตรออกบวชเป็นบรรพชิตด้วยศรัทธา กล่าวกถาเห็น
ปานนี้นั้นไม่สมควรเลย เธอทั้งหลายประชุมกันแล้ว พึงกระทำอาการ
2 อย่าง คือ ธัมมีกถา หรือดุษณีภาพอันเป็นอริยะ.
ลำดับนั้นแล พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงทราบเนื้อความนี้แล้ว จึง
ทรงเปล่งอุทานนี้ในเวลานั้นว่า
ผู้ไม่อาศัยศิลปะเลี้ยงชีพ ผู้เบา ปรารถนาประ-
โยชน์ มีอินทรีย์สำรวมแล้ว พ้นวิเศษแล้วในธรรม
ทั้งปวง ไม่มีที่อยู่เที่ยวไป ไม่ยึดถือว่าของเรา ไม่
มีความหวัง ผู้นั้นกำจัดมารได้แล้ว เป็นผู้เที่ยวไปผู้-
เดียว ชื่อว่าเป็นภิกษุ.

จบสิปปสูตรที่ 9

อรรถกถาสิปปสูตร


สิปปสูตรที่ 9 มีวินิจฉัยดังต่อไปนี้ :-
บทว่า โก นุ โข อาวุโส สิปฺปํ ชานาติ ความว่า อาวุโส เมื่อ
พวกเราประชุมกันในที่นี้ ใครหนอจะรู้แจ้งอาชีพอย่างใดอย่างหนึ่งซึ่งมี

ชีวิตเป็นเหตุ อันได้นามว่า ศิลปะ เพราะอรรถว่าต้องศึกษา. บทว่า
โก กึ สิปฺปํ สิกฺขิ ความว่า ใครจะเข้าไปหาตระกูลอาจารย์ผู้ถ่ายทอดศิลปะ
ตลอดกาลนานแล้ว ศึกษาศิลปะอะไร ๆ บรรดาศิลปะฝึกช้างเป็นต้น โดย
ทางเล่าเรียน และโดยทางปฏิบัติ. บทว่า กตรํ สิปฺปํ สิปฺปานํ อคฺคํ
ความว่า ศิลปะชนิดไหนเป็นยอด คือประเสริฐกว่าศิลปะทั้งปวง โดยไม่
ต่ำช้า มีผลมาก และสำเร็จได้ไม่ยาก อธิบายว่า บุคคลอาศัยศิลปะใด
แล้วสามารถเป็นอยู่ได้ง่าย. บทว่า ตตฺเถกจฺเจ ความว่า บรรดาภิกษุ
เหล่านั้น บางพวกที่ออกบวชจากตระกูลนายหัตถาจารย์นั้น. บทว่า เอว
มาหํสุ
ความว่า ท่านเหล่านั้นได้กล่าวอย่างนั้น. แม้ต่อแต่นี้ไป ในที่ ๆ
กล่าวไว้ว่า เอกจฺเจ ก็นัยนี้เหมือนกัน. บทว่า หตฺถิสิปฺปํ ความว่า
ศิลปะแม้ทุกอย่างต่างโดยการจับช้าง การฝึก การขับขี่ การรักษาโรค
เป็นต้น ที่จำต้องกระทำ ท่านประสงค์เอาว่า ศิลปะในการฝึกช้าง ในที่นี้.
แม้ในคำว่า อสฺสสิปฺปํ นี้ ก็นัยนี้เหมือนกัน. ส่วน ศิลปะการขับรถ พึง
ทราบโดยวิธีฝึกหัด และขับไปเป็นต้นของผู้ขับรถ และโดยการประกอบ
รถ. บทว่า ธนุสิปฺปํ ได้แก่ ศิลปะของนายขมังธนู ซึ่งเรียกว่า นักแม่น
ธนู. บทว่า ถรุสิปฺปํ ได้แก่ ศิลปะทางอาวุธที่เหลือ. บทว่า มุทฺธาสิปฺปํ
ได้แก่ ศิลปะในการนับหัวแม่มือ. บทว่า คณนาสิปฺปํ ได้แก่ ศิลปะในการ
นับไม่ขาดระยะ. บทว่า สงฺขานสิปฺปํ ได้แก่ ศิลปะในการนับเป็นก้อน
ด้วยการบวกและการลบเป็นต้น. ผู้ที่กล่าวคล่องแคล่วศิลปะนั้น พอเห็น
ต้นไม้ ก็นับได้ว่า ต้นไม้นี้มีใบเท่านี้. บทว่า เลขาสิปฺปํ ได้แก่ ศิลปะ
ในเพราะเขียนอักษรโดยอาการต่าง ๆ หรือความรู้ในการเขียน. บทว่า
กาเวยฺยสิปฺปํ ความว่า ศิลปะการแต่งกาพย์ของกวี 4 จำพวก มีจินตกวี

