เมนู

ไว้ในธรรมเป็นเครื่องอยู่ขัดเกลา. คำที่เหลือมีนัยดังกล่าวแล้วในหนหลัง
นั่นแล.
บทว่า เอตมตฺถํ วิทิตฺวา ความว่า ทรงทราบเนื้อความนี้ว่า แม้
เทพทั้งหลาย ย่อมกระหยิ่มต่อท่านผู้เที่ยวบิณฑบาตเป็นวัตร เพื่อกำจัดกิเลส
เพื่อทำตัณหาให้เหือดแห้ง ด้วยธรรมเป็นเครื่องขัดเกลาคือมักน้อยและ
สันโดษ เกิดความเอื้อเฟื้อในการปฏิบัติประพฤติรักใคร่ต่อท่าน ไม่ประ-
พฤติรักใคร่อย่างอื่นจากนี้ ดังนี้แล้ว จึงทรงเปล่งอุทานนี้ อันแสดงเนื้อ
ความนั้น.
บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า โน เจ สิโลกนิสฺสิโต ความว่า หาก
ไม่อยากได้อาศัยความสรรเสริญ กล่าว คือเสียงที่ชนเหล่าอื่นยกย่อง โดย
นัยมีอาทิว่า น่าอัศจรรย์ พระผู้เป็นเจ้า เป็นผู้มักน้อยสันโดษ มีความ
ประพฤติขัดเกลาอย่างยิ่ง. อีกอย่างหนึ่ง ชื่อเสียง ได้แก่ การโฆษณา
ชมเชยคุณเฉพาะหน้า สรรเสริญ ได้แก่ การชมเชยลับหลัง หรือความ
เป็นผู้มียศแผ่ไป. คำที่เหลือ มีนัยที่กล่าวไว้ในสูตรอันเป็นลำดับนั้นแล.
จบอรรถกถาปิณฑปาตสูตรที่ 8

9. สิปปสูตร



ว่าด้วยภิกษุสนทนากันเรื่องศิลป์



[83] ข้าพเจ้าได้สดับมาแล้วอย่างนี้ :-
สมัยหนึ่ง พระผู้มีพระภาคเจ้าประทับอยู่ ณ พระวิหารเชตวัน
อารามของท่านอนาถบิณฑิกเศรษฐี ใกล้พระนครสาวัตถี ก็สมัยนั้นแล

