เมนู

เรื่องเห็นปานนี้นั้นไม่สมควรเลย เธอทั้งหลายประชุมกันแล้วพึงกระทำ
อาการ 2 อย่าง คือ ธัมมีกถา หรือดุษณีภาพเป็นอริยะ.
ลำดับนั้นแล พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงทราบเนื้อความนี้แล้ว จึง
ทรงเปล่งอุทานนี้ในเวลานั้นว่า
ถ้าว่าภิกษุไม่อาศัยเสียงสรรเสริญแล้วไซร้ เทวดา
และมนุษย์ทั้งหลาย ย่อมรักใคร่ต่อภิกษุผู้ถือการเที่ยว
บิณฑบาตเป็นวัตร ผู้เลี้ยงตนมิใช่ผู้เลี้ยงคนอื่น ผู้คงที่.

จบปิณฑปาตสูตรที่ 8

อรรถกถาปิณฑปาตสูตร



ปิณฑปาตสูตรที่ 8 มีวินิจฉัยดังต่อไปนี้ :-
บทว่า ปจฺฉาภตฺตํ ความว่า แม้เวลาภายในเที่ยงวันของภิกษุถือ
เอกาสนิกังคธุดงค์และขลุปัจฉาภัตตกังคธุดงค์ ผู้ฉันอาหารเช้าแล้ว ก็เป็น
ปัจฉาภัตเหมือนกัน. แต่ในที่นี้ ภายหลังแต่ฉันอาหารตามปกตินั่นแหละ
พึงทราบว่า เป็นปัจฉาภัต. บทว่า ปิณฺฑปาตปฏิกฺกนฺตานํ ความว่า
ผู้กลับจากบิณฑบาต คือแสวงหาบิณฑบาตแล้ว กลับจากบิณฑบาตนั้น
โดยทำภัตกิจให้สำเร็จ. บทว่า กเรริ ในบทว่า กเรริมณฺฑลมาเฬ เป็น
ชื่อของไม้กุ่ม. เล่ากันว่า ไม้กุ่มนั้น อยู่ภายในระหว่างมณฑปกับศาลา
พระคันธกุฎี ด้วยเหตุนั้น แม้พระคันธกุฎี ท่านเรียกว่า กเรริกุฏิกา.
มณฑปก็ดี ศาลาก็ดี ท่านเรียกว่า กเรริมัณฑลมาฬ โรงกลมใกล้ต้นไม้
กุ่ม. เพราะเหตุไร ในโรงกลมกล่าวคือศาลาที่นั่ง ซึ่งสร้างไว้ไม่ไกลต้น