เป็นต้น ด้วยการคิดของตน ด้วยการฟังที่ได้จากคนอื่น ด้วยประโยชน์
อย่างนี้ว่า สิ่งนี้มีประโยชน์ เราจักประกอบสิ่งนี้อย่างนี้ หรือด้วยการ
เห็นกาพย์อะไร ๆ แล้วเกิดปฏิภาณขึ้นในฐานะว่า เราจักแต่กาพย์ให้
เหมือนกับกาพย์นั้น. สมจริงดังที่พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสว่า ดูก่อนภิกษุ
ทั้งหลาย กวี 4 จำพวกเหล่านี้ คือ จินตกวี สุตกวี อัตถกวี และปฏิภาณกวี.
บทว่า โลกายตสิปฺปํ ความว่า ศิลปะในวิตัณฑศาสตร์ ที่ปฏิเสธปรโลก
และนิพพานเป็นไป โดยนัยมีอาทิว่า กาขาว เพราะกระดูกขาว นกยาง
แดงเพราะเลือดแดง. บทว่า ขตฺตวิชฺชาสิปฺปํ ความว่า ศิลปะในนิติ-
ศาสตร์มีการอารักขากษัตริย์เป็นต้น. ได้ยินว่า ศิลปะทั้ง 12 นี้ ชื่อว่า
มหาศิลปะ ด้วยเหตุนั้นจึงกล่าวไว้ในที่นั้น ๆ ว่า สิปฺปานํ อคฺคํ ดังนี้.
บทว่า เอตมตฺถํ วิทิตฺวา ความว่า ทรงทราบโดยอาการทั้งปวง ซึ่ง
ความไม่สลัดออกจากวัฏทุกข์ เพื่อประโยชน์แก่การเป็นอยู่แห่งสิปปายตนะ
ทั้งปวงนี้ แต่ก็ทรงทราบความไม่สลัดออกแห่งความบริสุทธิ์มีศีลเป็นต้น
และความเป็นภิกษุแห่งผู้พรั่งพร้อมด้วยศีลเป็นต้นนั้น จึงทรงเปล่งอุทาน
นี้อันประกาศเนื้อความนั้น.
บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า อสิปฺปชีวี ความว่า ชื่อว่า อสิปปชีวี
เพราะอรรถว่า ไม่ไปอาศัยศิลปะอย่างใดอย่างหนึ่งเลี้ยงชีพ เพราะความ
หวังในปัจจัยเหือดแห้งไป โดยข่มตัณหุปปาทาน 4 ให้อยู่ไกลแสนไกล.
ด้วยคำนี้ ทรงแสดงถึงอาชีวปริสุทธิศีล. บทว่า ลหุ ได้แก่ ชื่อว่า เบา
คือไม่มีสัมภาระมาก เพราะมีกิจน้อยและมีความประพฤติเบาพร้อม. ด้วย
คำนี้ ทรงแสดงถึงความเป็นผู้เลี้ยงง่าย อันสำเร็จด้วยความสันโดษใน
ปัจจัย 4. บทว่า อตฺถกาโม ความว่า ชื่อว่า อัตถกามะ เพราะอรรถว่า