ภิกษุมากด้วยกันกลับจากบิณฑบาตในเวลาปัจฉาภัตแล้ว นั่งประชุมกันใน
โรงกลม ได้สนทนากันถึงเรื่องเป็นไปในระหว่างว่า ดูก่อนท่านผู้มีอายุ
ทั้งหลาย ใครหนอแล ย่อมรู้ศิลปะ ใครศึกษาศิลปะอะไร ศิลปะอย่างไหน
เป็นยอดแห่งศิลปะทั้งหลาย บรรดาภิกษุเหล่านั้น ภิกษุบางพวกกล่าวอย่าง
นี้ว่า ศิลปะในการฝึกช้างเป็นยอดแห่งศิลปะทั้งหลาย บางพวกกล่าวอย่างนี้
ว่า ศิลปะในการฝึกม้าเป็นยอดแห่งศิลปะทั้งหลาย บางพวกกล่าวอย่างนี้ว่า
ศิลปะในการขับรถเป็นยอดแห่งศิลปะทั้งหลาย บางพวกกล่าวอย่างนี้ว่า
ศิลปะในการยิงธนูเป็นยอดแห่งศิลปะทั้งหลาย บางพวกกล่าวอย่างนี้ว่า
ศิลปะทางอาวุธเป็นยอดแห่งศิลปะทั้งหลาย บางพวกกล่าวอย่างนี้ว่า ศิลปะ
ทางนับนิ้วมือเป็นยอดแห่งศิลปะทั้งหลาย บางพวกกล่าวอย่างนี้ว่า ศิลปะ
ในการคำนวณเป็นยอดแห่งศิลปะทั้งหลาย บางพวกกล่าวอย่างนี้ว่า ศิลปะ
นับประมวลเป็นยอดแห่งศิลปะทั้งหลาย บางพวกกล่าวอย่างนี้ว่า ศิลปะใน
การขีดเขียนเป็นยอดแห่งศิลปะทั้งหลาย บางพวกกล่าวอย่างนี้ว่า ศิลปะใน
การแต่งกาพย์กลอนเป็นยอดแห่งศิลปะทั้งหลาย บางพวกกล่าวอย่างนี้ว่า
ศิลปะในทางโลกายตศาสตร์เป็นยอดแห่งศิลปะทั้งหลาย บางพวกกล่าว
อย่างนี้ว่าศิลปะในทางภูมิศาสตร์เป็นยอดแห่งศิลปะทั้งหลาย ภิกษุเหล่านั้น
สนทนาเรื่องค้างไว้ในระหว่างเพียงนี้ ครั้งนั้นแล เป็นเวลาเย็น พระผู้มี-
พระภาคเจ้าเสด็จออกจากที่เร้น ได้เสด็จเข้าไปถึงโรงกลม แล้วประทับนั่ง
ณ อาสนะที่ปูลาดไว้ ครั้นแล้วตรัสถามภิกษุทั้งหลายว่า ดูก่อนภิกษุทั้ง-
หลาย บัดนี้ เธอทั้งหลายนั่งประชุมสนทนากันด้วยเรื่องอะไรหนอ และ
เธอทั้งหลายสนทนาเรื่องอะไรค้างไว้ ภิกษุเหล่านั้นกราบทูลว่า ขอประ-
ทานพระวโรกาส ข้าพระองค์ทั้งหลาย กลับจากบิณฑบาตในเวลาปัจฉา-

ภัต นั่งประชุมกันในโรงกลม เกิดสนทนากันในระหว่างว่า ดูก่อนท่าน
ผู้มีอายุทั้งหลาย ใครหนอแลย่อมรู้ศิลปะ. . .บางพวกกล่าวอย่างนี้ว่า ศิลปะ
ในทางภูมิศาสตร์เป็นยอดแห่งศิลปะทั้งหลาย ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ข้า-
พระองค์ทั้งหลายสนทนาเรื่องค้างไว้ในระหว่างนี้แล ก็พอดีพระผู้มีพระ-
ภาคเจ้าเสด็จมาถึง พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย การที่
เธอทั้งหลายเป็นกุลบุตรออกบวชเป็นบรรพชิตด้วยศรัทธา กล่าวกถาเห็น
ปานนี้นั้นไม่สมควรเลย เธอทั้งหลายประชุมกันแล้ว พึงกระทำอาการ
2 อย่าง คือ ธัมมีกถา หรือดุษณีภาพอันเป็นอริยะ.
ลำดับนั้นแล พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงทราบเนื้อความนี้แล้ว จึง
ทรงเปล่งอุทานนี้ในเวลานั้นว่า
ผู้ไม่อาศัยศิลปะเลี้ยงชีพ ผู้เบา ปรารถนาประ-
โยชน์ มีอินทรีย์สำรวมแล้ว พ้นวิเศษแล้วในธรรม
ทั้งปวง ไม่มีที่อยู่เที่ยวไป ไม่ยึดถือว่าของเรา ไม่
มีความหวัง ผู้นั้นกำจัดมารได้แล้ว เป็นผู้เที่ยวไปผู้-
เดียว ชื่อว่าเป็นภิกษุ.

จบสิปปสูตรที่ 9

อรรถกถาสิปปสูตร


สิปปสูตรที่ 9 มีวินิจฉัยดังต่อไปนี้ :-
บทว่า โก นุ โข อาวุโส สิปฺปํ ชานาติ ความว่า อาวุโส เมื่อ
พวกเราประชุมกันในที่นี้ ใครหนอจะรู้แจ้งอาชีพอย่างใดอย่างหนึ่งซึ่งมี