ใคร่คือปรารถนาเฉพาะประโยชน์ของโลกพร้อมเทวโลกเท่านั้น. ด้วยคำนี้
ทรงแสดงถึงปาติโมกขสังวรศีล เพราะประกาศถึงความงดเว้นสิ่งไม่ใช่
ประโยชน์แก่สัตว์ทั้งหลาย เพราะแสดงถึงความงดเว้นความพินาศมีปาณา-
ติบาตเป็นต้น. บทว่า ยตินฺทฺริโย ความว่า ชื่อว่า มีอินทรีย์สำรวมแล้ว
เพราะสำรวมอินทรีย์ 6 มีจักขุนทรีย์เป็นต้น โดยไม่ให้อกุศลธรรมมี
อวิชชาเป็นต้นเกิดขึ้น. ด้วยคำนี้ ตรัสถึงอินทรียสังวร. บทว่า สพฺพธิ
วิปฺปมุตฺโต
ความว่า ผู้มีศีลบริสุทธิ์ดีอย่างนี้ ตั้งมั่นอยู่ในความสันโดษด้วย
ปัจจัย 4 กำหนดนามรูปพร้อมปัจจัย พิจารณาสังขารด้วยลักษณะมีอนิจจ-
ลักษณะเป็นต้น บำเพ็ญวิปัสสนา ต่อจากนั้น ก็ชื่อว่า เป็นผู้หลุดพ้นใน
ธรรมทั้งปวงคือในภูมิทั้งปวงมีภพเป็นต้น เพราะละสังโยชน์ได้ด้วยอริย-
มรรค 4 ที่เป็นไปตามลำดับ.
บทว่า อโนสารี อมโม นิราโส ความว่า ชื่อว่า อโนกสารี
เพราะไม่มีความซ่านไปแห่งตัณหาในอายตนะทั้ง 6 กล่าวคือ โอกะ (น้ำ)
เหตุหลุดพ้นแล้วในธรรมทั้งปวงเช่นนั้นทีเดียว ชื่อว่า อมมะ เพราะไม่
มีมมังการในอารมณ์ไหน ๆ มีรูปารมณ์เป็นต้น ชื่อว่า นิราสะ เพราะไม่
มีความหวังโดยประการทั้งปวง. บทว่า หิตฺวา มานํ เอกจโร ส ภิกฺขุ
ความว่า ก็ภิกษุนั้นผู้เป็นอย่างนั้น ละมานะได้ไม่เหลือ พร้อมกับเวลาที่
ได้บรรลุอรหัตมรรคทีเดียว จึงไม่คลุกคลีด้วยหมู่เหมือนภิกษุเหล่านี้ เป็น
ผู้เดียวเที่ยวไป ในอิริยาบถทั้งปวง เพราะประสงค์ความสงัดและเว้นจาก
เพื่อนคือตัณหา ผู้นั้น โดยทางปรมัตถ์ ชื่อว่า ภิกษุ เพราะทำลายกิเลส
โดยประการทั้งปวง. ก็ในที่นี้ตรัสถึงคุณฝ่ายโลกิยะ โดยนัยมีอาทิว่า
อสิปฺปชีวี ผู้ไม่อาศัยศิลปเลี้ยงชีพ. ด้วยคำมีอาทิว่า สพฺพธิ วิปฺปมุตฺโต

ตรัสถึงคุณฝ่ายโลกุตระ. ในคำนั้น ทรงแสดงว่า ธรรมนี้ สำหรับผู้
ตั้งอยู่ในความเป็นผู้ไม่อาศัยศิลปะเลี้ยงชีพเป็นต้นเท่านั้น ไม่ใช่เป็นของผู้
อาศัยศิลปเลี้ยงชีพด้วยมิจฉาชีพ เพราะฉะนั้น พวกเธอจงเว้นการถือใน
ศิลปว่าเป็นสาระ แล้วศึกษาในอธิศีลเป็นต้นเท่านั้น.
จบอรรถกถาสิปปสูตรที่ 9

10. โลกสูตร



ว่าด้วยเรื่องทรงตรวจดูโลก



[84] ข้าพเจ้าได้สดับมาแล้วอย่างนี้ :-
สมัยหนึ่ง พระผู้มีพระภาคเจ้าแรกตรัสรู้ ประทับอยู่ที่ควงไม้โพธิ์
ใกล้ฝั่งแม่น้ำเนรัญชรา ตำบลอุรุเวลา ก็สมัยนั้นแล พระผู้มีพระภาคเจ้า
ประทับนั่งเสวยวิมุตติสุขโดยบัลลังก์เดียวตลอด 7 วัน ครั้งนั้นแลโดยล่วง
7 วันนั้นไป พระผู้มีพระภาคเจ้าเสด็จออกจากสมาธินั้นแล้วทรงตรวจดู
โลกด้วยพุทธจักษุ ได้ทรงเห็นหมู่สัตว์ผู้เดือดร้อนอยู่ด้วยความเดือดร้อน
เป็นอันมาก และผู้ถูกความเร่าร้อนเป็นอันมากซึ่งเกิดจากราคะบ้าง เกิด
จากโทสะบ้าง เกิดจากโมหะบ้าง แผดเผาอยู่
ลำดับนั้นแล พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงทราบเนื้อความนี้แล้ว จึงทรง
เปล่งอุทานนี้ในเวลานั้นว่า
โลกนี้เกิดความเดือดร้อนแล้ว ถูกผัสสะครอบงำ
แล้ว ย่อมกล่าวถึงโรคโดยความเป็นตัวตน ก็โลก
ย่อมสำคัญโดยประการใด ขันธปัญจกอันวัตถุแห่ง